ฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธ์ใหม่ที่ถูกค้นพบ

Lavocatisaurus agrioensis




มหาวิทยาลัย ลา มาตานซาส์ ของประเทศอาร์เจนติน่า แถลงว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 61 ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัย ลา มาตานซาส์ และมหาวิทยาลัยซาราโกซ่า จากประเทศสเปน ได้ขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด (sauropod) สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งซากฟอสซิลเหล่านี้เป็นของกลุ่มไดโนเสาร์กินพืช โดยไดโนเสาร์ในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีก็คือ ดิพลอโดคัส (Diplodocus) และบรอนโตซอรัส (Brontosaurus)

ด้านนายโฆเซ่ หลุยส์ คาเบาลิโด นักวิจัยแห่งพิพิธภัณฑ์ Egidio Feruglio และสถาบันการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของอาร์เจนติน่ากล่าวว่า “เราพบกระดูกกะโหลกส่วนใหญ่, จมูก, ขากรรไกร, กระดูกเบ่าตา และฟันจำนวนมาก ทำให้เราสามารถประกอบโครงร่างใหม่ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้เกือบสมบูรณ์” 

สำหรับไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งพบ ทีมนักบรรพชีวินวิทยาของสเปนและอาร์เจนติน่าได้ตั้งชื่อว่า ลาโวคาติซอรัส อากริโอเอนซิส (Lavocatisaurus agrioensis) นอกจากนี้ยังพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์วัยผู้ใหญ่ความยาวประมาณ 12 เมตร รวมถึงซากไดโนเสาร์วัยเยาว์อีก 2 ตัวที่มีความยาวราว 6-7 เมตร
เบื้องต้นนักบรรพชีวินวิทยาระบุว่า ลาโวคาติซอรัส อากริโอเอนซิส เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อ 110 ล้านปีที่แล้ว บริเวณตอนกลางของประเทศอาร์เจนติน่า โฆเซ่ หลุยส์ คาเบาลิโด กล่าวอีกว่า “ในขณะที่เราสามารถจินตนาการได้ว่ากลุ่มซอโรพอดเหล่านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้มากขึ้น ในที่ที่มีพืชน้อย, มีความชื้นน้อย และมีน้ำน้อย แต่ก็เป็นพื้นที่ที่คุณไม่ต้องการหาฟอสซิล”
Cr.https://workpointnews.com/2018/11/09/ซอโรพอดสายพันธ์ุใหม่/




Wade และ Matilda



(ภาพจำลองไดโนเสาร์คอยาวชนิดใหม่ที่พบในออสเตรเลีย) (Travis TISCHLER / NATURE PUBLISHING GROUP / AFP )


นักวิทยาศาสตร์เผยฟอซิลไดโนเสาร์คอยาวที่ขุดพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียเป็นสปีชีส์ใหม่ สันนิษฐานบรรพบุรุษของสัตว์ดึกดำบรรพ์นี้เคยเยื้องย่างไปทั่วทวีปแอนตาร์กติกาในอดีตเมื่อ 105 ปีก่อน  ไดโนเสาร์คอยาวดังกล่าวมีความยาวจากหัวถึงหาง 14 เมตร เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีชื่อว่า “สวันนาซอรัส เอลลิออตโตรัม” (Savannasaurus elliottorum) และเป็นสมาชิกของกลุ่มไดโนเสาร์ซอโรพอด (sauropod group) ซึ่งมีสมาชิกเป็นสัตว์บกขนาดใหญ่ที่สุดของโลกด้วย

การค้นพบครั้งนี้ยังพบร่วมกับชิ้นส่วนตัวอย่างของไดโนเสาร์ซอโรพอดอีกกลุ่มที่ชื่อว่า “ไดอาแมนทินาซอรัส มาทิลเด” (Diamantinasaurus matildae) ซึ่งรายละเอียดของการค้นพบได้รายงานในวารสารวิชาการไซแอนทิฟิกรีพอร์ทส์ (Scientific Reports)
นักบรรพชีวินวิทยาตั้งชื่อเล่นให้ไดโนเสาร์ทั้งสองชนิดว่า “เวด” (Wade) และ “มาทิลดา” (Matilda) ซึ่งเชื่อว่าเป็นสปีชีส์เฉพาะถิ่นที่พบแค่ในออสเตรเลีย

เป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนักว่าไดโนเสาร์ที่เพิ่งพบนี้และไดโนเสาร์อื่นๆ นั้นไปยังดินแดนของออสเตรเลียได้อย่างไร   ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนบอกว่า ไดโนเสาร์เหล่านี้ไปถึงออสเตรเลียนานกว่า 80 ล้านปีที่แล้วในยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งสิ้นสุดจากหายนะเมื่อประมาณ 66 ล้านปีก่อน

แต่สตีเฟ่น โปโรแพท (Stephen Poropat) นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอัปซาลา (Uppsala University) ในสวีเดน และเป็นหัวหน้าทีมวิจัย บอกเอเอฟพีว่า การค้นพบใหม่นี้ได้ชี้ไปอีกภาพหนึ่ง  โดยซอโรพอดที่พวกเขาค้นพบนั้น วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่อยู่ในอเมริกาใต้ ซึ่งข้ามมายังออสเตรเลียผ่านทางเชื่อมสู่ทวีปแอนตาร์กติกา และเลาะไปตามขอบทวีป จากนั้นข้ามอีกทางเชื่อมสู่ออสเตรเลีย

โปโรแพทกล่าวว่า ในยุคครีเตเชียสส่วนใหญ่นั้น ทวีปแอนตาร์กติกาน่าจะหนาวเย็นเกินไปสำหรับสัตว์กินพืชที่ต้องเอาตัวรอดตลอดการเดินทาง แต่มีช่องทางเปิดเมื่อประมาณ 105 ล้านปีก่อน ซึ่งงานวิจัยก่อนหน้านี้เผยว่า ภูมิภาคดังกล่าวอุ่นขึ้นมากพอที่จะทำให้การข้ามผ่านสู่ดินแดนทางใต้นั้นเป็นไปได้
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9590000106565




Alcmonavis poeschli



(ฟอสซิลไดโนเสาร์บินได้ชนิดล่าสุด) (OLIVER RAUHUT / Bayerische Staatssammlung f?r Pal?ontologie und Geologie / AFP)


นักวิจัยในเยอรมนีขุดพบไดโนเสาร์บินได้สปีชีส์ใหม่ ซึ่งกระพือปีกเหมือนอีกา และอาจจะถือกุญแจสำคัญให้เราไขปริศนาได้ว่า นกในปัจจุบันนั้นวิวัฒนาการจากบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานได้อย่างไร

ฟอสซิลของไดโนเสาร์บินได้ที่ถูกจัดให้เป็นสปีชีส์ใหม่นี้ถูกขุดพบมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1861 โดยเป็นเวลานานกว่าศตวรรษครึ่งแล้วที่เข้าใจกันว่า ไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์ (Archaeopteryx) คือนกบินได้ยุคแรกๆ และจัดเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่มีขนปุกปุย อาศัยตามที่ลุ่มมีน้ำขังเมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อน

นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยลุดวิก-แมกซิมิเลียนส์ (Ludwig-Maximilians University: LMU) ในมิวนิก และมหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก (University of Fribourg) ได้ศึกษาการก่อกำเนิดของหินในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนี ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการค้นพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์แหล่งใหญ่
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบชิ้นส่วนปีกที่เป็นหิน ซึ่งเบื้องต้นพวกเขาสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นไดโนเสาร์บินได้สปีชีส์เดียวที่รู้จัก ต่อมาไม่นานพวกเขาได้พบจุดที่แตกต่างหลายๆ อย่าง

โอลิเวอร์ ราฮัท (Oliver Rauhut) จากภาควิชาโลกวิทยาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยลุดวิก-แมกซิมิเลียนส์ กล่าวว่า แม้จะมีจุดที่คล้ายคลึงหลายๆ อย่าง แต่เมื่อเปรียบเทียบในส่วนของรายละเอียดกับไดโนเสาร์อาร์คีออพทีริกซ์ และตัวอย่างนกยุคแรกๆ จึงพบว่าตัวอย่างฟอสซิลที่พบนั้นมีลักษณะไปทางนกมากกว่าไดโนเสาร์บินได้

ไดโนเสาร์คล้ายนกสปีชีส์ใหม่นี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “อัลคโมนาวิส เพอชลี” (Alcmonavis poeschli) ซึ่งเป็นศัพท์เซลติกโบราณสำหรับเรียกแม่น้ำที่อยู่ใกล้ๆ แหล่งค้นพบ และเป็นเกียรติแก่ โรแลนด์ เพอชล์ (Roland Poeschl) นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบฟอสซิลและเป็นหัวหน้าทีมขุดสำรวจ
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9620000047016




Ledumahadi mafube



เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์อายุราวๆ 200 ล้านปีจากยุคจูราสสิก ที่มีน้ำหนักถึง 12 ตัน และมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น  ไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่ถูกพบนี้ถูกตั้งชื่อว่า “Ledumahadi mafube”  มาจากภาษา Sesotho ภาษาท้องถิ่นที่พูดกันบริเวณที่มีการขุดพบฟอสซิลในแอฟริกาใต้  มีความหมายว่า “ฟ้าผ่าใหญ่ในรุ่งอรุณ”

Ledumahadi mafube เชื่อกันว่าเป็นสายพันธุ์ใกล้ชิดกับ Brontosaurus ไดโนเสาร์คอยาวที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค  โดยดูจากโครงสร้างทางกายภาพแล้วน่าจะเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์กลุ่ม sauropods ที่เป็นกลุ่มไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่
 
อย่างไรก็ตามไดโนเสาร์กลุ่ม sauropods มักจะเป็นไดโนเสาร์ที่เดินสี่ขา ผิดกับ Ledumahadi mafube สามารถยืนสองขาได้หากต้องการ และคาดว่าน่าจะวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่เดินสองขาอีกที  และการที่ Ledumahadi mafube มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับไดโนเสาร์อื่นๆ ที่พบในอาร์เจนตินาทำให้มีความเป็นไปได้ว่าในสมัยก่อน ไดโนเสาร์สามารถเดินทางข้ามทวีปได้
 
แม้ว่าในด้านขนาดตัว Ledumahadi mafube จะเล็กกว่า Argentinosaurus ไดโนเสาร์รุ่นหลังที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียส แต่คุณค่าของ Ledumahadi mafube ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าไดโนเสาร์รุ่นน้องเลยแม้แต่น้อย 
ที่มา allthatsinteresting, foxnews, history
Cr. https://www.catdumb.com/ledumahadi-mafube-378/ By เหมียวศรัทธา 




Lemmysuchus obtusidens 



ซากไดโนเสาร์ครั้งใหม่นี่พบคือสัตว์โลกดึกดำบรรพ์สายพันธุ์จระเข้ที่พฤติกรรมของมันชอบเดินทางไปทั่วโลกคล้ายกับซากฟอสซิลของไดโนเสาร์จระเข้ที่ถูกค้นพบเมื่อ 100ปีก่อน เเต่เป็นคนละสปีชีส์  โดยนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้กับการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ในชื่อ Lemmysuchus obtusidens 

ฟอสซิลเเละโครงกระดูกของ Lemmysuchus ถูกจัดเเสดงที่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ในกรุงลอนดอน โดย Lorna Steel ผู้ดูเเลพิพิธภัณฑ์คือแฟนตัวยงของวง Motorhead เธอจึงเเนะนำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อมันตามชื่อนักร้องเพลงร็อกที่เธอชื่นชอบ

“Lemmy จากไปในปี 2015 เราจึงนำชื่อของเขามาใช้กับสัตว์ประหลาดแห่งท้องทะเลที่น่ากลัวที่สุดในโลก Lemmysuchus จึงเป็นชื่อที่เหมาะที่สุดในโลก ถ้าจะให้ดีควรฟังเพลง Love Me Like a Reptile หนึ่งบทเพลงจากคณะ Motorhead ขณะพบซากฟอสซิลของไปด้วยน่าจะได้อารมณ์มากขึ้น“
Cr.https://men.mthai.com/men-around/231791.html / By  Judas17




เป่ยเป่ยหลง ซิเนนซิส 


ฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่ยังอยู่ในไข่ ซึ่งเป็นผลงานการค้นพบทางบรรพชีวินวิทยาที่มีชื่อเสียงเมื่อ 25 ปีก่อน ได้รับการตรวจพิสูจน์แล้วว่าเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ค้นพบใหม่ ซึ่งเมื่อเติบโตขึ้นจะมีลักษณะคล้ายนกยักษ์ มีขนแบบนกและอยู่ในกลุ่มของไดโนเสาร์โอวิแรปโทโรซอร์ (Oviraptorosaurs)

ฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์ดังกล่าวซึ่งมีชื่อเล่นเป็นที่รู้จักกันว่า "เบบี้ ลูอี" ตามชื่อของช่างภาพผู้ถ่ายภาพฟอสซิลนี้ ได้ถูกนำขึ้นปกนิตยสารเนชันแนล จีโอกราฟิกในปี 1996 หลังมีการค้นพบฟอสซิลไข่และรังไดโนเสาร์ในมณฑลเหอหนานของจีน

ทีมนักบรรพชีวินวิทยาชาวจีนและแคนาดา ได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์แก่ไดโนเสาร์สายพันธุ์ค้นพบใหม่นี้ว่า เป่ยเป่ยหลง ซิเนนซิส (Beibeilong sinensis) แปลว่า "ลูกมังกรจีน" และเผยว่าแม้มันจะมีขนาดเล็กเท่าหนูตะเภาขณะเป็นตัวอ่อนที่ยังฟักอยู่ในไข่ แต่เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม

ผลการตรวจพิสูจน์ฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์นี้ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature Communications โดยระบุว่ามีการค้นพบไข่ไดโนเสาร์ชนิดนี้ในหลายพื้นที่ของจีน เกาหลีใต้ มองโกเลีย รวมทั้งในอเมริกาเหนือ ซึ่งคาดว่าในยุค 100 ล้านปีก่อน มันน่าจะเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่มีประชากรมากและพบได้ทั่วไป
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-39914253

ทงเทียนหลง ลิโมซัส


โครงกระดูกไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบบริเวณพื้นที่ก่อสร้างในเขตกั้นโจว มณฑลเจียงซี ตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มโอวิแรปเตอร์ ไดโนเสาร์ที่มีหงอนเป็นเอกลักษณ์ และพบว่ามันน่าจะตายเพราะติดอยู่ในหล่มโคลน เมื่อราว 66-72 ล้านปีก่อน ในช่วงยุคครีเทเชียส ได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์แล้วว่า “ทงเทียนหลง ลิโมซัส” ที่แปลว่า “มังกรโคลนบนเส้นทางสู่สวรรค์”

โครงกระดูกไดโนสาร์ที่พบเกือบมีจะสมบูรณ์ แต่มีบางส่วนได้รับความเสียหายเนื่องจากคนงานได้ใช้ระเบิดไดนาไมท์ในการทำลายอาคารโรงเรียนแห่งหนึ่ง บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง แต่โชคดีที่คนงานเห็นโครงกระดูกเหล่านี้ก่อนที่จะถูกทำลายไปมากกว่านี้ 

ดร.หลู่ จวินชาง นักบรรพชีวินวิทยา จากสถาบันธรณีวิทยา ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ผู้ตั้งชื่อไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่นี้ เปิดเผยว่า ทงเทียนหลง ลิโมซัส แตกต่างจากโอวิแรปเตอร์ทั่วไป โดยมีกระโหลกที่รูปร่างเหมือนกับโดม  และกล่าวด้วยว่า การค้นพบโอวิแรปเตอร์สายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าเขตกั้นโจว ตอนใต้ของประเทศจีน ถือเป็นเขตที่มีโอวิแรปเตอร์อยู่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก และมีความหลากหลายของสายพันธุ์โอวิแรปเตอร์อย่างมากตั้งแต่ช่วงปลายยุคครีเทเชียส
ที่มาภาพ : Zhao Chuang/Junchang Lu
Cr. มติชน
Cr.https://lifestyle.campus-star.com/scoop/41753.html

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่