เบื่อ...เบื่อ...เบื่อ....
วันนี้ขอนำเสนออรรถศาสตร์ (Semantics)
ว่าด้วยเรื่องความหมายของคำว่า ‘เบื่อ’ ครับ
คำว่า ‘เบื่อ’ นี้ ถือเป็นสะพานเชื่อมต่อดวงจิต
ไปสู่ความดีและความไม่ดีทั้งปวง
แต่ไม่จัดเป็นรากเหง้าของความดีหรือความไม่ดี
เพราะเป็นสภาวะของจิตดวงหนึ่งที่ได้รับ...
ผลพวงมาจากจิตอีกดวงหนึ่งครับ
"เบื่อ" ในที่นี้ มีความหมาย ๒ ลักษณะ
คือ เบื่อร้าย กับ เบื่อดี,
ในอาการเบื่อทั้งสองนั้น ถ้าเป็นอาการเบื่อที่เราชอบพูดว่า
เซ็งเป็ด, เหงา, เศร้าสร้อย, พวกนี้จัดเป็น “เบื่อร้าย”
ต้นตอบ่อเกิดของความเบื่อพวกนี้
เกิดจากจิต ๓ ดวงนี้เป็นหลักเลยครับ
นั่นก็คือ ๑.ปฏิฆสัมยุตตจิต คือ
จิตที่มีความโกรธ ความไม่พอใจ หรือความเสียใจ
๒. วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต จิตที่มีความลังเลสงสัย
และ ๓. อุทธัจจสัมปยุตตจิต จิตที่มีความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด
รำคาญใจ พูดง่ายว่า อาการเซ็งนั่นแหละครับ
จิต ๓ ดวงนี้ทางอภิธรรมเรียกว่า “ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต” ครับ
เบื่อร้ายนี้เป็นตัวบ่อนทำลายความสุขของจิตใจครับ
ทำให้เราเป็นคนขี้หงุดหงิด ขี้เหงา ขี้เศร้า
และขี้น้อยใจ หลายๆ อย่างตามมาครับ
ส่วน “เบื่อดี” ในเป็นความเบื่อที่ตรงกับภาษาบาลีว่า
“นิพฺพิทา” มาจาก นิ + วิท หมายความว่า
รู้จักดีจนอยากจะหนีไปให้พ้นครับ นิ แปลว่า หนี, ออก
ส่วน วิท หมายถึง รู้จัก, เข้าใจ, แจ่มแจ้ง (จุงเบย) ครับ
เบื่อดี นี้จะเห็นตัวอย่างได้จากอาการเบื่อของเจ้าชายสิทธัตถะ
ทรงเบื่อต่อความเป็นคฤหัสถ์แล้วเสด็จออกผนวชครับ
เป็นความเบื่อที่ใครเบื่อแล้วแสดงว่า
เริ่มมองเห็นสะพานทอดไปสู่คุณธรรมชั้นสูงขึ้นไปอีกครับ
ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอาทิตตปริยายสูตรตอนหนึ่งว่า
“ภิกษุทั้งหลายเมื่อเกิดความเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”
ถ้าใครเริ่มเบื่อแบบนี้ก็ต้องขอสาธุ
อนุโมทามิกับความเบื่อของท่าน เป็นอย่างยิ่งเลยครับ
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเรายังคงปุถุชนคนแน่นหนา
(ไม่ใช่ด้วยทรัพย์สินหรอก) ครับ แต่เป็นกิเลส
จึงมีแต่ความเบื่อร้าย เบื่อแบบเหงาๆ เซ็งๆ กันเป็นส่วนมาก
วิธีการแก้ความเบื่อเหล่านี้ ซึ่งจัดเป็นอธรรมที่กั้นมิให้ดวง
จิตผ่องแผ้วหรือมีความสุข (นิวรณธรรม) ก็คือ
ต้องนั่งสมาธิครับ เอาความนิ่งสยบความเซ็งไงล่ะครับ
เมื่อจิตหยุดนิ่ง รับรองว่า ทุกๆ สิ่งจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ครับ
มหาบัณฑิต จาก ม.ปักกิ่ง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้องนัทตี้
เด็กซึ่งมีอะไรที่ดีๆอีกเยอะ
แข่งอะไรในโลกนี้ก็แข่งได้ ( อันนี้จริง )
แข่งบุญวาสนาแข่งยาก ( อันนี้ไม่ค่อยจริง ) ถ้าใครอยากมีบุญวาสนาเท่าคนนั้น คนนี้ หรือเท่าผม หรือมากกว่าผมน้องนัทตี้ ก็แข่งได้ ก็คือ
1. สวดมนต์มากกว่าผม
2. นั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐานมากกว่าผม
3. อ่านหนังสือมากกว่าผม
4. ให้ทาน รักษาศีล ภาวนา มากกว่าผม
ถ้าทำได้มากกว่านี้แล้ว ท่านจะได้รับนิมิต จากสวรรค์ และผลบุญเยอะเลยครับ มีทั้งพรสวรรค์ และพรแสวง จะเก่งในหลายๆด้าน
เบื่อ เบื่อ และเบื่อ ( Boredom )
วันนี้ขอนำเสนออรรถศาสตร์ (Semantics)
ว่าด้วยเรื่องความหมายของคำว่า ‘เบื่อ’ ครับ
คำว่า ‘เบื่อ’ นี้ ถือเป็นสะพานเชื่อมต่อดวงจิต
ไปสู่ความดีและความไม่ดีทั้งปวง
แต่ไม่จัดเป็นรากเหง้าของความดีหรือความไม่ดี
เพราะเป็นสภาวะของจิตดวงหนึ่งที่ได้รับ...
ผลพวงมาจากจิตอีกดวงหนึ่งครับ
"เบื่อ" ในที่นี้ มีความหมาย ๒ ลักษณะ
คือ เบื่อร้าย กับ เบื่อดี,
ในอาการเบื่อทั้งสองนั้น ถ้าเป็นอาการเบื่อที่เราชอบพูดว่า
เซ็งเป็ด, เหงา, เศร้าสร้อย, พวกนี้จัดเป็น “เบื่อร้าย”
ต้นตอบ่อเกิดของความเบื่อพวกนี้
เกิดจากจิต ๓ ดวงนี้เป็นหลักเลยครับ
นั่นก็คือ ๑.ปฏิฆสัมยุตตจิต คือ
จิตที่มีความโกรธ ความไม่พอใจ หรือความเสียใจ
๒. วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต จิตที่มีความลังเลสงสัย
และ ๓. อุทธัจจสัมปยุตตจิต จิตที่มีความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด
รำคาญใจ พูดง่ายว่า อาการเซ็งนั่นแหละครับ
จิต ๓ ดวงนี้ทางอภิธรรมเรียกว่า “ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต” ครับ
เบื่อร้ายนี้เป็นตัวบ่อนทำลายความสุขของจิตใจครับ
ทำให้เราเป็นคนขี้หงุดหงิด ขี้เหงา ขี้เศร้า
และขี้น้อยใจ หลายๆ อย่างตามมาครับ
ส่วน “เบื่อดี” ในเป็นความเบื่อที่ตรงกับภาษาบาลีว่า
“นิพฺพิทา” มาจาก นิ + วิท หมายความว่า
รู้จักดีจนอยากจะหนีไปให้พ้นครับ นิ แปลว่า หนี, ออก
ส่วน วิท หมายถึง รู้จัก, เข้าใจ, แจ่มแจ้ง (จุงเบย) ครับ
เบื่อดี นี้จะเห็นตัวอย่างได้จากอาการเบื่อของเจ้าชายสิทธัตถะ
ทรงเบื่อต่อความเป็นคฤหัสถ์แล้วเสด็จออกผนวชครับ
เป็นความเบื่อที่ใครเบื่อแล้วแสดงว่า
เริ่มมองเห็นสะพานทอดไปสู่คุณธรรมชั้นสูงขึ้นไปอีกครับ
ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในอาทิตตปริยายสูตรตอนหนึ่งว่า
“ภิกษุทั้งหลายเมื่อเกิดความเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”
ถ้าใครเริ่มเบื่อแบบนี้ก็ต้องขอสาธุ
อนุโมทามิกับความเบื่อของท่าน เป็นอย่างยิ่งเลยครับ
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเรายังคงปุถุชนคนแน่นหนา
(ไม่ใช่ด้วยทรัพย์สินหรอก) ครับ แต่เป็นกิเลส
จึงมีแต่ความเบื่อร้าย เบื่อแบบเหงาๆ เซ็งๆ กันเป็นส่วนมาก
วิธีการแก้ความเบื่อเหล่านี้ ซึ่งจัดเป็นอธรรมที่กั้นมิให้ดวง
จิตผ่องแผ้วหรือมีความสุข (นิวรณธรรม) ก็คือ
ต้องนั่งสมาธิครับ เอาความนิ่งสยบความเซ็งไงล่ะครับ
เมื่อจิตหยุดนิ่ง รับรองว่า ทุกๆ สิ่งจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ครับ
มหาบัณฑิต จาก ม.ปักกิ่ง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้องนัทตี้
เด็กซึ่งมีอะไรที่ดีๆอีกเยอะ
แข่งอะไรในโลกนี้ก็แข่งได้ ( อันนี้จริง )
แข่งบุญวาสนาแข่งยาก ( อันนี้ไม่ค่อยจริง ) ถ้าใครอยากมีบุญวาสนาเท่าคนนั้น คนนี้ หรือเท่าผม หรือมากกว่าผมน้องนัทตี้ ก็แข่งได้ ก็คือ
1. สวดมนต์มากกว่าผม
2. นั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐานมากกว่าผม
3. อ่านหนังสือมากกว่าผม
4. ให้ทาน รักษาศีล ภาวนา มากกว่าผม
ถ้าทำได้มากกว่านี้แล้ว ท่านจะได้รับนิมิต จากสวรรค์ และผลบุญเยอะเลยครับ มีทั้งพรสวรรค์ และพรแสวง จะเก่งในหลายๆด้าน