ที่มาของกระทู้นี้ มาจากการตั้งคำถามของ บุรุษเปล่า ผู้หนึ่ง
ผู้ซึ่งมีความเพียรพยายามในทาง ไม่ดีไม่งาม และ มีความทะยานอยาก ในการตำหนิติเตียนพระมหาเถระมาโดยตลอด
โดยเมื่อใดก็ตาม ที่ บุรุษเปล่า ผู้นั้น ได้เข้าคู่กับ นักอภิธรรมกำมะลอ จากสำนักทรงเจ้าเข้าผี
มันก็ยิ่งจะเกิดอาการ "คันยิบๆ" จนต้องระบาย ความอัดอั้นตันใจ
โดยการด่าว่าใส่ร้ายพระ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อย่างไม่กลัวบาป เกรงกรรม เลยแม้แต่น้อย !
ครั้งนี้ ก็เช่นกัน อยู่ดีๆ ไม่ว่าดี จะเป็นด้วย อุปนิสัยดั้งเดิม ที่ไม่งามอยู่แล้ว
หรือจะเป็นเพราะ "วิบากกรรม" ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอาการ ปากไสว ก็ตามที
แต่การที่มันผู้นั้น ได้ตั้งคำถาม เพื่อผสมโรงใส่ร้ายพระ
โดยที่คำถาม ผสมข้อกล่าวหานั้น เมื่อพิจารณาจาก "หลักฐาน" ที่ บุรุษเปล่า อีกผู้หนึ่ง นำมาแสดง
ปรากฏว่า ไม่สอดคล้อง แต่กลับมีความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง นั่นจึงหมายความว่า
บุรุษเปล่า ผู้นั้น ได้กล่าวตู่ใส่ร้ายพระมหาเถระ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อย่างปราศจากความละอาย อีกครั้งหนึ่งแล้ว
ขอให้ท่านผู้มีใจเป็นธรรมทั้งหลาย จงพิจารณา หลักฐานที่ยกขึ้นแสดง ซึ่งได้ปรากฏข้อความดังนี้ว่า
*** (ที่ยอมรับไม่ได้) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ชนิดสัสสตทิฐิ ***
แต่คำถามผสมการใส่ร้ายของ บุรุษเปล่า ผู้นั้น กลับกลายเป็นว่า
*** บุพเพนิวาสานุสติญาณของพระพุทธเจ้าแบบไหนที่เป็นสัสสตทิฐิ ? ***
ในขั้นต้นนี้ ท่านทั้งหลายพึงพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมว่า ข้อความของท่านพุทธทาส ซึ่งถูกตัดมาบางส่วนนี้
เมื่อกล่าวโดยสรุป ย่อมได้ใจความว่า ในพระไตรปิฎกนี้ มีปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่เป็นสัสสตทิฐิ
ซึ่งท่าน(พุทธทาส) ยอมรับไม่ได้ โดยที่ข้อความดังกล่าว มิได้ระบุเอาไว้ตรงไหนเลยว่า
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่เป็นสัสสตทิฐิ และยอมรับไม่ได้นี้ เป็น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของพระพุทธเจ้า !
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำความเข้าใจให้ดีๆ ว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้
ย่อมมิได้หมายถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของพระพุทธเจ้า แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึง
(๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของ พระโพธิสัตว์ เจ้าชายสิทธัตถะ
(๒) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
(๓) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของ พระองค์เอง
ใน ๓ ประการนี้ ถ้า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ใดก็ตาม ที่เป็น สัสสตทิฐิ
เรา ในฐานะที่เป็นชาวพุทธเถรวาท ก็ไม่ควรยอมรับอยู่แล้ว มิใช่หรือ ?
ดังนั้น ในชั้นแรกนี้ สิ่งที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงประณาม ก็คือ การบิดเบือนความหมายของข้อความ
เพื่อใส่ร้ายพระ อย่างปราศจากความละอายของ บุรุษเปล่า ผู้นี้ ซึ่งนี่ย่อมมิใช่ครั้งแรก(หรือครั้งสุดท้าย)
ผมเข้าใจว่า นี้เป็นลักษณะของ "ความเคยชินเดิมๆ" ที่แก้ไม่หาย ของบุรุษเปล่า ผู้นี้จริงๆ !
จบประเด็นที่ ๑
*******************************************************************
คราวนี้ เรามาพิจารณาถึง "เนื้อหา" กันนะครับ ทั้งนี้ บุรุษเปล่า ผู้นี้ ได้ตั้งคำถามแบบ "ใสซื่อ" ขึ้นมาว่า ....
*** มันต่างกันยังไง ทำไมพระสูตรนี้บอกเป็นปุพเพของแท้รับได้ พระสูตรอื่นบอกเป็นสัสสตทิฐิ ***
โดยมันได้กล่าวสำทับเอาไว้ด้วยกิริยาประหนึ่ง "อึ่งอ่าง" ความว่า ......
*** ตอบให้ตรงคำถาม ก็จบ ***
.
.
.
.
.
.
แต่ผมเกรงว่า มันจะไม่จบ นะสิครับ เพราะในอันที่จริงแล้ว ประเด็นนี้ เรื่องนี้ ผมได้เคยอธิบายความ
โดยยกพระบาลีพุทธพจน์ ขึ้นอ้างอิงอย่างชัดเจน ตามความจากกระทู้ พระพุทธเจ้า ตรัสเรื่องระลึกชาติ ของ พระโพธิสัตว์ เจ้าชายสิทธัตถะ
(ถ้าหากท่านใดยังไม่เคยอ่าน กรุณา หาลิงค์ เอาเองนะครับ)
แต่สิ่งที่ท่านทั้งหลายพึงสังเกตก็คือ ด้วยเรื่องเดียวกันนี้ ประเด็นเดียวกันนี้ และ หลักฐานข้อความของท่านพุทธทาสอันนี้แหละ
ทั้งๆ ที่ท่านพุทธทาส กล่าวเฉพาะเจาะจงถึงตัว "ปุพเพนิวาสานุสติญาณ" เท่านั้น โดยมิได้ระบุว่า "ของใคร" หรือหมายถึง พระสูตรทั้งสูตร
โดยเมื่อปีก่อน บุรุษเปล่า ผู้นี้ ได้โมเม บิดเบือนไปว่า ท่านพุทธทาสกล่าวว่า พระสูตร(ระลึกชาติ)ไม่แท้ เป็นสัสสตทิฐิ
พอมาปีนี้(๒๕๕๗) มันได้กล่าวบิดเบือนไปอีกอย่างว่า ท่านพุทธทาสกล่าวหาว่า การระลึกชาติของพระพุทธเจ้าเป็น สัสสตทิฐิ
ทั้งๆ ที่มันก็พยายามอวดอ้างว่าเป็นชาวพุทธ(!) แต่ผมยังอดสงสัยมิได้เลยว่า
มันไม่รู้สึก "กระดากอาย" ต่อการกระทำ ไม่ดีไม่งาม ของมัน(อย่างหน้าไม่อาย) บ้างเลยหรือหนอ ?
.
.
.
.
กลับมาที่ประเด็นเนื้อหา กันดีกว่า นะครับ
การที่เราจะสามารถแยกแยะได้ว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาน อันไหนเป็น สัสสตทิฐิ อันไหนเป็น สัมมาทิฐิ นั้น
พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว ปรากฏความอยู่ใน ขัชชนิยสูตร ดังนี้คือ
(๑) พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ..............
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก
สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้. ฯลฯ
กล่าวโดยสรุป ก็คือ สมณะ หรือ พราหมณ์ โดยทั่วไป ซึ่งระลึกชาติ ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ ก็จะระลึกถึงขันธ์เหล่านั้น
ด้วย ตัณหา อุปาทาน ว่าเป็นตน หรือ ของๆ ตน โดยเห็นเป็น สัตว์ บุคคล ฯลฯ
(๒) พระพุทธเจ้า ตรัสต่อไปอีกว่า ..............
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
กล่าวโดยสรุป ก็คือ
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมระลึกชาติ ด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
อีกทั้ง ไม่มีความอาลัย ไม่ชื่นชม และย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด ฯลฯ
ขออนุญาต สรุปความ ให้ฟังอีกครั้งหนึ่งดังนี้ว่า
ความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่าง การระลึกชาติ ที่เป็น สัมมาทิฐิ กับ มิจฉาทิฐิ ก็คือ
การระลึกชาติ ที่เป็น สัมมาทิฐิ เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณ
การระลึกชาติ ที่เป็น มิจฉาทิฐิ เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจ ฌานสมาบัติ
โดยอรรถกถาจารย์ ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า
(๑) การระลึกชาติที่เป็นสัมมาทิฐินี้ มิได้เป็นการระลึกถึง สัตว์ บุคคล ฯลฯ แต่เป็นการระลึกถึง ขันธ์ ในส่วนอดีต
(๒) การระลึกถึงขันธ์เหล่านั้น เป็นไปด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ พิจารณาว่า ขันธ์ในอดีตเหล่านั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน หรือของตน
ด้วยเหตุดังนี้ การระลึกชาติใดๆ ก็ตาม หากหยุดลงตรงที่ความเป็น สัตว์ บุคคล ในอดีต ว่าเป็นตน หรือ ของๆตน
โดยไม่พิจารณาให้แยบคายต่อไปว่า นั่นเป็นเพียงแค่ขันธ์(ในอดีต) ที่ ไม่เที่ยง เป็นทุกช์ และไม่ใช่ตัวตน หรือ ของตน
แต่กลับกลายเป็นการ "ปรุงแต่ง" ขันธ์ในอดีตเหล่านั้น ด้วยอำนาจของ ตัณหา อุปาทาน จนเกิดเป็น สัตว์ บุคคล ฯลฯ
และกลายเป็น ตัวตน ของตน ขึ้นมา การระลึกชาตินั้น ย่อมถือว่าเป็น มิจฉาปฏิปทา หรือ มิจฉาทิฐิ อย่างมิต้องสงสัย
อธิบายอย่างนี้ พอจะเข้าใจได้ไหมครับ ?
.
.
.
.
ประเด็นที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงพิจารณาโดยแยบคายต่อไป ก็คือ
ถ้าหากท่านทั้งหลาย พิจารณาพระสูตรทั้งหมด (๑๓ สูตร) จาก สีลขันธวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ซึ่งบรรยายความว่า
พระพุทธเจ้า ทรงอบรมสั่งสอนภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ อย่างไรนั้น จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนว่า
เมื่อบรรลุถึง ฌาน ๔ แล้ว จะตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลาย น้อมใจไปเพื่อ "วิปัสสนาญาณ" นั่นจึงหมายความว่า
การระลึกชาติ ฯลฯ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่เป็น มิจฉาทิฐิ ย่อมต้องเป็นการระลึก ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณ
มิใช่ด้วยอำนาจแห่งอภิญญา ที่อาศัย สมถะล้วนๆ เหมือนอย่างที่ ฤษี โยคี ทั่วไป เขาปฏิบัติกันมา
สรุปในสรุป ต่อประเด็นคำถาม ของบุรุษเปล่าผู้นั้น ที่ถามว่า
ปุพเพนิวาสานุสติญาณของพระพุทธเจ้าแบบใด ที่เป็น สัสสตทิฐิ ?
ขอตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณของพระพุทธเจ้า ไม่เป็น สัสสตทิฐิ อย่างแน่นอน
แต่ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระสูตร พระวินัย ย่อมมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิ และ สัสสตทิฐิ
ซึ่งนั่นย่อมขึ้นอยู่กับว่า พระพุทธองค์ตรัสถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของใคร และด้วยรายละเอียดอย่างไร ?
จบไหมครับ ?
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ .................... การระลึกชาติ ของใคร ที่เป็น สัสสตทิฐิ ?
ผู้ซึ่งมีความเพียรพยายามในทาง ไม่ดีไม่งาม และ มีความทะยานอยาก ในการตำหนิติเตียนพระมหาเถระมาโดยตลอด
โดยเมื่อใดก็ตาม ที่ บุรุษเปล่า ผู้นั้น ได้เข้าคู่กับ นักอภิธรรมกำมะลอ จากสำนักทรงเจ้าเข้าผี
มันก็ยิ่งจะเกิดอาการ "คันยิบๆ" จนต้องระบาย ความอัดอั้นตันใจ
โดยการด่าว่าใส่ร้ายพระ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อย่างไม่กลัวบาป เกรงกรรม เลยแม้แต่น้อย !
ครั้งนี้ ก็เช่นกัน อยู่ดีๆ ไม่ว่าดี จะเป็นด้วย อุปนิสัยดั้งเดิม ที่ไม่งามอยู่แล้ว
หรือจะเป็นเพราะ "วิบากกรรม" ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอาการ ปากไสว ก็ตามที
แต่การที่มันผู้นั้น ได้ตั้งคำถาม เพื่อผสมโรงใส่ร้ายพระ
โดยที่คำถาม ผสมข้อกล่าวหานั้น เมื่อพิจารณาจาก "หลักฐาน" ที่ บุรุษเปล่า อีกผู้หนึ่ง นำมาแสดง
ปรากฏว่า ไม่สอดคล้อง แต่กลับมีความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง นั่นจึงหมายความว่า
บุรุษเปล่า ผู้นั้น ได้กล่าวตู่ใส่ร้ายพระมหาเถระ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อย่างปราศจากความละอาย อีกครั้งหนึ่งแล้ว
ขอให้ท่านผู้มีใจเป็นธรรมทั้งหลาย จงพิจารณา หลักฐานที่ยกขึ้นแสดง ซึ่งได้ปรากฏข้อความดังนี้ว่า
*** (ที่ยอมรับไม่ได้) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ชนิดสัสสตทิฐิ ***
แต่คำถามผสมการใส่ร้ายของ บุรุษเปล่า ผู้นั้น กลับกลายเป็นว่า
*** บุพเพนิวาสานุสติญาณของพระพุทธเจ้าแบบไหนที่เป็นสัสสตทิฐิ ? ***
ในขั้นต้นนี้ ท่านทั้งหลายพึงพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมว่า ข้อความของท่านพุทธทาส ซึ่งถูกตัดมาบางส่วนนี้
เมื่อกล่าวโดยสรุป ย่อมได้ใจความว่า ในพระไตรปิฎกนี้ มีปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่เป็นสัสสตทิฐิ
ซึ่งท่าน(พุทธทาส) ยอมรับไม่ได้ โดยที่ข้อความดังกล่าว มิได้ระบุเอาไว้ตรงไหนเลยว่า
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่เป็นสัสสตทิฐิ และยอมรับไม่ได้นี้ เป็น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของพระพุทธเจ้า !
ทั้งนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำความเข้าใจให้ดีๆ ว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้
ย่อมมิได้หมายถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของพระพุทธเจ้า แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึง
(๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของ พระโพธิสัตว์ เจ้าชายสิทธัตถะ
(๒) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
(๓) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของ พระองค์เอง
ใน ๓ ประการนี้ ถ้า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ใดก็ตาม ที่เป็น สัสสตทิฐิ
เรา ในฐานะที่เป็นชาวพุทธเถรวาท ก็ไม่ควรยอมรับอยู่แล้ว มิใช่หรือ ?
ดังนั้น ในชั้นแรกนี้ สิ่งที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงประณาม ก็คือ การบิดเบือนความหมายของข้อความ
เพื่อใส่ร้ายพระ อย่างปราศจากความละอายของ บุรุษเปล่า ผู้นี้ ซึ่งนี่ย่อมมิใช่ครั้งแรก(หรือครั้งสุดท้าย)
ผมเข้าใจว่า นี้เป็นลักษณะของ "ความเคยชินเดิมๆ" ที่แก้ไม่หาย ของบุรุษเปล่า ผู้นี้จริงๆ !
จบประเด็นที่ ๑
*******************************************************************
คราวนี้ เรามาพิจารณาถึง "เนื้อหา" กันนะครับ ทั้งนี้ บุรุษเปล่า ผู้นี้ ได้ตั้งคำถามแบบ "ใสซื่อ" ขึ้นมาว่า ....
*** มันต่างกันยังไง ทำไมพระสูตรนี้บอกเป็นปุพเพของแท้รับได้ พระสูตรอื่นบอกเป็นสัสสตทิฐิ ***
โดยมันได้กล่าวสำทับเอาไว้ด้วยกิริยาประหนึ่ง "อึ่งอ่าง" ความว่า ......
*** ตอบให้ตรงคำถาม ก็จบ ***
.
.
.
.
.
.
แต่ผมเกรงว่า มันจะไม่จบ นะสิครับ เพราะในอันที่จริงแล้ว ประเด็นนี้ เรื่องนี้ ผมได้เคยอธิบายความ
โดยยกพระบาลีพุทธพจน์ ขึ้นอ้างอิงอย่างชัดเจน ตามความจากกระทู้ พระพุทธเจ้า ตรัสเรื่องระลึกชาติ ของ พระโพธิสัตว์ เจ้าชายสิทธัตถะ
(ถ้าหากท่านใดยังไม่เคยอ่าน กรุณา หาลิงค์ เอาเองนะครับ)
แต่สิ่งที่ท่านทั้งหลายพึงสังเกตก็คือ ด้วยเรื่องเดียวกันนี้ ประเด็นเดียวกันนี้ และ หลักฐานข้อความของท่านพุทธทาสอันนี้แหละ
ทั้งๆ ที่ท่านพุทธทาส กล่าวเฉพาะเจาะจงถึงตัว "ปุพเพนิวาสานุสติญาณ" เท่านั้น โดยมิได้ระบุว่า "ของใคร" หรือหมายถึง พระสูตรทั้งสูตร
โดยเมื่อปีก่อน บุรุษเปล่า ผู้นี้ ได้โมเม บิดเบือนไปว่า ท่านพุทธทาสกล่าวว่า พระสูตร(ระลึกชาติ)ไม่แท้ เป็นสัสสตทิฐิ
พอมาปีนี้(๒๕๕๗) มันได้กล่าวบิดเบือนไปอีกอย่างว่า ท่านพุทธทาสกล่าวหาว่า การระลึกชาติของพระพุทธเจ้าเป็น สัสสตทิฐิ
ทั้งๆ ที่มันก็พยายามอวดอ้างว่าเป็นชาวพุทธ(!) แต่ผมยังอดสงสัยมิได้เลยว่า
มันไม่รู้สึก "กระดากอาย" ต่อการกระทำ ไม่ดีไม่งาม ของมัน(อย่างหน้าไม่อาย) บ้างเลยหรือหนอ ?
.
.
.
.
กลับมาที่ประเด็นเนื้อหา กันดีกว่า นะครับ
การที่เราจะสามารถแยกแยะได้ว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาน อันไหนเป็น สัสสตทิฐิ อันไหนเป็น สัมมาทิฐิ นั้น
พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ดีแล้ว ปรากฏความอยู่ใน ขัชชนิยสูตร ดังนี้คือ
(๑) พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ..............
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก
สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน?
คือ ย่อมตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้.
ย่อมตามระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้. ฯลฯ
กล่าวโดยสรุป ก็คือ สมณะ หรือ พราหมณ์ โดยทั่วไป ซึ่งระลึกชาติ ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ ก็จะระลึกถึงขันธ์เหล่านั้น
ด้วย ตัณหา อุปาทาน ว่าเป็นตน หรือ ของๆ ตน โดยเห็นเป็น สัตว์ บุคคล ฯลฯ
(๒) พระพุทธเจ้า ตรัสต่อไปอีกว่า ..............
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
กล่าวโดยสรุป ก็คือ
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมระลึกชาติ ด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
อีกทั้ง ไม่มีความอาลัย ไม่ชื่นชม และย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด ฯลฯ
ขออนุญาต สรุปความ ให้ฟังอีกครั้งหนึ่งดังนี้ว่า
ความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่าง การระลึกชาติ ที่เป็น สัมมาทิฐิ กับ มิจฉาทิฐิ ก็คือ
การระลึกชาติ ที่เป็น สัมมาทิฐิ เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณ
การระลึกชาติ ที่เป็น มิจฉาทิฐิ เป็นการตามระลึก ด้วยอำนาจ ฌานสมาบัติ
โดยอรรถกถาจารย์ ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า
(๑) การระลึกชาติที่เป็นสัมมาทิฐินี้ มิได้เป็นการระลึกถึง สัตว์ บุคคล ฯลฯ แต่เป็นการระลึกถึง ขันธ์ ในส่วนอดีต
(๒) การระลึกถึงขันธ์เหล่านั้น เป็นไปด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ พิจารณาว่า ขันธ์ในอดีตเหล่านั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน หรือของตน
ด้วยเหตุดังนี้ การระลึกชาติใดๆ ก็ตาม หากหยุดลงตรงที่ความเป็น สัตว์ บุคคล ในอดีต ว่าเป็นตน หรือ ของๆตน
โดยไม่พิจารณาให้แยบคายต่อไปว่า นั่นเป็นเพียงแค่ขันธ์(ในอดีต) ที่ ไม่เที่ยง เป็นทุกช์ และไม่ใช่ตัวตน หรือ ของตน
แต่กลับกลายเป็นการ "ปรุงแต่ง" ขันธ์ในอดีตเหล่านั้น ด้วยอำนาจของ ตัณหา อุปาทาน จนเกิดเป็น สัตว์ บุคคล ฯลฯ
และกลายเป็น ตัวตน ของตน ขึ้นมา การระลึกชาตินั้น ย่อมถือว่าเป็น มิจฉาปฏิปทา หรือ มิจฉาทิฐิ อย่างมิต้องสงสัย
อธิบายอย่างนี้ พอจะเข้าใจได้ไหมครับ ?
.
.
.
.
ประเด็นที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงพิจารณาโดยแยบคายต่อไป ก็คือ
ถ้าหากท่านทั้งหลาย พิจารณาพระสูตรทั้งหมด (๑๓ สูตร) จาก สีลขันธวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ซึ่งบรรยายความว่า
พระพุทธเจ้า ทรงอบรมสั่งสอนภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ อย่างไรนั้น จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนว่า
เมื่อบรรลุถึง ฌาน ๔ แล้ว จะตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลาย น้อมใจไปเพื่อ "วิปัสสนาญาณ" นั่นจึงหมายความว่า
การระลึกชาติ ฯลฯ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่เป็น มิจฉาทิฐิ ย่อมต้องเป็นการระลึก ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณ
มิใช่ด้วยอำนาจแห่งอภิญญา ที่อาศัย สมถะล้วนๆ เหมือนอย่างที่ ฤษี โยคี ทั่วไป เขาปฏิบัติกันมา
สรุปในสรุป ต่อประเด็นคำถาม ของบุรุษเปล่าผู้นั้น ที่ถามว่า
ปุพเพนิวาสานุสติญาณของพระพุทธเจ้าแบบใด ที่เป็น สัสสตทิฐิ ?
ขอตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณของพระพุทธเจ้า ไม่เป็น สัสสตทิฐิ อย่างแน่นอน
แต่ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระสูตร พระวินัย ย่อมมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิ และ สัสสตทิฐิ
ซึ่งนั่นย่อมขึ้นอยู่กับว่า พระพุทธองค์ตรัสถึง ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ของใคร และด้วยรายละเอียดอย่างไร ?
จบไหมครับ ?