อำนาจในระบอบประชาธิปไตย(แบบไทยๆ)

เป็นประชาธิปไตย แบบไหน คงแยกแยะไม่ได้
ถ้าไม่มีการเทียบเคียงกับสิ่งที่ผ่านมา....
-------------------------------------------------------------------------------------------------
โดยสภาพทั่วไป....เทียบดูจากหลายๆประเทศ
.....ในแง่การบริหาร การมีรัฐบาลที่คุมอำนาจได้เบ็ดเสร็จ....จัดเป็นเรื่องดีมากๆ
มันเป็นเรื่องปกติของงานบริหารที่การมีอำนาจเต็มในทรัพยากร ในอำนาจให้คุณให้โทษ ทำให้ผลักดันงานง่ายขึ้นเยอะ

แต่ในแง่ทิศทาง การที่ใช้ระบอบเผด็จการกำหนดทิศทาง จัดเป็นเรื่องมีความเสี่ยงสูง
เพราะทิศทางที่คนกลุ่มน้อยคิดแทนคนทั้งประเทศ  อาจพาให้สังคมล้าหลังได้อย่างน่าตกใจ
......แนวคิดใดๆที่แตกต่างไปจากคนกลุ่มนั้น ต่อให้มีประโยชน์แค่ไหน ...ก็จะถูกทำให้ด้อยค่าลงอัตโนมัติ
เพียงเพราะคิดไปก็ขาดโอกาสเข้าสู่อำนาจแทบสิ้นเชิง จะเหนื่อยเสียปล่าว...จึงกลายเป็นระบบขาดแคลนไอเดีย ขาดแคลนมุมมอง

จึงเป็นเรื่องของดวงล้วนๆ...
.... นโยบายด้านไหนได้ทิศทางที่ดี...ถ้าคนกลุ่มนั้นเข้าใจโลก ทันสถานการณ์ ....ก็จะเจริญ (เฉพาะด้าน) แบบสุดๆ
.... นโยบายด้านไหนได้ทิศทางห่วย....ถ้าคนกลุ่มเล็กๆนั้น มองแนวโน้มทิศทางผลกระทบไม่ออก...ก็จะเสียหายได้แบบสุดๆเช่นกัน
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่ผ่านมา....ประเทศนี้มีความไม่สมดุลย์ของการได้นโยบาย และอำนาจบริหารอยู่มากมายหลายครั้ง...

1. ยามที่นโยบายทิศทาง ได้มาโดยผ่านการเลือกตั้ง ...ซึ่งถูกต้องตามหลักการในระบอบประชาธิปไตย
แทนที่งานบริหารจะถูกทำแบบเผด็จการไปตามอำนาจหน้าที่...ให้ตรงกับธรรมชาติของระบบขับเคลื่อนงานที่มีประสิทธิภาพ
....ก็กลับถูกหลักการประชาธิปไตย ลากให้เสียหายไปด้วย เป็นเพราะฝ่ายบริหารมีอำนาจจำกัด
(ได้ทิศทางนโยบายผ่านระบอบประชาธิปไตย ถูกแล้ว...แต่บริหารนโยบายแบบประชาธิปไตยมันผิดหลัก)

กรณีรัฐบาล คุณบรรหาร นายกสมชาย นายกสมัคร มาจนถึงนายกยิงลักษณ์ อยู่ในกรณีนี้ครับ
ตัวระบบก็พอจะไปกันได้ครับ
มีประเด็นปัญหาหลักคือ....นายกต้องการใช้อำนาจ แต่ระเบียบกฏหมายจำกัดอำนาจของนายกมากเกินไป
องค์กรอื่นๆก้าวก่ายอำนาจบริหารมากเกินไป...
จนทำให้เผด็จการไปตามอำนาจหน้าที่ไม่ได้ มีความรับผิดชอบอยู่ในมือแต่ก็ให้คุณให้โทษไม่ได้
เลยต้องทำงานแบบออกระเบียบมาเยอะๆ ผลคืองานก็อืดและยุ่งยาก ขาดความกระชับในการสั่งงาน จนล้มเหลวเอาได้
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. ยามที่นโยบาย ได้มาผ่านกระบอกปืน ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย
งานบริหารกลับถูกทำในรูปแบบเผด็จการ ซึ่งถูกต้องตรงกับธรรมชาติของระบบขับเคลื่อนงานที่มีประสิทธิภาพ
(ได้ทิศทางนโยบายผ่านระบอบเผด็จการมันผิดหลัก...แต่บริหารนโยบายแบบเผด็จการมันถูกหลัก)

กรณีรัฐบาลทหารทั้งหลาย... คมช. รสช. รวมถึงปัจุบันเป็นอย่างนี้ครับ  ก็พอจะไปกันได้ครับ

มีกรณีที่จัดว่าดีคือ กรณี ป๋าเปรม  เพราะแม้นโยบายจะมาจากคนกลุ่มเล็กๆ แต่กลับได้นโยบายดีมากๆ...
คิดมาจากผู้เชี่ยวชาญที่มองเห็นโลกกว้าง....จึงกลายเป็นผลดีสองเด้ง
ทำเอาประเทศก้าวกระโดดในหลายๆเรื่องเลยทีเดียว...
แต่อย่างที่ว่าหละ....ดีสุดๆในหลายเรื่อง แต่มีปัญหาเยอะๆในบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเส้นสาย

กรณีที่แค่ประคองตัวไปได้ คือคุณอานันท์ เพราะอาศัยเป็นนักธุรกิจ
ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีมุมมองในงานพัฒนากว้างกว่าทหารอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่จัดว่าห่วยคือ คุณสุจินดา รสช. และ คุณสุรยุทธ์ คมช. ครับ

แต่  คสช. จะไปได้ถึงไหนในอนาคต  พอจะเก่งสักครึ่งหนึ่งของป๋าได้ไหมก็ต้องดูกันไปครับ
รับรองได้.....มีให้ดูยาวแน่นอน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. รวมไปถึงที่ร้ายกว่านั้นคือ กรณีบางพรรคได้อำนาจมาทั้งไม่สนใจที่มาของอำนาจ
ดังนั้น การเข้าสู่อำนาจด้วยระบอบเผด็จการ  แต่บริหารประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้น
ส่งผลให้รัฐบาลกลายสภาพเป็น แม่บ้านแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านไปได้แค่วันต่อวัน
ไม่มีประสิทธิภาพอะไรเลย..
(ได้ทิศทางนโยบายผ่านระบอบเผด็จการมันผิดหลัก...แถมบริหารนโยบายแบบประชาธิปไตยมันก็ผิดหลัก
เพราะไม่มีความรับผิดชอบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด)  ประชาชนจึงโดยสองเด้งเลยครับ

กรณีรัฐบาล มาร์คและชวน งูเห่าทั้งสองภาค คือบทพิสูจน์อย่างชัดเจนของส่วนผสมทางการเมืองแบบนี้
มีแต่จะพาให้ตกต่ำ ง่อยเปลี้ย ไปไม่ถึงไหน จนประชาชน งงงวย  ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
ทำไมประชาธิปไตยจึงใช้การไม่ได้....และนำไปสู่การเสื่อมศรัทธาในระบบประชาธิปไตย
อย่างที่เสียงส่วนน้อยรู้สึกอยู่ทุกวันนี้ จนต้องดิ้นรนแสวงหาประชาธิปไตยแบบไทยๆอย่างที่เป็นอยู่ไงครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
4. กรณีดีที่สุด
คือตัวนโยบายก็ได้มาผ่านระบอบประชาธิปไตย  พร้อมทั้งการบริหารงานก็มีอำนาจค่อนข้างเต็ม
(ได้ทิศทางนโยบายผ่านระบอบประชาธิปไตยถูกหลัก...บริหารนโยบายแบบเผด็จการก็ถูกหลัก)
ทำให้ช่วงแรกมีการก้าวก่ายอำนาจบริหารค่อนข้างน้อย....

มีสองกรณีคือ พลเอกชาติชาย....ซึ่งยังอาศัยเรื่องเส้นสายกันเยอะ แต่ก็ไปได้สวย
และกรณีคุณทักษิณ.... ซึ่งทำได้ดีมากๆจนเสียงส่วนน้อยเข้าภาวะช๊อคและงุนงงสงสัยในระบอบประชาธิปไตย
ที่ให้ผลเป็นรูปธรรมอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน...

ความสงสัยของคนบางกลุ่ม ดูได้จาก พรรคการเมืองขาประจำ ที่มักบอกว่า คุณทักษิณบริหารแบบเผด็จการ
ไม่สนใจหลักประชาธิปไตย (ตามความเข้าใจผิดๆของเขาเอง เอาประชาธิปไตยไปใช้ผิดที่ผิดทาง ใช้มั่วๆ)
จึงก่อหวอดมาตลอด และสุดท้ายก็จบลงที่การยึดอำนาจ....
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ยิ้ม
และตราบใดที่คนไทยส่วนน้อยยังกอดประชาธิปไตยใว้แบบโง่ๆ
ยังแยกไม่ออกว่า ระบอบไหน ใช้ในกาละเทศะแบบไหน
ยังไม่รู้จักเปิดทางให้ระบอบเผด็จการ และระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามามีเอี่ยว ให้เข้ากับธรรมชาติของเนื้องาน

ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีบทบาทและหน้าที่แค่ไหน
ต้องเคารพในบทบาทและหน้าที่ของคนอื่นอย่างไร ยังก้าวก่ายอำนาจหน้าที่กันไม่เลิก

การยึดอำนาจก็จะยังมีต่อไปเรื่อยๆ... มันเป็นธรรมชาติของโลก มันไม่ได้แปลกอะไร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่