ความเข้าใจผิดๆ ของคนที่พยายามออกกำลังกายแม้ปากบอกไม่จริงจัง แต่มีในใจอยากได้ผลลัพธ์สูง แนะนำให้ทำความเข้าใจก่อน

เตะบอลให้ตาย หลายปีก็ไม่ผอม เพราะไม่เข้าใจร่างกายตัวเอง และหลักการออกกำลังกายนี่เอง (เห็นหลายคนบ่น ผมก็คนนึงล่ะเคยเป็นอยู่หลายปี "เย็นนี้ไปตีแบตออกกำลังกาย"ซะหน่อย "วันอาทิตย์นี้ไปเตะบอลกับเพื่อนนี่นา กินเยอะได้ล่ะวันนี้"บ้าง)

คำจำกัดความ
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องการออกกำลังกาย เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงความหมายของคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน บางคนมีการนำมาใช้แทนกัน และหากเราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กรณีนี้ สามารถส่งผลให้เรามีสุขภาพดีได้เช่นเดียวกัน นั่นคือ
1. การออกกำลังกาย (Exercise)
2. การเล่นกีฬา (Sports)
3. กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)

การออกกำลังกาย (Exercise)
คือ กิจกรรมที่มีการวางแผนเป็นลำดับขั้นเพื่อเพิ่มความฟิตของร่างกายโดยรวม ตัวอย่างเช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง การปั่นจักรยาน ฯลฯ และการวางแผนที่กล่าวถึงนี้จะมีรายละเอียด เช่น ระยะเวลา ความหนัก และความถี่ ของการออกกำลังกาย เมื่อร่างกายมีความฟิตมากขึ้น แผนการออกกำลังกายในส่วนของระยะเวลา ความหนัก และความถี่ ก็สามารถปรับเพิ่มให้เหมาะสม เพื่อส่งผลให้เพิ่มความฟิตที่มากขึ้น และสุขภาพที่ดีขึ้นเช่นกัน
การเล่นกีฬา (Sports)
คือ การกระทำกิจกรรมซึ่งเป็นไปกฎ กติกา การเล่น ซึ่งนอก เหนือจากความหนักของกิจกรรมที่ทำแล้วยังต้องการทักษะการเล่น ซึ่งหากมีความท้าทายจากการแข่งขันจากจุดมุ่งหมายเพื่อชัยชนะแล้ว จะยิ่งทำให้ควบคุมความหนักของกิจกรรมยากขึ้น การเล่นกีฬาจึงควรให้ความระมัดระวังมากสำหรับผู้ที่ร่างกายมีความฟิตต่ำ ผู้ที่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคหืด เป็นต้น รวมถึงผู้ที่มีอาการบาดเจ็บอยู่แล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่มีการปะทะกัน เพราะประโยชน์ที่ได้จากการเล่นกีฬาอาจได้รับน้อย แต่กลับมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามากกว่า ในกรณีผู้สูงอายุที่มีความฟิตต่ำและเล่นกีฬาหนักๆเกินระดับความสามารถของตนเป็นเวลานาน อาจมีอา การโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน) ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
กิจกรรมทางกาย (Physical Activity)
คือ การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ไม่จำกัดความหนักของการเคลื่อนไหว กิจกรรมเหล่านี้จะต่างกับการออกกำลังกายที่ไม่ได้มีการวางแผนเพื่อเพิ่มความฟิตของร่างกาย ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำในชีวิตประจำวัน ตัวอย่าง เช่น การกวาดบ้าน การปลูกต้นไม้ การเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ซึ่งแม้กิจกรรมเหล่านี้จะไม่ได้เพิ่มความฟิตแก่ร่างกายได้ชัดเจนเท่าการออกกำลังกาย แต่การทำกิจกรรมเหล่านี้ในปริมาณที่มากพอ ร่างกายได้มีการใช้พลังงานในกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากพอ ก็ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีสุขภาพที่แข็ง แรงได้
ดังนั้นกล่าวโดยสรุปหรือมองในภาพรวมแล้ว ผู้ที่ต้องการมีสุขภาพดี ควรมีกิจกรรมทางกายที่มีการเคลื่อนไหว ที่ใช้พลังงานในระดับที่เหมาะสม ที่จะมีผลส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้นได้ โดยกิจกรรมดังกล่าวอาจถูกพิจารณาว่าเป็นการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือแม้แต่กิจกรรมทางกายก็ได้ คล้ายกับคำกล่าวของ สำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ว่า ขยับกายสบายชีวี ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่า กิจกรรมที่ก่อให้การเคลื่อนไหวใดๆ จะส่งผลให้ผู้ที่ทำกิจ กรรมนั้นมีสุขภาพดีขึ้น

ขอบคุณบทความจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ นายแพทย์ ภาสกร วัธนธาดา
http://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

ฝากไว้นะครับเผื่อมีประโยชน์บ้าง น่าจะเคยมีคนมาโพสต์แล้วแต่เอามาให้ทำความเข้าใจสำหรับคนไม่เคยรู้มาก่อน ตัวผมเองก็มั่วๆ อยู่นานมากไม่อยากให้ใครมาเสียเวลาทำ เล่น โน่นนี่นั่น นานๆ แบบผมเสียเหงื่อไม่เท่าไหร่ เสียเวลาน่ะเสียดายกว่า ตะก่อนก็ 82kg ตอนนี้วิ่งมาราธอนจบชิวๆ 69kg เตะบอลจบทั้งแมตซ์ 90 นาทีสบายๆครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่