ที่จริงแล้ว เรื่องนี้ มิได้มีอะไรที่ซับซ้อนเลยแม้สักนิด กล่าวคือ เมื่อ "กล่าวหา" ผิดไป หรือ พูดผิดไป
ก็เพียงแค่ "ขอขมา" อย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา แค่นี้ เรื่องก็จบแล้วหละครับ !
แต่ที่มันไม่จบ ก็เป็นเพราะ ใครบางคน มันหน้าด้าน หน้าหนา จนผิดธรรมดา
ทั้งๆ ที่หลักฐานก็เห็นอยู่ทนโท่ ว่ามันเป็นฝ่ายผิด กล่าวหา ว่าร้ายพระด้วยข้อมูลผิดๆ
จะเป็นเพราะ ความเป็นลูกผู้ชายของมัน มีไม่มากพอ หรืออย่างไร ก็มิอาจทราบได้
ไอ้หมอนี่ นอกจะไม่ยอมรับผิดอย่างลูกผู้ชายแล้ว มันยังพยายามแสดงความ ..... กะล่อน + สะตอ
แถกแถ ดิ้นรน หมายจะเอาตัวรอดไปจากความผิดชั่วที่มันได้ก่อไว้ อย่างปราศจากความละอายชั่วกลัวบาป !
ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณา หลักฐาน ตามที่ปรากฏอยู่จริง ให้ละเอียดรอบคอบสักนิด นะครับ
ประเด็นแรก ที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงพิจารณาให้ดีๆ ก็คือ การที่ บุรุษเปล่าผู้นั้น อ้างว่า เพราะเหตุคือ ท่านพุทธทาส
เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ ดังนั้น มัน จึงเรียกท่านพุทธทาสว่า นาย ...... เป็นการกระทำที่สมเหตุสมผล หรือไม่ ?
(๑) การเรียกท่านพุทธทาสว่า นาย ย่อมหมายความว่า ท่านขาดจากความเป็นภิกษุ
แต่ การที่ท่านพุทธทาส เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ มิได้เป็น "ข้อห้าม" ใน ปาราชิก ๔ นี่ครับ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นไปมิได้ที่ "ชาวพุทธ" จะพึงเข้าใจได้ว่า ท่านพุทธทาส ขาดจากความเป็นพระ
นอกไปเสียจาก "อคติ" ของบุคคลบางจำพวก ที่จ้องจะให้ร้ายป้ายสี พระสงฆ์องค์เจ้า ด้วยข้อกล่าวหาโง่ๆ เท่านั้นเอง
(๒) หากแม้ว่า การที่ท่านพุทธทาส เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ เป็นความผิดจริง
ผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าว ผิด หรือ ถูก ก็คือ คณะสงฆ์
และหากจะมีการลงโทษ "จับสึก" นั่นก็เป็นอำนาจของ คณะสงฆ์ ไม่ใช่อำนาจของ บุรุษเปล่าผู้นี้ เสียหน่อย
พระพุทธเจ้า ทรงมอบอำนาจนี้ แก่มันตั้งแต่เมื่อใด มิทราบครับ ?
(๓) แต่ความน่าสมเพช มันมีอยู่ว่า เมื่อพิจารณาหลักฐาน ทั้งจากข้อความของท่านพุทธทาสเอง
และจากพระคัมภีร์ คือ พระไตรปิฎก และ อรรถกถา กลับปรากฏว่า การที่ท่านพุทธทาส
เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ มิได้เป็น การเรียกผิด หรือ กล่าวผิด แต่อย่างใดเลย
เนื่องจาก นี่เป็นการเรียก เดียรถีย์ ด้วยความหมายที่ใช้กันอยู่ในสมัยพุทธกาล !
(๔) ปัญหามันมาเรื้อรัง "จบไม่ลง" ก็เพราะ แทนที่มันจะยอมรับผิดแต่โดยดี อย่างลูกผู้ชาย ....... มันก็ไม่ทำ
แต่กลับไปทำอีกอย่าง กล่าวคือ อ้างว่า ในเมื่อคำว่า เดียรถีย์ เป็นคำกลางๆ ใช้เรียกพระศาสดาได้
มันก็จะเรียกท่านพุทธทาสว่า เดียรถีย์ เช่นกัน โดยมันได้ย้อนถามอย่างโง่ๆ ว่า ...... รับไม่ได้หรือ ?
ผมขออนุญาต ตอบว่า รับไม่ได้จริงๆ ครับ !
ที่กล่าวว่า รับไม่ได้ นั้นหมายถึง ยอมรับใน ความโง่ + เลว ของมันไม่ได้จริงๆ
ทั้งนี้ ก็เพราะ แม้อรรถกถาจารย์ จะกล่าวว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เป็นดุจท่า(เดียรถีย์)
แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า ภิกษุนั้นเป็น ท่า(เดียรถีย์) จริงๆ เสียหน่อย
ก็ถ้า บุรุษเปล่าผู้นั้น จะมีความรู้กว้างขวางในคัมภีร์อรรถกถาสักนิด
มันย่อมเข้าใจความหมายนี้ได้ในทันทีว่า เพราะพระเถระ สอนด้วยคำๆ เดียวกับพระศาสดา
จึงสามารถกล่าวได้ว่า พระเถระผู้เป็นพหูสูตนี้ เป็นดุจ ท่า(เดียรถีย์) !
สันนิษฐานว่า แม้อธิบายความอย่างนี้แล้ว มันก็อาจจะยังไม่เข้าใจอยู่ดี
ดังนั้น จึงขออนุญาต ที่จะไม่อธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้ แล้วนะครับ
(๕) แต่ก็เอาเถิด หากแม้ว่า บุรุษเปล่า ผู้นั้น ยังยืนยันที่จะเรียกท่านพุทธทาสว่า เดียรถีย์ ให้ได้
ด้วยเหตุผลคือ ๑. ท่านพุทธทาส เป็นพหูสูต และ ๒. ท่านพุทธทาสเรียกพระศาสดาว่า เดียรถีย์
ผมก็ขออนุญาต ส่งคำถามไปยัง โมฆบุรุษผู้นั้น เพื่อทบทวน มาตรฐานทางความคิด และ ความเข้าใจ ให้ตรงกันว่า
ในเมื่อ ท่านพุทธโฆสะ ก็นับได้ว่า ๑. เป็นพหูสูต และ ๒. ท่านพุทธโฆสะเอง ก็เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ เช่นกัน
เช่นนี้แล้ว บุรุษเปล่าผู้นั้น จะกล้าเรียกท่านพุทธโฆสะ อรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่นี้ว่า เดียรถีย์ ด้วยหรือไม่ ?
เพราะถ้ามันกล้าเรียก ท่านพุทธโฆสะ ว่า เดียรถีย์ ก็ย่อมหมายความว่า
การเรียกท่านพุทธทาสว่าเดียรถีย์ เป็นการกระทำโดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ
ไม่ได้มีความคิดชั่วร้ายใดๆ แอบแฝง อยู่เลย .......... เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็คงไม่มีใครติดใจเอาความหรอกครับ
แต่ถ้ามันไม่กล้า .......
นั่นย่อมหมายความว่า ความพยายามของมัน ที่จะเรียกท่านพุทธทาสว่า เดียรถีย์ ให้ได้
น่าจะเกิดจาก จิตโสมม ที่คิดชั่ว ประสงค์จะว่าร้ายพระ ให้ได้รับความเสียหาย มากกว่าอย่างอื่น
หากเป็นกรณีเช่นนี้ ชาวพุทธผู้มีใจเป็นธรรม จักปล่อยให้คนชั่วลอยนวลไปได้อย่างไร ?
แล้วผมจะรอฟังคำตอบ นะครับ
สวัสดี
เดียรถีย์พุทธโฆษะ ของ ชาวพุทธชายขอบ
ก็เพียงแค่ "ขอขมา" อย่างจริงใจ ตรงไปตรงมา แค่นี้ เรื่องก็จบแล้วหละครับ !
แต่ที่มันไม่จบ ก็เป็นเพราะ ใครบางคน มันหน้าด้าน หน้าหนา จนผิดธรรมดา
ทั้งๆ ที่หลักฐานก็เห็นอยู่ทนโท่ ว่ามันเป็นฝ่ายผิด กล่าวหา ว่าร้ายพระด้วยข้อมูลผิดๆ
จะเป็นเพราะ ความเป็นลูกผู้ชายของมัน มีไม่มากพอ หรืออย่างไร ก็มิอาจทราบได้
ไอ้หมอนี่ นอกจะไม่ยอมรับผิดอย่างลูกผู้ชายแล้ว มันยังพยายามแสดงความ ..... กะล่อน + สะตอ
แถกแถ ดิ้นรน หมายจะเอาตัวรอดไปจากความผิดชั่วที่มันได้ก่อไว้ อย่างปราศจากความละอายชั่วกลัวบาป !
ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณา หลักฐาน ตามที่ปรากฏอยู่จริง ให้ละเอียดรอบคอบสักนิด นะครับ
ประเด็นแรก ที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงพิจารณาให้ดีๆ ก็คือ การที่ บุรุษเปล่าผู้นั้น อ้างว่า เพราะเหตุคือ ท่านพุทธทาส
เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ ดังนั้น มัน จึงเรียกท่านพุทธทาสว่า นาย ...... เป็นการกระทำที่สมเหตุสมผล หรือไม่ ?
(๑) การเรียกท่านพุทธทาสว่า นาย ย่อมหมายความว่า ท่านขาดจากความเป็นภิกษุ
แต่ การที่ท่านพุทธทาส เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ มิได้เป็น "ข้อห้าม" ใน ปาราชิก ๔ นี่ครับ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นไปมิได้ที่ "ชาวพุทธ" จะพึงเข้าใจได้ว่า ท่านพุทธทาส ขาดจากความเป็นพระ
นอกไปเสียจาก "อคติ" ของบุคคลบางจำพวก ที่จ้องจะให้ร้ายป้ายสี พระสงฆ์องค์เจ้า ด้วยข้อกล่าวหาโง่ๆ เท่านั้นเอง
(๒) หากแม้ว่า การที่ท่านพุทธทาส เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ เป็นความผิดจริง
ผู้ที่มีอำนาจในการพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าว ผิด หรือ ถูก ก็คือ คณะสงฆ์
และหากจะมีการลงโทษ "จับสึก" นั่นก็เป็นอำนาจของ คณะสงฆ์ ไม่ใช่อำนาจของ บุรุษเปล่าผู้นี้ เสียหน่อย
พระพุทธเจ้า ทรงมอบอำนาจนี้ แก่มันตั้งแต่เมื่อใด มิทราบครับ ?
(๓) แต่ความน่าสมเพช มันมีอยู่ว่า เมื่อพิจารณาหลักฐาน ทั้งจากข้อความของท่านพุทธทาสเอง
และจากพระคัมภีร์ คือ พระไตรปิฎก และ อรรถกถา กลับปรากฏว่า การที่ท่านพุทธทาส
เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ มิได้เป็น การเรียกผิด หรือ กล่าวผิด แต่อย่างใดเลย
เนื่องจาก นี่เป็นการเรียก เดียรถีย์ ด้วยความหมายที่ใช้กันอยู่ในสมัยพุทธกาล !
(๔) ปัญหามันมาเรื้อรัง "จบไม่ลง" ก็เพราะ แทนที่มันจะยอมรับผิดแต่โดยดี อย่างลูกผู้ชาย ....... มันก็ไม่ทำ
แต่กลับไปทำอีกอย่าง กล่าวคือ อ้างว่า ในเมื่อคำว่า เดียรถีย์ เป็นคำกลางๆ ใช้เรียกพระศาสดาได้
มันก็จะเรียกท่านพุทธทาสว่า เดียรถีย์ เช่นกัน โดยมันได้ย้อนถามอย่างโง่ๆ ว่า ...... รับไม่ได้หรือ ?
ผมขออนุญาต ตอบว่า รับไม่ได้จริงๆ ครับ !
ที่กล่าวว่า รับไม่ได้ นั้นหมายถึง ยอมรับใน ความโง่ + เลว ของมันไม่ได้จริงๆ
ทั้งนี้ ก็เพราะ แม้อรรถกถาจารย์ จะกล่าวว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เป็นดุจท่า(เดียรถีย์)
แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า ภิกษุนั้นเป็น ท่า(เดียรถีย์) จริงๆ เสียหน่อย
ก็ถ้า บุรุษเปล่าผู้นั้น จะมีความรู้กว้างขวางในคัมภีร์อรรถกถาสักนิด
มันย่อมเข้าใจความหมายนี้ได้ในทันทีว่า เพราะพระเถระ สอนด้วยคำๆ เดียวกับพระศาสดา
จึงสามารถกล่าวได้ว่า พระเถระผู้เป็นพหูสูตนี้ เป็นดุจ ท่า(เดียรถีย์) !
สันนิษฐานว่า แม้อธิบายความอย่างนี้แล้ว มันก็อาจจะยังไม่เข้าใจอยู่ดี
ดังนั้น จึงขออนุญาต ที่จะไม่อธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้ แล้วนะครับ
(๕) แต่ก็เอาเถิด หากแม้ว่า บุรุษเปล่า ผู้นั้น ยังยืนยันที่จะเรียกท่านพุทธทาสว่า เดียรถีย์ ให้ได้
ด้วยเหตุผลคือ ๑. ท่านพุทธทาส เป็นพหูสูต และ ๒. ท่านพุทธทาสเรียกพระศาสดาว่า เดียรถีย์
ผมก็ขออนุญาต ส่งคำถามไปยัง โมฆบุรุษผู้นั้น เพื่อทบทวน มาตรฐานทางความคิด และ ความเข้าใจ ให้ตรงกันว่า
ในเมื่อ ท่านพุทธโฆสะ ก็นับได้ว่า ๑. เป็นพหูสูต และ ๒. ท่านพุทธโฆสะเอง ก็เรียกพระพุทธเจ้าว่า เดียรถีย์ เช่นกัน
เช่นนี้แล้ว บุรุษเปล่าผู้นั้น จะกล้าเรียกท่านพุทธโฆสะ อรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่นี้ว่า เดียรถีย์ ด้วยหรือไม่ ?
เพราะถ้ามันกล้าเรียก ท่านพุทธโฆสะ ว่า เดียรถีย์ ก็ย่อมหมายความว่า
การเรียกท่านพุทธทาสว่าเดียรถีย์ เป็นการกระทำโดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ
ไม่ได้มีความคิดชั่วร้ายใดๆ แอบแฝง อยู่เลย .......... เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็คงไม่มีใครติดใจเอาความหรอกครับ
แต่ถ้ามันไม่กล้า .......
นั่นย่อมหมายความว่า ความพยายามของมัน ที่จะเรียกท่านพุทธทาสว่า เดียรถีย์ ให้ได้
น่าจะเกิดจาก จิตโสมม ที่คิดชั่ว ประสงค์จะว่าร้ายพระ ให้ได้รับความเสียหาย มากกว่าอย่างอื่น
หากเป็นกรณีเช่นนี้ ชาวพุทธผู้มีใจเป็นธรรม จักปล่อยให้คนชั่วลอยนวลไปได้อย่างไร ?
แล้วผมจะรอฟังคำตอบ นะครับ
สวัสดี