ติตถะ = ติตถิยา = ติตถกโร = เดียรถีย์

ที่จริง ก็ไม่ได้อยากจะเขียนกระทู้นี้สักเท่าไรนักหรอก แต่คุณ cantonaz เขาคะยั้นคะยอให้เขียน
ก็เลยไม่อยากขัดศรัทธาของเขา เพราะเขาเริ่มเกิดอาการ น้อยเนื้อต่ำใจ และอ้างว่า ไม่อยากจะโต้ตอบอะไรด้วยแล้ว  
ทั้งนี้ เขายังอ้างอีกด้วยว่า เขาถามเรื่องนี้กับ "สาวกเงื่อม" มาเป็นเดือนแล้ว แต่ไม่มีใครตอบคำถามของเขาเลย

ซึ่งผมก็ไม่อาจทราบได้ว่า "สาวกเงื่อม" ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงใครกันแน่ ?

แต่ก็คงต้อง "ช่างมัน" ไปก่อน
มาคุยในเรื่องที่เป็น "เนื้อหาสาระ" กันดีกว่า นะครับ

ประเด็นสำคัญที่สุด ของกระทู้นี้ ก็คือ การอธิบาย และ แสดงหลักฐานให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว ติตถะ ติตถิยา และ ติตถกโร
ซึ่งเป็น คำศัพท์ ที่ใช้กันในสมัยพุทธกาล ล้วนแล้วแต่หมายถึงสิ่งๆ เดียวกัน นั่นคือ เดียรถีย์ ที่ชาวพุทธสมัยนี้ เรียกกันนั่นแหละ

(๑) ติตถะ

คำๆ นี้ ภาษาชาวบ้านทั่วไปในสมัยนั้น แปลว่า ท่า   แต่ในวงการศาสนา ใช้ในความหมายว่า ลัทธิคำสอน
ซึ่งเรื่องนี้ อธิบายไม่ยากเลย เพราะพระพุทธศาสนา ก็ใช้คำๆ นี้ ในความหมายกลางๆ ว่า ลัทธิ หรือ
คำสอน ในพระพุทธศาสนา เช่นกัน คำๆนี้ จึงชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า แต่เดิม มิได้ใช้ในความหมายแง่ลบ
ว่าต้องหมายถึง คำสอนของพวกอื่นที่เป็นมิจฉาทิฐิเท่านั้น



ขอให้สังเกตด้วยว่า คำว่า ติตถะ ในที่นี้ มิได้หมายถึงแค่ คำสอน  แต่อรรถกถาจารย์ ยังระบุอย่างชัดเจนด้วยว่า
หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดังนั้น คำสอน หรือ ลัทธิ(ติตถะ) จึงมีความหมายเท่ากับ นักบวชในลัทธิคำสอนนั้นๆ(ติตถิยะ)
ซึ่งในที่นี้ หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย นั่นเอง

และถ้าหากจะพิจารณาให้แยบคายขึ้นไปอีก จะได้ความว่า การที่ภิกษุนั้นเป็นพหูสูต
ดังนั้น คำสอนต่างๆ ของท่าน จึงไม่แตกต่างไปจาก คำสอนของพระศาสดาเลยแม้แต่คำเดียว
ภิกษุผู้เป็นพหูสูต จึงย่อมได้ชื่อว่าเป็น "กองธรรม" เป็นที่มาแห่งธรรม ไม่ต่างจากที่พระพุทธเจ้า
ได้พระนามว่า "ธรรมกาย" ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันคือ ทรงเป็นที่มาแห่งธรรม

ซึ่งเมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ย่อมจะเห็นได้ว่า ติตถะ ก็ดี ติตถิยะ ก็ดี จนแม้แต่คำว่า ติตถกร ก็ตาม
ล้วนแล้วแต่มีความหมายโดยอรรถอย่างเดียวกันทั้งสิ้น เราไม่สามารถแยก ติตถะ ออกจาก ติตถิยะ
ไม่สามารถแยก ติตถิยะ ออกจาก ติตถกร และไม่สามารถแยก ติตถกร ออกจาก ติตถะ ได้อย่างเด็ดขาดจากกัน

หมายความว่า ที่จริงแล้ว เพียงแค่พระสูตรนี้พระสูตรเดียว ก็สามารถอธิบายข้อขัดข้องทุกอย่างได้จนหมดสิ้นนั่นแหละ
แต่ก็เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ชาวพุทธกำมะลอ เขาคงไม่ยอมเปิดใจรับฟังง่ายๆ หรอก เพราะเจตนาของเขาเหล่านั้น
มันก็ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า ต้องการ ด่าพระ ด้วยเหตุที่พระสงฆ์รูปนี้ สอนขัด สอนแย้ง กับทิฐิงมงายของพวกเขาเท่านั้นเอง

จริงไหมครับ ?

.
.
.

ทีนี้ มันมีกรณี ชาวพุทธกำมะลอ ผู้หนึ่ง เขายกข้อความจากอรรถกถา ขึ้นอ้าง
แล้วยืนยันเป็นนักหนาว่า เขาเชื่อความแม่นในไวยากรณ์ของ พระพุทธโฆสะ อย่างที่สุด
จากนั้นก็สรุปความอย่าง สลึม สลือ ว่า เดียรถีย์ จะต้องหมายถึง ผู้ที่อยู่ใน ทิฐิ ๖๒ คือ เป็นพวกมิจฉาทิฐิ เท่านั้น !



ขออนุญาต หัวเราะเยาะ พุทธบริษัท ในประเทศไทย สักหน่อย นะครับ

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕
๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

เฮ้อออออออ น่าเหนื่อยหน่ายจริงๆ

ขอให้คุณๆ ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นชาวพุทธตามปกติ และที่เป็น ชาวพุทธกำมะลอ จงพิจารณา หลักฐาน ที่ยกมาอ้างนั้น ให้ดีๆ ดังนี้



(๑) อรรถกถาจารย์ กล่าวว่า ติตถะ หรือ ลัทธิ นี้ ชื่อว่า ท่า เพราะเป็นเหตุข้ามโอฆสงสาร ได้แก่ ทางเป็นไปสู่พระนิพพาน
(๒) แต่ในที่นี้ ทิฐิทัสสนะ ความเห็นคือทิฐิ ที่พวกผู้มีทิฐิยึดถือเป็นคติเช่นนั้น โดยวิปลาสอันผิดแผก ท่านประสงค์เอาว่า ท่า

หลักฐานนี้ บอกอะไรแก่เราบ้างครับ ?

จากหลักฐานนี้ อรรถกถาจารย์ ได้อธิบายความให้ชาวพุทธรุ่นหลังฟังว่า ติตถะ หรือ ลัทธิ หรือ ท่า
มีความหมายโดยทั่วไปว่า ลัทธิ หรือ คำสอน ที่เป็นเหตุนำไปสู่พระนิพพาน ......... อันนี้เป็นความหมายทั่วไป
และมีความหมายเฉพาะในพระสูตรนี้ๆ ว่า คำสอนของพวกมิจฉาทิฐิ ............ อันนี้เป็นความหมายเฉพาะ

ตัวอย่างของคำว่า ติตถะ(ท่า) ที่หมายถึงคำสอนอันเป็นสัมมาทิฐิ ก็มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี เช่นพระสูตร จาก มัชฌิมนิกาย ซึ่งระบุถึง
ภิกษุ ผู้ไม่รู้จักท่า(ติตถะ) โดยคำว่า ท่า นี้หมายถึง พระเถระผู้เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ฯลฯ
ดังนั้น หากใครสักคน ถามว่า มีบ้างหรือไม่ ที่ เดียรถีย์ มิได้หมายถึง ผู้ยินดีใน ทิฐิ ๖๒ ก็จำต้องตอบตามความจริงว่า ......

มี ครับ !



ทีนี้ ปัญหามันเกิด ก็เพราะ ชาวพุทธกำมะลอผู้นั้น ไปฉวยเอาความหมายเฉพาะ มาใช้เป็นความหมายโดยทั่วไป
ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ต่างไปจาก สาวกธรรมโกย เคยทำมาแล้ว ตามคำอธิบายของท่านปยุตโต ในกรณีธรรมโกย
น่าแปลก นะครับ ทั้งๆ ที่คนพวกนี้ มักแสดงอาการต่อต้าน ไม่ชอบใจพวกธรรมโกย
แต่ถึงที่สุดแล้ว กลับมีการกระทำที่ไม่ต่างไปจากกันเลย ................ แปลกจริงๆ

ขอกล่าวสรุป อีกครั้งหนึ่งว่า ตามคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ติตถะ ในความหมายทั่วไป เป็นคำกลางๆ หมายถึง คำสอน หรือ ลัทธิ
แต่ คำสอน หรือ ลัทธิ นั้นๆ จะเป็น สัมมาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฐิ นั่นย่อมขึ้นอยู่กับ รายละเอียด ในพระสูตรต่างๆ ว่า มุ่งกล่าวถึง คำสอนใด
หากประสงค์ จะกล่าวถึง อัญญเดียรถีย์     ติตถะ หรือ คำสอนนั้น ก็เป็นมิจฉาฐิ จึงให้สังเกตคำที่ อรรถกถาจารย์ใช้คือ ........

แต่ในที่นี้ .............. ท่านประสงค์เอาว่า .......

ดังนั้น การที่ชาวพุทธกำมะลอบางตน ยกอรรถกถาบางส่วน บางพระสูตรมา แล้วยึดว่า จะเอาแต่ความหมายนี้ๆ เท่านั้น
ทั้งๆ ที่มันเป็นเพียงความหมายเฉพาะ(ไม่ใช่ความหมายทั่วไป) จึงไม่ต่างไปจากพฤติกรรมของพวกธรรมโกยในอดีต
ที่ได้พยายาม ฉ้อฉลปล้นธรรม ด้วยพฤติกรรมแบบศรีธนนชัย อย่างปราศจากความอายชั่วกลัวบาป นั้นแล ฯ



==================================================================================

(๒) ติตถิยะ หรือ ติตถิยา

คำๆ นี้แปลว่า ผู้มีในลัทธิ หรือ ผู้อยู่ในลัทธิ ในบางแห่ง อรรถกถาจารย์ ให้ความหมายว่า นักบวชในลัทธิ โดยแยกต่างหากจาก
ติตถิยสาวก แปลว่า คฤหัสถ์ผู้เป็นสาวกของนักบวช(ติตถิยา) อีกที



ประเด็นที่พึงพิจารณา ก็คือ จำเพาะคำว่า เดียรถีย์(ติตถิยา) เพียงคำเดียวโดดๆ จะมีความหมายเพียงกลางๆ ว่า นักบวชในลัทธิ
หรือ จะมีความหมายจำเพาะเจาะจงเพียงแง่เดียวว่า ต้องหมายถึง นักบวชในลัทธิอื่น นอกพระพุทธศาสนาเท่านั้น

ปรากฏหลักฐานจากพระวินัยปิฎก และ คำอธิบายของอรรถกถาจารย์ เกี่ยวกับความหมายของ เดียรถีย์ ดังนี้ว่า
หากแม้ ภิกษุ เกิดความเบื่อหน่ายอยากสึกออกไปจากพระธรรมวินัยนี้ เพียงแต่กล่าวคำว่า ......

ข้าพเจ้า เป็น เดียรถีย์(ติตถิยะ) กรณีอย่างนี้ ก็ยังไม่ถือว่าได้สึกออกไปแล้ว

ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะ การกล่าวในทำนองว่าเป็น เดียรถีย์(ติตถิยะ) นั้น มิได้สื่อให้ทราบอะไรเพิ่มเติม หรือ แตกต่างไปจากเดิมเลย
เนื่องจาก ในขณะที่ ภิกษุรูปดังกล่าวกำลังพูดอยู่นั้น เขาก็เป็น เดียรถีย์(ติตถิยา) คือ ผู้อยู่ในลัทธิ เป็นนักบวชในลัทธิคำสอนนั้นๆ อยู่แล้ว
แต่จะถือว่าคำกล่าวนั้นเป็นการเปล่งวาจาสึก ก็ต่อเมื่อ เขากล่าวอย่างชัดเจนว่า มีความปรารถนาจะเป็นเดียรถีย์ไหน ?
เช่นกล่าวว่า ข้าพเจ้าปรารถนาความเป็นนิครนถ์ หรือ ปรารถนาความเป็น ปริพาชก ฯลฯ เป็นต้น อย่างนี้จึงจะเข้าใจได้



จากตัวอย่างนี้ ย่อมชัดเจนว่า เดียรถีย์ เป็นคำกลางๆ มีความหมายว่า ผู้อยู่ในลัทธิ เป็นนักบวชในลัทธิ โดยมิได้มีความจำเพาะ
เจาะจงเป็นการเฉพาะว่า ต้องหมายถึง ลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ซึ่งก็สอดคล้องกับคำอธิบายของท่านปยุตโต กล่าวคือ
หากในสมัยพุทธกาล มีใครด่าภิกษุรูปหนึ่งว่า เป็นเดียรถีย์(ติตถิย) ก็คงมีแต่ความ งวยงง ว่า เขาพูดอะไร ?

เพราะฟังอย่างไรๆ ก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ผู้พูดต้องการสื่อสารว่าอะไรกันแน่ แต่คำๆ เดียวกันนี้ จะกลายเป็น ผรุสวาจา ในทันที
หากใช้ในลังกา เพราะพวกเถระแห่งลังกาในสมัยหลัง ได้นำคำๆ นี้มาใช้เป็น สแลง ในความหมายว่า พวกมิจฉาทิฐินอกศาสนา !



ประเด็นที่พึงพิจารณาต่อไป ก็คือ ติตถะ กับ ติตถิยา มีความหมายอย่างเดียวกัน ได้อย่างไร ?
ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณา ข้อความจาก จูฬวัจฉโคตตสูตร ดังนี้



เอวํ สนฺเต  โภ   โคตม   สุญฺญํ   อทุ ํ  ติตฺถายตนํ  อนฺตมโส  สคฺคูปเคนาติ
ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ลัทธิของเดียรถีย์เป็นอันสูญโดยที่สุดจากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์น่ะซี

วจฺฉ สุญฺญํ อทุ ํ ติตฺถายตนํ อนฺตมโส สคฺคูปเคนาปีติ
อย่างนั้นวัจฉะ ลัทธิของเดียรถีย์นี้ เป็นอันสูญโดยที่สุด แม้จากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์.

พระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสถึง มิจฉาทิฐิ พวก อุจเฉททิฐิ ว่าเมื่อตายกายแตกไปแล้ว ไม่ได้ไปสวรรค์
ขอย้ำนะครับว่า ข้อความดังกล่าวนี้ ระบุถึงเฉพาะพวก อุจเฉททิฐิเท่านั้น พวกสัสสตทิฐิ ไปสวรรค์ได้ นะครับ
แต่ประเด็นที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ก็คือคำว่า ติตฺถายตนํ คำๆ นี้ มาจาก ติตถะ + อายตนะ โดยอรรถกถาจารย์อธิบายความว่า



ที่เรียกว่า อายตนะ ก็เพราะ (๑) เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง ลัทธิ(ติตถะ) ทั้งหลาย และ (๒) เป็นบ่อเกิดแห่ง เดียรถีย์(ติตถิยา) ทั้งหลาย
ฟังอย่างนี้ อาจยังไม่ชัด ท่านทั้งหลายพึงพิจารณา คำอธิบาย จากอรรถกถาของ วิภังคปกรณ์ ซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่า



ติตถายตนะ แปลว่า

(๑) อายตนะ คือคำสั่งสอนอันเป็นลัทธิต่างๆ ........ (ติตถะ)
(๒) อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ อายตนะ คือ คำสั่งสอนของเดียรถีย์ทั้งหลาย  ........ (ติตถะ)
(๓) ด้วยอรรถนั้นนั่นแหละ แม้คำว่า อายตนะของเดียรถีย์ทั้งหลาย ดังนี้ ก็ชื่อว่า ติตถายตนะ  ........ (ติตถิยา = เดียรถีย์ไหม?)

เมื่อพิจารณาคำอธิบายในส่วนนี้ของอรรถกถาจารย์ ย่อมได้ความว่า  ติตถะ และ ติตถิยา นี้เมื่อว่าโดยอรรถ
คือ พิจารณาโดยเนื้อความ แล้ว ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกัน หรือ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ชัดเจนนะครับ

แต่ประเด็นที่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมสักหน่อย เพื่อป้องกัน การแถกแถ ก็คือ การที่ข้อความของอรรถกถาจารย์ ระบุว่า
ทิฐิ ๖๒ นี้คือ ติตถะ นั้นเป็นเพียงการให้ความหมายอย่างแคบ เป็นความหมายเฉพาะกรณี ไม่ใช่ ความหมายโดยทั่วไป

ทั้งนี้ ท่านทั้งหลายสามารถพิจารณา ข้อเท็จจริง ได้จาก อรรถกถา ของ ขุททกนิกาย ซึ่งท่านได้อธิบายความเอาไว้อย่างชัดเจน
โดยแยกแยะให้เห็นว่า ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า ติตถะ คืออะไร และความหมายเฉพาะกรณี คืออะไร ?



ดังนั้น การที่ อรรถกถาจารย์ ระบุเอาไว้เช่นใน อรรถกถาของวิภังคปกรณ์ว่า ติตถะ หมายถึง ทิฐิ ๖๒ จึงเป็นเพียงแค่
ความหมายเฉพาะกรณี  มิใช่ความหมายทั่วไป ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้อง "ยึดติด" เสียจนความฉลาดหดหายไป นะครับ

นับจนถึงบัดนี้ จึงเป็นอันสรุปความได้ว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น ทั้ง ติตถะ และ ติตถิยา เป็นเพียงคำศัพท์
ที่มีความหมายกลางๆ และยังสามารถใช้แทนกันได้ในความหมายเดียวกัน ด้วยคำว่า เดียรถีย์(ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยปัจจุบัน)

ชัดเจนนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่