อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓
หน้าต่างที่ ๙ / ๑๑.
๙. เรื่องนางจิญจมาณวิกา [๑๔๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางจิญจมาณวิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เอกธมฺมมตีตสฺส"๑- เป็นต้น.
____________________________
๑- (พระไตรปิฎก เป็น เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส.)
พวกเดียรถีย์ริษยาพระพุทธศาสนา
ความพิสดารว่า ในปฐมโพธิกาล เมื่อสาวกของพระทศพลมีมาก หาประมาณมิได้. เมื่อพวกเทวดาและมนุษย์หยั่งลงสู่อริยภูมิ, เมื่อการเกิดขึ้นแห่งพระคุณของพระศาสดาแผ่ไปแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแล้ว.
พวกเดียรถีย์เป็นผู้เช่นกับแสงหิ่งห้อยในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น ยืนในระหว่างถนน แม้ประกาศให้พวกมนุษย์รู้แจ้งอยู่อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมเท่านั้นหรือ เป็นพระพุทธเจ้า, แม้พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้า ทานที่เขาให้แล้วแก่พระสมณโคดมนั้นเท่านั้นหรือ มีผลมาก ทานที่เขาให้แล้วแม้แก่เราทั้งหลายก็มีผลมากเหมือนกัน ท่านทั้งหลายจงให้ จงทำแก่เราทั้งหลายบ้าง" ดังนี้แล้ว ไม่ได้ลาภสักการะแล้ว ประชุมคิดกันในที่ลับว่า "พวกเราพึงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม ในระหว่างมนุษย์ทั้งหลาย พึงยังลาภสักการะให้
โดยอุบายอะไรหนอแล?"
กาลนั้นในกรุงสาวัตถี มีนางปริพาชิกาคนหนึ่งชื่อว่าจิญจมาณวิกา เป็นผู้ทรงรูปอันเลอโฉม ถึงความเลิศด้วยความงาม เหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น รัศมีย่อมเปล่งออกจากสรีระของนางนั้น.
นางจิญจมาณวิการับอาสาพวกเดียรถีย์
หน้าต่างที่ ๙ / ๑๑.
๙. เรื่องนางจิญจมาณวิกา [๑๔๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางจิญจมาณวิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เอกธมฺมมตีตสฺส"๑- เป็นต้น.
____________________________
๑- (พระไตรปิฎก เป็น เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส.)
พวกเดียรถีย์ริษยาพระพุทธศาสนา
ความพิสดารว่า ในปฐมโพธิกาล เมื่อสาวกของพระทศพลมีมาก หาประมาณมิได้. เมื่อพวกเทวดาและมนุษย์หยั่งลงสู่อริยภูมิ, เมื่อการเกิดขึ้นแห่งพระคุณของพระศาสดาแผ่ไปแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแล้ว.
พวกเดียรถีย์เป็นผู้เช่นกับแสงหิ่งห้อยในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นผู้เสื่อมลาภสักการะ. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น ยืนในระหว่างถนน แม้ประกาศให้พวกมนุษย์รู้แจ้งอยู่อย่างนี้ว่า "พระสมณโคดมเท่านั้นหรือ เป็นพระพุทธเจ้า, แม้พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้า ทานที่เขาให้แล้วแก่พระสมณโคดมนั้นเท่านั้นหรือ มีผลมาก ทานที่เขาให้แล้วแม้แก่เราทั้งหลายก็มีผลมากเหมือนกัน ท่านทั้งหลายจงให้ จงทำแก่เราทั้งหลายบ้าง" ดังนี้แล้ว ไม่ได้ลาภสักการะแล้ว ประชุมคิดกันในที่ลับว่า "พวกเราพึงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม ในระหว่างมนุษย์ทั้งหลาย พึงยังลาภสักการะให้ โดยอุบายอะไรหนอแล?"
กาลนั้นในกรุงสาวัตถี มีนางปริพาชิกาคนหนึ่งชื่อว่าจิญจมาณวิกา เป็นผู้ทรงรูปอันเลอโฉม ถึงความเลิศด้วยความงาม เหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น รัศมีย่อมเปล่งออกจากสรีระของนางนั้น.