พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์ทั้งหลายยึดมั่นอยู่ในทิฐิของตนๆ ถือมั่นทิฐิ
แล้ว ปฏิญาณว่าพวกเราเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวต่างๆ กันว่า
ผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรมคือทิฐิ ผู้นั้นคัดค้านธรรมคือ
ทิฐินี้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลายถือมั่น
ทิฐิแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมโต้เถียงกัน และกล่าวว่า ผู้อื่น
เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์สองพวกนี้
วาทะไหนเป็นวาทะจริงหนอ เพราะว่าสมณพราหมณ์ทั้งหมด
นี้ ต่างก็กล่าวกันว่าเป็นคนฉลาด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
หากว่าผู้ใดไม่ยินยอมตามธรรม คือ ความเห็นของผู้อื่น ผู้นั้น
เป็นคนพาล คนเขลา เป็นคนมีปัญญาทราม ชนเหล่านี้
ทั้งหมดก็เป็นคนพาล เป็นคนมีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าชน
เหล่านี้ทั้งหมดถือมั่นอยู่ในทิฐิ ก็หากว่าชนเหล่านั้นเป็นคน
ผ่องใสอยู่ในทิฐิของตนๆ จัดว่าเป็นคนมีปัญญาบริสุทธิ์
เป็นคนฉลาด มีความคิดไซร้ บรรดาคนเจ้าทิฐิเหล่านั้น ก็จะ
ไม่มีใครๆ เป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าทิฐิของชนแม้
เหล่านั้น ล้วนเป็นทิฐิเสมอกัน เหมือนทิฐิของพวกชนนอกนี้
อนึ่ง ชนทั้งสองพวกได้กล่าวกันและกันว่าเป็นผู้เขลา เพราะ
ความเห็นใด เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ เพราะเหตุที่ชน
เหล่านั้น ได้กระทำความเห็นของตนๆ ว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง
(สิ่งอื่นเปล่า) ฉะนั้นแล ชนเหล่านั้น จึงตั้งคนอื่นว่า
เป็นผู้เขลา ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใดว่าเป็นความจริงแท้
แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวทิฐินั้นว่า เป็นความเท็จ
ไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลายมาถือมั่น (ความจริงต่างๆ
กัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ก็วิวาทกันเพราะเหตุไร
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลง
ไปได้ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัดมา
ทราบชัดอยู่ จะต้องวิวาทกันเพราะสัจจะอะไรเล่า สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะทั้งหลายให้ต่างกันออกไป
ด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่
กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย
กล่าวยกตนว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป สัจจะ
มากหลายต่างๆ กัน จะเป็นอันใครๆ ได้สดับมา หรือว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตามความคาดคะเนของตน ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สัจจะมากหลายต่างๆ กัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มี
ในโลกเลย ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลายมากำหนดความคาด
คะเนในทิฐิทั้งหลาย (ของตน) แล้ว จึงกล่าวทิฐิธรรมอัน
เป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ ก็บุคคลเจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรม
เหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้
ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ และ
ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคน
เขลาไม่ฉลาด บุคคลเจ้าทิฐิย่อมติเตียนบุคคลอื่นว่าเป็นผู้เขลา
ด้วยทิฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยลำพังตน ย่อมติเตียน
ผู้อื่นกล่าวทิฐินั้นเอง บุคคลยกตนว่าเป็นคนฉลาด ด้วยทิฐิ
นั้น ชื่อว่าเจ้าทิฐินั้นเต็มไปด้วยความเห็นว่าเป็นสาระยิ่ง
และมัวเมาเพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเองด้วย
ใจว่า เราเป็นบัณฑิต เพราะว่าทิฐินั้น ของเขาบริบูรณ์แล้ว
อย่างนั้น ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทราม
ด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม
ไปด้วยกัน อนึ่ง หากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์
ด้วยลำพังตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็ไม่มีใครเป็น
ผู้เขลา ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฐิอื่นจากนี้ไป
ชนเหล่านั้นผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด
เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยมาก เพราะว่า
เดียรถีย์เหล่านั้นยินดีนักด้วยความยินดีในทิฐิของตน เดียรถีย์
ทั้งหลาย กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือทิฐินี้เท่านั้น หากล่าว
ความบริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เดียรถีย์ทั้งหลาย โดยมาก
เชื่อมั่นแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เดียรถีย์ทั้งหลาย รับรองอย่าง
หนักแน่นในลัทธิของตนนั้น อนึ่ง เดียรถีย์รับรองอย่างหนัก-
แน่นในลัทธิของตน จะพึงตั้งใครอื่นว่าเป็นผู้เขลาในลัทธินี้เล่า
เดียรถีย์นั้น เมื่อกล่าวผู้อื่นว่าเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่
บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตนฝ่ายเดียว
เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว นิรมิตศาสดาเป็น
ต้นขึ้นด้วยตนเอง ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป บุคคลละ
การวินิจฉัยทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาท
ในโลก ฉะนี้แล ฯ
- จบจูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒
ว่าด้วยสัจจะย่อมมีหนึ่งเดียวเท่านั้น
สมณพราหมณ์ทั้งหลายยึดมั่นอยู่ในทิฐิของตนๆ ถือมั่นทิฐิ
แล้ว ปฏิญาณว่าพวกเราเป็นผู้ฉลาด ย่อมกล่าวต่างๆ กันว่า
ผู้ใดรู้อย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรมคือทิฐิ ผู้นั้นคัดค้านธรรมคือ
ทิฐินี้อยู่ ชื่อว่าเป็นผู้เลวทราม สมณพราหมณ์ทั้งหลายถือมั่น
ทิฐิแม้ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมโต้เถียงกัน และกล่าวว่า ผู้อื่น
เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์สองพวกนี้
วาทะไหนเป็นวาทะจริงหนอ เพราะว่าสมณพราหมณ์ทั้งหมด
นี้ ต่างก็กล่าวกันว่าเป็นคนฉลาด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
หากว่าผู้ใดไม่ยินยอมตามธรรม คือ ความเห็นของผู้อื่น ผู้นั้น
เป็นคนพาล คนเขลา เป็นคนมีปัญญาทราม ชนเหล่านี้
ทั้งหมดก็เป็นคนพาล เป็นคนมีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าชน
เหล่านี้ทั้งหมดถือมั่นอยู่ในทิฐิ ก็หากว่าชนเหล่านั้นเป็นคน
ผ่องใสอยู่ในทิฐิของตนๆ จัดว่าเป็นคนมีปัญญาบริสุทธิ์
เป็นคนฉลาด มีความคิดไซร้ บรรดาคนเจ้าทิฐิเหล่านั้น ก็จะ
ไม่มีใครๆ เป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม เพราะว่าทิฐิของชนแม้
เหล่านั้น ล้วนเป็นทิฐิเสมอกัน เหมือนทิฐิของพวกชนนอกนี้
อนึ่ง ชนทั้งสองพวกได้กล่าวกันและกันว่าเป็นผู้เขลา เพราะ
ความเห็นใด เราไม่กล่าวความเห็นนั้นว่าแท้ เพราะเหตุที่ชน
เหล่านั้น ได้กระทำความเห็นของตนๆ ว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง
(สิ่งอื่นเปล่า) ฉะนั้นแล ชนเหล่านั้น จึงตั้งคนอื่นว่า
เป็นผู้เขลา ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์แต่ละพวก กล่าวทิฐิใดว่าเป็นความจริงแท้
แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวทิฐินั้นว่า เป็นความเท็จ
ไม่จริง สมณพราหมณ์ทั้งหลายมาถือมั่น (ความจริงต่างๆ
กัน) แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ก็วิวาทกันเพราะเหตุไร
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลง
ไปได้ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น สัจจะที่สองไม่มี ผู้ที่ทราบชัดมา
ทราบชัดอยู่ จะต้องวิวาทกันเพราะสัจจะอะไรเล่า สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าวสัจจะทั้งหลายให้ต่างกันออกไป
ด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย จึงไม่
กล่าวสัจจะให้เป็นหนึ่งลงไปได้ ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลาย
กล่าวยกตนว่าเป็นคนฉลาด จึงกล่าวสัจจะให้ต่างกันไป สัจจะ
มากหลายต่างๆ กัน จะเป็นอันใครๆ ได้สดับมา หรือว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ระลึกตามความคาดคะเนของตน ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สัจจะมากหลายต่างๆ กัน เว้นจากสัญญาว่าเที่ยงเสีย ไม่มี
ในโลกเลย ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลายมากำหนดความคาด
คะเนในทิฐิทั้งหลาย (ของตน) แล้ว จึงกล่าวทิฐิธรรมอัน
เป็นคู่กันว่า จริงๆ เท็จๆ ก็บุคคลเจ้าทิฐิ อาศัยทิฐิธรรม
เหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็นบ้าง เสียงที่ได้ฟังบ้าง อารมณ์ที่ได้
ทราบบ้าง ศีลและพรตบ้าง จึงเป็นผู้เห็นความบริสุทธิ์ และ
ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้วร่าเริงอยู่ กล่าวว่า ผู้อื่นเป็นคน
เขลาไม่ฉลาด บุคคลเจ้าทิฐิย่อมติเตียนบุคคลอื่นว่าเป็นผู้เขลา
ด้วยทิฐิใด กล่าวยกตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยลำพังตน ย่อมติเตียน
ผู้อื่นกล่าวทิฐินั้นเอง บุคคลยกตนว่าเป็นคนฉลาด ด้วยทิฐิ
นั้น ชื่อว่าเจ้าทิฐินั้นเต็มไปด้วยความเห็นว่าเป็นสาระยิ่ง
และมัวเมาเพราะมานะ มีมานะบริบูรณ์ อภิเษกตนเองด้วย
ใจว่า เราเป็นบัณฑิต เพราะว่าทิฐินั้น ของเขาบริบูรณ์แล้ว
อย่างนั้น ก็ถ้าว่าบุคคลนั้นถูกเขาว่าอยู่ จะเป็นคนเลวทราม
ด้วยถ้อยคำของบุคคลอื่นไซร้ ตนก็จะเป็นผู้มีปัญญาต่ำทราม
ไปด้วยกัน อนึ่ง หากว่าบุคคลจะเป็นผู้ถึงเวท เป็นนักปราชญ์
ด้วยลำพังตนเองไซร้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็ไม่มีใครเป็น
ผู้เขลา ชนเหล่าใดกล่าวยกย่องธรรม คือ ทิฐิอื่นจากนี้ไป
ชนเหล่านั้นผิดพลาด และไม่บริบูรณ์ด้วยความหมดจด
เดียรถีย์ทั้งหลายย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยมาก เพราะว่า
เดียรถีย์เหล่านั้นยินดีนักด้วยความยินดีในทิฐิของตน เดียรถีย์
ทั้งหลาย กล่าวความบริสุทธิ์ในธรรม คือทิฐินี้เท่านั้น หากล่าว
ความบริสุทธิ์ในธรรมเหล่าอื่นไม่ เดียรถีย์ทั้งหลาย โดยมาก
เชื่อมั่นแม้ด้วยอาการอย่างนี้ เดียรถีย์ทั้งหลาย รับรองอย่าง
หนักแน่นในลัทธิของตนนั้น อนึ่ง เดียรถีย์รับรองอย่างหนัก-
แน่นในลัทธิของตน จะพึงตั้งใครอื่นว่าเป็นผู้เขลาในลัทธินี้เล่า
เดียรถีย์นั้น เมื่อกล่าวผู้อื่นว่าเป็นผู้เขลา เป็นผู้มีธรรมไม่
บริสุทธิ์ ก็พึงนำความทะเลาะวิวาทมาให้แก่ตนฝ่ายเดียว
เดียรถีย์นั้น ตั้งอยู่ในการวินิจฉัยทิฐิแล้ว นิรมิตศาสดาเป็น
ต้นขึ้นด้วยตนเอง ก็ต้องวิวาทกันในโลกยิ่งขึ้นไป บุคคลละ
การวินิจฉัยทิฐิทั้งหมดแล้ว ย่อมไม่กระทำความทะเลาะวิวาท
ในโลก ฉะนี้แล ฯ
- จบจูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒