อำพัน (Amber) เป็นอัญมณีชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต อำพันเกิดจากยางไม้ที่พืชบางชนิดขับออกมาเพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการรบกวนของสิ่งแวดล้อม เช่น สัตว์ที่มาแทะกินเปลือกไม้ใบไม้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนานหลายล้านปีก็จะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งและหลุดออกจากต้นไป
อำพันมักจะเป็นวัสดุโปร่งใส มีสีต่าง ๆ กันไป ที่พบมากที่สุดคือสีเหลือง ส้ม และน้ำตาล แต่บางครั้งก็อาจจะมีสีอื่น เช่น สีดำ สีแดงเข้ม หรือแม้กระทั่งสีฟ้าหรือสีเขียว แต่พบน้อยมาก อำพันที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบมา มีอายุราว 345 ล้านปี อำพันพบได้ทั่วไป แต่แหล่งที่พบมากได้แก่รอบทะเลบอลติก และทะเลแคริบเบี้ยน
อำพันนอกจากจะเป็นอัญมณีแล้ว เนื่องจากอำพันกำเนิดจากยางไม้ที่พืชขับออกมา ซึ่งเมื่อขับออกมาใหม่ ๆ เรซินในยางจะยังคงมีความเหนียวอยู่ ดังนั้นหากมีอะไรมาสัมผัส สิ่งนั้นก็จะติดบนยางไม้ และเมื่อยางไม้แข็งกลายเป็นอำพัน สิ่งดังกล่าวก็จะฝังติดอยู่ในก้อนอำพันด้วย จึงมีการค้นพบซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งเป็นชิ้นส่วนหรือทั้งตัวฝังติดอยู่ในอำพันอยู่เสมอ ซึ่งโดยมากจะเป็นสัตว์จำพวกแมลงชนิดต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก อำพันจึงเป็นเหมือน "แคปซูลเวลา" ที่ช่วยรักษาซากสัตว์โบราณเอาไว้จนถึงปัจจุบันในสภาพสมบูรณ์ ซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์โบราณมากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ยังหวังด้วยว่า หากพบอำพันที่มีเศษเลือดเนื้อของสัตว์โบราณ ไม่ว่าจะเป็นตัว ๆ หรืออาหารที่สัตว์เหล่านั้นกินเข้าไปแล้ว ก็อาจจะนำเศษซากสัตว์เหล่านั้นมาสกัดเพื่อหา DNA มาศึกษาและโคลนนิงให้สัตว์เหล่านั้นเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งหลังจากสูญพันธุ์ไปนานนับล้านปีแล้วก็เป็นได้
Cr.รูป
http://www.thisiscolossal.com/2016/…/dinosaur-tail-feathers/
Cr.เรื่อง
https://en.wikipedia.org/wiki/Amber
Cr.
https://www.facebook.com/sararueaipueai/posts/947245515408999/
ก้อนอำพันจากยุคครีเตเชียสได้เผยให้เห็นซากของกบโบราณจากยุคไดโนเสาร์ พวกมันคือฟอสซิลกบโบราณที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา และชิ้นส่วนที่ถูกกักเก็บไว้มีความสมบูรณ์มากพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่า พวกมันคือสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Electrorana limoae
ภายในก้อนอำพันยังบรรจุซากของตัวด้วง ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าพวกมันคืออาหารของกบในยุคไดโนเสาร์ ข้อมูลอื่นๆ จากการวิจัยระบุว่ากบตัวนี้ยังคงเป็นกบวัยรุ่น กระดูกของมันยังคงเป็นกระดูกอ่อน ดังนั้นแล้วจึงมีบางส่วนของกระดูกที่หายไป ซึ่งอาจให้ข้อมูลแก่นักวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมได้ว่ามันมีพฤติกรรมอย่างไร ตลอดจนอยู่ในระบบนิเวศแบบใด ซึ่งชิ้นส่วนที่ว่าก็ได้แก่ กระดูกบริเวณข้อต่อสะโพก และกระดูกหูชั้นใน
Cr.
https://ngthai.com/history/11657/worlds-oldest-frogs-in-amber/
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ค้นพบ ตัวอ่อนสัตว์ปีกดึกดำบรรพ์ที่พึ่งฟักออกจากไข่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในก้อนอำพันที่ประเทศเมียนมา โดยซากสัตว์ปีกที่ถูกพบนี้นับว่ามีสภาพสมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่มีการค้นพบมา
รายงานข่าวระบุว่า ตัวอ่อนของสัตว์ปีกที่ถูกพบมีความยาวประมาณ 9 ซม. โดยมีส่วนของหัว ลำคอ ปีก ขา และเนื้อเยื่อของหางที่สมบูรณ์ คาดว่ามีอายุเกือบ 99 ล้านปี
ซากนกในอำพันก้อนนี้ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิธภัณฑ์ ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายแดนของเมียนมาร์
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ท่าทางโดยรวมของสัตว์ปีกในก้อนอำพันนี้ คล้ายกับอยู่ระหว่างการล่าเหยื่อ เพราะมีลักษณะกรงเล็บและปีกที่กางออกรวมทั้งจะงอยปากที่เปิดอยู่
Cr.ภาพจาก China Xinhua News
Cr.
https://www.posttoday.com/world/498087
(MING BAI/CHINESE ACADEMY OF SCIENCE ฟอสซิลของลูกงู Xiaophis Myanmarensis ในก้อนอำพันจากเมียนมา)
ทีมนักบรรพชีวินวิทยาชาวจีนและแคนาดาพบฟอสซิลลูกงูยุคดึกดำบรรพ์เป็นครั้งแรก ในก้อนอำพันอายุ 99 ล้านปีซึ่งขุดได้จากประเทศเมียนมา ทั้งยังพบฟอสซิลคราบงูจากงูที่ตัวโตกว่าในอำพันโบราณอีกก้อนหนึ่งด้วย
ศาสตราจารย์ไมเคิล คาลด์เวลล์ จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาของแคนาดา หนึ่งในทีมผู้ศึกษาก้อนอำพันดังกล่าวบอกว่า ฟอสซิลลูกงูนั้นหาได้ยากมากและไม่เคยมีผู้ค้นพบมาก่อน ส่วนซากที่พบในก้อนอำพันครั้งนี้เป็นงูในยุคครีเทเชียสซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์เมื่อราว 145 ล้านปี - 66 ล้านปีก่อน
ลูกงูดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiaophis Myanmarensis ตามชื่อของประเทศเมียนมาซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ โดยชื่อนี้มีความหมายว่า "งูแห่งรุ่งอรุณของเมียนมา"
รายงานการค้นพบที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ระบุว่า ฟอสซิลลูกงูในก้อนอำพันนี้มีสภาพเกือบจะสมบูรณ์ โดยยังคงมีกระดูกสันหลังพร้อมซี่โครงเหลืออยู่ถึง 97% แต่ส่วนหัวนั้นขาดหายไป
ปัจจุบันเมียนมาเป็นแหล่งที่มีการค้นพบฟอสซิลสำคัญจากยุคครีเทเชียสจำนวนมาก บางส่วนเป็นฟอสซิลในก้อนอำพัน โดยไม่นานมานี้มีการค้นพบส่วนหางของไดโนเสาร์มีขน แมงมุมโบราณ และซากกบยุคก่อนประวัติศาสตร์ในก้อนอำพันที่ขุดได้จากเมียนมา
Cr.
https://www.bbc.com/thai/features-44898944
(E PENALVER ET AL ฟอสซิลตัวเห็บในก้อนอำพันได้มาจากประเทศเมียนมา)
มีการค้นพบฟอสซิลของเห็บสายพันธุ์โบราณชนิดหนึ่ง ในก้อนอำพันที่ได้จากประเทศเมียนมา ซึ่งมีความเก่าแก่ถึง 99 ล้านปี โดยฟอสซิลตัวเห็บนี้เกาะติดอยู่ในขนของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด (Theropods) ที่บางส่วนมีวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์จำพวกนกในปัจจุบัน
การค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature Communications โดยระบุว่าพบฟอสซิลของเห็บชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า Deinocroton draculi หรือ "เห็บที่น่าสะพรึงกลัวของแดร็กคิวลา" ภายในอำพัน 4 ก้อน โดยตัวหนึ่งติดอยู่กับขนของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายขนนก อีกตัวหนึ่งดูดเลือดเข้าไปจนพุงกาง ส่วนอีกสองตัวติดอยู่กับขนของด้วงหนังสัตว์ (Skin beetle) ซึ่งแสดงว่าเห็บชนิดนี้อาศัยอยู่ในรังของไดโนเสาร์เช่นเดียวกับแมลงอื่น ๆ ด้วย
Cr.
https://www.bbc.com/thai/international-42336028
นักวิทยาศาสตร์จาก Mexico ค้นพบซากฟอสซิลจิ้งจกอายุกว่า 23 ล้านปี ที่ยังมีสภาพสมบูรณ์มากถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในอำพันที่ถูกขุดพบใน Simojovel ที่เป็น Amber Deposit ที่มีชื่อของ Chiapas ในประเทศ Mexico
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังในอำพันแบบที่มีสภาพสมบูรณ์แบบนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก ว่ากันว่าอำพันที่มีซากฟอสซิลจิ้งจกที่มีการซื้อขายในตลาดนักสะสมนั้นนั้นกว่า 99% จะเป็นของปลอมที่ทำขึ้นมา
จิ้งจกในอำพันชิ้นนี้ยังมีเนื้อเยื่อและ soft tissue หลงเหลืออยู่ในตัวฟอสซิล ทำให้อำพันชิ้นนี้เป็นหนึ่งในอำพันที่มีคุณค่าทางบรรพชีวินวิทยาที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง ซึ่งตอนนี้อำพันชิ้นนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ Amber Museum ที่ San Cristobal de las Casas เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าศึกษาฟอสซิลชิ้นนี้ต่อไป
อ้างอิงเนื้อหามาจาก: Fox News Latino
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/FossilCollector/2013/07/10/entry-1 / Posted by PaleoPlai
(อำพันฟอสซิลหอยทากอายุ 99 ล้านปี ถูกพบในพม่า)
หอยทาก เป็นสิ่งมีชีวิตที่หลายคนอาจมองว่ามันบอบบาง พวกมันเป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส ราวๆ เกือบ 400 ล้านปีที่ผ่านมา งานวิจัยล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Cretaceous Research เปิดเผยข้อมูลการศึกษาฟอสซิลหอยทากอายุ 99 ล้านปีที่อยู่ในอำพัน
อำพันฟอสซิลหอยทากชิ้นนี้ถูกพบในประเทศพม่า เปลือกของมันยังคงถูกรักษาไว้ไว้อย่างสมบูรณ์อยู่ภายในอำพัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่ามันไม่ใช่ฟอสซิลหอยทางที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พบคือหอยทากยังมีชีวิตอยู่ขณะที่ติดอยู่ในอำพันชิ้นนี้ชี้ เพราะมีชิ้นส่วนของหอยทางที่พยายามจะหนีออกมาจากยางไม้ แต่ก็ไม่เป็นสำเร็จจนมันต้องอยู่ในนั้นตลอด
อำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล
ขอบคุณที่มา sciencealert
Cr.
http://realmetro.com/ฟอสซิลหอยทาก-99-ล้านปี/
การค้นพบในครั้งนี้ขึ้นในประเทศพม่าเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Zookeys ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมาก และเชื่อกันว่าเป็นกิ้งกือสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน
อ้างอิงจากข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยออกมากิ้งกือที่ถูกค้นพบในครั้งนี้ เป็นกิ้งกือตัวเมียที่มีขนาดราวๆ 8.2 มิลลิเมตร ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในอำพันในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ในสภาพโค้งงอเป็นตัว S และมีลำตัวแบ่งออกเป็นปล้องๆ จำนวน 35 ปล้อง และมีถุงแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อเก็บอสุจิจากตัวผู้ไว้ใช้งานในภายหลังอยู่ที่บริเวณใต้ตัว
นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้กิ้งกือที่พวกเขาพบตัวนี้ว่า “Burmanopetalum inexpectatum” และพบว่ากิ้งกือที่พวกเขาพบนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในหลักฐานของกิ้งกือโบราณที่มีความเก่าแก่มากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยพบมาเลย
จุดเด่นที่น่าสนใจและทำให้กิ้งกือตัวนี้มีความแตกต่างไปจากกิ้งกือตัวอื่นๆ ที่เราเคยพบนั้น อยู่ที่ดวงตาอันเป็นเอกลักษณ์ของมัน เพราะกิ้งกือตัวนี้นั้นมีตาที่ประกอบไปด้วยหน่วยรับแสงเพียง 5 หน่วย ซึ่งนับว่าน้อยมากๆ ในหมู่กิ้งกือที่ตามปกติจะมีหน่วยรับแสงราวๆ 30 หน่วย
ขอบคุณที่มา livescience, allthatsinteresting และ zmescience
Cr.
https://www.catdumb.com/ancient-millipede-in-amber-378/ By เหมียวศรัทธา
ฟอสซิลยุงที่เพื่อนๆเห็นกันอยู่นี้มีชื่อว่า USNM 559050 ค้นพบฟอสซิลยุงในชั้นหิน Oil Shale ในรัฐ Montana ประเทศอเมริกา เป็นฟอสซิลยุงที่ค้นพบตั้งแต่ช่วงปี 1980 ไม่ได้ฝังอยู่ในแท่งอำพันแบบในเรื่องจูราสสิค พาร์ค แต่ฝังอยู่ในหินดินดานที่เกิดจากตะกอนทับถมกันในน้ำ (ในโลกนี้มีแมลงที่กินเลือดอยู่ราว 14,000 สปีชีส์)
ยุงโบราณตัวนี้ยังมีสภาพครบสมบูรณ์มาจากการที่ถูกหินลักษณะ เป็นโคลนอ่อนนุ่มหุ้มตัวไว้ในช่วง ที่เทือกเขาแห่งนี้ยกตัวขึ้นจากพื้นผิวโลก ในช่วงที่มีการก่อกำเนิดเทือกเขานี้ใหม่ๆ ทำให้ซากยุงถูกดันขึ้นไปอยู่บนเทือกเขา ก่อนที่โคลนที่หุ้มตัวยุงอยู่ จะแข็งตัวอย่างช้าๆ โดยไม่ได้ทำลายซากยุงที่ติดอยู่ เกิดเป็นฟอสซิลยุงที่ครบสมบูรณ์
แต่สำหรับคนที่หวังว่านักวิทยาศาสตร์จะโคลนนิ่งไดโนเสาร์ได้แบบในเรื่องจูราสสิค ปาร์ค คงต้องผิดหวังหน่อย เพราะ DNA ในเลือดถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว นอกจากนี้เลือดที่อยู่ในท้องยุงยังไม่ใช่เลือดไดโนเสาร์อีกด้วย เพราะอายุของฟอสซิลดังกล่าวมีอายุ 46 ล้านปี ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้นเลือดในท้องจึงไม่ใช่ของไดโนเสาร์แน่นอน
อ้างอิง – vcharkarn , thairath , nationtv , tnnthailand , seeker
Cr.
https://www.flagfrog.com/fossil-mosquito/ By ManoshFiz
"อำพัน" (Amber) อัญมณีแคปซูลเวลา
อำพัน (Amber) เป็นอัญมณีชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต อำพันเกิดจากยางไม้ที่พืชบางชนิดขับออกมาเพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการรบกวนของสิ่งแวดล้อม เช่น สัตว์ที่มาแทะกินเปลือกไม้ใบไม้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปนานหลายล้านปีก็จะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งและหลุดออกจากต้นไป
อำพันมักจะเป็นวัสดุโปร่งใส มีสีต่าง ๆ กันไป ที่พบมากที่สุดคือสีเหลือง ส้ม และน้ำตาล แต่บางครั้งก็อาจจะมีสีอื่น เช่น สีดำ สีแดงเข้ม หรือแม้กระทั่งสีฟ้าหรือสีเขียว แต่พบน้อยมาก อำพันที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบมา มีอายุราว 345 ล้านปี อำพันพบได้ทั่วไป แต่แหล่งที่พบมากได้แก่รอบทะเลบอลติก และทะเลแคริบเบี้ยน
อำพันนอกจากจะเป็นอัญมณีแล้ว เนื่องจากอำพันกำเนิดจากยางไม้ที่พืชขับออกมา ซึ่งเมื่อขับออกมาใหม่ ๆ เรซินในยางจะยังคงมีความเหนียวอยู่ ดังนั้นหากมีอะไรมาสัมผัส สิ่งนั้นก็จะติดบนยางไม้ และเมื่อยางไม้แข็งกลายเป็นอำพัน สิ่งดังกล่าวก็จะฝังติดอยู่ในก้อนอำพันด้วย จึงมีการค้นพบซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งเป็นชิ้นส่วนหรือทั้งตัวฝังติดอยู่ในอำพันอยู่เสมอ ซึ่งโดยมากจะเป็นสัตว์จำพวกแมลงชนิดต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก อำพันจึงเป็นเหมือน "แคปซูลเวลา" ที่ช่วยรักษาซากสัตว์โบราณเอาไว้จนถึงปัจจุบันในสภาพสมบูรณ์ ซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์โบราณมากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ยังหวังด้วยว่า หากพบอำพันที่มีเศษเลือดเนื้อของสัตว์โบราณ ไม่ว่าจะเป็นตัว ๆ หรืออาหารที่สัตว์เหล่านั้นกินเข้าไปแล้ว ก็อาจจะนำเศษซากสัตว์เหล่านั้นมาสกัดเพื่อหา DNA มาศึกษาและโคลนนิงให้สัตว์เหล่านั้นเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งหลังจากสูญพันธุ์ไปนานนับล้านปีแล้วก็เป็นได้
Cr.รูป http://www.thisiscolossal.com/2016/…/dinosaur-tail-feathers/
Cr.เรื่อง https://en.wikipedia.org/wiki/Amber
Cr.https://www.facebook.com/sararueaipueai/posts/947245515408999/
ก้อนอำพันจากยุคครีเตเชียสได้เผยให้เห็นซากของกบโบราณจากยุคไดโนเสาร์ พวกมันคือฟอสซิลกบโบราณที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา และชิ้นส่วนที่ถูกกักเก็บไว้มีความสมบูรณ์มากพอที่จะวิเคราะห์ได้ว่า พวกมันคือสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Electrorana limoae
ภายในก้อนอำพันยังบรรจุซากของตัวด้วง ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าพวกมันคืออาหารของกบในยุคไดโนเสาร์ ข้อมูลอื่นๆ จากการวิจัยระบุว่ากบตัวนี้ยังคงเป็นกบวัยรุ่น กระดูกของมันยังคงเป็นกระดูกอ่อน ดังนั้นแล้วจึงมีบางส่วนของกระดูกที่หายไป ซึ่งอาจให้ข้อมูลแก่นักวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมได้ว่ามันมีพฤติกรรมอย่างไร ตลอดจนอยู่ในระบบนิเวศแบบใด ซึ่งชิ้นส่วนที่ว่าก็ได้แก่ กระดูกบริเวณข้อต่อสะโพก และกระดูกหูชั้นใน
Cr.https://ngthai.com/history/11657/worlds-oldest-frogs-in-amber/
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ค้นพบ ตัวอ่อนสัตว์ปีกดึกดำบรรพ์ที่พึ่งฟักออกจากไข่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในก้อนอำพันที่ประเทศเมียนมา โดยซากสัตว์ปีกที่ถูกพบนี้นับว่ามีสภาพสมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่มีการค้นพบมา
รายงานข่าวระบุว่า ตัวอ่อนของสัตว์ปีกที่ถูกพบมีความยาวประมาณ 9 ซม. โดยมีส่วนของหัว ลำคอ ปีก ขา และเนื้อเยื่อของหางที่สมบูรณ์ คาดว่ามีอายุเกือบ 99 ล้านปี
ซากนกในอำพันก้อนนี้ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิธภัณฑ์ ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายแดนของเมียนมาร์
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ท่าทางโดยรวมของสัตว์ปีกในก้อนอำพันนี้ คล้ายกับอยู่ระหว่างการล่าเหยื่อ เพราะมีลักษณะกรงเล็บและปีกที่กางออกรวมทั้งจะงอยปากที่เปิดอยู่
Cr.ภาพจาก China Xinhua News
Cr.https://www.posttoday.com/world/498087
(MING BAI/CHINESE ACADEMY OF SCIENCE ฟอสซิลของลูกงู Xiaophis Myanmarensis ในก้อนอำพันจากเมียนมา)
ทีมนักบรรพชีวินวิทยาชาวจีนและแคนาดาพบฟอสซิลลูกงูยุคดึกดำบรรพ์เป็นครั้งแรก ในก้อนอำพันอายุ 99 ล้านปีซึ่งขุดได้จากประเทศเมียนมา ทั้งยังพบฟอสซิลคราบงูจากงูที่ตัวโตกว่าในอำพันโบราณอีกก้อนหนึ่งด้วย
ศาสตราจารย์ไมเคิล คาลด์เวลล์ จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาของแคนาดา หนึ่งในทีมผู้ศึกษาก้อนอำพันดังกล่าวบอกว่า ฟอสซิลลูกงูนั้นหาได้ยากมากและไม่เคยมีผู้ค้นพบมาก่อน ส่วนซากที่พบในก้อนอำพันครั้งนี้เป็นงูในยุคครีเทเชียสซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์เมื่อราว 145 ล้านปี - 66 ล้านปีก่อน
ลูกงูดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiaophis Myanmarensis ตามชื่อของประเทศเมียนมาซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ โดยชื่อนี้มีความหมายว่า "งูแห่งรุ่งอรุณของเมียนมา"
รายงานการค้นพบที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ระบุว่า ฟอสซิลลูกงูในก้อนอำพันนี้มีสภาพเกือบจะสมบูรณ์ โดยยังคงมีกระดูกสันหลังพร้อมซี่โครงเหลืออยู่ถึง 97% แต่ส่วนหัวนั้นขาดหายไป
ปัจจุบันเมียนมาเป็นแหล่งที่มีการค้นพบฟอสซิลสำคัญจากยุคครีเทเชียสจำนวนมาก บางส่วนเป็นฟอสซิลในก้อนอำพัน โดยไม่นานมานี้มีการค้นพบส่วนหางของไดโนเสาร์มีขน แมงมุมโบราณ และซากกบยุคก่อนประวัติศาสตร์ในก้อนอำพันที่ขุดได้จากเมียนมา
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-44898944
(E PENALVER ET AL ฟอสซิลตัวเห็บในก้อนอำพันได้มาจากประเทศเมียนมา)
มีการค้นพบฟอสซิลของเห็บสายพันธุ์โบราณชนิดหนึ่ง ในก้อนอำพันที่ได้จากประเทศเมียนมา ซึ่งมีความเก่าแก่ถึง 99 ล้านปี โดยฟอสซิลตัวเห็บนี้เกาะติดอยู่ในขนของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด (Theropods) ที่บางส่วนมีวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์จำพวกนกในปัจจุบัน
การค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature Communications โดยระบุว่าพบฟอสซิลของเห็บชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่า Deinocroton draculi หรือ "เห็บที่น่าสะพรึงกลัวของแดร็กคิวลา" ภายในอำพัน 4 ก้อน โดยตัวหนึ่งติดอยู่กับขนของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายขนนก อีกตัวหนึ่งดูดเลือดเข้าไปจนพุงกาง ส่วนอีกสองตัวติดอยู่กับขนของด้วงหนังสัตว์ (Skin beetle) ซึ่งแสดงว่าเห็บชนิดนี้อาศัยอยู่ในรังของไดโนเสาร์เช่นเดียวกับแมลงอื่น ๆ ด้วย
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-42336028
นักวิทยาศาสตร์จาก Mexico ค้นพบซากฟอสซิลจิ้งจกอายุกว่า 23 ล้านปี ที่ยังมีสภาพสมบูรณ์มากถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในอำพันที่ถูกขุดพบใน Simojovel ที่เป็น Amber Deposit ที่มีชื่อของ Chiapas ในประเทศ Mexico
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังในอำพันแบบที่มีสภาพสมบูรณ์แบบนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก ว่ากันว่าอำพันที่มีซากฟอสซิลจิ้งจกที่มีการซื้อขายในตลาดนักสะสมนั้นนั้นกว่า 99% จะเป็นของปลอมที่ทำขึ้นมา
จิ้งจกในอำพันชิ้นนี้ยังมีเนื้อเยื่อและ soft tissue หลงเหลืออยู่ในตัวฟอสซิล ทำให้อำพันชิ้นนี้เป็นหนึ่งในอำพันที่มีคุณค่าทางบรรพชีวินวิทยาที่สุดในโลกชิ้นหนึ่ง ซึ่งตอนนี้อำพันชิ้นนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ Amber Museum ที่ San Cristobal de las Casas เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าศึกษาฟอสซิลชิ้นนี้ต่อไป
อ้างอิงเนื้อหามาจาก: Fox News Latino
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/FossilCollector/2013/07/10/entry-1 / Posted by PaleoPlai
(อำพันฟอสซิลหอยทากอายุ 99 ล้านปี ถูกพบในพม่า)
หอยทาก เป็นสิ่งมีชีวิตที่หลายคนอาจมองว่ามันบอบบาง พวกมันเป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส ราวๆ เกือบ 400 ล้านปีที่ผ่านมา งานวิจัยล่าสุดที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Cretaceous Research เปิดเผยข้อมูลการศึกษาฟอสซิลหอยทากอายุ 99 ล้านปีที่อยู่ในอำพัน
อำพันฟอสซิลหอยทากชิ้นนี้ถูกพบในประเทศพม่า เปลือกของมันยังคงถูกรักษาไว้ไว้อย่างสมบูรณ์อยู่ภายในอำพัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่ามันไม่ใช่ฟอสซิลหอยทางที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พบคือหอยทากยังมีชีวิตอยู่ขณะที่ติดอยู่ในอำพันชิ้นนี้ชี้ เพราะมีชิ้นส่วนของหอยทางที่พยายามจะหนีออกมาจากยางไม้ แต่ก็ไม่เป็นสำเร็จจนมันต้องอยู่ในนั้นตลอด
อำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล
ขอบคุณที่มา sciencealert
Cr.http://realmetro.com/ฟอสซิลหอยทาก-99-ล้านปี/
การค้นพบในครั้งนี้ขึ้นในประเทศพม่าเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Zookeys ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมาก และเชื่อกันว่าเป็นกิ้งกือสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน
อ้างอิงจากข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยออกมากิ้งกือที่ถูกค้นพบในครั้งนี้ เป็นกิ้งกือตัวเมียที่มีขนาดราวๆ 8.2 มิลลิเมตร ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในอำพันในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ในสภาพโค้งงอเป็นตัว S และมีลำตัวแบ่งออกเป็นปล้องๆ จำนวน 35 ปล้อง และมีถุงแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อเก็บอสุจิจากตัวผู้ไว้ใช้งานในภายหลังอยู่ที่บริเวณใต้ตัว
นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อให้กิ้งกือที่พวกเขาพบตัวนี้ว่า “Burmanopetalum inexpectatum” และพบว่ากิ้งกือที่พวกเขาพบนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในหลักฐานของกิ้งกือโบราณที่มีความเก่าแก่มากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยพบมาเลย
จุดเด่นที่น่าสนใจและทำให้กิ้งกือตัวนี้มีความแตกต่างไปจากกิ้งกือตัวอื่นๆ ที่เราเคยพบนั้น อยู่ที่ดวงตาอันเป็นเอกลักษณ์ของมัน เพราะกิ้งกือตัวนี้นั้นมีตาที่ประกอบไปด้วยหน่วยรับแสงเพียง 5 หน่วย ซึ่งนับว่าน้อยมากๆ ในหมู่กิ้งกือที่ตามปกติจะมีหน่วยรับแสงราวๆ 30 หน่วย
ขอบคุณที่มา livescience, allthatsinteresting และ zmescience
Cr.https://www.catdumb.com/ancient-millipede-in-amber-378/ By เหมียวศรัทธา
ฟอสซิลยุงที่เพื่อนๆเห็นกันอยู่นี้มีชื่อว่า USNM 559050 ค้นพบฟอสซิลยุงในชั้นหิน Oil Shale ในรัฐ Montana ประเทศอเมริกา เป็นฟอสซิลยุงที่ค้นพบตั้งแต่ช่วงปี 1980 ไม่ได้ฝังอยู่ในแท่งอำพันแบบในเรื่องจูราสสิค พาร์ค แต่ฝังอยู่ในหินดินดานที่เกิดจากตะกอนทับถมกันในน้ำ (ในโลกนี้มีแมลงที่กินเลือดอยู่ราว 14,000 สปีชีส์)
ยุงโบราณตัวนี้ยังมีสภาพครบสมบูรณ์มาจากการที่ถูกหินลักษณะ เป็นโคลนอ่อนนุ่มหุ้มตัวไว้ในช่วง ที่เทือกเขาแห่งนี้ยกตัวขึ้นจากพื้นผิวโลก ในช่วงที่มีการก่อกำเนิดเทือกเขานี้ใหม่ๆ ทำให้ซากยุงถูกดันขึ้นไปอยู่บนเทือกเขา ก่อนที่โคลนที่หุ้มตัวยุงอยู่ จะแข็งตัวอย่างช้าๆ โดยไม่ได้ทำลายซากยุงที่ติดอยู่ เกิดเป็นฟอสซิลยุงที่ครบสมบูรณ์
แต่สำหรับคนที่หวังว่านักวิทยาศาสตร์จะโคลนนิ่งไดโนเสาร์ได้แบบในเรื่องจูราสสิค ปาร์ค คงต้องผิดหวังหน่อย เพราะ DNA ในเลือดถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว นอกจากนี้เลือดที่อยู่ในท้องยุงยังไม่ใช่เลือดไดโนเสาร์อีกด้วย เพราะอายุของฟอสซิลดังกล่าวมีอายุ 46 ล้านปี ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้นเลือดในท้องจึงไม่ใช่ของไดโนเสาร์แน่นอน
อ้างอิง – vcharkarn , thairath , nationtv , tnnthailand , seeker
Cr.https://www.flagfrog.com/fossil-mosquito/ By ManoshFiz