เมื่อวันที่ 21 เม.ย. นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 2 เรื่อง “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายที่ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมเสียเอง ศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่” โดยมีใจความสำคัญดังนี้
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นคำวินิจฉัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความยุติธรรม และหลายคดีศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดีโดยได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่นโดยไม่มีอำนาจ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่อาจนำมาสนับสนุนความเห็นที่ว่า การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ดำเนินการไปโดยความยุติธรรม คือ การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับหรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคหก ได้บัญญัติไว้ให้ วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญประกอบกับมาตรา 300 วรรคห้า และบทเฉพาะกาล มาตรา 300 วรรคห้า ได้บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 7 ปี แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังละเลยที่จะดำเนินการเพื่อให้มีกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ ยังได้นำเอาข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้กำหนดขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียวมาใช้ในการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยเรื่อยมาทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ใช้ข้อกำหนดนั้นได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เท่านั้น
ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมานี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรมไม่อาจที่จะมองข้าม การพิจารณาคดีจะต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับประชาชน กฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรที่มีความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตยนั่นก็คือจะต้องมีการตราขึ้นเป็นกฎหมายโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่ศาลเป็นผู้กำหนดเอง
นับแต่เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับไปแล้วกว่า 350 เรื่อง แยกเป็นที่ทำในรูปคำวินิจฉัยกว่า 92 เรื่อง และที่ทำเป็นคำสั่งอีกกว่า 258 เรื่อง และการละเลยต่อหลักการดังกล่าวข้างต้นของศาลรัฐธรรมนูญ ได้ส่งผลทำให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญ บิดเบี้ยว ขาดความชัดเจนในกระบวนการพิจารณา เพราะไม่มีกรอบแห่งการใช้อำนาจ
ดังจะเห็นได้จากกรณีเหล่านี้ เช่น 1.ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาในแต่ละประเภทคดีไว้อย่างชัดเจน ส่งผลทำให้กระบวนการพิจารณาและการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในบางคดีได้กระทำไปด้วยความรีบเร่งผิดปกติ 2.การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ยังไม่มีความชัดเจนว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคสอง ได้กำหนดไว้ หรือไม่ เพียงใด และ 3.ไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนในราชกิจจานุเบกษา ส่งผลทำให้บางคดีมีการอ่านคำวินิจฉัยไปแล้วหลายเดือนแต่คำวินิจฉัยกลางยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคสาม กำหนดไว้
การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือการพิจารณาวินิจฉัยคดีที่กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับรวมทั้งการละเลยต่อกระบวนการหรือวิธีพิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาย่อมมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมเสียเองและอาจทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1398078994&grpid=&catid=01&subcatid=0100
อุกฤษ ร่อนจดหมายเปิดผนึก เมื่อศาลรธน.ฝ่าฝืนหลักนิติธรรม ก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
เมื่อวันที่ 21 เม.ย. นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 2 เรื่อง “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายที่ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมเสียเอง ศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่” โดยมีใจความสำคัญดังนี้
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมา ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นคำวินิจฉัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความยุติธรรม และหลายคดีศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดีโดยได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่นโดยไม่มีอำนาจ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่อาจนำมาสนับสนุนความเห็นที่ว่า การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ดำเนินการไปโดยความยุติธรรม คือ การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับหรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคหก ได้บัญญัติไว้ให้ วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญประกอบกับมาตรา 300 วรรคห้า และบทเฉพาะกาล มาตรา 300 วรรคห้า ได้บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 7 ปี แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังละเลยที่จะดำเนินการเพื่อให้มีกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ ยังได้นำเอาข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้กำหนดขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียวมาใช้ในการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยเรื่อยมาทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ใช้ข้อกำหนดนั้นได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เท่านั้น
ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมานี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรมไม่อาจที่จะมองข้าม การพิจารณาคดีจะต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับประชาชน กฎเกณฑ์หรือกติกาว่าด้วยวิธีพิจารณาดังกล่าวจะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรที่มีความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตยนั่นก็คือจะต้องมีการตราขึ้นเป็นกฎหมายโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่ศาลเป็นผู้กำหนดเอง
นับแต่เมื่อพ้นระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับไปแล้วกว่า 350 เรื่อง แยกเป็นที่ทำในรูปคำวินิจฉัยกว่า 92 เรื่อง และที่ทำเป็นคำสั่งอีกกว่า 258 เรื่อง และการละเลยต่อหลักการดังกล่าวข้างต้นของศาลรัฐธรรมนูญ ได้ส่งผลทำให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญ บิดเบี้ยว ขาดความชัดเจนในกระบวนการพิจารณา เพราะไม่มีกรอบแห่งการใช้อำนาจ
ดังจะเห็นได้จากกรณีเหล่านี้ เช่น 1.ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาในแต่ละประเภทคดีไว้อย่างชัดเจน ส่งผลทำให้กระบวนการพิจารณาและการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในบางคดีได้กระทำไปด้วยความรีบเร่งผิดปกติ 2.การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ยังไม่มีความชัดเจนว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคสอง ได้กำหนดไว้ หรือไม่ เพียงใด และ 3.ไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนในราชกิจจานุเบกษา ส่งผลทำให้บางคดีมีการอ่านคำวินิจฉัยไปแล้วหลายเดือนแต่คำวินิจฉัยกลางยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคสาม กำหนดไว้
การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือการพิจารณาวินิจฉัยคดีที่กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับรวมทั้งการละเลยต่อกระบวนการหรือวิธีพิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาย่อมมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมเสียเองและอาจทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1398078994&grpid=&catid=01&subcatid=0100