เรื่องของ บักเงิบ กับ ขันธ์ อุปาทาน และ อุปาทานขันธ์

ความนำ

การที่ "บักเงิบ" ในหัวข้อกระทู้ จะหมายถึงใครนั้น ผมในฐานะ เจ้าของกระทู้ ขออนุญาต ที่จะไม่ชี้ชัดลงไปในทันทีทันใด
แต่ขอให้เป็นอำนาจการตัดสินใจ ของสาธุชนทั้งหลาย ในการพิจารณา ผิดชอบชั่วดี ให้ได้ด้วยตนเอง นะครับ



จบความนำ



ขออนุญาต เริ่มต้นการพิจารณา ด้วยข้อความสั้นๆ ของ ล็อกอิน คันโตนาซี ซึ่งกล่าวว่า

พระอรหันต์ ไม่เห็นว่า "รูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป"

(๑) ไม่ได้แปลว่ารูปนั้นหายไป รูปยังอยู่
(๒) และรูปนั้นก็ยังเป็นรูปที่เกิดจากมหาภูตรูปหรืออุปาทายรูปอยู่ดี
(๓) ดังนั้น จะรูปอะไรก็เป็นรูปขันธ์อยู่ดี

.
.
.
.

คำวินิจฉัยในเบื้องต้นนี้ ก็คือ ทั้ง ๓ ข้อที่ ล็อกอิน คันโตนาซี กล่าวมานั้น ผิดทั้งหมด !

ประเด็นสำคัญที่ชาวพุทธพึงทำความเข้าใจให้ดีๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดเหมือนกับ นายคันโตนาซี ก็คือ
รูป มิได้เป็นรูปขันธ์ทั้งหมดอย่างที่มันเข้าใจ นะครับ

การกล่าวว่า รูปขันธ์ ก็คือ รูป อย่างนี้ไม่ผิด
แต่การกล่าวว่า รูป คือ รูปขันธ์ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง

ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะ คำว่า รูป นี้ อาจหมายถึง รูปธาตุ ก็ได้ อาจหมายถึง รูปขันธ์ ก็ได้
การสรุปความอย่างโง่ๆ ว่า จะรูปอะไร ก็เป็นรูปขันธ์อยู่ดี ดังที่ไอ้หมอนั่นกล่าวมา จึงผิด ใช้การไม่ได้
โดยที่ความข้อนี้ จะจริงหรือเท็จประการใด เราสามารถพิจารณาได้จาก หลักฐานที่ คันโตนาซี ยกขึ้นอ้างเอง ดังนี้



พระพุทธเจ้าตรัสว่า ........... "มหาภูตรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์"
ท่านทั้งหลายได้อ่านพุทธพจน์นี้แล้ว มีความเข้าใจว่าอย่างไรครับ ?

คำว่า มหาภูตรูปนี้ ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า หมายถึง รูปธาตุ ดังนั้น ประเด็นที่พระพุทธเจ้า ทรงชี้ให้เห็น ก็คือ
รูปธาตุ (๑) เป็นเหตุ และ (๒) เป็นปัจจัย จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า รูปขันธ์

ในกรณีเช่นนี้ รูปธาตุ ก็อย่างหนึ่ง รูปขันธ์ ก็อย่างหนึ่ง
รูปธาตุเกิดก่อน รูปขันธ์เกิดที่หลัง รูปธาตุดับไปแล้ว รูปขันธ์ จึงเกิดขึ้น
ด้วยเหตุดังนี้ รูป(ธาตุ) ที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย จึงเป็นคนละตัวกับ รูปขันธ์

การกล่าวว่า รูปอะไรๆ ก็เป็นรูปขันธ์หมด เพราะ ขันธ์ เป็นแค่การจัดหมวดหมู่ จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด !

ท่านทั้งหลาย กรุณาหวนกลับไปพิจารณา ข้อความ ข้อความของ คันโตนาซี อีกครั้งหนึ่ง ที่ว่า

(๑) ไม่ได้แปลว่ารูปนั้นหายไป รูปยังอยู่
(๒) และรูปนั้นก็ยังเป็นรูปที่เกิดจากมหาภูตรูปหรืออุปาทายรูปอยู่ดี
(๓) ดังนั้น จะรูปอะไรก็เป็นรูปขันธ์อยู่ดี

ประการแรก

ก็รูป(ธาตุ) ที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย มันจะไม่หายไปได้อย่างไรกัน ? รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง กันเล่าครับ ?
แล้วมันพูดออกมาได้อย่างไรว่า รูปยังอยู่ รูปยังไม่ได้หายไป !

ประการต่อมา การกล่าวด้วยความเข้าใจ(ผิด)ว่า รูป ในรูปขันธ์ ก็คือ รูปอันเดียวกับที่เป็นมหาภูตรูป หรือ อุปาทายรูปนั้น
ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ผู้พูดไม่มีความเข้าใจในอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท เลย
มิหนำซ้ำ ยังส่อแสดงให้เห็นว่า อ่อน อภิปรัชญา ทั้งๆ ที่มันและพวก พยายามอวดอ้างตนว่าเป็นนักอภิธรรม (เฮอะๆ)

การกล่าวว่า รูป ในรูปขันธ์ ก็คือ รูปอันเดียวกันกับที่เป็นมหาภูตรูป หรือ อุปาทายรูป
มันมีความหมายทางอภิปรัชญาว่า ผล มีอยู่แล้วในสิ่งที่เป็น เหตุ
ซึ่งมันเป็นทฤษฏีปัจจยาการ ของอัญเดียรถีย์ ฝ่าย สัตการยวาท

ปัญหา ก็คือ คันโตนาซี ไปฉวยเอาคำสอนนอกพระพุทธศาสนา มาปลอมปนในฝ่ายเถรวาท ทำไมครับ ?

หรือถ้าหากจะ "แถกแถ" ไปในทำนองว่า รูป ที่กล่าวถึงนี้ คือมี สภาวะความเป็นรูป เหมือนกัน
มิได้หมายถึงว่า เป็นตัวของ รูป อันเดียวกัน แม้อธิบายอย่างนี้ ก็ยังผิดอยู่ดี เพราะฝ่ายเถรวาท มิได้มีคำสอนอย่างนี้
จะมีอยู่ก็แต่ความเชื่อของ นิกายวิชาญาณวาท ในฝ่ายมหายานเท่านั้น นะครับ

ฝ่ายเถรวาท ถือว่า พระพุทธเจ้า มิได้เคยตรัสสอนให้สาวกเข้าใจ(ผิดๆ) อย่างนั้นเลย !

**********************************************************

เท่าที่สังเกต ดูเหมือนว่า บรรดาเม็ดมะขาม แก๊งส์อภิธรรมผีสิง จะมีความเข้าใจ(อย่างถูกต้อง) ในเรื่อง เหตุปัจจัย น้อยเต็มที
ทั้งๆ ที่เป็นฝ่ายยกพระบาลีพุทธพจน์ ขึ้นมาเองแท้ๆ แต่ก็เป็นการยกขึ้นมาอ้าง อย่างคนที่ไม่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งดีพอ

เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า ..........

"มหาภูตรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติรูปขันธ์"

เมื่อชาวพุทธเห็นอย่างนี้ ย่อมต้องทราบตามความเป็นจริงว่า คำว่า เหตุ กับ ปัจจัย มีความหมายต่างกัน
เมื่อใดที่ปรากฏคำว่า เหตุ นั้นหมายถึง มีลำดับ(การเกิดดับ)กำกับอยู่ด้วยเสมอ กล่าวคือ
สิ่งที่เป็น เหตุ ต้องเป็นปัจจัยหลัก ที่ขาดไปไม่ได้ และย่อมเกิดก่อน สิ่งที่เป็น ผล เสมอ
ต่างจากคำว่า ปัจจัย ซึ่งอาจเกิดก่อน เกิดพร้อม หรือ เกิดทีหลังจากสิ่งที่เป็น ผล ก็ได้ ตัวอย่างเช่น เรากล่าวว่า

ดินเหนียว เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ของเครื่องปั้นดินเผา
กรณีเช่นนี้ ดินเหนียว ย่อมเป็นปัจจัยหลัก ไม่มีไม่ได้ และ ต้องมีมาก่อน เครื่องปั้นดินเผา เสมอ

ประเด็นสำคัญทางอภิปรัชญา ก็คือ
พุทธเถรวาท มีแนวคิดว่า ผล(เครื่องปั้นดินเผา) มิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วใน เหตุ(ดินเหนียว)
โดยถือว่า ผล เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมีอยู่ต่างหากจากสิ่งที่เป็น เหตุ

ความคิดเห็นในทำนองว่า เนื้อสารในเครื่องปั้นดินเผานี้ ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นเนื้อสารในดินเหนียวมาก่อน
ในทางอภิปรัชญา ถือว่า นี่เป็นแนวคิดนอกพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท นะครับ
โดยในปัจจุบัน เราอาจพบแนวคิดแบบนี้ได้ในคำสอนฝ่ายมหายาน เช่น จากคณาจารย์นิกายเซน เป็นต้น

ดังนั้น ตามแนวคิดของฝ่ายเถรวาท เรามิอาจกล่าวได้ว่า เครื่องปั้นดินเผา คือ สิ่งเดียวกันกับ ดินเหนียว
แม้ว่า เครื่องปั้นดินเผา จะเกิดขึ้นมาได้โดยมี ดินเหนียว เป็นเหตุปัจจัย ก็ตาม

ฉันใด ก็ฉันนั้น เรามิอาจกล่าวว่า รูป(ธาตุ) หรือ มหาภูตรูป ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย นี้
จะเป็นสิ่งๆ เดียวกันกับ รูปขันธ์ ตามที่นายคันโตนาซี กล่าวออกมาอย่างชุ่ยๆ ได้เลย

ชัดเจนไหมครับ ?

**********************************************************

ธาตุ กับ ขันธ์ ต่างกันอย่างไร ?

ท่านทั้งหลายอาจจะอยากถามแบบนี้ เพื่อรอฟังคำตอบแบบสำเร็จรูป (หรือมิใช่ ?)

ที่จริงเพียงแค่ความหมายของคำศัพท์ ก็สามารถบ่งชี้ความแตกต่างได้แล้ว
อีกทั้งเมื่อพิจารณา พุทธพจน์ ตามที่ปรากฏอยู่นี้ ก็ย่อมทำให้ทราบได้โดยไม่ยากว่า
ธาตุ มีลักษณะเป็นสิ่งที่เป็นมูลฐานที่สุด ไม่ว่าจะดำรงอยู่อย่างไม่มีเหตุปัจจัย(นิพพานธาตุ)
หรือดำรงอยู่อย่างมีเหตุปัจจัย ก็ตาม โดยที่ ขันธ์ นั้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง

เท่าที่ผมอ่านข้อถกเถียง ระหว่าง คุณตองเก้า กับ เหล่าหมาบ้า อย่างคร่าวๆ (ขอย้ำว่า อย่างคร่าวๆ)
ในประเด็นนี้ เราต้องยอมรับว่า คุณตองเก้า พูดถูกต้อง กล่าวคือ
ขันธ์ทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง(สังขาร) มาแล้วทั้งสิ้น
ไม่มี ขันธ์ ใดเลยที่จะสามารถเกิดขึ้นมาลอยๆ โดยปราศจากการปรุงแต่ง

ดังนั้น การกล่าวว่า รูป(ธาตุ) หรือ มหาภูตรูป คือ อันเดียวกับ รูปขันธ์ จึงเป็นคำกล่าวที่ผิดพลาดในหลายแง่หลายมุม

แต่สิ่งที่ คุณตองเก้า ควรอธิบายให้ครบถ้วนรอบด้าน ก็คือ แม้เมื่อ ธาตุ ถูกปรุงแต่งเป็น ขันธ์ แล้ว
ทุกข์ ก็ยังไม่เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้(ทันที) จนกว่า ขันธ์ เหล่านั้น จะถูกปรุงแต่งต่อไปจนกลายเป็น อุปาทานขันธ์
หมายความว่า จำเพาะตัวขันธ์เฉยๆ มันยังไม่ทุกข์ และไอ้ ขันธ์ เฉยๆ ที่ไม่มีทุกข์นี้ ก็เป็นสิ่งที่เกิดมีขึ้นได้เช่นกัน(ในบางกรณี)

ขอให้ท่านทั้งหลาย จงพิจารณา วงปฏิจจสมุปบาท ให้ถี่ถ้วนสักนิด ก็จะสังเกตเห็นได้ไม่ยากว่า

(๑) บรรดาสรรพทุกข์ทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่มีที่มา หรือ มีต้นตอมาจาก การปรุงแต่ง ทั้งสิ้น
ดังนั้นหากเราจะกล่าวว่า สรรพสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ อย่างนี้ก็ไม่ผิด นะครับ

(๒) รูปนาม ที่เป็นปัจจัยแก่ วิญญาณ และ อายตนะ นี้หมายถึง รูปธาตุ นามธาตุ มิได้หมายถึง ขันธ์
ซึ่งถ้าเราเข้าใจอย่างถูกต้องดังนี้แล้ว เนื้อความก็จะสอดคล้องกับที่ตรัสว่า มหาภูตรูป(ซึ่งเป็นธาตุ ไม่ใช่ขันธ์)
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ รูปขันธ์ !

แต่ถ้าเราเข้าใจ(ผิด)ว่า รูปนามในปฏิจจสมุปบาทนี้หมายถึง รูปขันธ์ นามขันธ์
เรื่องราวคงจะโอละพ่อ ไปว่า ขันธ์(คือนามขันธ์) เป็นเหตุ และเป็นปัจจัย แก่ (วิญญาณ)ขันธ์
(กรุณา ทบทวนความหมายของคำว่า เหตุ และ ปัจจัย อีกครั้งหนึ่ง)

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เท่าที่ได้อธิบายมาโดยสังเขปนี้ น่าจะเพียงพอต่อการแยกแยะ ความแตกต่าง
ระหว่าง ธาตุ กับ ขันธ์ ในปฏิจจสมุปบาท ได้ตามสมควร นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่