เอาข่าวเก่ามาให้อ่าน...
ดีเบตร่างรัฐธรรมนูญปี 50
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 ส.ค. มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) จัดเวทีสาธารณะเพื่อการประชันทางความคิด (ดีเบต) จุดเด่น จุดด้อยของร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
โดยเชิญตัวแทนฝ่ายผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฝ่ายละ 3 คน ขึ้นอภิปราย ซึ่งฝ่ายที่เห็นด้วย ได้แก่ นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ได้แก่ นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำกลุ่มไทยรักไทย และนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการพีเน็ต เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีการกำหนดเวลาอภิปรายคนละเท่ากัน คือ 20 นาที
ฝ่ายหนุนยันการยกร่างฯ ใหม่ไร้ใบสั่ง
จากนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นของคู่แรก คือ นายจรัญ กับ นายนิธิ โดย นายจรัญยืนยันว่า แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมาจากการรัฐประหาร แต่ยืนยันว่าในกระบวนการยกร่างฯ มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาเป็นตัวตั้ง และแก้ไขในจุดอ่อนของฉบับดังกล่าวจนได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ได้มีการยกร่างตามใบสั่งของใคร และการยกร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นไปด้วยความอิสระ ไม่มีการฮั้วกัน ส่วนที่มีการนำตุลาการมาสรรหากรรมการองค์กรอิสระนั้น เพราะเห็นว่าเป็นสถาบันที่เป็นอิสระและเป็นกลางทางการเมือง นอกจากนี้ยังจัดให้มีหมวดที่ว่าด้วยจริยธรรมนักการเมืองด้วย
นายจรัญ กล่าวด้วยว่า แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด แต่ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของการกลับคืนมาของอำนาจประชาชนอย่างราบรื่น ชัดเจน แน่นอน และทำให้ คมช.สิ้นสุดสภาพลงไปด้วย จึงอยากให้มีการรับร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน จากนั้นค่อยมาแก้ไขทีหลังในประเด็นที่ไม่เห็นด้วย
ขณะที่ นายนิธิ เห็นแย้งว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการตั้งโจทย์ไว้แคบเกินไป ไม่ได้นำประสบการณ์คนชั้นล่างมาเป็นโจทย์ในการยกร่าง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต โดยระบบตัวแทนจะหายไป การเมืองจะไปสู่ระบบการฮั้วกัน นอกจากนี้ยังมีการให้อำนาจตุลาการในการเลือกกรรมการในองค์กรอิสระมากเกินไป และเชื่อว่าจะเป็นปัญหาต่อตุลาการเองในอนาคต และแม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีข้อดีในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ แต่ส่วนตัวเห็นว่าหลายเรื่องไม่มีความจำเป็น หรือเกาไม่ถูกที่คัน จึงอยากให้มองภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้งร่าง ไม่ใช่ไปดูเพียงบางมาตรา จึงเห็นว่าไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาบังคับใช้แทน เพราะถือว่าดีกว่าฉบับใหม่
ต่อมาเป็นการพบกันในคู่ที่สอง ระหว่าง นายเจิมศักดิ์ กับ นายจาตุรนต์ ทั้งนี้ นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่เข้าไปมีส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับปี 2540 กับปี 2550 สามารถพูดได้เต็มปากว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ดีกว่าและกว้างขวางกว่าฉบับปี 2540 อย่างแน่นอน นอกจากนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังแก้ไขจุดอ่อนของปี 2540 ไว้ในหลายด้าน เช่น กระบวนการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้อำนาจประชาชนเสนอร่างกฎหมายได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ดังนั้น แม้ส่วนตัวจะไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญกว่า 30 มาตรา แต่ก็จะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะมองแล้วเห็นว่ามีภาพรวมดีกว่าทุกฉบับ
"จาตุรนต์" ชี้ รธน.ไม่เป็นประชาธิปไตย
ขณะที่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ได้เป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตรงกันข้ามเป็นการส่งเสริมระบอบเผด็จการและอำมาตยาธิปไตย เพราะเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้ ส.ส.หรือผู้แทนประชาชนทำหน้าที่ได้น้อยมาก ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน เนื่องจากมีการแบ่งเขตกว้างขึ้น นอกจากนี้มีการห้ามนักการเมืองเข้าไปก้าวก่ายการทำงานของข้าราชการประจำ ขณะที่รัฐบาลมีอำนาจในการบริหารประเทศน้อยมาก แต่อำนาจที่แท้จริงกลับไปอยู่ที่ศาล สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และข้าราชการ ซึ่งไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนเลย อีกทั้งในมาตรา 309 ยังมีการนิรโทษกรรมการกระทำของ คมช.ไว้ด้วย ส่วนตัวจึงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ต่อมาเป็นการอภิปรายคู่ที่สาม คือ นายสมคิด กับ นายวรเจตน์ โดย นายสมคิด ยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 309 มุ่งอุดช่องว่างของกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิ่งที่ทำไปแล้วและถูกต้อง ไม่ได้มุ่งคุ้มครองในสิ่งที่ผิด และไม่ได้เป็นการนิรโทษกรรม คมช.อย่างที่มีการระบุ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 มีการนิรโทษกรรมให้ คมช.ไปแล้ว และส่วนตัวขอยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ให้อำนาจและสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนเพิ่มขึ้นกว่าปี 2540 ส่วนที่ห้ามนักการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำนั้น ได้ห้ามเฉพาะการแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ตนเองเท่านั้น ส่วนการสรรหาองค์กรอิสระไม่ได้ทำให้สถาบันตุลาการมีอำนาจมากขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามได้ให้อำนาจประชาชนสามารถลงชื่อถอดถอนศาลฎีกาได้ ดังนั้น ขอยืนยันว่าคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ตั้งใจให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ส่งเสริมระบอบเผด็จการ และมั่นใจว่าเนื้อหาโดยรวมดีกว่าทุกฉบับที่ผ่านมา
ขณะที่ นายวรเจตน์ กล่าวว่า การจะพิจารณาว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต้องพิจารณาจากที่มาและเนื้อหา ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมีปัญหาทั้งที่มา คือ มาจากการรัฐประหาร ผู้ยกร่างฯ บางคนมีผลประโยชน์ซับซ้อน ส่วนเนื้อหาหลายเรื่องก็จะทำให้มีปัญหาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบเลือกตั้ง การสรรหา ส.ว. รวมทั้งมาตรา 309 ดังนั้น แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น แต่ส่วนตัวเห็นว่ามีข้อเสียมากกว่า และไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ ดังนั้น หากประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับรับรองทุกมาตราและเป็นการรับรองการกระทำที่อาจไม่ชอบบางเรื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการจัดดีเบตดังกล่าว มีประชาชนเข้าร่วมรับฟังกว่า 300 คน จนเต็มห้องประชุม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงสวมเสื้อยืดสีน้ำเงิน ที่สกรีนคำว่า "เหล่าลูกหลานพ่อขุน กู ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" มาร่วมรับฟังด้วยหลายสิบคน ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยตรวจค้นกระเป๋าผู้เข้าร่วมรับฟังทุกคนอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ระหว่างการอภิปรายมีเหตุวุ่นวายเล็กน้อย เนื่องจากมีประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตะโกนแย้งความเห็นนายเจิมศักดิ์ แต่สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี
ขอบคุณข้อมูลจาก Kapook.com
"สมคิด" มันฝักใฝ่มานานแล้ว วัวเคยขา ม้าเคยขี่ ผีเคยสิง ลิงกินกระปิ ..อย่าแปลกใจ !
ดีเบตร่างรัฐธรรมนูญปี 50
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 ส.ค. มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) จัดเวทีสาธารณะเพื่อการประชันทางความคิด (ดีเบต) จุดเด่น จุดด้อยของร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
โดยเชิญตัวแทนฝ่ายผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฝ่ายละ 3 คน ขึ้นอภิปราย ซึ่งฝ่ายที่เห็นด้วย ได้แก่ นายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ได้แก่ นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำกลุ่มไทยรักไทย และนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการพีเน็ต เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีการกำหนดเวลาอภิปรายคนละเท่ากัน คือ 20 นาที
ฝ่ายหนุนยันการยกร่างฯ ใหม่ไร้ใบสั่ง
จากนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นของคู่แรก คือ นายจรัญ กับ นายนิธิ โดย นายจรัญยืนยันว่า แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมาจากการรัฐประหาร แต่ยืนยันว่าในกระบวนการยกร่างฯ มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาเป็นตัวตั้ง และแก้ไขในจุดอ่อนของฉบับดังกล่าวจนได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ได้มีการยกร่างตามใบสั่งของใคร และการยกร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นไปด้วยความอิสระ ไม่มีการฮั้วกัน ส่วนที่มีการนำตุลาการมาสรรหากรรมการองค์กรอิสระนั้น เพราะเห็นว่าเป็นสถาบันที่เป็นอิสระและเป็นกลางทางการเมือง นอกจากนี้ยังจัดให้มีหมวดที่ว่าด้วยจริยธรรมนักการเมืองด้วย
นายจรัญ กล่าวด้วยว่า แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด แต่ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของการกลับคืนมาของอำนาจประชาชนอย่างราบรื่น ชัดเจน แน่นอน และทำให้ คมช.สิ้นสุดสภาพลงไปด้วย จึงอยากให้มีการรับร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน จากนั้นค่อยมาแก้ไขทีหลังในประเด็นที่ไม่เห็นด้วย
ขณะที่ นายนิธิ เห็นแย้งว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการตั้งโจทย์ไว้แคบเกินไป ไม่ได้นำประสบการณ์คนชั้นล่างมาเป็นโจทย์ในการยกร่าง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคต โดยระบบตัวแทนจะหายไป การเมืองจะไปสู่ระบบการฮั้วกัน นอกจากนี้ยังมีการให้อำนาจตุลาการในการเลือกกรรมการในองค์กรอิสระมากเกินไป และเชื่อว่าจะเป็นปัญหาต่อตุลาการเองในอนาคต และแม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีข้อดีในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ แต่ส่วนตัวเห็นว่าหลายเรื่องไม่มีความจำเป็น หรือเกาไม่ถูกที่คัน จึงอยากให้มองภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้งร่าง ไม่ใช่ไปดูเพียงบางมาตรา จึงเห็นว่าไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาบังคับใช้แทน เพราะถือว่าดีกว่าฉบับใหม่
ต่อมาเป็นการพบกันในคู่ที่สอง ระหว่าง นายเจิมศักดิ์ กับ นายจาตุรนต์ ทั้งนี้ นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่เข้าไปมีส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับปี 2540 กับปี 2550 สามารถพูดได้เต็มปากว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ดีกว่าและกว้างขวางกว่าฉบับปี 2540 อย่างแน่นอน นอกจากนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังแก้ไขจุดอ่อนของปี 2540 ไว้ในหลายด้าน เช่น กระบวนการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้อำนาจประชาชนเสนอร่างกฎหมายได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ดังนั้น แม้ส่วนตัวจะไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญกว่า 30 มาตรา แต่ก็จะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะมองแล้วเห็นว่ามีภาพรวมดีกว่าทุกฉบับ
"จาตุรนต์" ชี้ รธน.ไม่เป็นประชาธิปไตย
ขณะที่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ได้เป็นการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตรงกันข้ามเป็นการส่งเสริมระบอบเผด็จการและอำมาตยาธิปไตย เพราะเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้ ส.ส.หรือผู้แทนประชาชนทำหน้าที่ได้น้อยมาก ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน เนื่องจากมีการแบ่งเขตกว้างขึ้น นอกจากนี้มีการห้ามนักการเมืองเข้าไปก้าวก่ายการทำงานของข้าราชการประจำ ขณะที่รัฐบาลมีอำนาจในการบริหารประเทศน้อยมาก แต่อำนาจที่แท้จริงกลับไปอยู่ที่ศาล สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และข้าราชการ ซึ่งไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนเลย อีกทั้งในมาตรา 309 ยังมีการนิรโทษกรรมการกระทำของ คมช.ไว้ด้วย ส่วนตัวจึงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ต่อมาเป็นการอภิปรายคู่ที่สาม คือ นายสมคิด กับ นายวรเจตน์ โดย นายสมคิด ยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 309 มุ่งอุดช่องว่างของกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิ่งที่ทำไปแล้วและถูกต้อง ไม่ได้มุ่งคุ้มครองในสิ่งที่ผิด และไม่ได้เป็นการนิรโทษกรรม คมช.อย่างที่มีการระบุ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 มีการนิรโทษกรรมให้ คมช.ไปแล้ว และส่วนตัวขอยืนยันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ให้อำนาจและสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนเพิ่มขึ้นกว่าปี 2540 ส่วนที่ห้ามนักการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำนั้น ได้ห้ามเฉพาะการแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ตนเองเท่านั้น ส่วนการสรรหาองค์กรอิสระไม่ได้ทำให้สถาบันตุลาการมีอำนาจมากขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามได้ให้อำนาจประชาชนสามารถลงชื่อถอดถอนศาลฎีกาได้ ดังนั้น ขอยืนยันว่าคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ตั้งใจให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ส่งเสริมระบอบเผด็จการ และมั่นใจว่าเนื้อหาโดยรวมดีกว่าทุกฉบับที่ผ่านมา
ขณะที่ นายวรเจตน์ กล่าวว่า การจะพิจารณาว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต้องพิจารณาจากที่มาและเนื้อหา ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญมีปัญหาทั้งที่มา คือ มาจากการรัฐประหาร ผู้ยกร่างฯ บางคนมีผลประโยชน์ซับซ้อน ส่วนเนื้อหาหลายเรื่องก็จะทำให้มีปัญหาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบเลือกตั้ง การสรรหา ส.ว. รวมทั้งมาตรา 309 ดังนั้น แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น แต่ส่วนตัวเห็นว่ามีข้อเสียมากกว่า และไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ ดังนั้น หากประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญก็เหมือนกับรับรองทุกมาตราและเป็นการรับรองการกระทำที่อาจไม่ชอบบางเรื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในการจัดดีเบตดังกล่าว มีประชาชนเข้าร่วมรับฟังกว่า 300 คน จนเต็มห้องประชุม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงสวมเสื้อยืดสีน้ำเงิน ที่สกรีนคำว่า "เหล่าลูกหลานพ่อขุน กู ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" มาร่วมรับฟังด้วยหลายสิบคน ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยตรวจค้นกระเป๋าผู้เข้าร่วมรับฟังทุกคนอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ระหว่างการอภิปรายมีเหตุวุ่นวายเล็กน้อย เนื่องจากมีประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตะโกนแย้งความเห็นนายเจิมศักดิ์ แต่สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี
ขอบคุณข้อมูลจาก Kapook.com