เจอซาก “มดยักษ์” 50 ล้านปีที่แคนาดา ใหญ่กว่ามดปัจจุบัน 10 เท่า - แบบนี้มนุษย์เราก็ตัวหดลงได้สิจะได้ประหยัดทรัพยากร

นักโบราณคดีขุดพบซากฟอสซิลนางพญามด Titanomyrma gigantea ที่มีความยาวมากกว่า 6 เซนติเมตร และมีปีกกว้างถึง 15 เซนติเมตร
แต่ที่เราเคยอ่านมา คือว่า มดปกติยาวแค่ 0.12 -1.5 เซนติเมตร คือเฉลี่ย 0.5 เซนติเมตร เองนะคะ แปลว่ามันใหญ่กว่ามดปัจจุบัน 10 เท่าได้
เอานกฮัมมิ่งเบิร์ดมาวางเทียบคือตัวพอ ๆ กันเลย ถ้าเอาขนออกจะใหญ่กว่านกอีกมั้ง

ครอบครัวใหญ่มดยักษ์ที่คล้ายกันนี้ถูกค้นพบโดยนักบรรพชีวินวิทยาในไวโอมิงในปี 2554 ที่มันอยู่อีกฟากของมหาสมุทรแอตแลนติกเลยนะ มันแปลกมากนะคะ เค้ายังงงกันอยู่ว่ามดพวกนี้เดินทางข้ามมหาสมุทรได้ไงเมื่อ 50 ล้านปีก่อน เพราะทางเดียวที่น่าจะไปได้คือเดินผ่านแผ่นดินจากยุโรปไปบนแผ่นดินอาร์กติกที่เคยเชื่อมต่อกันซึ่งจะหนาวโหดแบบที่แมลงไม่น่ารอดผ่านไปได้ อันนี้ยังเป็นที่สงสัยแบบไม่มีข้อสรุป

https://www.cambridge.org/core/journals/canadian-entomologist/article/eocene-giant-ants-arctic-intercontinental-dispersal-and-hyperthermals-revisited-discovery-of-fossil-titanomyrma-hymenoptera-formicidae-formiciinae-in-the-cool-uplands-of-british-columbia-canada/ADDC856D2187563033374F5F1BD2E737


คำถามนะคะ

1. ถ้ามนุษย์ขาดอาหารนานไปก็จะตัวหด แบบ “มด” ขนาดลดลงเรื่อย ๆ แบบนี้เราก็ประหยัดทรัพยากรไปได้อีกเยอะเลย คุณว่าเรารณรงค์ลดขนาดมนุษย์ดีกว่าหาทรัพยากรเพิ่มมั้ย

2. แต่ถ้ามีแมลงเยอะ ๆ มดกลับมาตัวโตมาก ๆ แล้วเราตัวหด เราจะเป็นอาหารมดในอนาคตมั้ยคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
1. บางเขตในแอฟริกาที่เจอภัยแล้งติดต่อกันหลายปี คนก็ตัวเล็กแคระแกรน

2. ถ้าทรัพยากรขาดแคลนจนคนตัวเล็ก เเมลงก็กระทบไปด้วยซิครับ   แต่ก่อนถึงวันนั้น อาหารเทียม พวกเนื้อสังเคราะห์ รวมทั้งจากแมลง น่าจะแก้ปัญหาขาดแคลนอาหารได้ก่อน เทคโนโลยีจากปฏิกิริยาฟิวชั่นก็น่าจะแก้ปัญหาขาดแคลนพลังงานได้

โปรตีนสังเคราะห์จากแมลงน่าจะมีบทบาทมากขึ้น  แต่ผมขอบแบบเดิมๆมากกว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่