“จาตุรนต์”ชี้โจทย์ใหญ่ จะแก้ยังไง การเมืองเปลี่ยนช้ากว่าหายนะของประเทศ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2036249
เมื่อวันที่ 8 มี.ค. นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตส.ส.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีแนวโน้มเกิดขึ้นช้ากว่าความวิบัติหายนะของประเทศ
นาย
จาตุรนต์กล่าวว่าขณะนี้คนไทยอยู่ด้วยความรู้สึกอึดอัดคือเดือดร้อนกันทั่วไปหมดและรู้ว่าต่อจากนี้ไปจะเดือดร้อนกว่านี้อีกมาก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ รู้ว่ารัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ได้แต่คิดว่ารัฐบาลนี้จะอยู่อีกนานมั้ย
เดิมสภาพเศรษฐกิจก็แย่มากอยู่แล้ว แต่ปัญหาโคโรน่าไวรัสกำลังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งโลกได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยแล้วและจะส่งผลกระทบมากขึ้นอีกมาก
แต่เมื่อดูการจัดการแก้ปัญหาของรัฐบาลก็จะพบว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเลย การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมาผิดทิศผิดทางแก้ปัญหาไม่ตรงจุดมาตลอด ซ้ำยังปล่อยประละเลยไม่มีมาตรการรับมือกับปัญหาใหญ่ๆที่จะเกิดขึ้นอย่างเรื่องภัยแล้ง คนตกงาน ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ล่าสุดเกิดโคโรนาไวรัสขึ้นก็จะเห็นถึงความละหลวมไร้ประสิทธิภาพในการรับมือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือโรงพยาบาลต่างๆขาดแคลนและการปล่อยให้คนจากประเทศเสียงเข้าประเทศได้อย่างเสรี
ในส่วนของการเตรียมรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโคโรนาไวรัสก็จะเห็นว่าผิดทิศผิดทางอย่างร้ายแรงคือไม่มีมาตรการรับมือกับเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆ แทนที่จะคิดมาตรการช่วยเหลือไม่ให้ธุรกิจต่างๆต้องปิดกิจการไม่ให้คนต้องหยุดทำมาค้าขายและเตรียมมาตรการทางด้านสวัสดิการดูแลคนตกงานคนไม่มีรายได้และและคนยากจน และกลับมาใช้วิธีการแจกเงินคนละ 2000 บาทเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว
นาย
จาตุรนต์กล่าวว่า มาถึงขณะนี้ น่าจะพูดได้ว่าคนไทยเกือบทุกฝ่ายทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกันว่ ารัฐบาลนี้แก้ปัญหาประเทศไม่ได้แน่และหากปล่อยให้บริหารต่อไปประเทศไทยคงก้าวสู่ความวิบัติหายนะ แต่เมื่อมาดูระบบกลไกทางการเมืองที่จะเปลี่ยนรัฐบาลก็จะพบว่ายังเป็นไปได้ยากมาก ในระบบรัฐสภา พรรคฝ่ายค้านอ่อนแอลงและอยู่ระหว่างการปรับตัว ยังไม่แน่ว่าจะเข้มแข็งขึ้นได้ในเร็วๆนี้หรือไม่ เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบไป พรรคใหม่ที่มาแทนที่ก็ย่อมขาดบุคลากรไปและยังต้องจัดขบวนกันใหม่รวมทั้งจัดความสัมพันธ์กับอดีตแกนนำที่ทำกิจกรรมนอกสภา ส่วนพรรคเพื่อไทยก็อยู่ในสภาพปั่นป่วนละล้าละลังต้องการการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะทำได้ การเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้านทั้งในสภาและนอกสภาจึงยังจะมีข้อจำกัดอยู่มาก ยังดีที่มีประชาชนจำนวนมากให้การสนับสนุนและเอาใจช่วยอยู่
นาย
จาตุรนต์กล่าวว่า ในส่วนของการเคลื่อนไหวของนักศึกษาทั่วประเทศนั้นมีศักยภาพและเป็นความหวังของประชาชนว่า จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทางที่ดี แต่ก็ยังต้องอาศัยเวลาที่จะสะสมกำลัง สร้างความเข้าใจและเพิ่มการสนับสนุนทั้งจากนักศึกษาด้วยกันและจากประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังต้องเรียนรู้ที่จะผ่านด่านวิชามารของรัฐบาลและพรรคพวก นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคือประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เดือดร้อนและกำลังจะเดือดร้อนมากขึ้น แต่ยังไม่กล้าหรือยังไม่มีวิธีแสดงออก
เศรษฐกิจไทยกำลังจะเข้าสู่สภาพที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบหลายสิบปี เมื่อรัฐบาลไร้ประสิทธิภาพยิ่งอยู่นานประชาชนก็ยิ่งเดือดร้อนต่อไปคนก็จะยิ่งมีข้อสรุปว่าต้องเปลี่ยนรัฐบาล แต่ระบบกติกาสวยก็ทำให้เปลี่ยนรัฐบาลยากมากจำเป็นต้องแก่รัฐธรรมนูญซึ่งก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาพที่กำลังเดินหน้าสู่ความวิบัติหายนะก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสิ่งที่ทุกฝ่ายทุกภาคส่วนในสังคมไทยต้องช่วยกันคิดอย่างจริงจังก็คือจะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก่อนที่บ้านเมืองจะหายนะหรือจะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงวิบัติหายนะได้อย่างไร
'อดีต ส.ส.ร. 40' เสียใจ 'คณากร' เสียชีวิต ขอบคุณอดีตผู้พิพากษาชื่นชม รธน. ปี 40
https://www.voicetv.co.th/read/tD_l1ZYef?fbclid=IwAR1C0JQ0yWO06NjBfX75sn1qneQ6J54rzdeE4ZsOe-yZH-IwZc8NLRM_Ls0
'บุญเลิศ' อดีต ส.ส.ร. 40 เสียใจ 'คณากร' ผู้พิพากษาฆ่าตัวตาย ขอบคุณที่แสดงความชื่นชม รธน. ฉบับปี40 เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
นาย
บุญเลิศ คชายุทธเดช อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 เปิดเผยว่า ขอแสดงความเสียใจมายังภรรยา ลูกและญาติพี่น้องของนาย
คณากร เพียรชนะ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลาที่เสียชีวิตจากการยิงตัวตาย ส่วนจะผิดถูกอย่างไรนั้น ก็สุดแท้แต่สังคมจะใช้วิจารณญาณตามข้อเท็จจริงแห่งการตัดสินใจ นายคณากรได้เขียนบันทึกส่วนตัว เขียนแถลงการณ์ลงในเฟซบุ๊กถึงสภาพปัญหาและเหตุผลต่างๆ รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตกเป็นผู้ต้องหากรณีถูกศาลยุติธรรมตั้งกรรมการสอบสวน และถูกพนักงานสอบสวน ตั้งข้อหาในคดีอาญา
นาย
บุญเลิศ กล่าวว่า ขอขอบคุณนาย
คณากร ที่ได้เขียนแสดงความชื่นชมรัฐธรรมนูญ 2540 โดยระบุว่า "
ในอดีตที่เราใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ถูกร่างขึ้นโดยสสร. ประชาชนและนักวิชาการทั้งหลายต่างยอมรับว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่ประเทศเราเคยมีมา ท่านคงสงสัยว่า ขณะใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าว ทำไมจึงไม่ให้มีการตรวจร่างคำพิพากษาในศาลชั้นต้น เพราะอะไร หรือ ส.ส.ร.รู้ว่า การตรวจร่างคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอาจเปิดโอกาสให้มีการแทรกแซงผลคำพิพากษาโดยอธิบดีผู้พิพากษา"
นาย
บุญเลิศ ระบุว่า รัฐธรรมนูญ 2540 ได้คุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในฐานะผู้ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี เนื่องด้วยลักษณะการใช้อำนาจดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉะนั้นเพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ ธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม จำเป็นต้องมีหลักประกันให้ผู้พิพากษามีความอิสระปราศจากการแทรกแซงใดๆ ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารหรือแม้แต่ฝ่ายตุลาการด้วยกันเองซึ่งปรากฎในมาตรา 249 ที่ว่า
"
ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น แต่รัฐธรรมนูญ 2550 และ 2560 บทบัญญัตินี้ได้ถูกตัดทิ้งไป" นาย
บุญเลิศ กล่าว
อดีต สส.ร. 2540 กล่าวทิ้งท้ายว่า ขณะนี้มีการเรียกร้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นประชาธิปไตย ต้นเห็นด้วยและพร้อมสนับสนุนการเคลื่อนไหว หากเป็นไปได้ควรยึดตามแนวทางที่ 240 เคยจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนโดยผู้ร่างไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนได้เสียกับอำนาจทางการเมือง ที่สำคัญ ประชาชนมีส่วนร่วมร่างอย่างแท้จริง
JJNY : จาตุรนต์ชี้โจทย์ใหญ่ การเมืองเปลี่ยนช้ากว่าหายนะ/อดีตส.ส.ร.40 เสียใจคณากร/80ผีน้อยแหกด่าน/ปชช.บริจาคหน้ากากให้รพ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2036249
นายจาตุรนต์กล่าวว่าขณะนี้คนไทยอยู่ด้วยความรู้สึกอึดอัดคือเดือดร้อนกันทั่วไปหมดและรู้ว่าต่อจากนี้ไปจะเดือดร้อนกว่านี้อีกมาก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ รู้ว่ารัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ได้แต่คิดว่ารัฐบาลนี้จะอยู่อีกนานมั้ย
เดิมสภาพเศรษฐกิจก็แย่มากอยู่แล้ว แต่ปัญหาโคโรน่าไวรัสกำลังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งโลกได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยแล้วและจะส่งผลกระทบมากขึ้นอีกมาก
แต่เมื่อดูการจัดการแก้ปัญหาของรัฐบาลก็จะพบว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเลย การแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมาผิดทิศผิดทางแก้ปัญหาไม่ตรงจุดมาตลอด ซ้ำยังปล่อยประละเลยไม่มีมาตรการรับมือกับปัญหาใหญ่ๆที่จะเกิดขึ้นอย่างเรื่องภัยแล้ง คนตกงาน ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ล่าสุดเกิดโคโรนาไวรัสขึ้นก็จะเห็นถึงความละหลวมไร้ประสิทธิภาพในการรับมือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือโรงพยาบาลต่างๆขาดแคลนและการปล่อยให้คนจากประเทศเสียงเข้าประเทศได้อย่างเสรี
ในส่วนของการเตรียมรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโคโรนาไวรัสก็จะเห็นว่าผิดทิศผิดทางอย่างร้ายแรงคือไม่มีมาตรการรับมือกับเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆ แทนที่จะคิดมาตรการช่วยเหลือไม่ให้ธุรกิจต่างๆต้องปิดกิจการไม่ให้คนต้องหยุดทำมาค้าขายและเตรียมมาตรการทางด้านสวัสดิการดูแลคนตกงานคนไม่มีรายได้และและคนยากจน และกลับมาใช้วิธีการแจกเงินคนละ 2000 บาทเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว
นายจาตุรนต์กล่าวว่า มาถึงขณะนี้ น่าจะพูดได้ว่าคนไทยเกือบทุกฝ่ายทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกันว่ ารัฐบาลนี้แก้ปัญหาประเทศไม่ได้แน่และหากปล่อยให้บริหารต่อไปประเทศไทยคงก้าวสู่ความวิบัติหายนะ แต่เมื่อมาดูระบบกลไกทางการเมืองที่จะเปลี่ยนรัฐบาลก็จะพบว่ายังเป็นไปได้ยากมาก ในระบบรัฐสภา พรรคฝ่ายค้านอ่อนแอลงและอยู่ระหว่างการปรับตัว ยังไม่แน่ว่าจะเข้มแข็งขึ้นได้ในเร็วๆนี้หรือไม่ เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบไป พรรคใหม่ที่มาแทนที่ก็ย่อมขาดบุคลากรไปและยังต้องจัดขบวนกันใหม่รวมทั้งจัดความสัมพันธ์กับอดีตแกนนำที่ทำกิจกรรมนอกสภา ส่วนพรรคเพื่อไทยก็อยู่ในสภาพปั่นป่วนละล้าละลังต้องการการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะทำได้ การเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้านทั้งในสภาและนอกสภาจึงยังจะมีข้อจำกัดอยู่มาก ยังดีที่มีประชาชนจำนวนมากให้การสนับสนุนและเอาใจช่วยอยู่
นายจาตุรนต์กล่าวว่า ในส่วนของการเคลื่อนไหวของนักศึกษาทั่วประเทศนั้นมีศักยภาพและเป็นความหวังของประชาชนว่า จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทางที่ดี แต่ก็ยังต้องอาศัยเวลาที่จะสะสมกำลัง สร้างความเข้าใจและเพิ่มการสนับสนุนทั้งจากนักศึกษาด้วยกันและจากประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังต้องเรียนรู้ที่จะผ่านด่านวิชามารของรัฐบาลและพรรคพวก นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคือประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เดือดร้อนและกำลังจะเดือดร้อนมากขึ้น แต่ยังไม่กล้าหรือยังไม่มีวิธีแสดงออก
เศรษฐกิจไทยกำลังจะเข้าสู่สภาพที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบหลายสิบปี เมื่อรัฐบาลไร้ประสิทธิภาพยิ่งอยู่นานประชาชนก็ยิ่งเดือดร้อนต่อไปคนก็จะยิ่งมีข้อสรุปว่าต้องเปลี่ยนรัฐบาล แต่ระบบกติกาสวยก็ทำให้เปลี่ยนรัฐบาลยากมากจำเป็นต้องแก่รัฐธรรมนูญซึ่งก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาพที่กำลังเดินหน้าสู่ความวิบัติหายนะก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสิ่งที่ทุกฝ่ายทุกภาคส่วนในสังคมไทยต้องช่วยกันคิดอย่างจริงจังก็คือจะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก่อนที่บ้านเมืองจะหายนะหรือจะเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงวิบัติหายนะได้อย่างไร
'อดีต ส.ส.ร. 40' เสียใจ 'คณากร' เสียชีวิต ขอบคุณอดีตผู้พิพากษาชื่นชม รธน. ปี 40
https://www.voicetv.co.th/read/tD_l1ZYef?fbclid=IwAR1C0JQ0yWO06NjBfX75sn1qneQ6J54rzdeE4ZsOe-yZH-IwZc8NLRM_Ls0
'บุญเลิศ' อดีต ส.ส.ร. 40 เสียใจ 'คณากร' ผู้พิพากษาฆ่าตัวตาย ขอบคุณที่แสดงความชื่นชม รธน. ฉบับปี40 เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 เปิดเผยว่า ขอแสดงความเสียใจมายังภรรยา ลูกและญาติพี่น้องของนายคณากร เพียรชนะ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลาที่เสียชีวิตจากการยิงตัวตาย ส่วนจะผิดถูกอย่างไรนั้น ก็สุดแท้แต่สังคมจะใช้วิจารณญาณตามข้อเท็จจริงแห่งการตัดสินใจ นายคณากรได้เขียนบันทึกส่วนตัว เขียนแถลงการณ์ลงในเฟซบุ๊กถึงสภาพปัญหาและเหตุผลต่างๆ รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตกเป็นผู้ต้องหากรณีถูกศาลยุติธรรมตั้งกรรมการสอบสวน และถูกพนักงานสอบสวน ตั้งข้อหาในคดีอาญา
นายบุญเลิศ กล่าวว่า ขอขอบคุณนายคณากร ที่ได้เขียนแสดงความชื่นชมรัฐธรรมนูญ 2540 โดยระบุว่า "ในอดีตที่เราใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ถูกร่างขึ้นโดยสสร. ประชาชนและนักวิชาการทั้งหลายต่างยอมรับว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่ประเทศเราเคยมีมา ท่านคงสงสัยว่า ขณะใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าว ทำไมจึงไม่ให้มีการตรวจร่างคำพิพากษาในศาลชั้นต้น เพราะอะไร หรือ ส.ส.ร.รู้ว่า การตรวจร่างคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอาจเปิดโอกาสให้มีการแทรกแซงผลคำพิพากษาโดยอธิบดีผู้พิพากษา"
นายบุญเลิศ ระบุว่า รัฐธรรมนูญ 2540 ได้คุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในฐานะผู้ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี เนื่องด้วยลักษณะการใช้อำนาจดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ฉะนั้นเพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ ธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม จำเป็นต้องมีหลักประกันให้ผู้พิพากษามีความอิสระปราศจากการแทรกแซงใดๆ ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารหรือแม้แต่ฝ่ายตุลาการด้วยกันเองซึ่งปรากฎในมาตรา 249 ที่ว่า
"ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น แต่รัฐธรรมนูญ 2550 และ 2560 บทบัญญัตินี้ได้ถูกตัดทิ้งไป" นายบุญเลิศ กล่าว
อดีต สส.ร. 2540 กล่าวทิ้งท้ายว่า ขณะนี้มีการเรียกร้องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นประชาธิปไตย ต้นเห็นด้วยและพร้อมสนับสนุนการเคลื่อนไหว หากเป็นไปได้ควรยึดตามแนวทางที่ 240 เคยจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนโดยผู้ร่างไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนได้เสียกับอำนาจทางการเมือง ที่สำคัญ ประชาชนมีส่วนร่วมร่างอย่างแท้จริง