เรื่อง Kristin Romey
รยางค์ของสิ่งมีชีวิตจากเมื่อ 99 ล้านปีก่อนที่อยู่ในก้อนอำพันนี้มีทั้งกระดูก เนื้อเยื่อ และขน
แม้ที่ผ่านมาจะมีการค้นพบขนที่หลุดอยู่ในก้อนอำพันหรือร่องรอยของมันในซากฟอสซิลมาบ้าง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์มีโอกาสได้สัมผัสกับขนของไดโนเสาร์ในสภาพสมบูรณ์ขนาดนี้ ซึ่งช่วยให้พวกเขาเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการกับโครงสร้างขนของไดโนเสาร์ได้มากขึ้น
Lida Xing นักบรรพชีวินวิทยาจาก China university of Geosciences คือหัวหน้าทีมวิจัยผู้ค้นพบก้อนอำพันบรรจุหางไดโนเสาร์ความยาว 1.4 นิ้วที่ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเชสนัตด้านบน สีขาวและน้ำตาลอ่อนด้านล่าง
หลังการสแกน CT และตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบกระดูกสันหลังทั้งหมด 8 ข้อ ไล่จากส่วนกลางไปยังส่วนปลาย สันนิษฐานว่าเดิมน่าจะมีทั้งหมด 25 ข้อ หากดูจากโครงสร้างนักวิจัยคาดว่าหางชิ้นนี้น่าจะเป็นของ ซีลูโรซอ (Coelurosaur) วัยเยาว์ หนึ่งในไดโนเสาร์ในกลุ่มเธอโรพอด (Theropod) กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่รวมไว้ตั้งแต่ ไทแรนโนซอรัส (Tyrannosaurs) ไดโนเสาร์จากยุคดึกดำบรรพ์ไปจนถึงนกในยุคปัจจุบัน
กระดูกสันหลังที่เรียงตัวกันทำให้พวกเขาตัดนกจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ออกจากรายชื่อของผู้ที่น่าจะเป็นเจ้าของชิ้นส่วนนี้เหลือไว้เพียงนกในยุคปัจจุบันและบรรพบุรุษอันชิดใกล้จากยุคครีเตเชียส ซึ่งมีหางเชื่อมเข้ากับกระดูกสันหลัง หรือที่เรียกว่า Pygostyle (กระดูกปลายหาง) ซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถขยับหางได้ตามใจนึก
“หากคุณเคยทำไก่งวง คุณก็จะเห็นสิ่งที่คล้ายกับ Pygostyle ครับ” Ryan McKellar นักเขียนวิจัยร่วมและภัณฑารักษ์ประจำโซนสัตว์ดึกดำบรรพ์ไม่มีกระดูกสันหลังแห่งพิพิธภัณฑ์ Royal Saskatchewan ประเทศแคนาดา กล่าว
แล้วมันบินได้หรือเปล่า?
จากการวิเคราะห์พบว่า ขนเหล่านี้ไม่มีก้านขนที่แข็งแรงและมักโน้มเอียงไปด้านข้าง ซึ่งค่อนข้างจะเหมือนกับขนประดับ (Ornament Feather) มากกว่ากว่าขนที่ใช้สำหรับการบิน (Flight Feather) ของนกในยุคปัจจุบัน
แต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมวิจัยทีมเดิมได้รายงานว่าปีกนกจากยุคครีเตเชียสที่พวกเขาค้นพบในก้อนอำพันอื่นจากแหล่งเดียวกันในก่อนหน้านี้กลับมีลักษณะคล้ายกับขนของนกบินได้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม McKeller บอกว่า เจ้าของหางและขนในก้อนอำพันนี้ “น่าจะเป็นไดโนเสาร์ที่ไม่สามารถบินได้” บทบาทของขนพวกนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณหรืออุณหภูมิมากกว่า
ก้อนอำพันนี้มาจากเหมืองใน ฮูกอง วัลเล่ย์ หมู่บ้านหนึ่งในรัฐคะฉิ่น ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพม่า เขตที่มีการค้นพบสัตว์และพืชจากยุคครีเตเชียสในอัญมณีมากที่สุดในโลก Xing และทีมวิจัยของเขาเจอมันพร้อมกับอำพันอีกสองก้อนที่ภายในมีปีกของไดโนเสาร์จากยุคเดียวกัน ที่ตลาดอัญมณี มิตจีนา อันเลื่องชื่อของพม่า พวกเขาตีพิมพ์เรื่องของปีกไปเมื่อหน้าร้อนที่ผ่านมา
จากการวิเคราะห์ นักวิจัยพบว่าเหล็กเฟอรัสที่ติดอยู่ในอำพันคือส่วนประกอบหนึ่งของเม็ดเลือดแดงในเนื้อเยื่อของไดโนเสาร์ McKeller พูดอย่างมีความหวังว่า พวกเขาอาจได้ทำการวิจัยอย่างลึกซึ้งมากขึ้นในอนาคต “อาจไม่ใช่จากตัวอย่างนี้ แต่เป็นตัวอย่างอื่นที่อยู่ข้างนอกนั่นก็ได้ครับ”
Xing เองก็เชื่อว่า ความบาดหมางที่ดูเหมือนจะว่าจะสิ้นสุดลงเร็วๆนี้ระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังอิสระคะฉิ่น (Kachin Independence Amry) ที่ ฮูกอง วัลเล่ย์ จะช่วยให้วิทยาศาสตร์เข้าถึงเหมืองของหมู่บ้านได้มากขึ้น
รายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่มาของภาพ
http://www.bbc.com/thai/features-38259268
https://www.facebook.com/NationalGeographicThailand/posts/10157945778140038?hc_location=ufi
http://news.nationalgeographic.com/2016/12/feathered-dinosaur-tail-amber-theropod-myanmar-burma-cretaceous/
ความหมายของอำพัน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99
ค้นพบส่วนหางไดโนเสาร์ + มด ในสภาพสมบูรณ์ ในก้อนอำพันอายุ 99 ล้านปี
เรื่อง Kristin Romey
รยางค์ของสิ่งมีชีวิตจากเมื่อ 99 ล้านปีก่อนที่อยู่ในก้อนอำพันนี้มีทั้งกระดูก เนื้อเยื่อ และขน
แม้ที่ผ่านมาจะมีการค้นพบขนที่หลุดอยู่ในก้อนอำพันหรือร่องรอยของมันในซากฟอสซิลมาบ้าง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์มีโอกาสได้สัมผัสกับขนของไดโนเสาร์ในสภาพสมบูรณ์ขนาดนี้ ซึ่งช่วยให้พวกเขาเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการกับโครงสร้างขนของไดโนเสาร์ได้มากขึ้น
Lida Xing นักบรรพชีวินวิทยาจาก China university of Geosciences คือหัวหน้าทีมวิจัยผู้ค้นพบก้อนอำพันบรรจุหางไดโนเสาร์ความยาว 1.4 นิ้วที่ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเชสนัตด้านบน สีขาวและน้ำตาลอ่อนด้านล่าง
หลังการสแกน CT และตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบกระดูกสันหลังทั้งหมด 8 ข้อ ไล่จากส่วนกลางไปยังส่วนปลาย สันนิษฐานว่าเดิมน่าจะมีทั้งหมด 25 ข้อ หากดูจากโครงสร้างนักวิจัยคาดว่าหางชิ้นนี้น่าจะเป็นของ ซีลูโรซอ (Coelurosaur) วัยเยาว์ หนึ่งในไดโนเสาร์ในกลุ่มเธอโรพอด (Theropod) กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่รวมไว้ตั้งแต่ ไทแรนโนซอรัส (Tyrannosaurs) ไดโนเสาร์จากยุคดึกดำบรรพ์ไปจนถึงนกในยุคปัจจุบัน
กระดูกสันหลังที่เรียงตัวกันทำให้พวกเขาตัดนกจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ออกจากรายชื่อของผู้ที่น่าจะเป็นเจ้าของชิ้นส่วนนี้เหลือไว้เพียงนกในยุคปัจจุบันและบรรพบุรุษอันชิดใกล้จากยุคครีเตเชียส ซึ่งมีหางเชื่อมเข้ากับกระดูกสันหลัง หรือที่เรียกว่า Pygostyle (กระดูกปลายหาง) ซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถขยับหางได้ตามใจนึก
“หากคุณเคยทำไก่งวง คุณก็จะเห็นสิ่งที่คล้ายกับ Pygostyle ครับ” Ryan McKellar นักเขียนวิจัยร่วมและภัณฑารักษ์ประจำโซนสัตว์ดึกดำบรรพ์ไม่มีกระดูกสันหลังแห่งพิพิธภัณฑ์ Royal Saskatchewan ประเทศแคนาดา กล่าว
แล้วมันบินได้หรือเปล่า?
จากการวิเคราะห์พบว่า ขนเหล่านี้ไม่มีก้านขนที่แข็งแรงและมักโน้มเอียงไปด้านข้าง ซึ่งค่อนข้างจะเหมือนกับขนประดับ (Ornament Feather) มากกว่ากว่าขนที่ใช้สำหรับการบิน (Flight Feather) ของนกในยุคปัจจุบัน
แต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมวิจัยทีมเดิมได้รายงานว่าปีกนกจากยุคครีเตเชียสที่พวกเขาค้นพบในก้อนอำพันอื่นจากแหล่งเดียวกันในก่อนหน้านี้กลับมีลักษณะคล้ายกับขนของนกบินได้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม McKeller บอกว่า เจ้าของหางและขนในก้อนอำพันนี้ “น่าจะเป็นไดโนเสาร์ที่ไม่สามารถบินได้” บทบาทของขนพวกนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณหรืออุณหภูมิมากกว่า
ก้อนอำพันนี้มาจากเหมืองใน ฮูกอง วัลเล่ย์ หมู่บ้านหนึ่งในรัฐคะฉิ่น ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพม่า เขตที่มีการค้นพบสัตว์และพืชจากยุคครีเตเชียสในอัญมณีมากที่สุดในโลก Xing และทีมวิจัยของเขาเจอมันพร้อมกับอำพันอีกสองก้อนที่ภายในมีปีกของไดโนเสาร์จากยุคเดียวกัน ที่ตลาดอัญมณี มิตจีนา อันเลื่องชื่อของพม่า พวกเขาตีพิมพ์เรื่องของปีกไปเมื่อหน้าร้อนที่ผ่านมา
จากการวิเคราะห์ นักวิจัยพบว่าเหล็กเฟอรัสที่ติดอยู่ในอำพันคือส่วนประกอบหนึ่งของเม็ดเลือดแดงในเนื้อเยื่อของไดโนเสาร์ McKeller พูดอย่างมีความหวังว่า พวกเขาอาจได้ทำการวิจัยอย่างลึกซึ้งมากขึ้นในอนาคต “อาจไม่ใช่จากตัวอย่างนี้ แต่เป็นตัวอย่างอื่นที่อยู่ข้างนอกนั่นก็ได้ครับ”
Xing เองก็เชื่อว่า ความบาดหมางที่ดูเหมือนจะว่าจะสิ้นสุดลงเร็วๆนี้ระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังอิสระคะฉิ่น (Kachin Independence Amry) ที่ ฮูกอง วัลเล่ย์ จะช่วยให้วิทยาศาสตร์เข้าถึงเหมืองของหมู่บ้านได้มากขึ้น
รายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่มาของภาพ
http://www.bbc.com/thai/features-38259268
https://www.facebook.com/NationalGeographicThailand/posts/10157945778140038?hc_location=ufi
http://news.nationalgeographic.com/2016/12/feathered-dinosaur-tail-amber-theropod-myanmar-burma-cretaceous/
ความหมายของอำพัน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99