งานวิจัยสัตว์ดึกดำบรรพ์สกุลใหม่/ชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบในประเทศไทย ปี 2019



ในปี 2019 ได้มีการตีพิมพ์รายงานงานวิจัย สัตว์ดึกดำบรรพ์สกุลใหม่/ชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบในประเทศไทย มากถึง 5 ตัวด้วยกัน ประกอบไปด้วย


"กาฬสินธุ์นีมิส ปราสาททองโอสถถิ"


เป็นเต่าในกลุ่มคริปโตไดแรน (Cryptodiran) วงศ์ ซินเจียงคีลิอิเด (Xinjianchelyidae) เช่นเดียวเต่าภูน้อยคีลิส (Phunoichelys) ซึ่งพบในแหล่งเดียวกัน คือ แหล่งไดโนเสาร์ภูน้อย ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
โดยพบชิ้นส่วนกะโหลก และกระดองหลัง-ท้อง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ จากผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2562 พบว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก โดยตั้งชื่อสกุลตามจังหวัดที่พบ คือ กาฬสินธุ์ (Kalasin) ประสมกับคำว่า emys ในภาษากรีก แปลว่า เต่าน้ำจืด หรือเต่าบึง และตั้งชื่อสปีชีส์เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้สนับสนุนงานศึกษาวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย

กาฬสินธุ์นีมีส เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก มีขนาดกระดองยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ขนาดพอๆภูน้อยคีลีส ซึ่งถึงแม้ว่าจะจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับภูน้อยคีลิส แต่กระดองมีความแตกต่างต่างกัน เช่น กาฬสินธุ์นีมิสมีผิวกระดองที่เรียบกว่า กระดองหลังบริเวณคอมีส่วนเว้าเข้าไป ซึ่งภูน้อยคีลีสไม่มี อีกทั้งยังมีกระดองท้องที่กว้างกว่า 
ทั้งกาฬสินธุ์นีมีสและภูน้อยคีลีส ต่างก็เป็นหลักฐานยืนยันถึงความสัมพันธ์กับเต่าในวงศ์เดียวกันที่พบในแถบเอเชียกลางและยุโรป อีกทั้งยังเป็นการยืนยันอายุของชั้นหินที่พบในภูน้อยได้อีกว่ามีอายุอยู่ในช่วงยุคจูแรสสิกตอนปลาย อายุประมาณ 150 -145 ล้านปีก่อน
ข้อมูล 
Tong, H., Naksri, W., Buffetaut, E., Suteethorn, S., Suteethorn, V., Chantasit, P., & Claude, J. (2019). Kalasinemys, a new xinjiangchelyid turtle from the Late Jurassic of NE Thailand. Geological Magazine, 1–12.
Cr.ภาพ novataxa.blogspot.com/
Cr.https://www.facebook.com/fossil.world/posts/3073133429375162

อินโดซิโนซูคัส โปเตโมสยามเอนซิส


ฟอสซิลจระเข้สกุลและชนิดใหม่ของโลก จากแหล่งขุดค้นภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ (ยุคจูราสสิค ประมาณ 150 ล้านปี หรืออาจจะเก่าแก่กว่านั้น) ได้รับการตั้งชื่อ โดย Martin และคณะว่า Indosinosuchus potamosiamensis (อินโดซิโนซูคัส โปเตโมสยามเอนซิส) หรือ จระเข้อินโดจีน ผู้อาศัยอยู่ในแม่น้ำของประเทศไทย (สยาม) 
เป็นจระเข้ในวงศ์ Teleosauridae กลุ่ม Thalattosuchia (เทเลโอซอริเด้ ทาลัตโตซูเคีย) ชิ้นส่วนที่พบประกอบไปด้วยจระเข้อย่างน้อยสิบตัว กะโหลกที่สมบูรณ์เกือบสิบกะโหลก ชิ้นตัวอย่างถูกเก็บรักษาอยู่ที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์
ทาลัตโตซูเคียเป็นจระเข้โบราณจากยุคจูราสสิคและครีเตเชียส เป็นจระเข้ที่อาศัยในทะเล แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ Metriorhynchoidea (เมทริโอรินคอยเดีย) เป็นกลุ่มที่พัฒนาไปอยู่ในทะเลอย่างสมบูรณ์ ไม่มีเกล็ดหนาเหมือนจระเข้ทั่วไป มีครีบแทนขาใช้ว่ายน้ำ และมีหางคล้ายฉลาม อีกกลุ่มคือ Teleosauroidea ที่มีรูปร่างทั่วไปคล้ายตะโขง อาศัยอยู่ในทะเลแต่ก็ยังสามารถขึ้นมาบนบกได้

Indosinosuchus มีความพิเศษตรงที่ มันเป็นจระเข้ในกลุ่มจระเข้น้ำเค็ม (ทาลัตโตซูเคีย) ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือระบบแม่น้ำ ที่แอดเคยนำเสนอไปในโพสก่อนครับ (goo.gl/czT96f) นอกจากนี้มันยังมีความสำคัญในการใช้ระบุอายุของแหล่งขุดค้นภูน้อยในหมวดหินภูกระดึงอีกด้วย

อ้างอิงจาก https://www.tandfonline.com/…/10.1080/02724634.2018.1549059
Cr.ภาพ https://twitter.com/Synapsida/status/1101165207257337856/photo/1
Cr.https://www.facebook.com/paleosara/posts/2199660700286534/
Cr.https://hi-in.facebook.com/Dinosaursdiary/photos/บันทึกสัตว์ดึกดำบรรพ์-ฉบับที่-15-อินโดซิโนซูคัส-สัตว์คล้ายจระเข้ชนิดใหม่ที่ภูน้อ/1606369629465840/

ภูเวียงเวนาเตอร์ แย้มนิยมมิ


เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2562  นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า การศึกษาชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ที่ขุดค้นพบใน อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ทำให้ได้พบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกในประเทศไทย  เพิ่งวิจัยเสร็จ ซึ่งนับเป็นสายพันธุ์ที่ 10 ของประเทศ 

สำหรับไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ มีชื่อว่า "ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ" (PHUWIANG VENATOR YAEMNIYOMI) หมายถึง ไดโนเสาร์นักล่าแห่งเทือกเขาภูเวียง ส่วนแย้มนิยมมิ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ คุณสุธรรม แย้มนิยม อดีตข้าราชการกรมทรัพยากรธรณี ผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงเมื่อ 40 กว่าปีก่อน อันนำมาสู่การศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ในประเทศไทยในเวลาต่อมา

นายอดุลย์  สมาธิ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยบอนน์  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  ผู้ศึกษาวิจัยกระดูกชิ้นส่วนของภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ ระบุว่า ได้เห็นชิ้นส่วนของไดโนเสาร์กินเนื้อ ซึ่งประกอบด้วย กระดูกสันหลังส่วนสะโพก กระดูกมือ และเล็บ กระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่าเท้า และเท้า ซึ่งถูกขุดค้นพบตั้งแต่ปี 2536 จึงทำให้สนใจศึกษา เพราะจากการพิจารณาเบื้องต้น มั่นใจว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะพิเศษ และมีแนวโน้มว่าจะเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก
ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ มีลำตัวยาวประมาณ 6 เมตร โดยพบในชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหินเสาขัว อายุประมาณครีเทเชียสตอนต้น 130 ล้านปี
นอกจากนี้ ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเมกะแรพเตอรา เนื่องจากมีลักษณะทั่วไปคล้ายไดโนเสาร์อื่นๆ ในกลุ่มเมกะแรพเตอรา คือ มีขาหน้าและขาหลังที่ยาว บ่งบอกถึงการวิ่งเร็ว มีกรงเล็บใหญ่ กะโหลกเรียวกว่าที่พบในไดโนเสาร์กินเนื้อทั่วไป
Cr.ภาพ matichon.co.th
Cr.https://news.thaipbs.or.th/content/281667

วายุแร็พเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส


เมื่อวันที่ 12 พ.ย.62  กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดแถลงข่าว การค้นพบไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของไทย มีชื่อว่า “วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส” (Vayuraptor nongbualamphuensis)
เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลและชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดค้นภูวัด อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จ.หนองบัวลำภู โดยคุณพลาเดช ศรีสุข เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ตั้งชื่อตามเทพเจ้าฮินดู “วายุ” (ภาษาสันสกฤต) หรือ “พระพาย” สื่อว่าไดโนเสาร์ตัวนี้มีความว่องไว จากลักษณะกระดูกหน้าแข้งที่ยาวเรียว ตัวอย่างต้นแบบของ วายุแรพเตอร์ ประกอบไปด้วยกระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า กระดูก coracoid และกระดูกชิ้นอื่นๆ ที่ไม่สมบูรณ์นัก มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4-4.5 เมตร ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม basal Coelurosauria มีอายุ 130 ล้านปี ในยุคครีเทเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์

โดยการค้นพบเนื่องจากได้มีชาวบ้าน ขึ้นไปหาของป่าและได้พบกับชิ้นส่วนของกระดูกดังกล่าว เมื่อปี 2531 จากนั้น ทาง นักวิจัยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำเอาชิ้นส่วนดังกล่าวไปทำการศึกษาวิจัยร่วมกับนักวิจัยในต่างประเทศ จนทราบว่า ชิ้นส่วนกระดูกส่วนของข้อเท้านั้น ไม่เหมือนกับกระดูกของไดโนเสาร์สายพันธุ์ใดของโลก
 
วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส จัดอยู่ในกลุ่มเบชอลซีลูโรชอร์ (basal coelurosaurs)  ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนกมากกว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่อื่นๆ (อาทิ อัลโลซอรัส เมกะโลชอรัส สไปโนซอรัส)
ขอบคุณภาพและข้อมูล กรมทรัพยากรธรณี
Cr.https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1702818
Cr.https://www.springnews.co.th/thailand/573643
Cr.http://novataxa.blogspot.com/2019/05/phuwiangvenator.html

สยามแร็พเตอร์ สุวัจน์ติ


ทีมนักบรรพชีววิทยา นำโดย ดร.ดวงสุดา โชคเฉลิมวงศ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์กินเนื้อสปีชีส์ใหม่ล่าสุดในสกุลคาร์คาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ปลายยุคจูราสสิกต่อเนื่องตอนต้นยุคครีเทเชียส มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ‘สยามแรปเตอร์ สุวาติ’ (Siamraptor Suwati) จากแหล่งขุดค้นในจังหวัดนครราชสีมา
 
ชื่อไดโนเสาร์ Siamraptor ตั้งขึ้นโดยรวมคำว่า ‘สยาม’ กับ ‘แรปเตอร์’ คือแรปเตอร์ที่พบในเขตไทย และ Suwati ตั้งเป็นเกียรติให้แก่คุณ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ  
ทีมงานของ ดร.ดวงสุดา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์จากพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ฟุกุอิ (Fukui Prefecture Dinosaur Museum) ประเทศญี่ปุ่น ทำการสำรวจแหล่งขุดค้นในชั้นหินหมวดหินโคกกรวด บริเวณบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา มาตั้งแต่ช่วงปี 2551-2556 และในที่สุดก็ขุดพบซากสัตว์กินเนื้อโบราณนี้ซ่อนตัวอยู่ในชั้นหินอายุเก่าแก่กว่า 115 ล้านปี 

โดยซากฟอสซิลที่พบนี้มีจำนวนหลายชิ้น เป็นชิ้นส่วนกระดูกที่มีตั้งแต่ส่วนของกะโหลก กระดูกสันหลัง กระดูกขาหลัง หาง และกระดูกสะโพก จากไดโนเสาร์อย่างน้อย 4 ตัว เมื่อประกอบกันขึ้นแล้วตัวของสยามแรปเตอร์ สุวาติ อาจมีขนาดยาวราว 8 เมตร และมีความสูงราวๆ 3 เมตร มีน้ำหนักราว 7 ตัน ซึ่งถือว่าเล็กหากเทียบกับไดโนเสาร์ตัวอื่นในสกุลคาร์คาโรดอนโทซอรัสด้วยกันเช่น C. saharicus ที่พบในแอฟริกาเหนือนั้นมีความยาวถึง 14 เมตร
ดร.ดวงสุดา ยืนยันว่าฟอสซิลที่พบนี้เป็นการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกอย่างแน่นอน และถือเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อซึ่งเป็นคนละสกุลกับ ‘สิรินธรน่า โคราชเอนซิส’ (Sirindhorna khoratensis) ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชในสกุลอิกัวโนดอน (Iguanodon) อายุราว 100 ล้านปีจากแหล่งขุดค้นเดียวกัน ซึ่งมีการประกาศการค้นพบไปก่อนหน้านี้เมื่อปี 2559 



 
สยามแรปเตอร์ สุวาติ ถือเป็นไดโนเสาร์ตัวที่ 12 ที่พบในไทย และทางทีมงานของ ดร.ดวงสุดา ได้จัดแถลงข่าวรายละเอียดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการค้นพบครั้งประวัติศาสตร์นี้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา   การค้นพบครั้งนี้ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ในวารสาร PLOS ONE
บทความโดย MR.VOP
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
อ้างอิง: 
www.haaretz.com/amp/science-and-health/.premium.MAGAZINE-paleontological-surprise-gigantic-predator-dinosaur-may-have-arisen-in-asia-1.7965677
www.sci-news.com/paleontology/siamraptor-suwati-07681.html
anatomypubs.onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/ar.23164
Cr. https://thestandard.co/siamraptor-suwati/
Cr.ภาพ syfy.com / korattimes.com

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่