หมายเหตุ - นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ ?มติชน? โดยวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมแนวทางปฏิรูปองค์กรอิสระภายหลังเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ตรงไปตรงมา
องค์กรอิสระทั้งหลายควรจะเปิดใจรับฟัง ไม่อยากให้มองรัฐบาลเป็นศัตรู หรือเป็นรัฐบาลที่ไม่พึงประสงค์ เชื่อว่าท่านรู้ว่าหากวินิจฉัยเรื่องนี้ ออกมาจะเกิดสิ่งใดขึ้น ท่านก็เข้าใจดีว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว องค์กรของท่านก็จะอยู่ลำบากเหมือนกัน?
ประเมินสถานการณ์การเมืองภายในประเทศนับจากนี้ไปจะออกมาเป็นอย่างไรท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองเช่นนี้
สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะคำวินิจฉัยกรณีสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ไม่เป็นธรรม ส่วนตัวดูแล้วรู้สึกว่ามีแนวโน้มที่ทุกคนเข้าใจดีว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นการทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยนายกรัฐมนตรีอาจจะต้องพ้นสภาพจากการทำหน้าที่รักษาการเพราะหากศาลจะยกคำร้องก็อาจจะต้องยกคำร้องตั้งแต่แรกแล้ว ฉะนั้นอะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย แม้แต่การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็วินิจฉัยว่าแม้เพียงเขตเลือกตั้งเดียวที่ไม่สามารถเปิดรับสมัครและลงคะแนนได้ก็ถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกัน เป็นเหมือนการขยายและตีความรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ใช้อำนาจทางกระบวนการยุติธรรมหรืออำนาจขององค์กรอิสระ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่ออันตราย หากมีการวินิจฉัยว่าให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง ก็เชื่อว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็คงจะไม่ยอมหากว่ารัฐบาลชุดนี้จะต้องพ้นไป แต่คงไปดำเนินการกับคำวินิจฉัยไม่ได้ เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปเพราะอาจจะเป็นเรื่องใหญ่มาก เมื่อไม่มีรัฐบาลมาบริหารงานในช่วงยุบสภา แน่นอนว่าอาจจะมีการพระราชทานรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 หรือไม่ หรือถ้ามาตรา 7 ไปไม่ถึง อาจจะต้องมีการใช้กำลังทหารเข้ามาทำปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่
มีความเป็นห่วงหรือกังวลต่อสถานการณ์การเมืองอย่างไร มีแนวโน้มส่อเค้ารุนแรงหรือไม่
มีความเป็นห่วง หากว่ามีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์กัน โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังคือการใช้กำลังต่อสู้กัน ซึ่งอาจจะเป็นกำลังในลักษณะแบบม็อบชนม็อบ หรือว่าจะเป็นในลักษณะทหารเข้าปราบหรือไม่ ซึ่งทุกอย่างมันก็จะวนไปเหมือนกับเหตุการณ์ปี 2553 สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในช่วงเวลานี้รัฐบาลอาจจะถูกปราบเสียเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอันตราย หากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นโดยไม่รู้ว่าจะยุติได้โดยใคร เหตุการณ์ข้างหน้าผู้ที่สามารถบงการและคุมเกมประเทศไทยได้ คิดหรือไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้และจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใด
แนวทางที่คิดว่าจะเป็นทางออกของประเทศในการยุติความขัดแย้งควรเป็นอย่างไร
สิ่งที่เกิดขึ้นมา เราก็ชอบพูดกันเสมอว่าต้องเจรจากัน โดยอ้างว่าการเจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ส่วนตัวมองว่าการเจรจาเป็นเรื่องยาก เพราะอำนาจรัฐเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการเป็นอย่างมาก การได้มาซึ่งอำนาจรัฐจะด้วยวิธีการประชาธิปไตยหรือจากการใช้กำลังก็สามารถทำได้ ถ้าจะเกิดการใช้กำลังและให้ไปสู่การได้มาซึ่งอำนาจรัฐก็เชื่อว่าประเทศไทยจะไม่มีความสงบ เพราะกว่าจะยุติเหตุการณ์เหล่านี้ได้ ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก บ้านเมืองก็จะย่อยยับเหมือนประเทศต่างๆ ที่มีความรุนแรงถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน ด้วยเหตุนี้อาจจะทำให้ต่างประเทศต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารงานในประเทศได้ ดังนั้น เมื่อเจรจากันไม่ได้ และการใช้กำลังอาจนำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น ก็คงจะต้องเชิญหรือดึงนานาชาติเข้ามาหารือร่วมพูดคุย เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า อีกทั้งประเทศไทยไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว หลายๆ ประเทศไม่อยากเห็นประเทศไทยเรากลับไปสู่จุดที่เรียกว่าศูนย์ หรือตกต่ำลงเพราะความขัดแย้งทางการเมือง การให้ประเทศต่างๆ เข้ามารับรู้ปัญหาและมาช่วยหาแนวทางเพื่อทำให้ประเทศเดินไปสู่ทางออกของความขัดแย้ง ทำให้เหตุการณ์ทุกอย่างดีขึ้นได้ ก็ควรจะทำกัน
มีความเห็นอย่างไรในกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องวินิจฉัยสถานภาพ เนื่องจากเป็นคำวินิจฉัยที่ขาดความเป็นสากลในเรื่องหลักนิติธรรม
ส่วนตัวไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด แต่การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ไม่ได้หมายความว่าไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพียงแต่มีความหมายว่าต้องการขอความเป็นธรรมจากศาลในฐานะที่เป็นองค์กรผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดความสงบ ซึ่งส่วนตัวเมื่อมีการขอความเป็นธรรม ก็มองว่าองค์กรอิสระทั้งหลายควรจะเปิดใจรับฟัง ไม่อยากให้มองรัฐบาลเป็นศัตรู หรือเป็นรัฐบาลที่ไม่พึงประสงค์ เชื่อว่าท่านรู้ว่าหากวินิจฉัยเรื่องนี้ออกมาจะเกิดสิ่งใดขึ้น ท่านก็เข้าใจดีว่า เมื่อเกิดขึ้นแล้ว องค์กรของท่านก็จะอยู่ลำบากเหมือนกัน
เปรียบเหมือนคนกำลังถูกเอาปืนมาจ่อยิงที่หัวก็ต้องร้องขอชีวิต ว่าฉันทำอะไรผิด ขอความเป็นธรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่านายกฯ หรือบุคคลทั่วไป เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ เมื่อภัยกำลังจะเกิดกับตัวเอง ก็จำเป็นต้องร้องขอความเป็นธรรม ขอความยุติธรรม ส่วนตัวดูแล้วนายกฯและบุคคลรอบตัวไม่ได้ต้องการข่มขู่องค์กรอิสระ เพียงแต่ขอให้วินิจฉัยด้วยความเท่าเทียมเหมือนกันทุกฝ่าย
ในฐานะอดีตผู้พิพากษามองอย่างไรกับข้อเสนอให้มีการปฏิรูปองค์กรอิสระ เนื่องจากมีหลายฝ่ายเกิดการไม่ยอมรับอำนาจของกลุ่มเหล่านี้
องค์กรอิสระมาจากบุคคลที่ทำหน้าที่สรรหาเพียงไม่กี่คนเท่านั้น เพราะฉะนั้นการปฏิรูปองค์กรอิสระ ต้องดูว่าการเข้ามาดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการหรือศาล ควรต้องมีการปฏิรูปกันใหม่หรือไม่ ควรจะยึดโยงเสียงของประชาชนหรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเลือกตั้งในตำแหน่งประธานศาลฎีกา อัยการ ประเทศเขาเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมคัดเลือก ดังนั้นประเทศไทยเราก็น่าจะมีการปฏิรูปบุคคลที่จะเข้ามาเป็นองค์กรอิสระ โดยมาจากการเลือกตั้ง เพราะดูแล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วมในการเลือกบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ มากกว่าเป็นการสรรหาจากบุคคลเพียง 5-6 คนเท่านั้น และเมื่อประชาชนเป็นผู้เลือกก็น่าจะเป็นการได้รับฉันทามติจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่ทำให้ผู้มีอิทธิพลเบื้องหลังเข้ามายุ่งเกี่ยวได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397308985&grpid=&catid=01&subcatid=0100
สดศรี สัตยธรรม แนะปฏิรูปองค์กรอิสระ-ยึดโยงประชาชน
หมายเหตุ - นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ ?มติชน? โดยวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมแนวทางปฏิรูปองค์กรอิสระภายหลังเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ตรงไปตรงมา
องค์กรอิสระทั้งหลายควรจะเปิดใจรับฟัง ไม่อยากให้มองรัฐบาลเป็นศัตรู หรือเป็นรัฐบาลที่ไม่พึงประสงค์ เชื่อว่าท่านรู้ว่าหากวินิจฉัยเรื่องนี้ ออกมาจะเกิดสิ่งใดขึ้น ท่านก็เข้าใจดีว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว องค์กรของท่านก็จะอยู่ลำบากเหมือนกัน?
ประเมินสถานการณ์การเมืองภายในประเทศนับจากนี้ไปจะออกมาเป็นอย่างไรท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองเช่นนี้
สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะคำวินิจฉัยกรณีสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ไม่เป็นธรรม ส่วนตัวดูแล้วรู้สึกว่ามีแนวโน้มที่ทุกคนเข้าใจดีว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นการทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยนายกรัฐมนตรีอาจจะต้องพ้นสภาพจากการทำหน้าที่รักษาการเพราะหากศาลจะยกคำร้องก็อาจจะต้องยกคำร้องตั้งแต่แรกแล้ว ฉะนั้นอะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย แม้แต่การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ก็วินิจฉัยว่าแม้เพียงเขตเลือกตั้งเดียวที่ไม่สามารถเปิดรับสมัครและลงคะแนนได้ก็ถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นวันเลือกตั้งวันเดียวกัน เป็นเหมือนการขยายและตีความรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ใช้อำนาจทางกระบวนการยุติธรรมหรืออำนาจขององค์กรอิสระ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่ออันตราย หากมีการวินิจฉัยว่าให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง ก็เชื่อว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็คงจะไม่ยอมหากว่ารัฐบาลชุดนี้จะต้องพ้นไป แต่คงไปดำเนินการกับคำวินิจฉัยไม่ได้ เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปเพราะอาจจะเป็นเรื่องใหญ่มาก เมื่อไม่มีรัฐบาลมาบริหารงานในช่วงยุบสภา แน่นอนว่าอาจจะมีการพระราชทานรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 หรือไม่ หรือถ้ามาตรา 7 ไปไม่ถึง อาจจะต้องมีการใช้กำลังทหารเข้ามาทำปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่
มีความเป็นห่วงหรือกังวลต่อสถานการณ์การเมืองอย่างไร มีแนวโน้มส่อเค้ารุนแรงหรือไม่
มีความเป็นห่วง หากว่ามีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์กัน โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังคือการใช้กำลังต่อสู้กัน ซึ่งอาจจะเป็นกำลังในลักษณะแบบม็อบชนม็อบ หรือว่าจะเป็นในลักษณะทหารเข้าปราบหรือไม่ ซึ่งทุกอย่างมันก็จะวนไปเหมือนกับเหตุการณ์ปี 2553 สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในช่วงเวลานี้รัฐบาลอาจจะถูกปราบเสียเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอันตราย หากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นโดยไม่รู้ว่าจะยุติได้โดยใคร เหตุการณ์ข้างหน้าผู้ที่สามารถบงการและคุมเกมประเทศไทยได้ คิดหรือไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้และจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใด
แนวทางที่คิดว่าจะเป็นทางออกของประเทศในการยุติความขัดแย้งควรเป็นอย่างไร
สิ่งที่เกิดขึ้นมา เราก็ชอบพูดกันเสมอว่าต้องเจรจากัน โดยอ้างว่าการเจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ส่วนตัวมองว่าการเจรจาเป็นเรื่องยาก เพราะอำนาจรัฐเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการเป็นอย่างมาก การได้มาซึ่งอำนาจรัฐจะด้วยวิธีการประชาธิปไตยหรือจากการใช้กำลังก็สามารถทำได้ ถ้าจะเกิดการใช้กำลังและให้ไปสู่การได้มาซึ่งอำนาจรัฐก็เชื่อว่าประเทศไทยจะไม่มีความสงบ เพราะกว่าจะยุติเหตุการณ์เหล่านี้ได้ ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก บ้านเมืองก็จะย่อยยับเหมือนประเทศต่างๆ ที่มีความรุนแรงถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน ด้วยเหตุนี้อาจจะทำให้ต่างประเทศต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารงานในประเทศได้ ดังนั้น เมื่อเจรจากันไม่ได้ และการใช้กำลังอาจนำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น ก็คงจะต้องเชิญหรือดึงนานาชาติเข้ามาหารือร่วมพูดคุย เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า อีกทั้งประเทศไทยไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว หลายๆ ประเทศไม่อยากเห็นประเทศไทยเรากลับไปสู่จุดที่เรียกว่าศูนย์ หรือตกต่ำลงเพราะความขัดแย้งทางการเมือง การให้ประเทศต่างๆ เข้ามารับรู้ปัญหาและมาช่วยหาแนวทางเพื่อทำให้ประเทศเดินไปสู่ทางออกของความขัดแย้ง ทำให้เหตุการณ์ทุกอย่างดีขึ้นได้ ก็ควรจะทำกัน
มีความเห็นอย่างไรในกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องวินิจฉัยสถานภาพ เนื่องจากเป็นคำวินิจฉัยที่ขาดความเป็นสากลในเรื่องหลักนิติธรรม
ส่วนตัวไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด แต่การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ไม่ได้หมายความว่าไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพียงแต่มีความหมายว่าต้องการขอความเป็นธรรมจากศาลในฐานะที่เป็นองค์กรผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดความสงบ ซึ่งส่วนตัวเมื่อมีการขอความเป็นธรรม ก็มองว่าองค์กรอิสระทั้งหลายควรจะเปิดใจรับฟัง ไม่อยากให้มองรัฐบาลเป็นศัตรู หรือเป็นรัฐบาลที่ไม่พึงประสงค์ เชื่อว่าท่านรู้ว่าหากวินิจฉัยเรื่องนี้ออกมาจะเกิดสิ่งใดขึ้น ท่านก็เข้าใจดีว่า เมื่อเกิดขึ้นแล้ว องค์กรของท่านก็จะอยู่ลำบากเหมือนกัน
เปรียบเหมือนคนกำลังถูกเอาปืนมาจ่อยิงที่หัวก็ต้องร้องขอชีวิต ว่าฉันทำอะไรผิด ขอความเป็นธรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่านายกฯ หรือบุคคลทั่วไป เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ เมื่อภัยกำลังจะเกิดกับตัวเอง ก็จำเป็นต้องร้องขอความเป็นธรรม ขอความยุติธรรม ส่วนตัวดูแล้วนายกฯและบุคคลรอบตัวไม่ได้ต้องการข่มขู่องค์กรอิสระ เพียงแต่ขอให้วินิจฉัยด้วยความเท่าเทียมเหมือนกันทุกฝ่าย
ในฐานะอดีตผู้พิพากษามองอย่างไรกับข้อเสนอให้มีการปฏิรูปองค์กรอิสระ เนื่องจากมีหลายฝ่ายเกิดการไม่ยอมรับอำนาจของกลุ่มเหล่านี้
องค์กรอิสระมาจากบุคคลที่ทำหน้าที่สรรหาเพียงไม่กี่คนเท่านั้น เพราะฉะนั้นการปฏิรูปองค์กรอิสระ ต้องดูว่าการเข้ามาดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการหรือศาล ควรต้องมีการปฏิรูปกันใหม่หรือไม่ ควรจะยึดโยงเสียงของประชาชนหรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเลือกตั้งในตำแหน่งประธานศาลฎีกา อัยการ ประเทศเขาเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมคัดเลือก ดังนั้นประเทศไทยเราก็น่าจะมีการปฏิรูปบุคคลที่จะเข้ามาเป็นองค์กรอิสระ โดยมาจากการเลือกตั้ง เพราะดูแล้วน่าจะเป็นการส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วมในการเลือกบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ มากกว่าเป็นการสรรหาจากบุคคลเพียง 5-6 คนเท่านั้น และเมื่อประชาชนเป็นผู้เลือกก็น่าจะเป็นการได้รับฉันทามติจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่ทำให้ผู้มีอิทธิพลเบื้องหลังเข้ามายุ่งเกี่ยวได้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1397308985&grpid=&catid=01&subcatid=0100