ค้นพบไดโนเสาร์สายพันธ์ที่​ 10​ ของไทย


#ค้นพบซากไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่สิบของไทย

“Phuwiangvenator Yaemniyomi”
ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ

ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก ตัวที่ 10 ของไทย

ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี — รู้สึกมหัศจรรย์ที่ Khon Kaen Geopark ขอนแก่นจีโอปาร์ค อาณาจักรไดโนเสาร์แห่งหุบเขาภูเวียง

ไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลใหม่และชนิดใหม่ของไทยและของโลก จากจังหวัดขอนแก่น อายุ 130 ล้านปี
.
นักวิจัยไทยจากกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ศึกษาและตั้งชื่อไดโนเสาร์กินเนื้อสกุลและชนิดใหม่ของไทยและของโลก อายุกว่า 130 ล้านปี จากจังหวัดขอนแก่น มีชื่อว่า ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมี (Phuwiangvenator yaemniyomi gen. et sp. nov. Samathi, Chanthasit & Sander, 2019) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลและชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดค้นที่ 9B อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่คุณสุธรรม แย้มนิยม อดีตข้าราชการกรมทรัพย์ฯ ผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน อันนำมาสู่การศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ในประเทศไทยในเวลาต่อมา
.
ภูเวียงเวเนเตอร์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากที่เคยค้นพบมาก่อน ตัวอย่างต้นแบบประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนหลัง กระดูกสันหลังส่วนสะโพก กระดูกมือและเล็บ กระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่าเท้า และเท้า มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 6 เมตร ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Megaraptora และคาดว่ามีลักษณะทั่วไปคล้ายกับไดโนเสาร์ตัวอื่นๆในกลุ่มเมกะแรพเตอร่า เช่น Fukuiraptor จากญี่ปุ่น คือ มีขาหน้าและขาหลังที่ยาวบ่งบอกถึงการวิ่งเร็ว มีกรงเล็บใหญ่ กะโหลกเรียวกว่าในไดโนเสาร์กินเนื้อทั่วไป การค้นพบนี้บ่งบอกว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่ม Megaraptora อาจจะมีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่