วันที่ 12 พ.ย.นี้ กรมทรัพยากรธรณี เตรียมแถลงข่าวไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของไทย มีชื่อว่า วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuensis) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลและชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดค้นภูวัด อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จ.หนองบัวลำภู
วันนี้ (10 พ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันอังคารที่ 12 พ.ย.นี้ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมแถลงข่าวไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของไทย ซึ่งมีชื่อว่า วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuensis) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลและชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดค้นภูวัด อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จ.หนองบัวลำภู โดยคุณพลาเดช ศรีสุข เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งชื่อตามเทพเจ้าฮินดู ‘วายุ’ [ภาษาสันสกฤต] หรือ ‘พระพาย’ สื่อว่าเจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้มีความว่องไว จากลักษณะกระดูกหน้าแข้งที่ยาวเรียว ตัวอย่างต้นแบบของ วายุแรพเตอร์ ประกอบไปด้วยกระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า กระดูก coracoid และกระดูกชิ้นอื่นๆที่ไม่สมบูรณ์นัก มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4-4.5 เมตร ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม basal Coelurosauria
ไดโนเสาร์ทั้ง 2 ตัวมีอายุ 130 ล้านปี ในยุคครีเทเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้วย Cretaceous มาจากภาษาลาติน creta แปลว่า ชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีสและตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชอล์ก ไดโนเสาร์ทั้ง 2 ยังเป็นญาติห่างๆของ T.Rex การค้นพบครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นไปทั่วโลกอย่างไรก็ตามต้องรอการศึกษาเเละค้นคว้าเพิ่มเติมในอนาคตอีก
https://news.thaipbs.or.th/content/285943
"วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส" ไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของไทย
วันนี้ (10 พ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันอังคารที่ 12 พ.ย.นี้ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมแถลงข่าวไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของไทย ซึ่งมีชื่อว่า วายุแรพเตอร์ หนองบัวลำภูเอนซิส (Vayuraptor nongbualamphuensis) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดกลาง สกุลและชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดค้นภูวัด อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จ.หนองบัวลำภู โดยคุณพลาเดช ศรีสุข เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งชื่อตามเทพเจ้าฮินดู ‘วายุ’ [ภาษาสันสกฤต] หรือ ‘พระพาย’ สื่อว่าเจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้มีความว่องไว จากลักษณะกระดูกหน้าแข้งที่ยาวเรียว ตัวอย่างต้นแบบของ วายุแรพเตอร์ ประกอบไปด้วยกระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า กระดูก coracoid และกระดูกชิ้นอื่นๆที่ไม่สมบูรณ์นัก มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4-4.5 เมตร ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม basal Coelurosauria
ไดโนเสาร์ทั้ง 2 ตัวมีอายุ 130 ล้านปี ในยุคครีเทเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้วย Cretaceous มาจากภาษาลาติน creta แปลว่า ชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีสและตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชอล์ก ไดโนเสาร์ทั้ง 2 ยังเป็นญาติห่างๆของ T.Rex การค้นพบครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นไปทั่วโลกอย่างไรก็ตามต้องรอการศึกษาเเละค้นคว้าเพิ่มเติมในอนาคตอีก
https://news.thaipbs.or.th/content/285943