การเมือง : ทัศนะบทความ
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2557
ร่างรธน.ชั่วคราว:'จุดเริ่ม'ปรองดองหรือขัดแย้งรอบใหม่
ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว : 'จุดเริ่ม'ปรองดองหรือขัดแย้งรอบใหม่? : สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์
เหตุผลสำคัญของการยึดอำนาจที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บอก คือ ขจัดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติ "ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว" ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วางไว้ว่าจะให้ประกาศใช้ภายในเดือนนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดทิศทางประเทศไทยว่าจะเดินไปถึงเป้าหมายนั้นได้หรือไม่
แม้ถึงตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะยังไม่ปรากฏออกมาต่อสาธารณะ แต่จากข้อมูลบางส่วนที่เป็นข่าวออกมา บวกกับเมื่อพิจารณาจากร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลังการยึดอำนาจครั้งก่อนๆ ทำให้พอจะเห็นได้ชัดเจนว่า ประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญนี้จะมีเรื่องอะไรบ้าง
ประเด็นแรก คือ เรื่องจำนวนและที่มาของ "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (สนช.) "สภาปฏิรูปแห่งชาติ" (สปช.) และ "กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ"
ส่วนที่ดูเหมือนจะค่อนข้างนิ่งแล้ว คือ สนช. ที่กำหนดให้มี 200 คน มาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งหมด ตอนนี้จึงเหลือเพียงรอดูว่า หน้าตาของบุคคลที่จะมาเป็นสมาชิก สนช.จะเป็นอย่างไร มาจากภาคส่วนไหนบ้าง จะมีความหลากหลายแค่ไหน จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มไหนมากเป็นพิเศษหรือไม่
ส่วน สปช.นั้น ที่ชัดเจนคือจำนวน น่าจะเป็น 250 คน ส่วนเรื่อง "ที่มา" ยังไม่ชัดเจนนัก โดยที่เป็นข่าวล่าสุดคือ ส่วนหนึ่งจะเป็นตัวแทนจากจังหวัดละ 1 คน แต่ยังไม่ชัดเจนว่าวิธีการได้มาจะเป็นอย่างไร และส่วนที่เหลือ ที่บอกว่าจะให้มาจากหลายกลุ่ม จะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับได้มากที่สุด ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็น "หัวใจ" ของจุดเริ่มต้นในการสร้างความปรองดองในชาติ หากไม่สามารถนำบุคคลจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมมาทำงานร่วมกันได้ โอกาสที่กติกา ซึ่งก็คือ "รัฐธรรมนูญฉบับถาวร" ที่ออกมา จะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ก็เป็นไปได้ยาก
หากรัฐธรรมนูญที่ออกมาถูกมองว่า "เอื้อประโยชน์" ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเป็นจุดที่ทำให้ความขัดแย้งกลับมาอีกครั้ง
ในส่วนขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น ชัดเจนว่าจะมี "คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" ขึ้นมาดำเนินการ โดยจำนวนเบื้องต้นที่กำหนดไว้คือ 35 คน
โดยรวมถือว่ากระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของ คสช.จะคล้ายคลึงกับของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อปี 2549 เพียงแค่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น คือ ปี 2549 เรียกว่า "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" แต่ครั้งนี้เรียกว่า "สภาปฏิรูปแห่งชาติ" โดยจะมีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกัน
แต่จุดที่จะต่างกันคือ ในขั้นสุดท้าย มีแนวโน้มว่าครั้งนี้จะไม่มีการทำ "ประชามติ" โดยเหตุผลเบื้องต้นที่ คสช.ไม่ต้องการทำประชามติคือ ไม่ต้องการให้เกิดบรรยากาศของความแตกแยกตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากมีการทำประชามติย่อมมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยออกมารณรงค์ต่อต้านตั้งแต่ต้น คล้ายกับบรรยากาศเมื่อปี 2550 ซึ่งสุดท้าย ในครั้งนั้นมีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียง 57.6 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนคนเห็นชอบกับไม่เห็นชอบต่างกันไม่มาก นั่นคือ 14 ล้านต่อ 10 ล้านคน หรือ 58 ต่อ 42 เปอร์เซ็นต์
อีกประเด็นสำคัญในรัฐธรรมนูญชั่วคราว คือ "อำนาจ คสช." ซึ่งหากเชื่อตามที่ คสช.บอกมาตลอด คือ ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองมีความแตกแยกอย่างหนัก ต้องใช้ "อำนาจพิเศษ" ในการควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความเรียบร้อย ก็ยังจำเป็นต้องคง "อำนาจเด็ดขาด" ของ คสช.เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะมีคณะรัฐมนตรีขึ้นมาแล้ว
หากย้อนไปดูช่วงการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 จะเห็นได้ว่า หลังจากมีรัฐบาลขึ้นมาแล้ว รัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้กำหนดอำนาจในด้านความมั่นคงของ คมช.ไว้ เพราะต้องการให้ประเทศกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ซึ่งมีการมองกันว่าจุดนั้นเป็น "ความผิดพลาด" ของการยึดอำนาจปี 2549 แตกต่างไปจากธรรมนูญการปกครองของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในปี 2534 ที่ยังกำหนดให้ รสช. "มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงแห่งชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน"
มีข่าวออกมาว่า คสช.ต้องการให้กำหนดอำนาจดังกล่าวกับ คสช.ไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย แต่ตอนนี้ยังติดที่ "ถ้อยคำ" ที่จะเขียน เพราะแม้จะรู้ข้อผิดพลาดในปี 2549 และเห็นว่าควรกำหนดไว้เหมือนปี 2534 แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเขียนตามนั้นเลย
เพราะครั้งนี้จะแตกต่างไปจากการยึดอำนาจในครั้งที่ผ่านๆ มา นั่นคือ มีความเป็นไปได้สูงที่คณะยึดอำนาจจะเข้าไปอยู่ในคณะรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เริ่มตั้งแต่หัวหน้า คสช. คือ พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะมาเป็น "นายกรัฐมนตรี" เอง และรองหัวหน้า คสช. ซึ่งได้แก่ผู้นำเหล่าทัพที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคมนี้ ก็อาจจะเข้ามาเป็น "คณะรัฐมนตรี" ด้วย ดังนั้น จะจัดวางอำนาจ คสช.อย่างไร จึงจะไม่ให้เกิดปัญหา "ทับซ้อน" กับอำนาจ ครม. ซึ่งถึงที่สุดน่าจะมีหลายคนที่มีตำแหน่งอยู่ทั้งสองที่
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นปมปัญหาทางเทคนิค ซึ่งไม่น่าจะเกินความสามารถของมือกฎหมายระดับ "เซียน" ที่จะจัดการได้ ที่จะน่าเป็นปัญหามากกว่าเรื่องเทคนิค คือ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ การยอมรับ ในการที่ คสช.จะเข้ามาอยู่ใน ครม.มากกว่า
ย้อนกลับที่เรื่อง "ปฏิรูปประเทศ" ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความปรองดอง ในเบื้องต้น คสช.กำหนดประเด็นปฏิรูปไว้ทั้งหมด 11 ประเด็น แน่นอนว่าประเด็นสำคัญที่สุดคือ เรื่อง "ปฏิรูปการเมือง" โดยมี "พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์" ปลัดกระทรวงกลาโหม หัวหน้าศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
มีการกำหนดประเด็นปฏิรูปการเมืองไว้ 6 เรื่อง เช่น โครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งแนวโน้มเป็นระบบ "สภาคู่" เหมือนเดิม แต่จะกำหนดที่มาอย่างไร เลือกตั้ง แต่งตั้ง หรือ สรรหา ยังควรมี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือไม่ และประเด็นที่ฮือฮามากที่สุด คือ มีข้อเสนอว่า "ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง" โยงไปถึงเรื่องการปฏิรูปพรรคการเมืองว่าจะแก้ปัญหาพรรคของ "นายทุน" ได้อย่างไร รวมไปถึงเรื่องระบบตรวจสอบการใช้อำนาจ และ บทลงโทษ
ทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มนับหนึ่งอยู่ที่ "รัฐธรรมนูญชั่วคราว" ที่กำลังจะคลอดออกมา เพียงแต่ว่าจะเป็นจุดเริ่มไปสู่ความปรองดอง หรือความขัดแย้งรอบใหม่ เท่านั้น!!
.................................................
http://www.komchadluek.net/detail/20140707/187719.html
ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว : 'จุดเริ่ม'ปรองดองหรือขัดแย้งรอบใหม่?
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2557
ร่างรธน.ชั่วคราว:'จุดเริ่ม'ปรองดองหรือขัดแย้งรอบใหม่
ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว : 'จุดเริ่ม'ปรองดองหรือขัดแย้งรอบใหม่? : สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์
เหตุผลสำคัญของการยึดอำนาจที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บอก คือ ขจัดความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติ "ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว" ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วางไว้ว่าจะให้ประกาศใช้ภายในเดือนนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดทิศทางประเทศไทยว่าจะเดินไปถึงเป้าหมายนั้นได้หรือไม่
แม้ถึงตอนนี้ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะยังไม่ปรากฏออกมาต่อสาธารณะ แต่จากข้อมูลบางส่วนที่เป็นข่าวออกมา บวกกับเมื่อพิจารณาจากร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลังการยึดอำนาจครั้งก่อนๆ ทำให้พอจะเห็นได้ชัดเจนว่า ประเด็นสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญนี้จะมีเรื่องอะไรบ้าง
ประเด็นแรก คือ เรื่องจำนวนและที่มาของ "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (สนช.) "สภาปฏิรูปแห่งชาติ" (สปช.) และ "กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ"
ส่วนที่ดูเหมือนจะค่อนข้างนิ่งแล้ว คือ สนช. ที่กำหนดให้มี 200 คน มาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งหมด ตอนนี้จึงเหลือเพียงรอดูว่า หน้าตาของบุคคลที่จะมาเป็นสมาชิก สนช.จะเป็นอย่างไร มาจากภาคส่วนไหนบ้าง จะมีความหลากหลายแค่ไหน จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มไหนมากเป็นพิเศษหรือไม่
ส่วน สปช.นั้น ที่ชัดเจนคือจำนวน น่าจะเป็น 250 คน ส่วนเรื่อง "ที่มา" ยังไม่ชัดเจนนัก โดยที่เป็นข่าวล่าสุดคือ ส่วนหนึ่งจะเป็นตัวแทนจากจังหวัดละ 1 คน แต่ยังไม่ชัดเจนว่าวิธีการได้มาจะเป็นอย่างไร และส่วนที่เหลือ ที่บอกว่าจะให้มาจากหลายกลุ่ม จะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับได้มากที่สุด ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็น "หัวใจ" ของจุดเริ่มต้นในการสร้างความปรองดองในชาติ หากไม่สามารถนำบุคคลจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมมาทำงานร่วมกันได้ โอกาสที่กติกา ซึ่งก็คือ "รัฐธรรมนูญฉบับถาวร" ที่ออกมา จะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ก็เป็นไปได้ยาก
หากรัฐธรรมนูญที่ออกมาถูกมองว่า "เอื้อประโยชน์" ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเป็นจุดที่ทำให้ความขัดแย้งกลับมาอีกครั้ง
ในส่วนขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น ชัดเจนว่าจะมี "คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" ขึ้นมาดำเนินการ โดยจำนวนเบื้องต้นที่กำหนดไว้คือ 35 คน
โดยรวมถือว่ากระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของ คสช.จะคล้ายคลึงกับของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อปี 2549 เพียงแค่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้น คือ ปี 2549 เรียกว่า "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" แต่ครั้งนี้เรียกว่า "สภาปฏิรูปแห่งชาติ" โดยจะมีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเหมือนกัน
แต่จุดที่จะต่างกันคือ ในขั้นสุดท้าย มีแนวโน้มว่าครั้งนี้จะไม่มีการทำ "ประชามติ" โดยเหตุผลเบื้องต้นที่ คสช.ไม่ต้องการทำประชามติคือ ไม่ต้องการให้เกิดบรรยากาศของความแตกแยกตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากมีการทำประชามติย่อมมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยออกมารณรงค์ต่อต้านตั้งแต่ต้น คล้ายกับบรรยากาศเมื่อปี 2550 ซึ่งสุดท้าย ในครั้งนั้นมีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียง 57.6 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนคนเห็นชอบกับไม่เห็นชอบต่างกันไม่มาก นั่นคือ 14 ล้านต่อ 10 ล้านคน หรือ 58 ต่อ 42 เปอร์เซ็นต์
อีกประเด็นสำคัญในรัฐธรรมนูญชั่วคราว คือ "อำนาจ คสช." ซึ่งหากเชื่อตามที่ คสช.บอกมาตลอด คือ ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองมีความแตกแยกอย่างหนัก ต้องใช้ "อำนาจพิเศษ" ในการควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความเรียบร้อย ก็ยังจำเป็นต้องคง "อำนาจเด็ดขาด" ของ คสช.เอาไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะมีคณะรัฐมนตรีขึ้นมาแล้ว
หากย้อนไปดูช่วงการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 จะเห็นได้ว่า หลังจากมีรัฐบาลขึ้นมาแล้ว รัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้กำหนดอำนาจในด้านความมั่นคงของ คมช.ไว้ เพราะต้องการให้ประเทศกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ซึ่งมีการมองกันว่าจุดนั้นเป็น "ความผิดพลาด" ของการยึดอำนาจปี 2549 แตกต่างไปจากธรรมนูญการปกครองของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในปี 2534 ที่ยังกำหนดให้ รสช. "มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงแห่งชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน"
มีข่าวออกมาว่า คสช.ต้องการให้กำหนดอำนาจดังกล่าวกับ คสช.ไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย แต่ตอนนี้ยังติดที่ "ถ้อยคำ" ที่จะเขียน เพราะแม้จะรู้ข้อผิดพลาดในปี 2549 และเห็นว่าควรกำหนดไว้เหมือนปี 2534 แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเขียนตามนั้นเลย
เพราะครั้งนี้จะแตกต่างไปจากการยึดอำนาจในครั้งที่ผ่านๆ มา นั่นคือ มีความเป็นไปได้สูงที่คณะยึดอำนาจจะเข้าไปอยู่ในคณะรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เริ่มตั้งแต่หัวหน้า คสช. คือ พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะมาเป็น "นายกรัฐมนตรี" เอง และรองหัวหน้า คสช. ซึ่งได้แก่ผู้นำเหล่าทัพที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคมนี้ ก็อาจจะเข้ามาเป็น "คณะรัฐมนตรี" ด้วย ดังนั้น จะจัดวางอำนาจ คสช.อย่างไร จึงจะไม่ให้เกิดปัญหา "ทับซ้อน" กับอำนาจ ครม. ซึ่งถึงที่สุดน่าจะมีหลายคนที่มีตำแหน่งอยู่ทั้งสองที่
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นปมปัญหาทางเทคนิค ซึ่งไม่น่าจะเกินความสามารถของมือกฎหมายระดับ "เซียน" ที่จะจัดการได้ ที่จะน่าเป็นปัญหามากกว่าเรื่องเทคนิค คือ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ การยอมรับ ในการที่ คสช.จะเข้ามาอยู่ใน ครม.มากกว่า
ย้อนกลับที่เรื่อง "ปฏิรูปประเทศ" ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่จะสร้างความปรองดอง ในเบื้องต้น คสช.กำหนดประเด็นปฏิรูปไว้ทั้งหมด 11 ประเด็น แน่นอนว่าประเด็นสำคัญที่สุดคือ เรื่อง "ปฏิรูปการเมือง" โดยมี "พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์" ปลัดกระทรวงกลาโหม หัวหน้าศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
มีการกำหนดประเด็นปฏิรูปการเมืองไว้ 6 เรื่อง เช่น โครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งแนวโน้มเป็นระบบ "สภาคู่" เหมือนเดิม แต่จะกำหนดที่มาอย่างไร เลือกตั้ง แต่งตั้ง หรือ สรรหา ยังควรมี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือไม่ และประเด็นที่ฮือฮามากที่สุด คือ มีข้อเสนอว่า "ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง" โยงไปถึงเรื่องการปฏิรูปพรรคการเมืองว่าจะแก้ปัญหาพรรคของ "นายทุน" ได้อย่างไร รวมไปถึงเรื่องระบบตรวจสอบการใช้อำนาจ และ บทลงโทษ
ทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มนับหนึ่งอยู่ที่ "รัฐธรรมนูญชั่วคราว" ที่กำลังจะคลอดออกมา เพียงแต่ว่าจะเป็นจุดเริ่มไปสู่ความปรองดอง หรือความขัดแย้งรอบใหม่ เท่านั้น!!
.................................................
http://www.komchadluek.net/detail/20140707/187719.html