พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ที่มาจากกบฏทหารปี49 แต่งตั้ง (เรื่องนี้ถือว่าไร้ศักดิ์ศรีมาก น่ารังเกียจมาก ผมรับไม่ได้)
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ป มโกงสอบ ขรก.ศาล รธน. ที่มีคลิป3ตอน ....ทุกวันนี้เรื่องเงียบ ตกลงถ้าเป็นเรื่องพวกตัวเก็บเงียบใช่ไหม
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ กรณี ตลก ให้ลูกลาเรียนเมืองนอก เซ็นคำสั่งอนุมัติเงินเดือนให้ลูกขณะไปเรียนเมืองนอก
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ที่หาข้อกฏหมายทั้งในกฏหมายแพ่ง และอาญาเอาผิดนายกฯสมัครไม่ได้ เลยไปเอาพจนานุกรมมาตัดสินแทนกฏหมาย
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ตลก ไปสอนหนังสือเหมือนนายกสมัคร แต่ตัวเองไม่ผิดทั้งที่ได้รับเงินค่าจ้างเหมือน
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ตลก บางคนไปรวมหัวกันที่บ้านนายปีย์ วางแผนก่อกบฎยึดอำนาจ ปชช. เมื่อปี49
การตัดสินคดี ย้ายถวิลวันนี้ เห็นชัดว่า ศาลไม่พูดถึง กรณีที่นายกฯเบิกความไว้ว่า อำนาจนายกฯคนเดียวไม่สามารถแต่งตั้ง ผบ.ตรได้ หาก คณะกรรมการ ก.ต.ช. ไม่อนุมัติ นายกฯก็ไม่สามารถแต่งตั้งได้ ดั่งกรณี สมัยม๊ากแหล เสนอชื่อ พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ แต่ คณะกรรมการ ก.ต.ช. ไม่เอาด้วย ประทีปจึงไม่ได้เป็น ผบ.ตร สุดท้าย กรรมการ ก.ต.ช. ก็เลือก พล.ต.อ วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดังนั้น ตำแหน่งนายฯ ไม่สามารถแต่งตั้ง ผบ.ตร ได้เลย หาก คณะกรรมการ ก.ต.ช. ไม่อนุมัติเห็นชอบ
สุดท้ายคือพฤติกรรม ตามที่ นายธาริตกล่าวไว้เมื่อวานดังนี้ รวมแล้วหลายเรื่องมากมายที่ทำให้ ปชช.อย่างผม ไม่เชื่อถือน้ำคำศาล รธน. ตลก ชุดนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1399370485&grpid=03&catid=&subcatid=
"ศอ.รส."ดับเครื่องชน!! แถลงการณ์ฉบับ3 แฉกลุ่มบุคคลมุ่งให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ หรือ ศอ.รส. ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 เรื่องข้อเรียกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และกลุ่มผู้สนับสนุนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย จากการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน มีข้อมูลบ่งชี้ได้ว่าจะเกิดความรุนแรงและเหตุร้ายขึ้น ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือการวินิจฉัยขององค์กร 2 องค์กร ตามรัฐธรรมนูญ คือ คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ
ดังที่ ศอ.รส. ได้มีแถลงการณ์ฉบับที่ 1 และ 2 เสนอข้อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำเนินการในแนวทาง ประการที่ 1 ในการใช้อำนาจวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ยังคงใช้วิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัยตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดขึ้นเอง ทั้งๆที่ รัฐธรรมนูญ กำหนดให้ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ วันที่ 24 สิงหาคม 2550 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยดำเนินการให้มี ตรา พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ในรูปแบบของกฎหมายจึงทำให้สาธารณชน เกิดความสับสนต่อการทำหน้าที่ ว่าเป็นไปตามหลักยุติธรรม และถูกต้องตามหลักความยุติธรรมหรือไม่ และอาจส่งผลให้การวินิจฉัยคดีไม่มีมาตรฐานขาดคความชัดเจนเพราะไม่มีกรอบในการใช้อำนาจ
ประการที่ 2 จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา มักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ว่ามีปัญหาในเรื่องความยุติธรรม หลายคดีวินิจฉัยก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่นโดยไม่มีอำนาจ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมในหลายๆคดี อาทิ “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการสืบพยานในคดีอุ้มฆ่านาย โมฮัมหมัด อัลลูไวรี่” / ”คำวินิจฉัยกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา” และ “คำวินิจฉัยกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557” รวมทั้ง “กรณีเงินกู้ 2 ล้านล้าน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”
ประการที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะวินิจฉัยคำร้องขอให้การเป็นรัฐมนตรี ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสุดลง จากการตรวจสอบพบว่าศาลรัฐธรรมนูญ ได้เคยมีคำวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดลง กรณีเป็นลูกจ้างโดยไม่ได้อ้างกฎหมายแต่อ้างพจนานุกรมและวินิจฉัยว่านายสมัคร กระทำผิด ตามมาตรา 267 เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่ง ดังนั้นคำร้องทั้งสองกรณีมีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นที่น่าสังเกตุว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านางสาวยิ่งลักษณ์ กระทำฝ่าฝืนตามมาตรา 266 และ 268 คำวินิจฉัยก็ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ซึ่งหากผลแตกต่างกันจะทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการขาดมาตรฐานและน่าเชื่อถือ
ประการที่ 4 ศอ.รส. มีการข่าวพบว่ามีความพยายามของกลุ่มบุคคลที่สนับสนุน แนวทางให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เรียกร้องให้การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ เกินเลยไปกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ถึงขั้นยกเว้นการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อาทิ มาตรา 181 ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่สามารถกระทำได้
ประการที่ 5 จากกรณีที่มี่นักวิชาการ คือนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้กล่าวอภิปรายในโครงการสัมมนาทางวิชาการวาระครบรอบ 16 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ มีความตอนหนึ่งว่า “ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายผูกพันทุกองค์กร ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล” คำอภิปรายนี้มีความมุ่งหมายที่จะแสดงความชอบธรรม มีอำนาจที่จะควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง แม้ว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจไว้ และเป็นการยืนกรานให้องค์กรอื่นต้องเคารพคำวินิจฉัยนั้น ทั้งนี้จากการตรวจสอบย้อนหลังพบว่า นายบวรศักดิ์ เคยกล่าวไว้ ในปี 2542 ว่า “หากเกิดปัญหา ห้วงเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้น ผู้ที่จะมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจก็คือศาลรัฐธรรมนูญนั่นเองในทางกฎหมาย แต่ในเวลาเดียวกัน ในทางการเมือง องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ย่อมมีอำนาจและเอกสิทธิ์ ที่จะพิจารณาการวินิจฉัยเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยเจตนารมย์ ของรัฐธรรมนูญ หากเห็นว่ามีคำวินิจฉัยไปในทางขยายเขตอำนาจของตน จนทำลายเขตอำนาจของศาลและองค์กรอื่น องค์กรเหล่านั้นย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิและอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะดำเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” จึงเห็นได้ว่าคำกล่าวของนายบวรศักดิ์ ขัดแย้งกันเอง และมีความมุ่งหมายแสดงความรับรู้การใช้อำนาจตามอำเภอใจ และยกสถานะของศาลรัฐธรรมนูญให้เหนือองค์กรอื่น เป็นการสถาปนาอำนาจตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นรัฎฐาธิปัตย์
ประการที่ 6 จากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ทำข้อเสนออ้างว่าเป็นทางออกประเทศไทย พร้อมกับอวดอ้างว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดกับสถานการณ์ในขณะนี้ แต่กลับเสนอวิธีการโดยไม่มีกฎหมายรองรับ โดยเฉพาะการให้นายกรัฐมนตรีและคณะลาออก ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ แท้จริงแล้วเป็นการปูทางหรือสนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษางดใช้มาตรา 181 ดังนั้นความมุ่งหมายแท้จริงของนายอภิสิทธิ์ มีอย่างเดียวคือ การโน้มน้าวชักจูง ให้ประชาชนหลงเชื่อ โดยเข้าใจผิดไปว่าสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะพิพากษาให้เกิดสุญญากาศนั้นเป็นความเหมาะสมที่สามารถกระทำได้ ฉะนั้นแท้จริงแล้วคือ 1 ในกระบวนการที่ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และที่สำคัญเป็นการฝ่าฝืนการกระทำนอกรัฐธรรมนูญ
ศอ.รส.จึงขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีอย่างตรงไปตรงมา เป็นไปตามบทบัญญัติ โดยยึดถือจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญและคำถวายสัตย์ปฎิญญาณที่ได้ให้ไว้ต่อพระมหากษัตริย์ ก่อนเข้ารับหน้าที่และขอให้กลุ่มนักวิชาการและนายอภิสิทธิ์ ที่สนับสนุนแนวทางให้เกิดสูญญากาศ ยุติบทบาทการแสดงความเห็นในประเด็นที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ศอ.รส.ไม่มีเจตนาก้าวล่วงหรือกดดันการพิจารณาแต่อย่างใด
แต่ขณะนี้มีกลุ่มมวลชนจำนวนมากทั้งสองฝ่ายกำลังรอคอยผลการพิจารณาซึ่งหากคำพิพากษาไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ย่อมเกิดความไม่พอใจและขยายตัวในวงกว้าง เกิดการใช้กำลังเข้าปะทะกัน โดยแถลงการณ์ครั้งนี้เป็นการป้องกันระงับยับยั้งโดยแก้ไขบรรเทาเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตามภารกิจที่ไม่สามารถละเลยได้
อย่างไรก็ตามแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นความเห็นและการดำเนินการของ ศอ.รส. โดยไม่ได้ขอให้ฝ่ายทหารร่วมมีความเห็นและดำเนินการด้วย
ปชช.อย่างผมไม่เชื่อถือคำตัดสินศาล รธน.ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ว่าจะตัดสินด้วยความสุจริตใจ ไม่เอียง พฤติกรรมที่ว่า..
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ป มโกงสอบ ขรก.ศาล รธน. ที่มีคลิป3ตอน ....ทุกวันนี้เรื่องเงียบ ตกลงถ้าเป็นเรื่องพวกตัวเก็บเงียบใช่ไหม
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ กรณี ตลก ให้ลูกลาเรียนเมืองนอก เซ็นคำสั่งอนุมัติเงินเดือนให้ลูกขณะไปเรียนเมืองนอก
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ที่หาข้อกฏหมายทั้งในกฏหมายแพ่ง และอาญาเอาผิดนายกฯสมัครไม่ได้ เลยไปเอาพจนานุกรมมาตัดสินแทนกฏหมาย
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ตลก ไปสอนหนังสือเหมือนนายกสมัคร แต่ตัวเองไม่ผิดทั้งที่ได้รับเงินค่าจ้างเหมือน
พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญ ตลก บางคนไปรวมหัวกันที่บ้านนายปีย์ วางแผนก่อกบฎยึดอำนาจ ปชช. เมื่อปี49
การตัดสินคดี ย้ายถวิลวันนี้ เห็นชัดว่า ศาลไม่พูดถึง กรณีที่นายกฯเบิกความไว้ว่า อำนาจนายกฯคนเดียวไม่สามารถแต่งตั้ง ผบ.ตรได้ หาก คณะกรรมการ ก.ต.ช. ไม่อนุมัติ นายกฯก็ไม่สามารถแต่งตั้งได้ ดั่งกรณี สมัยม๊ากแหล เสนอชื่อ พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ แต่ คณะกรรมการ ก.ต.ช. ไม่เอาด้วย ประทีปจึงไม่ได้เป็น ผบ.ตร สุดท้าย กรรมการ ก.ต.ช. ก็เลือก พล.ต.อ วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดังนั้น ตำแหน่งนายฯ ไม่สามารถแต่งตั้ง ผบ.ตร ได้เลย หาก คณะกรรมการ ก.ต.ช. ไม่อนุมัติเห็นชอบ
สุดท้ายคือพฤติกรรม ตามที่ นายธาริตกล่าวไว้เมื่อวานดังนี้ รวมแล้วหลายเรื่องมากมายที่ทำให้ ปชช.อย่างผม ไม่เชื่อถือน้ำคำศาล รธน. ตลก ชุดนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1399370485&grpid=03&catid=&subcatid=
"ศอ.รส."ดับเครื่องชน!! แถลงการณ์ฉบับ3 แฉกลุ่มบุคคลมุ่งให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ หรือ ศอ.รส. ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 3 เรื่องข้อเรียกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และกลุ่มผู้สนับสนุนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย จากการประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน มีข้อมูลบ่งชี้ได้ว่าจะเกิดความรุนแรงและเหตุร้ายขึ้น ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือการวินิจฉัยขององค์กร 2 องค์กร ตามรัฐธรรมนูญ คือ คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ
ดังที่ ศอ.รส. ได้มีแถลงการณ์ฉบับที่ 1 และ 2 เสนอข้อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำเนินการในแนวทาง ประการที่ 1 ในการใช้อำนาจวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ยังคงใช้วิธีพิจารณาและทำคำวินิจฉัยตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดขึ้นเอง ทั้งๆที่ รัฐธรรมนูญ กำหนดให้ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ วันที่ 24 สิงหาคม 2550 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยดำเนินการให้มี ตรา พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ในรูปแบบของกฎหมายจึงทำให้สาธารณชน เกิดความสับสนต่อการทำหน้าที่ ว่าเป็นไปตามหลักยุติธรรม และถูกต้องตามหลักความยุติธรรมหรือไม่ และอาจส่งผลให้การวินิจฉัยคดีไม่มีมาตรฐานขาดคความชัดเจนเพราะไม่มีกรอบในการใช้อำนาจ
ประการที่ 2 จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา มักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ว่ามีปัญหาในเรื่องความยุติธรรม หลายคดีวินิจฉัยก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่นโดยไม่มีอำนาจ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมในหลายๆคดี อาทิ “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการสืบพยานในคดีอุ้มฆ่านาย โมฮัมหมัด อัลลูไวรี่” / ”คำวินิจฉัยกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา” และ “คำวินิจฉัยกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557” รวมทั้ง “กรณีเงินกู้ 2 ล้านล้าน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”
ประการที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะวินิจฉัยคำร้องขอให้การเป็นรัฐมนตรี ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ้นสุดลง จากการตรวจสอบพบว่าศาลรัฐธรรมนูญ ได้เคยมีคำวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดลง กรณีเป็นลูกจ้างโดยไม่ได้อ้างกฎหมายแต่อ้างพจนานุกรมและวินิจฉัยว่านายสมัคร กระทำผิด ตามมาตรา 267 เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่ง ดังนั้นคำร้องทั้งสองกรณีมีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นที่น่าสังเกตุว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านางสาวยิ่งลักษณ์ กระทำฝ่าฝืนตามมาตรา 266 และ 268 คำวินิจฉัยก็ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ซึ่งหากผลแตกต่างกันจะทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการขาดมาตรฐานและน่าเชื่อถือ
ประการที่ 4 ศอ.รส. มีการข่าวพบว่ามีความพยายามของกลุ่มบุคคลที่สนับสนุน แนวทางให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เรียกร้องให้การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีของนางสาวยิ่งลักษณ์ เกินเลยไปกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ถึงขั้นยกเว้นการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อาทิ มาตรา 181 ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่สามารถกระทำได้
ประการที่ 5 จากกรณีที่มี่นักวิชาการ คือนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้กล่าวอภิปรายในโครงการสัมมนาทางวิชาการวาระครบรอบ 16 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ มีความตอนหนึ่งว่า “ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายผูกพันทุกองค์กร ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล” คำอภิปรายนี้มีความมุ่งหมายที่จะแสดงความชอบธรรม มีอำนาจที่จะควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง แม้ว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจไว้ และเป็นการยืนกรานให้องค์กรอื่นต้องเคารพคำวินิจฉัยนั้น ทั้งนี้จากการตรวจสอบย้อนหลังพบว่า นายบวรศักดิ์ เคยกล่าวไว้ ในปี 2542 ว่า “หากเกิดปัญหา ห้วงเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญขึ้น ผู้ที่จะมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจก็คือศาลรัฐธรรมนูญนั่นเองในทางกฎหมาย แต่ในเวลาเดียวกัน ในทางการเมือง องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ย่อมมีอำนาจและเอกสิทธิ์ ที่จะพิจารณาการวินิจฉัยเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยเจตนารมย์ ของรัฐธรรมนูญ หากเห็นว่ามีคำวินิจฉัยไปในทางขยายเขตอำนาจของตน จนทำลายเขตอำนาจของศาลและองค์กรอื่น องค์กรเหล่านั้นย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิและอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะดำเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” จึงเห็นได้ว่าคำกล่าวของนายบวรศักดิ์ ขัดแย้งกันเอง และมีความมุ่งหมายแสดงความรับรู้การใช้อำนาจตามอำเภอใจ และยกสถานะของศาลรัฐธรรมนูญให้เหนือองค์กรอื่น เป็นการสถาปนาอำนาจตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นรัฎฐาธิปัตย์
ประการที่ 6 จากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ทำข้อเสนออ้างว่าเป็นทางออกประเทศไทย พร้อมกับอวดอ้างว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดกับสถานการณ์ในขณะนี้ แต่กลับเสนอวิธีการโดยไม่มีกฎหมายรองรับ โดยเฉพาะการให้นายกรัฐมนตรีและคณะลาออก ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ แท้จริงแล้วเป็นการปูทางหรือสนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษางดใช้มาตรา 181 ดังนั้นความมุ่งหมายแท้จริงของนายอภิสิทธิ์ มีอย่างเดียวคือ การโน้มน้าวชักจูง ให้ประชาชนหลงเชื่อ โดยเข้าใจผิดไปว่าสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะพิพากษาให้เกิดสุญญากาศนั้นเป็นความเหมาะสมที่สามารถกระทำได้ ฉะนั้นแท้จริงแล้วคือ 1 ในกระบวนการที่ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และที่สำคัญเป็นการฝ่าฝืนการกระทำนอกรัฐธรรมนูญ
ศอ.รส.จึงขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีอย่างตรงไปตรงมา เป็นไปตามบทบัญญัติ โดยยึดถือจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญและคำถวายสัตย์ปฎิญญาณที่ได้ให้ไว้ต่อพระมหากษัตริย์ ก่อนเข้ารับหน้าที่และขอให้กลุ่มนักวิชาการและนายอภิสิทธิ์ ที่สนับสนุนแนวทางให้เกิดสูญญากาศ ยุติบทบาทการแสดงความเห็นในประเด็นที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสาธารณชน ทั้งนี้ ศอ.รส.ไม่มีเจตนาก้าวล่วงหรือกดดันการพิจารณาแต่อย่างใด
แต่ขณะนี้มีกลุ่มมวลชนจำนวนมากทั้งสองฝ่ายกำลังรอคอยผลการพิจารณาซึ่งหากคำพิพากษาไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ย่อมเกิดความไม่พอใจและขยายตัวในวงกว้าง เกิดการใช้กำลังเข้าปะทะกัน โดยแถลงการณ์ครั้งนี้เป็นการป้องกันระงับยับยั้งโดยแก้ไขบรรเทาเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตามภารกิจที่ไม่สามารถละเลยได้
อย่างไรก็ตามแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นความเห็นและการดำเนินการของ ศอ.รส. โดยไม่ได้ขอให้ฝ่ายทหารร่วมมีความเห็นและดำเนินการด้วย