“หมอแอร์” เผยเรื่องเศร้า!เครื่อง AED แบตหมด ทำช่วยชีวิตนักวิ่งไม่ทัน
“หมอแอร์” แพทย์ด้านหัวใจและกีฬา เผยเรื่องเศร้า พบนักวิ้งที่มาออกกำลังกายเสียชีวิต 2 ราย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบในจุดเกิดเหตุเครื่อง AED แบตหมด ยันเป็นเครื่องที่ต้องมีและต้องติดตั้งในจุดที่เหมาะสม แนะ ป้องกันที่ต้นทางก็คือสุขภาพของตัวเราเองด้วย
วันนี้ (23 ก.ค.) “หมอแอร์” แพทย์หัวใจและกีฬา ผู้ให้ความรู้ด้านด้านการแพทย์และการออกกำลังกาย ได้ออกมาโพสต์ข้อความเรื่องเศร้า พบอาทิตย์ที่ผ่านมามีนักวิ่งเสียชีวิตแล้ว 2 ราย ซึ่งทั้ง 2 แห่งที่นักวิ่งเสียชีวิตนั้น พบว่าเครื่อง “AED" แบตหมดจึงไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ทั้งนี้ “หมอแอร์” ได้ระบุข้อความว่า
”2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีนักวิ่งเสียชีวิต 2 ราย ที่ 2 สถานที่ต่างกัน ที่นึง AED แบตหมด
AED จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากในสถานที่ออกกำลังกายมวลชน เช่น สนามวิ่ง สวนสาธารณะ สนามบอล ฟุตซอล แบดมินตัน และจุดชุมชนต่างๆ เพราะถ้า AED เข้าถึงเร็ว โอกาสรอดสูง ประมาณ 50% ครับ
นักแบดอายุ 17 ที่เสียชีวิต ส่วนนึงคือ ไม่ได้เห็น AED เลยในจุดเกิดเหตุ
เวลาที่ AED ควรถึงคนหัวใจหยุดเต้นไม่ควรเกิน 5 นาที ดังนั้น นอกจากมีแล้ว ยังต้องกำหนดจุดที่เหมาะสมในการวางเครื่อง อย่าห่วงหายเกินไปจนหยิบใช้ยาก ซักซ้อมวิธีการนำมาใช้ ตรวจเช็คแบตเตอรี่เป็นรอบ กันแบตหมด เตรียมสถานที่ รพ. ที่จะส่งคนไข้ไว้ในแผน ไม่ใช่ รพ. ที่ใกล้ที่สุด แต่เป็น รพ. ที่มีศูนย์หัวใจที่ใกล้สุด
ส่วนการทำการกดหน้าอก อเมริกามีคนทำได้ 50% ของประชากร แต่ของไทยยังทำได้น้อยมากครับ บางคนไม่กล้าช่วยเหลือ กลัวทำผิดแล้วเกิดอันตราย แต่จริงๆ แล้ว ทำผิดดีกว่าไม่ทำเลยครับ
เด็กๆ ได้เรียนแทบทุกคนแล้ว แต่คนไทย 25 ปีขึ้น ยังทำไม่เป็นอีกเยอะ การรณรงค์ การฝึกสอน CPR ตามที่สวนสาธารณะ สนามกีฬา จะช่วยทำให้คนทำ CPR เป็น อยู่ในที่ที่คนมีโอกาสเกิดหัวใจวาย และได้ช่วยคนหัวใจวายได้
ดังนั้นกลุ่มที่ควรให้ทำ CPR เป็น คือ นักวิ่ง นักกีฬา นักแบด นักบอล ที่เล่นในสนาม ออกกำลังในสวนครับ มีการรณรงค์ จัด CPR ที่สวนหลายครั้งครับ เป็นสิ่งที่ดีมาก รวมถึงการระดมทุนซื้อเครื่อง AED. ถ้าทำได้ครบ Loop ด้านบน จะยิ่งดีครับ
สุดท้าย อีกอันหนึ่งคือ ป้องกันที่ต้นทางคือตัวเราเองด้วยครับ โรคหัวใจไม่เข้าใครออกใคร อย่าชะล่าใจว่าเราแข็งแรง
1. อายุเกิน 35 ปี ประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคจาก Thai CV Risk Score ถ้าความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป ตรวจคัดกรองทางกีฬา
2. ไขมันสูง อาจต้องกินยา การออกกำลังอย่างเดียวบางครั้งลดได้ไม่มาก เพื่อลดการเกิดหัวใจวายจากหลอดเลือดหัวใจ
3. ออกกำลังให้เหมาะกับตัวเรา
4. ฟังเสียงร่างกายตัวเองทุกครั้ง เหนื่อย / แน่น / หน้ามืด เวลาออกกำลัง ผิดปกติหยุดทันที แล้วไปพบแพทย์
แล้วเราจะสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจซ่อน ขณะออกกำลัง ได้ทั้งต้นทางและตอนเกิดเหตุครับ
ทำความรู้จัก-วิธีใช้งานเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า AED (เออีดี)
https://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/it-news/5004-what-is-aed.html
“หมอแอร์” เผยเรื่องเศร้า!เครื่อง AED แบตหมด ทำช่วยชีวิตนักวิ่งไม่ทัน
“หมอแอร์” แพทย์ด้านหัวใจและกีฬา เผยเรื่องเศร้า พบนักวิ้งที่มาออกกำลังกายเสียชีวิต 2 ราย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบในจุดเกิดเหตุเครื่อง AED แบตหมด ยันเป็นเครื่องที่ต้องมีและต้องติดตั้งในจุดที่เหมาะสม แนะ ป้องกันที่ต้นทางก็คือสุขภาพของตัวเราเองด้วย
วันนี้ (23 ก.ค.) “หมอแอร์” แพทย์หัวใจและกีฬา ผู้ให้ความรู้ด้านด้านการแพทย์และการออกกำลังกาย ได้ออกมาโพสต์ข้อความเรื่องเศร้า พบอาทิตย์ที่ผ่านมามีนักวิ่งเสียชีวิตแล้ว 2 ราย ซึ่งทั้ง 2 แห่งที่นักวิ่งเสียชีวิตนั้น พบว่าเครื่อง “AED" แบตหมดจึงไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ทั้งนี้ “หมอแอร์” ได้ระบุข้อความว่า
”2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีนักวิ่งเสียชีวิต 2 ราย ที่ 2 สถานที่ต่างกัน ที่นึง AED แบตหมด
AED จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากในสถานที่ออกกำลังกายมวลชน เช่น สนามวิ่ง สวนสาธารณะ สนามบอล ฟุตซอล แบดมินตัน และจุดชุมชนต่างๆ เพราะถ้า AED เข้าถึงเร็ว โอกาสรอดสูง ประมาณ 50% ครับ
นักแบดอายุ 17 ที่เสียชีวิต ส่วนนึงคือ ไม่ได้เห็น AED เลยในจุดเกิดเหตุ
เวลาที่ AED ควรถึงคนหัวใจหยุดเต้นไม่ควรเกิน 5 นาที ดังนั้น นอกจากมีแล้ว ยังต้องกำหนดจุดที่เหมาะสมในการวางเครื่อง อย่าห่วงหายเกินไปจนหยิบใช้ยาก ซักซ้อมวิธีการนำมาใช้ ตรวจเช็คแบตเตอรี่เป็นรอบ กันแบตหมด เตรียมสถานที่ รพ. ที่จะส่งคนไข้ไว้ในแผน ไม่ใช่ รพ. ที่ใกล้ที่สุด แต่เป็น รพ. ที่มีศูนย์หัวใจที่ใกล้สุด
ส่วนการทำการกดหน้าอก อเมริกามีคนทำได้ 50% ของประชากร แต่ของไทยยังทำได้น้อยมากครับ บางคนไม่กล้าช่วยเหลือ กลัวทำผิดแล้วเกิดอันตราย แต่จริงๆ แล้ว ทำผิดดีกว่าไม่ทำเลยครับ
เด็กๆ ได้เรียนแทบทุกคนแล้ว แต่คนไทย 25 ปีขึ้น ยังทำไม่เป็นอีกเยอะ การรณรงค์ การฝึกสอน CPR ตามที่สวนสาธารณะ สนามกีฬา จะช่วยทำให้คนทำ CPR เป็น อยู่ในที่ที่คนมีโอกาสเกิดหัวใจวาย และได้ช่วยคนหัวใจวายได้
ดังนั้นกลุ่มที่ควรให้ทำ CPR เป็น คือ นักวิ่ง นักกีฬา นักแบด นักบอล ที่เล่นในสนาม ออกกำลังในสวนครับ มีการรณรงค์ จัด CPR ที่สวนหลายครั้งครับ เป็นสิ่งที่ดีมาก รวมถึงการระดมทุนซื้อเครื่อง AED. ถ้าทำได้ครบ Loop ด้านบน จะยิ่งดีครับ
สุดท้าย อีกอันหนึ่งคือ ป้องกันที่ต้นทางคือตัวเราเองด้วยครับ โรคหัวใจไม่เข้าใครออกใคร อย่าชะล่าใจว่าเราแข็งแรง
1. อายุเกิน 35 ปี ประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคจาก Thai CV Risk Score ถ้าความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป ตรวจคัดกรองทางกีฬา
2. ไขมันสูง อาจต้องกินยา การออกกำลังอย่างเดียวบางครั้งลดได้ไม่มาก เพื่อลดการเกิดหัวใจวายจากหลอดเลือดหัวใจ
3. ออกกำลังให้เหมาะกับตัวเรา
4. ฟังเสียงร่างกายตัวเองทุกครั้ง เหนื่อย / แน่น / หน้ามืด เวลาออกกำลัง ผิดปกติหยุดทันที แล้วไปพบแพทย์
แล้วเราจะสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจซ่อน ขณะออกกำลัง ได้ทั้งต้นทางและตอนเกิดเหตุครับ
ทำความรู้จัก-วิธีใช้งานเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า AED (เออีดี) https://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/it-news/5004-what-is-aed.html