บวรศักดิ์แนะทำรธน. สกัดหุ่นเชิด ซื้อเสียงตัดสิทธิ์ตลอดชีวิต

กระทู้สนทนา
“ศ.ดร.บวรศักดิ์” ชี้ รธน.ชั่วคราว ให้ 5 องค์กรขับเคลื่อนประเทศ ให้ความสำคัญสร้างสามัคคีปรองดองคนในชาติ ไม่เคยบัญญัติไว้ในรธน.ฉบับใด พร้อมระบุ สกัดหุ่นเชิดตัดสิทธิ์ตลอดชีวิตหากพบซื้อเสียง

ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว โดยเน้นย้ำ 5 องค์กรหลักที่จะขับเคลื่อนประเทศ ประกอบไปด้วย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

553700-01

โดย ศาสาตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ ได้เน้นย้ำถึงบทบาทและหน้าที่คณะรัฐมนตรี ที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน คือการสร้างความสามามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ

ทั้งนี้ยังระบุว่ารัฐธรรมนูญที่จะจัดทำใหม่ ต้องป้องกันหุ่นเชิดทางการเมือง และตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิตหากซื้อเสียง

อย่างไรก็ตามสถาบันพระปกเกล้าได้มีการรวบรวมความคิดเห็นจากประชาชน และจะนำเสนอไปยัง คสช. และสภาปฏิรูปต่อไป



อ.เจษฎ์เชื่อคสช.ไม่ใช้มาตรา44แรงเกินเหตุ

ดร.เจษฎ์ โทณวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ ปรีดีย์ พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า หากมีการเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 กับรัฐธรรมนูญฉบับถาวรก่อนหน้านี้ ย่อมมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นธรรมดา แต่ต้องทำความเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น มีขึ้นเพื่อหาทางจัดระเบียบในทุกภาคส่วน ก่อนที่จะกลับสู่ประชาธิปไตยเต็มตัว ดังนั้น หากจะเปรียบเทียบ ก็ควรเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ที่มีก่อนหน้า เช่นปี 2549 น่าจะเหมาะสมกว่า

พร้อมกันนี้ ดร.เจษฎ์ ยังมองว่า แม้จะมีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 อย่างกว้างขวาง แต่ก็มีข้อดีที่เอื้อต่อการปฏิรูป จัดระเบียบประเทศใหม่ มากกว่าฉบับเมื่อปี 2549 ส่วนเรื่องมาตรา 44 ที่ถูกมองว่าไปใกล้เคียงกับของปี 2502 นั้นก็เชื่อว่า คสช. จะไม่ใช้อำนาจแบบรุนแรง หรือทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะเห็นได้จากการใช้อำนาจที่ผ่านมา มีความยืดหยุ่น ผ่อนปรน ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์เป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ ดร.เจษฎ์ เชื่อมั่นว่า ภายใน 1 ปี ตามโรดแมปของ คสช. สามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างแน่นอน แต่หลังเลือกตั้งแล้ว บ้านเมืองจะสงบสุขหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะ ณ เวลานี้ กระบวนการในการปฏิรูปต่าง ๆ ยังไม่มีความชัดเจน ว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่