Blog ของผม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://interestedscienceforthai.blogspot.com/
https://www.facebook.com/interestedscienceforthai
พบไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ในกลุ่ม Microraptorine (ไดโนเสาร์ 4 ปีก) ในจีน มีขนหางยาวกว่า 30 เซนติเมตร มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่นี้ว่า Changyuraptor yangi
รูปที่ 1 ไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ Changyuraptor Yangi
กระดูกถูกค้นพบโดยทีมงานจากมหาวิทยาลัย Bohai ในจีนและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอสแองเจลลิสประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลจากการวัดตั้งแต่จมูกถึงปลายขนหาง วัดได้ 132 เซนติเมตร ยาวที่สุดเท่าที่เคยพบในกลุ่มไดโนเสาร์ 4 ปีก ที่น่าสนใจคือ ขนหางเพียงอย่างเดียวยาวถึง 30 เซนเติเมตร
เมื่อคำนวณความสามารถในการยกตัว (Lift) และ การลาก (Drag) ของขนจากหลายตำแหน่ง นักวิจัยสรุปว่า Changyuraptor Yangi ใช้หางที่ยาวเพื่อชดเชยขนาดตัวที่ใหญ่และทรงตัวในขณะบิน
"อัตราส่วนกว้างยาวในส่วนหางที่ต่ำ (แสดงว่าหางไม่ใช่แค่ยาวแต่ยังกว้างอีกด้วย น่าจะมีลักษณะเหมือนพัด : ผู้เขียน) น่าจะทำหน้าที่เหมือน Pitch Control เพื่อลดความเร็วขณะร่อนลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความปลอดภัยในการลงพื้น และ ความแ่ม่นยำในการล่า" นักวิจัยเขียนไว้ในงานวิจัย
รูปที่ 2 ชื่อเรียกการควบคุมการบินในแต่ละแกน
ผู้ศึกษาซากฟอลซิล (Palaeontologist) พยายามใช้ซากเหล่านี้ในการหาต้นกำหนดของสัตว์บินได้และการเปลี่ยนผ่านจากไดโนเสาร์มีขนไปเป็นนก
ครั้งหนึ่งผู้ศึกษาซากฟอลซิลเคยเชื่อว่า สัตว์ 4 ปีก เป็นขั้นหนึ่งของวิวัฒนาการกลายเป็นสัตว์ 2 ปีก แต่การค้นพบฟอลซิลในปัจจุบันชี้ว่า สัตว์ 4 ปีกเป็นอีกสายหนึ่งที่แยกออกจากสัตว์ 2 ปีก มีความเป็นไปได้ว่า สัตว์ที่บินได้มีวิวัฒนาการจากสัตว์มีขนแล้วแตกสปีชีส์เป็นหลายๆสปีชีส์ที่แตกต่างกัน ไม่ได้มีเพียงสายเดียวจนกลายเป็นนกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
งานวิจัยต้นทาง :
http://www.nature.com/ncomms/2014/140715/ncomms5382/full/ncomms5382.html
ข่าว :
http://www.bbc.com/news/science-environment-28295571
[ข่าวงานวิจัย] พบไดโนเสาร์ 4 ปีก สปีชีส์ใหม่ในจีน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
พบไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ในกลุ่ม Microraptorine (ไดโนเสาร์ 4 ปีก) ในจีน มีขนหางยาวกว่า 30 เซนติเมตร มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่นี้ว่า Changyuraptor yangi
รูปที่ 1 ไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ Changyuraptor Yangi
กระดูกถูกค้นพบโดยทีมงานจากมหาวิทยาลัย Bohai ในจีนและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอสแองเจลลิสประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลจากการวัดตั้งแต่จมูกถึงปลายขนหาง วัดได้ 132 เซนติเมตร ยาวที่สุดเท่าที่เคยพบในกลุ่มไดโนเสาร์ 4 ปีก ที่น่าสนใจคือ ขนหางเพียงอย่างเดียวยาวถึง 30 เซนเติเมตร
เมื่อคำนวณความสามารถในการยกตัว (Lift) และ การลาก (Drag) ของขนจากหลายตำแหน่ง นักวิจัยสรุปว่า Changyuraptor Yangi ใช้หางที่ยาวเพื่อชดเชยขนาดตัวที่ใหญ่และทรงตัวในขณะบิน
"อัตราส่วนกว้างยาวในส่วนหางที่ต่ำ (แสดงว่าหางไม่ใช่แค่ยาวแต่ยังกว้างอีกด้วย น่าจะมีลักษณะเหมือนพัด : ผู้เขียน) น่าจะทำหน้าที่เหมือน Pitch Control เพื่อลดความเร็วขณะร่อนลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความปลอดภัยในการลงพื้น และ ความแ่ม่นยำในการล่า" นักวิจัยเขียนไว้ในงานวิจัย
รูปที่ 2 ชื่อเรียกการควบคุมการบินในแต่ละแกน
ผู้ศึกษาซากฟอลซิล (Palaeontologist) พยายามใช้ซากเหล่านี้ในการหาต้นกำหนดของสัตว์บินได้และการเปลี่ยนผ่านจากไดโนเสาร์มีขนไปเป็นนก
ครั้งหนึ่งผู้ศึกษาซากฟอลซิลเคยเชื่อว่า สัตว์ 4 ปีก เป็นขั้นหนึ่งของวิวัฒนาการกลายเป็นสัตว์ 2 ปีก แต่การค้นพบฟอลซิลในปัจจุบันชี้ว่า สัตว์ 4 ปีกเป็นอีกสายหนึ่งที่แยกออกจากสัตว์ 2 ปีก มีความเป็นไปได้ว่า สัตว์ที่บินได้มีวิวัฒนาการจากสัตว์มีขนแล้วแตกสปีชีส์เป็นหลายๆสปีชีส์ที่แตกต่างกัน ไม่ได้มีเพียงสายเดียวจนกลายเป็นนกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
งานวิจัยต้นทาง : http://www.nature.com/ncomms/2014/140715/ncomms5382/full/ncomms5382.html
ข่าว : http://www.bbc.com/news/science-environment-28295571