การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ต้องมีการเลือกตั้ง
แต่ การเลือกตั้งตามปกติไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง
ดังนั้น จึงต้องคิดวิธีการเลือกตั้งแบบพิเศษ ซึ่งจะเป็นวิธีที่คนทุกกลุ่มยอมรับ
ประเทศจะเดินไปอย่างไร
ทางแยกที่เรายืนอยู่นั้น
ทางหนึ่งคือทางแห่งกฎหมาย ซึ่งเราเดินไปแล้ว ไปต่อไม่ได้
การจะหักดิบ ผ่าทางที่ตันแบบนี้ต่อไป ความเสียหายย่อมเกิดแก่ชาติ
ก็ยังเหลืออีกทางคือ ทางของประเพณี
ทางของประเพณี ไม่ใช่ทางที่ตรงดิ่งทางเดียว แต่มีทางแยกไปอีกหลายทาง
เราจะเดินไปตามทางไหน จึงจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
การเลือกตั้ง คือ ประเพณีของประชาธิปไตย
สองพรรคการเมือง คือ อุปสรรคของการเลือกตั้ง
ขอเสนอ การเลือกตั้งที่ปราศจากพรรคการเมือง เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน ที่มาเพื่อปฏิรูปและรักษาความเรียบร้อยของบ้านเมืองในระหว่างปฏิรูป
การเลือกตั้งที่ปราศจากพรรคการเมือง
ให้เป็นการเลือกตั้งโดยอาศัยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ไม่ให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ไม่ให้ผู้สมัครเป็นผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อนายกคนกลาง ๑๐ คน ให้ประชาชนพิจารณา
ให้ประชาชนชนเลือกว่าจะให้ใครใน ๑๐ คนนั้น เป็นนายกในระหว่างการปฏิรูป
ผู้ได้รับการเลือกตั้งทำหน้าที่สำเร็จแล้ว ไม่ให้ลงเลือกตั้งเป็นเวลา ๕ ปี
ให้เป็นการเลือกตั้งโดยอาศัยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
มีเขตเลือกตั้ง ๓๗๕ เขตเลือกตั้ง
เขตเลือกตั้ง ๑ เขต มีผู้แทน ๑ คน
ทุกเขตเลือกตั้งพร้อมกัน
เขตใดไม่สามารถเลือกตั้งพร้อมเขตอื่นใดก็จัดให้เลือกตั้งภายหลังโดยเร็วที่สุด
ผู้แทนเขตใดมีการตรวจสอบได้ในภายหลังว่าเป็นคนของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เขตนั้นต้องทำการเลือกผู้แทนใหม่
ไม่ให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ให้พรรคการเมืองสองฝ่ายคืออดีตฝ่ายค้านและอดีตฝ่ายบริหารพิจารณารายชื่อของผู้สมัครแต่ละเขต ว่าให้ หรือไม่ให้ ผู้ลงสมัครลงสมัคร หายไม่ให้ต้องแจ้งเหตุผลและหลักฐานประกอบ
ผู้สมัครต้องได้รับการยืนยันจากทั้งสองฝ่ายพรรคการเมืองว่าเป็นกลาง
ไม่ให้ผู้สมัครเป็นผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ให้สองกลุ่มผู้ชุมนุมการเมือง คือ ๑. กปปส ๒. นปช ตั้งคณะกรรมการฝ่ายละ ๑๐ คน
คณะกรรมการนี้ใช้สำหรับตรวจสอบผู้สมัครเลือกตั้งว่าเป็นผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่
ผู้สมัครต้องผ่านคณะกรรมการอย่างน้อย ๑๕ คน
ปล. ในการนี้ไม่ได้หมายความว่าให้อำนาจบาตรใหญ่แก่พรรคการเมือง หรือกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองว่า สามารถตัดสินให้ใครคนใดคนหนึ่งสมัครได้ หรือสมัครไม่ได้ แต่เป็นการเลือกใช้กลุ่มบุคคลที่เหมาะสมที่สุดที่จะตัดสินได้ว่า ใครเป็นกลางหรือใครไม่เป็นกลาง
สภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อนายกคนกลาง ๑๐ คน ให้ประชาชนพิจารณา
เมื่อได้สมาชิกครบ ๓๗๕ คน ให้สภาประชุมกันเพื่อหาบุคคลที่ประชาชนทุกฝ่ายยอมรับ จำนวน ๑๐ คนเพื่อเสนอให้ประชาชนตัดสินว่าต้องการให้ใครเป็นนายก คะแนนที่ได้มากที่สุดเป็นนายก และอีก ๙ คนเป็นรองนายก
ผู้ได้รับการเลือกตั้งทำหน้าที่สำเร็จแล้ว ไม่ให้ลงเลือกตั้งเป็นเวลา ๕ ปี
เมื่อการปฏิรูปเสร็จสิ้นลง และกฎหมายที่เกิดจากการปฏิรูปได้บังคับใช้ ทำให้ต่อจะต้องมีการเลือกตั้ง ให้ศาลตัดสินไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปทั้งหมด ทั้งผู้แทน ๓๗๕ คน นายกและรองนายกทั้ง ๑๐ คน ลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นเวลา ๕ ปี เนื่องจากเป็นบุคคลที่เป็นผู้แทนของประชาชน แต่ไม่ได้มาโดยวิถีทางปกติตามกฎหมาย
ประเพณีการปกครองของระบอบประชาธิปไตย คือทางออกของประเทศนี้
ต้องมีการเลือกตั้ง
แต่ การเลือกตั้งตามปกติไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง
ดังนั้น จึงต้องคิดวิธีการเลือกตั้งแบบพิเศษ ซึ่งจะเป็นวิธีที่คนทุกกลุ่มยอมรับ
ประเทศจะเดินไปอย่างไร
ทางแยกที่เรายืนอยู่นั้น
ทางหนึ่งคือทางแห่งกฎหมาย ซึ่งเราเดินไปแล้ว ไปต่อไม่ได้
การจะหักดิบ ผ่าทางที่ตันแบบนี้ต่อไป ความเสียหายย่อมเกิดแก่ชาติ
ก็ยังเหลืออีกทางคือ ทางของประเพณี
ทางของประเพณี ไม่ใช่ทางที่ตรงดิ่งทางเดียว แต่มีทางแยกไปอีกหลายทาง
เราจะเดินไปตามทางไหน จึงจะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
การเลือกตั้ง คือ ประเพณีของประชาธิปไตย
สองพรรคการเมือง คือ อุปสรรคของการเลือกตั้ง
ขอเสนอ การเลือกตั้งที่ปราศจากพรรคการเมือง เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนของประชาชน ที่มาเพื่อปฏิรูปและรักษาความเรียบร้อยของบ้านเมืองในระหว่างปฏิรูป
การเลือกตั้งที่ปราศจากพรรคการเมือง
ให้เป็นการเลือกตั้งโดยอาศัยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ไม่ให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ไม่ให้ผู้สมัครเป็นผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อนายกคนกลาง ๑๐ คน ให้ประชาชนพิจารณา
ให้ประชาชนชนเลือกว่าจะให้ใครใน ๑๐ คนนั้น เป็นนายกในระหว่างการปฏิรูป
ผู้ได้รับการเลือกตั้งทำหน้าที่สำเร็จแล้ว ไม่ให้ลงเลือกตั้งเป็นเวลา ๕ ปี
ให้เป็นการเลือกตั้งโดยอาศัยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
มีเขตเลือกตั้ง ๓๗๕ เขตเลือกตั้ง
เขตเลือกตั้ง ๑ เขต มีผู้แทน ๑ คน
ทุกเขตเลือกตั้งพร้อมกัน
เขตใดไม่สามารถเลือกตั้งพร้อมเขตอื่นใดก็จัดให้เลือกตั้งภายหลังโดยเร็วที่สุด
ผู้แทนเขตใดมีการตรวจสอบได้ในภายหลังว่าเป็นคนของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เขตนั้นต้องทำการเลือกผู้แทนใหม่
ไม่ให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ให้พรรคการเมืองสองฝ่ายคืออดีตฝ่ายค้านและอดีตฝ่ายบริหารพิจารณารายชื่อของผู้สมัครแต่ละเขต ว่าให้ หรือไม่ให้ ผู้ลงสมัครลงสมัคร หายไม่ให้ต้องแจ้งเหตุผลและหลักฐานประกอบ
ผู้สมัครต้องได้รับการยืนยันจากทั้งสองฝ่ายพรรคการเมืองว่าเป็นกลาง
ไม่ให้ผู้สมัครเป็นผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ให้สองกลุ่มผู้ชุมนุมการเมือง คือ ๑. กปปส ๒. นปช ตั้งคณะกรรมการฝ่ายละ ๑๐ คน
คณะกรรมการนี้ใช้สำหรับตรวจสอบผู้สมัครเลือกตั้งว่าเป็นผู้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่
ผู้สมัครต้องผ่านคณะกรรมการอย่างน้อย ๑๕ คน
ปล. ในการนี้ไม่ได้หมายความว่าให้อำนาจบาตรใหญ่แก่พรรคการเมือง หรือกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองว่า สามารถตัดสินให้ใครคนใดคนหนึ่งสมัครได้ หรือสมัครไม่ได้ แต่เป็นการเลือกใช้กลุ่มบุคคลที่เหมาะสมที่สุดที่จะตัดสินได้ว่า ใครเป็นกลางหรือใครไม่เป็นกลาง
สภาผู้แทนราษฎรเสนอชื่อนายกคนกลาง ๑๐ คน ให้ประชาชนพิจารณา
เมื่อได้สมาชิกครบ ๓๗๕ คน ให้สภาประชุมกันเพื่อหาบุคคลที่ประชาชนทุกฝ่ายยอมรับ จำนวน ๑๐ คนเพื่อเสนอให้ประชาชนตัดสินว่าต้องการให้ใครเป็นนายก คะแนนที่ได้มากที่สุดเป็นนายก และอีก ๙ คนเป็นรองนายก
ผู้ได้รับการเลือกตั้งทำหน้าที่สำเร็จแล้ว ไม่ให้ลงเลือกตั้งเป็นเวลา ๕ ปี
เมื่อการปฏิรูปเสร็จสิ้นลง และกฎหมายที่เกิดจากการปฏิรูปได้บังคับใช้ ทำให้ต่อจะต้องมีการเลือกตั้ง ให้ศาลตัดสินไม่ให้ผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปทั้งหมด ทั้งผู้แทน ๓๗๕ คน นายกและรองนายกทั้ง ๑๐ คน ลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นเวลา ๕ ปี เนื่องจากเป็นบุคคลที่เป็นผู้แทนของประชาชน แต่ไม่ได้มาโดยวิถีทางปกติตามกฎหมาย