ขันธ์5ที่บรรลุอรหัตตผล <--อชิตะเกสกัมพล...ยิ้มเลย 😁😁😁 อชิตะเอง..ก็คิดว่าตัวแกเองคือมหาภูต4ที่เป็นพระอรหันต์

กระทู้คำถาม
สำหรับผู้ที่มีทิฏฐิอย่างนี้...ว่า

" พระอรหันต์นั้นก็คือขันธ์5....ที่เกิดดับตามเหตุปัจจัย
  คือ...มีสภาวะที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่อาตมัน(อนัตตา) "

" ขันธ์5ที่บรรลุอรหัตตผลนั้น....ได้ดับเหตุปัจจัยแห่งการสืบต่อของขันธ์ได้หมดจดแล้ว
  ท่านยมก จะไม่กล่าวว่าพระอรหันต์ดับสูญ แต่ท่านยมกจะกล่าวว่าพระอรหันต์หมด
  เหตุปัจจัยแห่งการสืบต่อแล้วดับไปแล้วถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ "

ของอ่านทิฏฐินี้...ดูซิ   ว่าเหมือนกันไหม?
 👇
คนเรานี้ เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ 
1. เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดินไปตามธาตุดิน..ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ...ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ...ธาตุลมไปตามธาตุลม
2. อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ จะหามเขาไป 
    ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด 
3. ทานนี้...คนเขลาบัญญัติไว้
4. คำของคนบางพวกพูดว่า มีผลๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย
    ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิด 
    ☝
     ความเห็นนี้...คือ..ว่าเห็นที่เห็นว่า
     " มันไม่ได้มีชีวะอยู่จริงๆ...ชีวะที่เห็น..ที่จริงมันสมมุติมาจากร่าวกายที่แสดงอาการชีวะ "
     
     เมื่อเขาเห็นว่า " ชีวะที่สมมเติขึ้นมาจากสภาวะที่เหมาะสมของธาตุ... ชีวึนี้ไม่ได้มีจริง "...
     เขาก็คิดต่อไปได้ด้วยเหตุผล...ว่า " ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้มีชีวะ..แสดงอาการ..เหมือนกับ..ฝนตกแดดออก "
     แล้วอย่างนี้  " บุญบาป - ความเพียร - ความพยาม... มันจะมีผลได้อย่างไร "
     เหมือนกับวชิราสูตร " เมื่อขันธ์๕มี..การสมมุติว่าสัตว์จึงมี "...
                                  " เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี "...

     รถ..ที่เหมือนกับ..สัตว์  ที่ทั้ง 2 สมมุติมาจากส่วนต่างๆ " มันไม่ได้มีชีวะ..จริงๆ "...
     ดังนั้น... " บุญบาป - ความเพียร - ความพยาม... มันจะมีผลได้อย่างไร "



ส่วน... คนที่เห็นว่าไม่มีอะไร..ไปเกิดไปตาย...  มันแค่ขันธ์๕..ปัจจุบัน..ส่งผลให้..ขันธ์๕..ในอนาคตเท่านั้น
          ไม่มีอะไร..ที่เป็น " ชีวะอะไรๆ  มันแค่สมมุติขึ้นมาจากขันธ์๕ "...  นี่มันขาดสูญหละครับ...

          หากมาบอกว่า " กรรมนั่นหละ...ส่งต่อ " <---ถ้าอย่างนี้... กรรมนั่นก็..คือ " ชีวะ-อาตมัน "...

อชิตเกสกัมพล...เขาล้ำไปกว่าขันธ์๕..อีกนะซิ
(คือล้ำไปกว่าพวกที่บอกว่ามีแต่ขันธ์๕..แก่บอกว่ามีแต่รูป..ไม่ล้ำได้อย่างไร!!)

เขาเห็นว่า.. " แม้น..เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ...มันคืออาการของรูป " <---อย่าดูถูก...อชิตะ.,นะ
ดังนั้น..อชิต..จึงสรุปแค่..รูป(ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม)..เท่านั้น..

อชิตเกสกัมพล...แกโมเดิลมากๆ..แบบนักวิทยาศาสตร์เลยนะ...
ทิฏฐิของอชิตะจะมีอยู่คู่โลกตลอดไป..... เยี่ยมไหมหละ?

อชิตเกสกัมพล..,. ไม่เห็นอะไรๆ..เป็นอัตตา..เลยนะ!!!

อ่านอะไรก็ไม่พิจารณาให้มันดี   ผมยกย่องอชิตะ..ว่าเยียมกว่าผูที่มีมิจฉาทิฏฐิที่ว่า " ขันธ์๕..เป็นพระอรหันต์"..
เพราะว่า... เมื่อมีทิฏฐิที่ผิดแล้ว..ก็มีเหตุผลของมิจฉาทิฏฐินั้นๆ   
ไม่เหมือนพวกที่บอกว่า " ขันธ์๕..เป็นพระอรหันต์"..  ที่มีตรรกะครึ่งๆกลางๆ  
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
จขกท. คงไม่รู้ตัวเองว่า กำลังชื่นชมอยู่กับอุจเฉททิฏฐิ

....ครูอชิตะ เกสกัมพลได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า ดูกรมหาบพิตรทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ จะหามเขาไป ร่างกายปรากฎอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจสีนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกที่พูดว่า มีผล ๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิด ดังนี้
ความคิดเห็นที่ 12
อชิตะ เกสกัมพล ว่าคนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔ (ไม่ครบ ขันธ์ 5)  แต่ยึดขันธ์ต่างๆ ขึ้นมาว่าเป็นตน ดังแสดงอยู่ในพระสูตรในความเห็นที่ 7
จึงเกิดมิจฉาทิฏฐิขึ้นว่า ทานไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี เป็นความเห็นผิดแบบอุจเฉททิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ หากจขกท. ยังคงยกย่องวาทะของอชิดะเกสกัมพลอยู่อีก ก็นึกไม่ออกว่าจะช่วยแก้ไขให้กลับมามีความเห็นถูกอย่างไร
ความคิดเห็นที่ 7
๕. นัตถิทินนสูตร
ว่าด้วยนัตถิกทิฏฐิ

             [๔๒๕] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอ
มีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มี
ผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดา
ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์โอปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้
และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่
ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อใด ทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตาม
ธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปใน
อากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งเตียง จะหามเขาไป รอยเท้าปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า (ต่อมา)
ก็กลายเป็นกระดูกสีเทาสีนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของ
คนบางพวกที่พูดว่ามีผล ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต
ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น
อย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขาร
มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิอย่างนี้ว่า
ทานไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี.

             [๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิต
ย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
             ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
             พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล  ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้ง
บัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
             ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
             พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว
ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้ง
บัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตายไปย่อมไม่มี บ้างไหม?
             ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้  ชื่อว่า
เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินี-
*ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๕.

https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=4992&Z=5042&pagebreak=0

******************

๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร
ว่าด้วยความเห็นว่าชีพกับสรีระเป็นอันเดียวกัน
             [๔๓๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑๓.

https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=5278&Z=5284&pagebreak=0

******************

๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
ว่าด้วยความเห็นว่าชีพกับสรีระเป็นคนละอย่าง
             [๔๓๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็น
อย่างอื่น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระ
ผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑๔.

https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=5285&Z=5291&pagebreak=0

******************

สูตรที่ 13 และ 14 มีเนื้อความเหมือนสูตร 5 ท่านจึงย่อไว้ด้วยเครื่องหมาย ฯลฯ

ปล. สูตรที่ 5 และ 13 เป็นการยึด "ขันธ์ 5 ว่าเป็นตน" ด้วยทิฏฐิ
ส่วนสูตร 14 เป็นการยึด "ขันธ์ 5 เป็นของตน" หรือ "ตนมีขันธ์ 5" หรือ "ขันธ์ 5 ในตน" หรือ "ตนในขันธ์ 5" ด้วยตัณหา
ความคิดเห็นที่ 13
ท่านวชิราภิกษุณี เป็นพระอรหันต์
จขกท ยังกล้าต่อว่าท่านว่าท่านเห็นผิด

เรื่องราวของท่านวชิราภิกษุณีนี้ ถูกบันทึกลงเป็นสูตรสำคัญในพระสุตตันตปิฎก
จขกท ช่างเป็นคนพาลอย่างหาที่เปรียบมิได้
ทั้งปัญญาทรามด้วย ทั้งเป็นคนพาลด้วย

ท่านผู้อ่านผู้เพิ่งเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนา โปรดพึงระมัดระวังครับ.
ความคิดเห็นที่ 11
ความคิดเห็นที่ 3
จขกท. นี่ไม่ไหวเลย ไม่เข้าใจขันธ์ 5
พระอรหันต์ก็คือขันธ์ 5
อชิตะเกสกัมพลมีวาทะว่า คนเรานี้ เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ แค่นี้ก็ไม่ครบขันธ์ 5 แล้ว
ตอบกลับ
0 2
สมาชิกหมายเลข 5150763


สาธุครับ คุณ 0763
จขกท นั้น ขันธ์ 5 ก็ยังไมรู้ ว่ามีกิจอะไรบ้าง
จะไปตลุยศึกษาอะไรที่ไกลตัวนักเล่า

ประมาณตนบ้างครับ
รู้จักขันธ์ 5 ก็ได้ชื่อว่ารู้ทุกขอริยสัจ

นี่ขันธ์ 5 ก็ยังไม่รู้ แล้วจะไปเห็นความแตกต่างในลัทธิต่างๆ ได้อย่างไรครับ
คุณจะไม่สามารถเปรียบเทียบพุทธศาสนากับความเชื่ออื่นๆ ได้เลย

เรื่องราวความวิปลาสของ จขกท นี้ เกิดจากเห็นขันธ์ 5 เป็นหุ่นยนต์ไร้คนขับ
ต้องมีอาตมันมาเป็นคนขับเคลื่อน

เมื่อตนคิดเห็นดังนี้ไปแล้ว ไม่ว่าจะคิด จะอ่านอะไร
ตนก็เริ่มต้นจากทิฏฐิวิปลาสอันนี้ นี่แหละ

สมดังที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้จริงๆ ว่ามิจฉาทิฏฐินี้สำคัญนัก.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่