มะ จะแปลบาลีตอนสิกขาบท 150ถ้วน เจ้าปัญหาให้ดู

กระทู้คำถาม
ประโยคเจ้าปัญหาที่ท่านคึกฤทธิ์เข่าใจว่า พระพุทธเจ้าให้สวดปาฏิโมกข์ 150 นั้น เป็นอย่างไร ในฐานะที่กระผมเองก็เรียนบาลีมาบ้าง ให้เพื่อนวิญญาชนได้วิเคราะห์กันว่า คำแปลและการวิเคราะห์ความหมายของคำผมถูกต้องหรือไม่ ประโยคที่ว่านนี้มาจาก วัชชีปุตตสูตร ข้อที่ 526 พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ เล่มที่ 20 ประโยคของข้อความดังกล่าวเป็นดังนี้ครับ
สาธิกมิทํ  ภิกฺขเว  ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ  อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ   อาคจฺฉติ

คำแปล
ภิกฺขเว = ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  
ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ = อันว่าร้อยแห่งสิกขาบทสองด้วยทั้งกึ่ง
สาธิกํ = กับส่วนที่เกิน [สาธิกํ มาจาก สห+อธิก เมื่อสนธิกันใช้กฎลบสระหน้าแปลงสระหลังจากสระสั้นเป็นสระยาว ]
อิทํ = นี้
อาคจฺฉติ = ย่อมมา
อุทฺเทสํ = สู่อุทเทส[การยกขึ้นแสดง]
อนฺวฑฺฒมาสํ = ทุกกึ่งเดือน

วิเคราะห์ศัพท์
สาธิกมิทํ มาจากการสนธิคำ สาธิก+ม(อาคม)+อิทํ  
สาธิก(สห(กับ)+อธิก(เกินกว่า, ยิ่งกว่า) เมื่อสนธิคำใช้กฏลบพยัญชนะตัวหน้า(ห) ทีฆะสระหลัง อะ เป็น อา สาธิก มีเป็น สาธิกํ ปฐมาวิภัตติ ตามประธานของประโยค สาธิกํ ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่า ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ ซึ่งเป็นประธานของประโยค)
อิทํ แปลว่า นี้ รูปเดิมคือ อิม เป็นสรรพนาม มีรูปเป็น อิมํ ปฐมาวิภัตติ  ทำหน้าที่ขยาย ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ ซึ่งเป็นประธานของประโยค

ภิกฺขเว เป็นอาลปนวิภัตติ ทำหน้าที่ในประโยคเป็น อาลปนะ คือ ร้องเรียกให้หันมาสนใจ เมื่อผู้พูด(พระพุทธเจ้า) จะเริ่มพูด

ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ มาจากคำ 3 คำ คือ  ทิยฑฺฒ(สองด้วยอีกกึ่งหนึ่ง)+สิกฺขาปท(สิกขาบท)+สตํ(หนึ่งร้อย) เป็นนามศัพ์ประเภท นปุงสกลิงค์ มีรูปเป็น ปฐมาวิภัตติ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค แปลตรงตามรูปศัพท์ได้ว่า อันว่าร้อยแห่งสิกขาบทสองด้วยทั้งกึ่ง[ด้วยทั้งกึ่ง หมายถึง จะเต็มสองร้อยด้วยด้วยครึ่งหนึ่งของหนึ่งร้อย คือ ห้าสิบ] หรือแปลแบบรวบความได้ว่า สิกขาบทร้อยห้าสิบ

อนฺวฑฺฒมาสํ แปลว่า ทุกครึ่งเดือน มีรูปเป็นทุติยาวิภัตติ ทำหน้าที่ขยายความ อาคจฺฉนฺติ ซึ่งเป็นกิริยาของประโยค

อุทฺเทสํ แปลว่า สูอุทเทส[การยกขึ้นแสดง]  มีรูปเป็นทุติยาวิภัตติ ทำหน้าที่ขยาย อาคจฺฉนฺติ ซึ่งเป็นกิริยาของประโยค

อาคจฺฉติ = ย่อมมา มาจาก อา+คม+ติ   อา อุปสัคค(่ทั่ว,ยิ่ง, กลับความหมาย)+คม ธาตุ(แปลว่า ไป แต่เนื่องจากมี อา อยู่ข้างหน้าความหมายจึงกลับจาก ไป เป็น มา) อนฺติ เป็นวัตตมานาวภัตติ บ่งบอกว่ากิริยาตัวนี้เป็น ปัจจุบันกาล

จะเห็นได้ว่า คำทุกคำของภาษาบาลีมีที่มา มีความหมาย  มีหน้าที่ ของมัน ดังนั้น คนที่จะแปลภาษาบาลีเป็นภาษาของตัวเอง ต้องเข้าใจสิ่งเหล่านี้เสียก่อนจึงจะแปลได้ ดังนั้น หากแปลผิดไปจากที่ควรจะเป็นก็สามารถสอบสวนทวนกลับไปได้ว่า คำแปลนี้มีที่มายังงัย วิเคราะห์รูปศัทพ์ หน้าที่ของคำศัพท์แต่ละคำได้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าผู้แปลแปลผิดพลาดเพี้ยนไปยังงัยก็สามารถอภิปรายกันได้ด้วยหลักไวยากรณ์ของบาลีครับ

ดังนั้น ผมพูดอยู่เสมอว่า ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ต้องรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองว่า แต่ละคำมีที่มาอย่างไร อย่างคิดว่าผู้แปลทุกคนจะแปลได้ถูกต้อง
ถ้ามีปัญหาก็ต้องกลับไปยัง พระไตรปิฎกบาลี ไปดูที่ประโยคต้นเดิม แล้วเอาหลักไวยากรณ์บาลีมาตัดสิน

ถ้าท่านไม่สอบสวนจากพระไตรปิฎกบาลี ดูแต่พระไตรปิฎกไทย โดยที่ท่านไม่เข้าใจไวยากรณ์บาลี สิ่งที่ท่านจะได้เป็นแค่ความเชื่อครับ ไม่ใช่ความรู้ หรือปัญญาของตัวท่านเอง เพราะท่านเองสืบสวนทวนกลับไม่ได้ด้วยปัญญาที่เป็นของท่านเอง

ดังนั้น เรื่องนี้ยังงัยก็ไม่จบเพราะ เมื่อใดที่ผู้รู้เห็นว่าท่านเชื่อผิดเขาก็จะออกมาท้วงไม่รู้จบ
ทางที่ดีคือ สร้างสัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจเรื่องนี้ให้ถูกต้อง เมื่อท่านใช้โยนิโสมนสิการในเรื่องนี้ไม่ได้ ก็ต้องแสวงหากัลยาณมิตร คือ คนที่รู้ครับ
การมีมานะคิดว่า ตนเหนือผู้อื่น ไม่ช้ามานะนั้นจะกลับมาทำร้ายคุณงามความดีทั้งหลายที่ท่านสร้าง


ท่านใดเห็นต่าง มีข้อโต้เเย้ง หรือเสนอแนะเกี่ยวกับคำแปลหรือการวิเคราะห์ของผม ว่ามาได้ครับยินดีอภิปราย ผมไม่ใช่ประโยคเก้า แต่ก็พอมีความรู้ทางบาลีติดตัวมาบ้าง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่