คงรู้กันโดยทั่วไปนะครับว่า เต่าในยุคปัจจุบันมีเกราะขนาดใหญ่ ที่เราเรียกว่ากระดอง ไว้เพื่อปกป้องตนเองจากศัตรูนักล่า
ซึ่งไม่มีสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดใดที่มีวิวัฒนาการ ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายไปมากมาย เพื่อปกป้องตนเองเช่นเต่าเลย การศึกษาของนักบรรพชีวินวิทยานานาชาติ มีความเห็นว่า จากการศึกษาซากดึกดำบรรพของเต่าพบว่า เปลือกของเต่ายุคโบราณนั้นไม่ได้เป็นการปรับตัวสำหรับป้องกันจากนักล่า แต่มีไว้ใช้ในการขุดโพรงเพื่อหลบซ่อน
ความเห็นจาก Tyler Lyson นักบรรพชีวินวิทยา จากพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติ เดนเวอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมผู้วิจัยนี้
ทำไมกระดองเต่าจึงมีวิวัฒนาการไปมากขนาดนี้? คำตอบที่ดีและง่ายที่สุดคือ เพื่อการป้องกันตนเอง
ก็เหมือนที่ขนนกไม่ได้วิวัฒนาการมาไว้เพื่อที่จะบิน เต่าก็ไม่ได้วิวัฒนาการเปลือกไว้เพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูเช่นกันแต่เปลือกของมันในช่วงแรก มีไว้เพื่อช่วยในการขุดหลุม เพื่อหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมอันโหดร้ายในแอฟริกา ซึ่งเป็นแหล่งอยู่อาศัยดั้งเดิมของเหล่าบรรพบุรุษเต่าพวกนี้เท่านั้น
ในวิวัฒนาการช่วงแรกของกระดองเต่า ทำเอานักวิทยาศาสตร์สับสนอย่างมาก Tyler Lyson กล่าวว่า "เราได้ศึกษากระดองจากทั้งซากดึกดำบรรพ และวิวัฒนาการของกระดองเต่ายุคใหม่มากมาย โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ การขยายออกของกระดูกซี่โครง เป็นแผ่นกว้างจนกลายเป็นเปลือก" ในขณะที่การแผ่ออกของกระดูกซี่โครงนี้ดูไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญใดเลย มันสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบการหายใจ และความเร็วในการเดินของสัตว์ที่เคลื่อนที่แบบ 4 ขา ซึ่งกระดูกซี่โครงนี้ทำหน้าที่รองรับร่างกายขณะที่มีการเคลื่อนที่ และยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของปอดขณะหายใจอีกด้วย การที่กระดูกซี่โครงแผ่ออก กว้างขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งขึ้น และส่งผลให้ระยะก้าวขาหดสั้นลง และช้าลง รวมถึงรบการระบบหายใจอีกด้วย
Tyler Lyson กล่าวว่า "บทบาทของกระดูกซี่โครงที่มีต่อทั้งการเคลื่อนที่ และการหายใจ ทำให้เราพบว่ากระดูกซี่โครงส่วนใหญ่จะเหมือนๆกัน ไม่ว่าจะเป็น งู คน ไดโนเสาร์ วาฬ ก็จะเห็นว่า มันเหมือนกันไปหมด แต่กับเต่านั้นมันคือข้อยกเว้นกระดูกซี่โครงของเต่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปอย่างมาก
ความก้าวหน้าครั้งใหญ่นี้ มาค้นพบตัวอย่างของเต่าดึกดำบรรพ ที่ไม่สมบูรณ์ จากลุ่มน้ำ Karoo ในแอฟริกาใต้
หลายๆตัวอย่างนั้นถูกค้นพบโดยสองผู้ร่วมศึกษา Drs. Roger Smith และ Bruce Rubidge จากมหาวิทยาลัย Witwatersrand ในโยฮันเนสเบิร์ค แต่ชิ้นที่สำคัญที่สุด ถูกค้นพบโดยเด็กชายชาวแอฟริกัน วัย 8 ขวบในฟาร์มของพ่อเขา บริเวณแหลมตะวันตกของแอฟริกา ชิ้นส่วนนั้นมีความยาวราว 15 เซนติเมตร เป็นกระดูกชิ้นส่วนของมือ และเท้า ที่มีความสมบูรณ์มาก
Tyler Lyson กล่าวว่า "ผมอยากจะไปขอบคุณ Kobus Snyman ด้วยตัวเอง เพราะหากไม่มี Kobus ทั้งการค้นหาชิ้นส่วน และการเก็บรักษาชิ้นส่วนในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ Fransie Pienaar ใน Prince Albert แล้ว งานศึกษาและค้นพบเหล่านี้คงจะไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน"
งานศึกษาชิ้นนี้ประกอบไปด้วยผู้ศึกษาจาก อเมริกา แอฟริกา และสวิสเซอร์แลนด์
http://phys.org/news/2016-07-real-turtles-shells.html
นักวิจัยพบสาเหตุที่เต่าต้องมีกระดองแล้ว
คงรู้กันโดยทั่วไปนะครับว่า เต่าในยุคปัจจุบันมีเกราะขนาดใหญ่ ที่เราเรียกว่ากระดอง ไว้เพื่อปกป้องตนเองจากศัตรูนักล่า
ซึ่งไม่มีสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดใดที่มีวิวัฒนาการ ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายไปมากมาย เพื่อปกป้องตนเองเช่นเต่าเลย การศึกษาของนักบรรพชีวินวิทยานานาชาติ มีความเห็นว่า จากการศึกษาซากดึกดำบรรพของเต่าพบว่า เปลือกของเต่ายุคโบราณนั้นไม่ได้เป็นการปรับตัวสำหรับป้องกันจากนักล่า แต่มีไว้ใช้ในการขุดโพรงเพื่อหลบซ่อน
ความเห็นจาก Tyler Lyson นักบรรพชีวินวิทยา จากพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติ เดนเวอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมผู้วิจัยนี้
ทำไมกระดองเต่าจึงมีวิวัฒนาการไปมากขนาดนี้? คำตอบที่ดีและง่ายที่สุดคือ เพื่อการป้องกันตนเอง
ก็เหมือนที่ขนนกไม่ได้วิวัฒนาการมาไว้เพื่อที่จะบิน เต่าก็ไม่ได้วิวัฒนาการเปลือกไว้เพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูเช่นกันแต่เปลือกของมันในช่วงแรก มีไว้เพื่อช่วยในการขุดหลุม เพื่อหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมอันโหดร้ายในแอฟริกา ซึ่งเป็นแหล่งอยู่อาศัยดั้งเดิมของเหล่าบรรพบุรุษเต่าพวกนี้เท่านั้น
ในวิวัฒนาการช่วงแรกของกระดองเต่า ทำเอานักวิทยาศาสตร์สับสนอย่างมาก Tyler Lyson กล่าวว่า "เราได้ศึกษากระดองจากทั้งซากดึกดำบรรพ และวิวัฒนาการของกระดองเต่ายุคใหม่มากมาย โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือ การขยายออกของกระดูกซี่โครง เป็นแผ่นกว้างจนกลายเป็นเปลือก" ในขณะที่การแผ่ออกของกระดูกซี่โครงนี้ดูไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญใดเลย มันสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบการหายใจ และความเร็วในการเดินของสัตว์ที่เคลื่อนที่แบบ 4 ขา ซึ่งกระดูกซี่โครงนี้ทำหน้าที่รองรับร่างกายขณะที่มีการเคลื่อนที่ และยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของปอดขณะหายใจอีกด้วย การที่กระดูกซี่โครงแผ่ออก กว้างขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งขึ้น และส่งผลให้ระยะก้าวขาหดสั้นลง และช้าลง รวมถึงรบการระบบหายใจอีกด้วย
Tyler Lyson กล่าวว่า "บทบาทของกระดูกซี่โครงที่มีต่อทั้งการเคลื่อนที่ และการหายใจ ทำให้เราพบว่ากระดูกซี่โครงส่วนใหญ่จะเหมือนๆกัน ไม่ว่าจะเป็น งู คน ไดโนเสาร์ วาฬ ก็จะเห็นว่า มันเหมือนกันไปหมด แต่กับเต่านั้นมันคือข้อยกเว้นกระดูกซี่โครงของเต่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปอย่างมาก
ความก้าวหน้าครั้งใหญ่นี้ มาค้นพบตัวอย่างของเต่าดึกดำบรรพ ที่ไม่สมบูรณ์ จากลุ่มน้ำ Karoo ในแอฟริกาใต้
หลายๆตัวอย่างนั้นถูกค้นพบโดยสองผู้ร่วมศึกษา Drs. Roger Smith และ Bruce Rubidge จากมหาวิทยาลัย Witwatersrand ในโยฮันเนสเบิร์ค แต่ชิ้นที่สำคัญที่สุด ถูกค้นพบโดยเด็กชายชาวแอฟริกัน วัย 8 ขวบในฟาร์มของพ่อเขา บริเวณแหลมตะวันตกของแอฟริกา ชิ้นส่วนนั้นมีความยาวราว 15 เซนติเมตร เป็นกระดูกชิ้นส่วนของมือ และเท้า ที่มีความสมบูรณ์มาก
Tyler Lyson กล่าวว่า "ผมอยากจะไปขอบคุณ Kobus Snyman ด้วยตัวเอง เพราะหากไม่มี Kobus ทั้งการค้นหาชิ้นส่วน และการเก็บรักษาชิ้นส่วนในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ Fransie Pienaar ใน Prince Albert แล้ว งานศึกษาและค้นพบเหล่านี้คงจะไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน"
งานศึกษาชิ้นนี้ประกอบไปด้วยผู้ศึกษาจาก อเมริกา แอฟริกา และสวิสเซอร์แลนด์
http://phys.org/news/2016-07-real-turtles-shells.html