AED (Automated External Defibrillator) หรือเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานศึกษา สนามบิน สถานที่ราชการ สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการสูญเสีย ซึ่งการที่จะเข้าไปช่วยเหลือคนหมดสติและใช้เครื่อง AED ต้องปฏิบัติตามหลักการแพทย์ ดังนี้
1. เมื่อพบคนหมดสติควรตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าช่วยเหลือเสมอ
2. ปลุกเรียกด้วยเสียงดัง และตบไหล่ทั้งสองข้าง พร้อมจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นแข็ง
3. เรียกขอความช่วยเหลือ หรือโทรแจ้ง 1669 พร้อมนำเครื่อง AED มาเตรียมไว้ (กรณีที่มีเครื่อง)
4. ประเมินผู้หมดสติ หากไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก ให้กดหน้าอกทันที
5. เริ่มทำการช่วยคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)
วิธีทำการช่วยคืนชีพขั้นพื้นฐาน CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)
• จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย โดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ด้านข้างของผู้ป่วย
• วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก
• วางมืออีกข้างหนึ่งทับประสานกันไว้ แขนสองข้างเหยียดตรง แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย
• เริ่มกดหน้าอก CPR ด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราความเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที
• ถ้ามีหน้ากากเป่าปาก ให้เป่า 2 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก 30 ครั้ง
• ถ้าไม่มี หรือไม่เคยฝึกเป่าปาก ให้กดหน้าอกอย่างเดียว ต่อเนื่องกัน โดยเปลี่ยนคนกดหน้าอกทุก 2 นาที
• กดหน้าอกและเป่าปากอย่างต่อเนื่องจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง
• เมื่อเครื่อง AED มาถึง ให้เปิดเครื่องและถอดเสื้อผ้าผู้หมดสติออก
• ติดแผ่นนำไฟฟ้าตามรูปที่ปรากฎให้แนบบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และชายโครงด้านซ้าย หลังจากนั้นไม่สัมผัสตัวผู้ป่วย
• ปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED หากเครื่องแนะนำให้กดปุ่มช็อกไฟฟ้า ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วยจนกว่าเครื่องจะทำงานเสร็จ
• กดหน้าอกต่อทันที หลังทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง AED
• ส่งต่อผู้ป่วยเมื่อทีมกู้ชีพมาถึง
สิ่งสำคัญของการช่วยชีวิตผู้อื่นในสถานการณ์ฉุกเฉินคือการตั้งสติ และขอความช่วยเหลือก่อนลงมือกู้ชีพขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการโทรแจ้ง 1669 สายด่วนของหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน กู้ชีพ กู้ภัย กระทรวงสาธารณสุข
ข้อมูลโดย พญ. นฎาประไพ ถาวรสิน เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
กู้ชีพขั้นพื้นฐาน วิธีมาตรฐานที่ทุกคนต้องรู้
• วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก
• วางมืออีกข้างหนึ่งทับประสานกันไว้ แขนสองข้างเหยียดตรง แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย
• เริ่มกดหน้าอก CPR ด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราความเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที
• ถ้ามีหน้ากากเป่าปาก ให้เป่า 2 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก 30 ครั้ง
• ถ้าไม่มี หรือไม่เคยฝึกเป่าปาก ให้กดหน้าอกอย่างเดียว ต่อเนื่องกัน โดยเปลี่ยนคนกดหน้าอกทุก 2 นาที
• กดหน้าอกและเป่าปากอย่างต่อเนื่องจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง
• เมื่อเครื่อง AED มาถึง ให้เปิดเครื่องและถอดเสื้อผ้าผู้หมดสติออก
• ติดแผ่นนำไฟฟ้าตามรูปที่ปรากฎให้แนบบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และชายโครงด้านซ้าย หลังจากนั้นไม่สัมผัสตัวผู้ป่วย
• ปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED หากเครื่องแนะนำให้กดปุ่มช็อกไฟฟ้า ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วยจนกว่าเครื่องจะทำงานเสร็จ
• กดหน้าอกต่อทันที หลังทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง AED
• ส่งต่อผู้ป่วยเมื่อทีมกู้ชีพมาถึง