รายงานพิเศษ
การรัฐประหาร 22 พ.ค.57 ส่งผลให้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 สิ้นสุดลงตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 11/2557 ยกเว้นหมวด 2
แต่ไม่ได้ให้องค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดลงไปด้วย รวมถึงยังให้ศาลทั้งหลายมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีตามบทกฎหมายและประกาศคสช.
อย่างไรก็ตาม กรณีที่บทบัญญัติต่างๆ ถูกยกเลิก แต่ในความเป็นองค์กรยังอยู่ตามประกาศดังกล่าว จะทำให้ องค์กรนั้นๆ ได้รับผลกระทบ หรือมีอุปสรรคปัญหาในการดำเนินงานหรือไม่ อย่างไร
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล
ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ป.ป.ช.
แม้ว่าขณะนี้จะมีการยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แต่การทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังไม่ปรากฏข้อจำกัดแต่อย่างใด
เนื่องจาก คสช.ยกเว้นให้ป.ป.ช.ยังปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่ อีกทั้งพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็ยังไม่ถูกยกเลิก
เพราะการปฏิบัติหน้าที่ของป.ป.ช. ได้ยึดโยงกับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรม นูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นกฎหมายหลัก ถือเป็นกฎหมายของป.ป.ช. ส่วนประเด็นใดในคำร้องที่ไปเกี่ยวพันกับตัวรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช.ต้องพิจารณาให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการ
เหตุการณ์ลักษณะนี้เหมือนกับการทำรัฐประหารปี 2549 ที่มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งครั้งนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ประกาศให้ป.ป.ช.ทำหน้าที่ต่อไปได้ จึงมองว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ส่วนการก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ เพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนิติบัญญัติ พิจารณาข้อกฎหมาย ทำงานกันคนละด้านกัน
อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรอบของการปฏิรูปก็มีความเป็นไปได้ว่า สภานิติ บัญญัติแห่งชาติจะมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากขึ้น
แต่ไม่แน่ใจว่าพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะถูกปรับแก้ด้วยหรือไม่ เพราะปัจจุบันกฎหมายฉบับนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ต้องถามผู้ปฏิบัติอย่างป.ป.ช.ว่าควรที่จะต้องปรับแก้ในเรื่องใดบ้าง เพราะที่ผ่านมาป.ป.ช.มักถูกวิจารณ์เรื่องการเรียงลำดับในการพิจารณาคดี ซึ่งตรงนี้ไม่จำเป็นต้องไปแก้ที่ตัวพ.ร.บ. แค่ไปแก้ที่ระเบียบวิธีพิจารณา ให้มีการเรียงลำดับคดีก่อนหลังเหมือนระบบศาล
จึงเป็นเรื่องดีถ้ามีการจัดระเบียบในส่วนนี้ จะได้ลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์
รักษเกชา แฉ่ฉาย
รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
แม้ไม่มีรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินยังมีผลบังคับใช้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.นี้ในการปฏิบัติหน้าที่
แต่ก็มีหลายเรื่องหลายคำร้องที่ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาเกี่ยวกับความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ พอไม่มีรัฐธรรมนูญ เรื่องต่างๆ เหล่านี้จึงต้องยุติการพิจารณาไป ซึ่งไม่ใช่การชะลอการพิจารณา แต่เป็นการยุติเรื่องออกไป
เพราะคำร้องเหล่านี้จะผูกพันกับตัวรัฐธรรมนูญซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว และทางผู้ตรวจการแผ่นดินเองก็แจ้งไปยังผู้ร้อง ซึ่งต่างก็เข้าใจว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร ส่วนเรื่องอื่นก็ยังพิจารณากันตามปกติ
หลังจากยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าไปรับทราบนโยบายของคสช. และไม่มีอะไรที่ต้องปรับตัวมากนัก เพราะนโยบายขององค์กรคือการบริการประชาชน
โดยส่วนใหญ่งานของผู้ตรวจจะไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่คสช.ให้ผู้ตรวจปฏิบัติหน้าที่ต่อ เหมือนกับเป็นการช่วยเหลือกันทำงาน
เนื่องจากผู้ตรวจจะเข้าถึงปัญหา รู้ว่าประชาชนส่วนใดมีปัญหาในเรื่องใด จากนั้นจะแจ้งต่อหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ปกครองให้รับทราบเพื่อแก้ไขปัญหา ถือว่าช่วยปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ไม่ใช่การตรวจสอบ ทำลายระบบราชการ
ยิ่งช่วงนี้ผู้ตรวจต้องเข้ามาเป็นตัวกลางสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนกับภาครัฐ เพราะช่วงคุมอำนาจมักมีการกล่าวหาระบบราชการไม่ค่อยโปร่งใส คสช.จึงยังคงผู้ตรวจและองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อช่วยคสช.ในการตรวจสอบ
ที่ผ่านมาผู้ตรวจเคยทำหนังสือถึงรัฐบาลชุดที่แล้ว ขอรับการสนับสนุนจัดประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินระดับโลก โดยจะมีตัวแทนผู้ตรวจจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมในปี 2559
ซึ่งผู้ตรวจเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากนานาชาติว่ายังมีธรรมาภิบาล ต่างชาติยังให้ความเชื่อมั่นมอบให้ไทยเป็นเจ้าภาพ
จึงจำเป็นต้องบอกไปยังผู้ที่คุมอำนาจขณะนี้ว่า นี่คือโอกาสขยายความน่าเชื่อให้กับประเทศไทย
แท้จริง ศิริพานิช
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คสช.มีประกาศให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อแม้จะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งกสม.ยังทำงานตามปกติเช่นเดียวกับ กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือองค์กรศาลต่างๆ
พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังมีผลใช้บังคับอยู่ กสม.จึงอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.นี้ในการทำหน้าที่ ยังคงตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน โดยผู้ที่ถูกละเมิดก็สามารถมายื่นเรื่องต่อกสม.ได้
อีกประการขณะนี้ยังไม่มีกสม.คนใดที่ต้องหมดวาระการดำรงแหน่ง จึงทำให้การทำงานไม่ค่อยมีปัญหาหรืออุปสรรค
การตรวจสอบเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น สอดคล้องกับนโยบายตามที่หัวหน้าคสช.ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ว่าให้คำนึงกับเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้จะมีผู้มายื่นร้องว่าหน่วยงานใดของภาครัฐในขณะนี้ได้ทำการละเมิดสิทธิ กสม.ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ไม่เว้นแม้แต่การตรวจสอบคสช.
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กสม.ก็ต้องยุติการพิจารณาบางเรื่องออกไป เพราะรัฐธรรมนูญเดิมได้ให้อำนาจ กสม.ในการสั่งฟ้องต่อศาลในการละเมิดสิทธิกรณีต่างๆ
แต่เมื่อไม่รัฐธรรมนูญแล้ว กสม.ก็ไม่มีอำนาจในส่วนนี้ ไม่สามารถสั่งฟ้องได้ ซึ่งกสม.ได้พิจารณาว่าเรื่องใดที่อาจต้องสั่งฟ้องก็ต้องยุติเรื่องนั้นไปก่อน
ที่ผ่านมาเรื่องที่กสม.สั่งฟ้องต่อศาลค่อนข้างจะน้อย จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรมากนัก
ประเด็นที่ระบุว่า กสม.ยังคงต้องทำหน้าที่ต่อนั้น เพราะการทำงานของ กสม.ไม่ได้ยึดโยงเฉพาะแต่ตัวรัฐธรรมนูญ หรือพ.ร.บ.กสม.เท่านั้น
แต่ยังยึดโยงกับสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันการละเมิดสิทธิ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ฉะนั้นการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ กสม.ก็เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด คอยเก็บข้อมูลเพื่อทำเป็นรายงาน หากมีเรื่องเร่งด่วนคงต้องส่งเรื่องให้คสช.พิจารณา เพราะเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนี้
หรือถ้าไม่มีเรื่องเร่งด่วนก็คงรอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd01UazVOamd6TUE9PQ%3D%3D§ionid
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฟังความเห็นของที่ปรึกษาองค์กรอิสระต่างๆ แล้วก็รู้สึก ฝากเนื้อฝากตัวกันดีค่ะ
zzz ภาวะองค์กรอิสระในยุค "คสช." zzz
การรัฐประหาร 22 พ.ค.57 ส่งผลให้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 สิ้นสุดลงตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 11/2557 ยกเว้นหมวด 2
แต่ไม่ได้ให้องค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดลงไปด้วย รวมถึงยังให้ศาลทั้งหลายมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีตามบทกฎหมายและประกาศคสช.
อย่างไรก็ตาม กรณีที่บทบัญญัติต่างๆ ถูกยกเลิก แต่ในความเป็นองค์กรยังอยู่ตามประกาศดังกล่าว จะทำให้ องค์กรนั้นๆ ได้รับผลกระทบ หรือมีอุปสรรคปัญหาในการดำเนินงานหรือไม่ อย่างไร
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล
ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ป.ป.ช.
แม้ว่าขณะนี้จะมีการยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แต่การทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังไม่ปรากฏข้อจำกัดแต่อย่างใด
เนื่องจาก คสช.ยกเว้นให้ป.ป.ช.ยังปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่ อีกทั้งพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็ยังไม่ถูกยกเลิก
เพราะการปฏิบัติหน้าที่ของป.ป.ช. ได้ยึดโยงกับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรม นูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นกฎหมายหลัก ถือเป็นกฎหมายของป.ป.ช. ส่วนประเด็นใดในคำร้องที่ไปเกี่ยวพันกับตัวรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช.ต้องพิจารณาให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการ
เหตุการณ์ลักษณะนี้เหมือนกับการทำรัฐประหารปี 2549 ที่มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งครั้งนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ประกาศให้ป.ป.ช.ทำหน้าที่ต่อไปได้ จึงมองว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ส่วนการก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ เพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนิติบัญญัติ พิจารณาข้อกฎหมาย ทำงานกันคนละด้านกัน
อย่างไรก็ตาม ภายใต้กรอบของการปฏิรูปก็มีความเป็นไปได้ว่า สภานิติ บัญญัติแห่งชาติจะมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากขึ้น
แต่ไม่แน่ใจว่าพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะถูกปรับแก้ด้วยหรือไม่ เพราะปัจจุบันกฎหมายฉบับนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ต้องถามผู้ปฏิบัติอย่างป.ป.ช.ว่าควรที่จะต้องปรับแก้ในเรื่องใดบ้าง เพราะที่ผ่านมาป.ป.ช.มักถูกวิจารณ์เรื่องการเรียงลำดับในการพิจารณาคดี ซึ่งตรงนี้ไม่จำเป็นต้องไปแก้ที่ตัวพ.ร.บ. แค่ไปแก้ที่ระเบียบวิธีพิจารณา ให้มีการเรียงลำดับคดีก่อนหลังเหมือนระบบศาล
จึงเป็นเรื่องดีถ้ามีการจัดระเบียบในส่วนนี้ จะได้ลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์
รักษเกชา แฉ่ฉาย
รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
แม้ไม่มีรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินยังมีผลบังคับใช้ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.นี้ในการปฏิบัติหน้าที่
แต่ก็มีหลายเรื่องหลายคำร้องที่ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาเกี่ยวกับความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญ พอไม่มีรัฐธรรมนูญ เรื่องต่างๆ เหล่านี้จึงต้องยุติการพิจารณาไป ซึ่งไม่ใช่การชะลอการพิจารณา แต่เป็นการยุติเรื่องออกไป
เพราะคำร้องเหล่านี้จะผูกพันกับตัวรัฐธรรมนูญซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว และทางผู้ตรวจการแผ่นดินเองก็แจ้งไปยังผู้ร้อง ซึ่งต่างก็เข้าใจว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร ส่วนเรื่องอื่นก็ยังพิจารณากันตามปกติ
หลังจากยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าไปรับทราบนโยบายของคสช. และไม่มีอะไรที่ต้องปรับตัวมากนัก เพราะนโยบายขององค์กรคือการบริการประชาชน
โดยส่วนใหญ่งานของผู้ตรวจจะไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่คสช.ให้ผู้ตรวจปฏิบัติหน้าที่ต่อ เหมือนกับเป็นการช่วยเหลือกันทำงาน
เนื่องจากผู้ตรวจจะเข้าถึงปัญหา รู้ว่าประชาชนส่วนใดมีปัญหาในเรื่องใด จากนั้นจะแจ้งต่อหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ปกครองให้รับทราบเพื่อแก้ไขปัญหา ถือว่าช่วยปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ไม่ใช่การตรวจสอบ ทำลายระบบราชการ
ยิ่งช่วงนี้ผู้ตรวจต้องเข้ามาเป็นตัวกลางสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนกับภาครัฐ เพราะช่วงคุมอำนาจมักมีการกล่าวหาระบบราชการไม่ค่อยโปร่งใส คสช.จึงยังคงผู้ตรวจและองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อช่วยคสช.ในการตรวจสอบ
ที่ผ่านมาผู้ตรวจเคยทำหนังสือถึงรัฐบาลชุดที่แล้ว ขอรับการสนับสนุนจัดประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินระดับโลก โดยจะมีตัวแทนผู้ตรวจจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมในปี 2559
ซึ่งผู้ตรวจเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากนานาชาติว่ายังมีธรรมาภิบาล ต่างชาติยังให้ความเชื่อมั่นมอบให้ไทยเป็นเจ้าภาพ
จึงจำเป็นต้องบอกไปยังผู้ที่คุมอำนาจขณะนี้ว่า นี่คือโอกาสขยายความน่าเชื่อให้กับประเทศไทย
แท้จริง ศิริพานิช
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คสช.มีประกาศให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยังปฏิบัติหน้าที่ต่อแม้จะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งกสม.ยังทำงานตามปกติเช่นเดียวกับ กกต. ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือองค์กรศาลต่างๆ
พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังมีผลใช้บังคับอยู่ กสม.จึงอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.นี้ในการทำหน้าที่ ยังคงตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน โดยผู้ที่ถูกละเมิดก็สามารถมายื่นเรื่องต่อกสม.ได้
อีกประการขณะนี้ยังไม่มีกสม.คนใดที่ต้องหมดวาระการดำรงแหน่ง จึงทำให้การทำงานไม่ค่อยมีปัญหาหรืออุปสรรค
การตรวจสอบเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น สอดคล้องกับนโยบายตามที่หัวหน้าคสช.ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ว่าให้คำนึงกับเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้จะมีผู้มายื่นร้องว่าหน่วยงานใดของภาครัฐในขณะนี้ได้ทำการละเมิดสิทธิ กสม.ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ไม่เว้นแม้แต่การตรวจสอบคสช.
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กสม.ก็ต้องยุติการพิจารณาบางเรื่องออกไป เพราะรัฐธรรมนูญเดิมได้ให้อำนาจ กสม.ในการสั่งฟ้องต่อศาลในการละเมิดสิทธิกรณีต่างๆ
แต่เมื่อไม่รัฐธรรมนูญแล้ว กสม.ก็ไม่มีอำนาจในส่วนนี้ ไม่สามารถสั่งฟ้องได้ ซึ่งกสม.ได้พิจารณาว่าเรื่องใดที่อาจต้องสั่งฟ้องก็ต้องยุติเรื่องนั้นไปก่อน
ที่ผ่านมาเรื่องที่กสม.สั่งฟ้องต่อศาลค่อนข้างจะน้อย จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบอะไรมากนัก
ประเด็นที่ระบุว่า กสม.ยังคงต้องทำหน้าที่ต่อนั้น เพราะการทำงานของ กสม.ไม่ได้ยึดโยงเฉพาะแต่ตัวรัฐธรรมนูญ หรือพ.ร.บ.กสม.เท่านั้น
แต่ยังยึดโยงกับสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันการละเมิดสิทธิ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ฉะนั้นการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ กสม.ก็เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด คอยเก็บข้อมูลเพื่อทำเป็นรายงาน หากมีเรื่องเร่งด่วนคงต้องส่งเรื่องให้คสช.พิจารณา เพราะเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนี้
หรือถ้าไม่มีเรื่องเร่งด่วนก็คงรอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd01UazVOamd6TUE9PQ%3D%3D§ionid
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฟังความเห็นของที่ปรึกษาองค์กรอิสระต่างๆ แล้วก็รู้สึก ฝากเนื้อฝากตัวกันดีค่ะ