(วิเคราะห์) แง้มร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กับที่มาแนวคิดคงอำนาจ คสช.เหนือรัฐบาล
รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ใกล้คลอดเต็มทีแล้ว เพราะขณะนี้ทีมยกร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวนำโดย นายวิษณุ เครืองาม นักกฎหมายมือฉมัง ได้ส่งร่างให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียบร้อยแล้ว เมื่อที่ประชุม คสช.ให้ความเห็นชอบ หัวหน้า คสช.ก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยได้ทันที
มีหลายประเด็นที่หลายคนกำลังจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และสภาปฏิรูปแห่งชาติ ว่าจะออกมารูปแบบใด วิธีการได้มาจะออกแบบไว้เป็นแบบไหน
แต่ประเด็นที่ร้อนกว่านั้นก็คือเรื่องของ "การรักษาความมั่นคง" รัฐธรรมนูญชั่วคราวจะกำหนดไว้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อมี "รัฐบาล" มาบริหารประเทศแล้ว
บทเรียนเคยมีมาแล้วเมื่อครั้งรัฐประหารปี 2549 ที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และในเวลาต่อมา คปค.ซึ่งแปลงร่างเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ไม่ได้คงอำนาจของตัวเองไว้มากเท่าที่ควร
ทำให้เมื่อมี "รัฐบาล" เข้ามาบริหารประเทศภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่มีจุดแข็งและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง จึงส่งผลให้ คมช.ไม่สามารถทำอะไรได้ดังใจอีกต่อไป ไม่สามารถสานงานบางอย่างต่อให้สำเร็จได้ การยึดอำนาจของ คมช.ในครั้งนั้น จึงถึงกับ "เสียของ" แทบสูญเปล่า เพราะสุดท้ายฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็สามารถฟื้นคืนอำนาจมาได้อีก
ในครั้งนี้ คสช.จึงไม่ยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย นำมาซึ่งข่าวที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะมีบทบัญญัติมาตรา 17 ที่ให้ อำนาจ คสช.เหนือรัฐบาล ในเรื่องความมั่นคง โดยมีการลอกแบบมาจาก มาตรา 27 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ซึ่งออกมาในสมัยที่ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ทั้งนี้มาตรา 27 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีเพื่อป้องกันหรือระงับเหตุที่กระทบความมั่นคง ให้ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้"
เมื่อดูตามลายลักษณ์อักษรที่ใช้ว่า ประธาน รสช. "หรือ" นายกฯ โดยไม่ได้ใช้คำว่า "และ" ก็สามารถอธิบายความได้ว่า ในกรณีเกิดเหตุที่กระทบต่อความมั่นคง ประธาน รสช. (ซึ่งหากนำมาปรับใช้กับรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ก็คือ ประธาน คสช. ในปัจจุบัน) มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุที่กระทบต่อความมั่นคงได้เอง แม้ว่าในกรณีนั้นหารือกันแล้วนายกรัฐมนตรีจะไม่เห็นด้วย หรือไม่ต้องปรึกษาหารือกับนายกรัฐมนตรีก็ยังได้
ที่ผ่านมาหากเราไปดูหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 ครั้งนั้นจะไม่ได้เป็นแบบนี้ กล่าวคือ แม้จะมี คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549 มาตรา 34 ระบุเพียงว่า "ในกรณีที่เห็นสมควร ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรี อาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไขปัญหาใดๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงแห่งชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้"
หมายความว่า สถานะของ คมช.ไม่ได้เหนือกว่ารัฐบาล ทำได้เพียงเทียบเท่าและปรึกษาหารือร่วมกันเท่านั้น หรือแปลให้ง่ายกว่านั้นคือ อำนาจหลุดจาก คมช. ไปแล้ว ทำให้ถูกมองว่าไม่มีอำนาจที่จะสานต่องานบางอย่างให้สำเร็จได้
สำหรับสาเหตุที่ คสช. ต้องการคงอำนาจด้านความมั่นคงไว้ แม้ว่าจะมีรัฐบาลแล้ว ก็เพื่อต้องการรักษาสถานะความเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ผู้มีอำนาจสูงสุดของตนเองเอาไว้นั่นเอง
เพราะว่าเรื่องความมั่นคงจะไว้ใจใครอื่นไม่ได้ นอกจากต้องทำเอง เพราะว่าในภายภาคหน้าอาจเกิดการชุมนุมประท้วงในวงกว้างหรือก่อจลาจลขึ้นก็ได้...ใครจะรู้
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20140710/592555/%C3%A1%C2%A7%C3%A9%C3%81%C3%83%C3%A8%D2%A7%C3%83%D1%B0%C2%B8%C3%83%C3%83y%D9%AD%C2%AA%C3%91%C3%A8%C7%A4%C3%83%C3%92%C3%87-2557.html
แง้มร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557
รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ใกล้คลอดเต็มทีแล้ว เพราะขณะนี้ทีมยกร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวนำโดย นายวิษณุ เครืองาม นักกฎหมายมือฉมัง ได้ส่งร่างให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียบร้อยแล้ว เมื่อที่ประชุม คสช.ให้ความเห็นชอบ หัวหน้า คสช.ก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยได้ทันที
มีหลายประเด็นที่หลายคนกำลังจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และสภาปฏิรูปแห่งชาติ ว่าจะออกมารูปแบบใด วิธีการได้มาจะออกแบบไว้เป็นแบบไหน
แต่ประเด็นที่ร้อนกว่านั้นก็คือเรื่องของ "การรักษาความมั่นคง" รัฐธรรมนูญชั่วคราวจะกำหนดไว้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อมี "รัฐบาล" มาบริหารประเทศแล้ว
บทเรียนเคยมีมาแล้วเมื่อครั้งรัฐประหารปี 2549 ที่ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และในเวลาต่อมา คปค.ซึ่งแปลงร่างเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ไม่ได้คงอำนาจของตัวเองไว้มากเท่าที่ควร
ทำให้เมื่อมี "รัฐบาล" เข้ามาบริหารประเทศภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่มีจุดแข็งและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง จึงส่งผลให้ คมช.ไม่สามารถทำอะไรได้ดังใจอีกต่อไป ไม่สามารถสานงานบางอย่างต่อให้สำเร็จได้ การยึดอำนาจของ คมช.ในครั้งนั้น จึงถึงกับ "เสียของ" แทบสูญเปล่า เพราะสุดท้ายฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ก็สามารถฟื้นคืนอำนาจมาได้อีก
ในครั้งนี้ คสช.จึงไม่ยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย นำมาซึ่งข่าวที่ว่าร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวจะมีบทบัญญัติมาตรา 17 ที่ให้ อำนาจ คสช.เหนือรัฐบาล ในเรื่องความมั่นคง โดยมีการลอกแบบมาจาก มาตรา 27 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ซึ่งออกมาในสมัยที่ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
ทั้งนี้มาตรา 27 ของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีเพื่อป้องกันหรือระงับเหตุที่กระทบความมั่นคง ให้ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้"
เมื่อดูตามลายลักษณ์อักษรที่ใช้ว่า ประธาน รสช. "หรือ" นายกฯ โดยไม่ได้ใช้คำว่า "และ" ก็สามารถอธิบายความได้ว่า ในกรณีเกิดเหตุที่กระทบต่อความมั่นคง ประธาน รสช. (ซึ่งหากนำมาปรับใช้กับรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ก็คือ ประธาน คสช. ในปัจจุบัน) มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุที่กระทบต่อความมั่นคงได้เอง แม้ว่าในกรณีนั้นหารือกันแล้วนายกรัฐมนตรีจะไม่เห็นด้วย หรือไม่ต้องปรึกษาหารือกับนายกรัฐมนตรีก็ยังได้
ที่ผ่านมาหากเราไปดูหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 ครั้งนั้นจะไม่ได้เป็นแบบนี้ กล่าวคือ แม้จะมี คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2549 มาตรา 34 ระบุเพียงว่า "ในกรณีที่เห็นสมควร ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือนายกรัฐมนตรี อาจขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไขปัญหาใดๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงแห่งชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษาหารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้"
หมายความว่า สถานะของ คมช.ไม่ได้เหนือกว่ารัฐบาล ทำได้เพียงเทียบเท่าและปรึกษาหารือร่วมกันเท่านั้น หรือแปลให้ง่ายกว่านั้นคือ อำนาจหลุดจาก คมช. ไปแล้ว ทำให้ถูกมองว่าไม่มีอำนาจที่จะสานต่องานบางอย่างให้สำเร็จได้
สำหรับสาเหตุที่ คสช. ต้องการคงอำนาจด้านความมั่นคงไว้ แม้ว่าจะมีรัฐบาลแล้ว ก็เพื่อต้องการรักษาสถานะความเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ผู้มีอำนาจสูงสุดของตนเองเอาไว้นั่นเอง
เพราะว่าเรื่องความมั่นคงจะไว้ใจใครอื่นไม่ได้ นอกจากต้องทำเอง เพราะว่าในภายภาคหน้าอาจเกิดการชุมนุมประท้วงในวงกว้างหรือก่อจลาจลขึ้นก็ได้...ใครจะรู้
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20140710/592555/%C3%A1%C2%A7%C3%A9%C3%81%C3%83%C3%A8%D2%A7%C3%83%D1%B0%C2%B8%C3%83%C3%83y%D9%AD%C2%AA%C3%91%C3%A8%C7%A4%C3%83%C3%92%C3%87-2557.html