อัตรา "หนี้ครัวเรือน" ต่อจีดีพีที่ก่อตัวสูงขึ้นทุกไตรมาสเมื่อปีก่อนและต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ เป็นประเด็นที่หลายหน่วยงานเศรษฐกิจในประเทศจับตาอย่างใกล้ชิด
"ประชา ชาติธุรกิจ" จึงได้สัมภาษณ์พิเศษ "สุรพล โอภาสเสถียร" ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร หน่วยงานที่คลุกคลีกับตัวเลขหนี้สินภาคครัวเรือนอีกหน่วยหนึ่ง ซึ่งออกโรงเตือนว่า สถานการณ์หนี้สินทั้งในระดับบุคคลและธุรกิจในปัจจุบัน ส่งสัญญาณการก่อตัวของ "สึนามิของระบบการเงินไทย" แล้ว
- สัญญาณอะไรชี้ว่าจะเกิด "สึนามิ"
ตอน นี้เริ่มเห็นการเคลื่อนตัวอย่างรุนแรงของหนี้ ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติ และระลอกคลื่นดังกล่าวจะกลายเป็นสึนามิทางการเงินได้ เมื่อพิจารณาข้อมูลหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2556 อยู่ที่ 9.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 82.3% ของ จีดีพีที่มีอยู่ 11.9 ล้านล้านบาท สูงขึ้นมากจากระดับ 77.3% ณ สิ้นปี 2555
โดยหนี้สินครัวเรือน 9.8 ล้านล้านบาทนี้ แบ่งเป็นหนี้สินเชื่อบ้าน 2.6 ล้านล้านบาท เป็นหนี้สินเชื่อหมุนเวียนค้าขายประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท และอีก 5.7 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ก้อนใหญ่มากจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค หรือกู้ยืมเพื่อกินเพื่อใช้
"เดิมคาดกันว่า หนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2556 จะอยู่ที่ 81% แต่ผลกลับสูงถึง 82.3% ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ เพราะเข้าใกล้จุดวิกฤตที่ระดับ 85% ทุกทีแล้ว ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้คาดกันว่า หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ระดับ 82% น่าจะเกิดขึ้นประมาณปี 2559 และที่น่าห่วงมากขึ้น คือปีนี้เศรษฐกิจไม่ดี ตัวเลขเหล่านี้ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น แล้วเราจะรับไหวหรือไม่ เพราะรายรับรายจ่ายจะตึง กำลังซื้อจะหดตัวเงินจะไม่หมุน และจะส่งผลต่อภาคธุรกิจต่อไปได้"
- หนี้ส่วนไหนน่าห่วงที่สุด
ถ้า วิเคราะห์รายละเอียดหนี้ครัวเรือนในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2557 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยนำบัญชีสินเชื่อบุคคลธรรมดาที่ยังเคลื่อนไหวในระบบเครดิตบูโรที่มีอยู่ 47.06 ล้านบัญชีมาวิเคราะห์ และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มหนี้ดี กลุ่มหนี้เสีย และกลุ่มหนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือ SM พบว่า กลุ่มหนี้ดี ที่ค้างชำระ 1-30 วัน โต 9% หรือมีอยู่ 35.4 ล้านบัญชี ซึ่งถือว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างหวือหวามากนัก
ขณะที่กลุ่มหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลที่ค้างชำระตั้งแต่ 91-180 วัน เพิ่มขึ้น 43% หรือจาก 3.71 แสนบัญชี เป็น 5.30 แสนบัญชี อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เวลานี้อัตราเร่งไม่เร็วมากแล้ว เนื่องจากสถาบันการเงินมีการบริหารจัดการและเข้มงวดมากขึ้น ทั้งการตัดขายหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ โอนไปให้บริษัทตามหนี้ดูแล เป็นต้น
แต่ กลุ่มที่มีอัตราเร่งค่อนข้างเร็ว และต้องติดตามใกล้ชิดคือกลุ่ม SM ที่ค้างชำระตั้งแต่ 31-90 วัน ที่เพิ่มขึ้นถึง 36% มาอยู่ที่ 1.03 ล้านบัญชี จาก 7.54 ล้านบัญชี และกลุ่มนี้ประมาณ 1 ใน 3 จะกลายเป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลในอนาคต
โดยเฉพาะ SM ในกลุ่มสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อยานยนต์ที่เร่งตัวขึ้นสูงมาก โดยสินเชื่อบุคคล เมื่อสิ้นปีที่แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 5.07 หมื่นล้านบาท จากสิ้นปี 2555 อยู่ที่ 3.25 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 56% สินเชื่อ ยานยนต์ เพิ่มเป็น 1.51 แสนล้านบาท จาก 1.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 45%
ดัง นั้น สิ่งที่น่ากังวลต่อจากนี้คือการกู้ยืมของผู้ประกอบการ จากข้อมูลสมาชิกเครดิตบูโรประมาณ 1 ล้านบริษัท หรือ 4.5 ล้านบัญชี และส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีรายเล็ก พบว่ากลุ่มที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือ SM (ค้างชำระตั้งแต่วันแรกถึง 90 วัน) เร่งตัวขึ้นรุนแรงมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ไตรมาส 3/56 ที่ถีบตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 22.19% และเพิ่มต่อเนื่องถึงเดือน ม.ค. 2557 ที่เร่งตัวขึ้นไปอยู่ที่ 45.12% ก่อนจะหักหัวลงมาอยู่ที่ระดับ 34.06% ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า และบริหารจัดการสินเชื่อส่วนนี้มากขึ้น
- ตอนนี้ทั้งเจ้าหนี้-ลูกหนี้ต่างเข้ามาเช็กเครดิตมากขึ้นใช่ไหม
ใช่ ตั้งแต่ปีที่แล้วถึงตอนนี้ สถาบันการเงินเข้ามาขอดูข้อมูลเพื่อนำไปอนุมัติสินเชื่อใหม่จำนวนมาก อย่าง 2 เดือนที่ผ่านมา มีกว่า 2.03 ล้านรายการ หรือเฉลี่ย 1 ล้านรายการต่อเดือน เทียบกับทั้งปี 2556 ที่มีเฉลี่ยเดือนละ 1.2 ล้านรายการ แสดงว่าสถาบันการเงินคัดกรองลูกค้ามากขึ้น และยังเข้ามาตรวจเช็กลูกค้าเก่าสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย 2 เดือนแรกเพิ่มขึ้นถึง 7.11 ล้านรายการ หรือเฉลี่ย 3.56 ล้านรายการต่อเดือน จากปีก่อนเฉลี่ย 1.33 ล้านรายการต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 167.67%
"สถาบัน การเงินต่างประเทศบางแห่งขอดูข้อมูลทุกเดือน สถาบันการเงินไทยส่วนใหญ่ดู 3 เดือนต่อครั้ง สถาบันการเงินของรัฐดู 6-12 เดือนต่อครั้ง เพราะห่วงการเร่งตัวขึ้นของหนี้ จึงเฝ้าแล้วเฝ้าอีก"
- เศรษฐกิจฝืด จะแก้ปัญหาหนี้สินทั้งบุคคล ธุรกิจขนาดเล็กที่พันตัวอย่างไร
ปัญหา ไม่ได้เกิดจากกู้ไม่ได้ แต่เกิดจากเราไม่ออม และยังฝืนใช้จ่ายในระดับที่อยากจะใช้ สุดท้ายจึงต้องพึ่งพาเงินล่วงหน้า และทุกสิ้นเดือนก็ไปทำบุญ 9 แบงก์ คือไปจ่ายหนี้บัตรเครดิต 9 แห่ง เหลือเงินออมแค่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่หักจากบัญชีเงินเดือน ดังนั้น ถ้าอยากแก้ปัญหา ต้องเริ่มออม ถ้าออมในรูปเงินสดไม่ได้ ก็ควรซื้อกองทุน อย่างน้อยเดือนละ 10-20% ของรายได้ เหลือเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น รวยเท่าที่เรามี ไม่ใช่รวยอย่างที่เราอยากจะมี
"ตอนนี้ ระยะห่างของสึนามิยังอีกไกล แต่เราควรรีบตั้งหลักวิ่งขึ้นที่สูงให้ทัน สำรวจตัวเองว่ามีเงินออม มีสภาพคล่องพอไหม เพราะในโลกนี้ไม่มีอัศวินม้าขาว ตนจึงต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน"
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 11 เม.ย. 57
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand
จับเรดาร์ "สึนามิหนี้ครัวเรือน" ยอดค้างจ่ายพุ่งไม่หยุด
"ประชา ชาติธุรกิจ" จึงได้สัมภาษณ์พิเศษ "สุรพล โอภาสเสถียร" ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร หน่วยงานที่คลุกคลีกับตัวเลขหนี้สินภาคครัวเรือนอีกหน่วยหนึ่ง ซึ่งออกโรงเตือนว่า สถานการณ์หนี้สินทั้งในระดับบุคคลและธุรกิจในปัจจุบัน ส่งสัญญาณการก่อตัวของ "สึนามิของระบบการเงินไทย" แล้ว
- สัญญาณอะไรชี้ว่าจะเกิด "สึนามิ"
ตอน นี้เริ่มเห็นการเคลื่อนตัวอย่างรุนแรงของหนี้ ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติ และระลอกคลื่นดังกล่าวจะกลายเป็นสึนามิทางการเงินได้ เมื่อพิจารณาข้อมูลหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2556 อยู่ที่ 9.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 82.3% ของ จีดีพีที่มีอยู่ 11.9 ล้านล้านบาท สูงขึ้นมากจากระดับ 77.3% ณ สิ้นปี 2555
โดยหนี้สินครัวเรือน 9.8 ล้านล้านบาทนี้ แบ่งเป็นหนี้สินเชื่อบ้าน 2.6 ล้านล้านบาท เป็นหนี้สินเชื่อหมุนเวียนค้าขายประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท และอีก 5.7 ล้านล้านบาท เป็นหนี้ก้อนใหญ่มากจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค หรือกู้ยืมเพื่อกินเพื่อใช้
"เดิมคาดกันว่า หนี้ครัวเรือน ณ สิ้นปี 2556 จะอยู่ที่ 81% แต่ผลกลับสูงถึง 82.3% ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ เพราะเข้าใกล้จุดวิกฤตที่ระดับ 85% ทุกทีแล้ว ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้คาดกันว่า หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ระดับ 82% น่าจะเกิดขึ้นประมาณปี 2559 และที่น่าห่วงมากขึ้น คือปีนี้เศรษฐกิจไม่ดี ตัวเลขเหล่านี้ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น แล้วเราจะรับไหวหรือไม่ เพราะรายรับรายจ่ายจะตึง กำลังซื้อจะหดตัวเงินจะไม่หมุน และจะส่งผลต่อภาคธุรกิจต่อไปได้"
- หนี้ส่วนไหนน่าห่วงที่สุด
ถ้า วิเคราะห์รายละเอียดหนี้ครัวเรือนในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2557 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยนำบัญชีสินเชื่อบุคคลธรรมดาที่ยังเคลื่อนไหวในระบบเครดิตบูโรที่มีอยู่ 47.06 ล้านบัญชีมาวิเคราะห์ และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มหนี้ดี กลุ่มหนี้เสีย และกลุ่มหนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือ SM พบว่า กลุ่มหนี้ดี ที่ค้างชำระ 1-30 วัน โต 9% หรือมีอยู่ 35.4 ล้านบัญชี ซึ่งถือว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างหวือหวามากนัก
ขณะที่กลุ่มหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลที่ค้างชำระตั้งแต่ 91-180 วัน เพิ่มขึ้น 43% หรือจาก 3.71 แสนบัญชี เป็น 5.30 แสนบัญชี อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เวลานี้อัตราเร่งไม่เร็วมากแล้ว เนื่องจากสถาบันการเงินมีการบริหารจัดการและเข้มงวดมากขึ้น ทั้งการตัดขายหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ โอนไปให้บริษัทตามหนี้ดูแล เป็นต้น
แต่ กลุ่มที่มีอัตราเร่งค่อนข้างเร็ว และต้องติดตามใกล้ชิดคือกลุ่ม SM ที่ค้างชำระตั้งแต่ 31-90 วัน ที่เพิ่มขึ้นถึง 36% มาอยู่ที่ 1.03 ล้านบัญชี จาก 7.54 ล้านบัญชี และกลุ่มนี้ประมาณ 1 ใน 3 จะกลายเป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลในอนาคต
โดยเฉพาะ SM ในกลุ่มสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อยานยนต์ที่เร่งตัวขึ้นสูงมาก โดยสินเชื่อบุคคล เมื่อสิ้นปีที่แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 5.07 หมื่นล้านบาท จากสิ้นปี 2555 อยู่ที่ 3.25 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 56% สินเชื่อ ยานยนต์ เพิ่มเป็น 1.51 แสนล้านบาท จาก 1.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 45%
ดัง นั้น สิ่งที่น่ากังวลต่อจากนี้คือการกู้ยืมของผู้ประกอบการ จากข้อมูลสมาชิกเครดิตบูโรประมาณ 1 ล้านบริษัท หรือ 4.5 ล้านบัญชี และส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีรายเล็ก พบว่ากลุ่มที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือ SM (ค้างชำระตั้งแต่วันแรกถึง 90 วัน) เร่งตัวขึ้นรุนแรงมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ไตรมาส 3/56 ที่ถีบตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 22.19% และเพิ่มต่อเนื่องถึงเดือน ม.ค. 2557 ที่เร่งตัวขึ้นไปอยู่ที่ 45.12% ก่อนจะหักหัวลงมาอยู่ที่ระดับ 34.06% ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา หลังจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า และบริหารจัดการสินเชื่อส่วนนี้มากขึ้น
- ตอนนี้ทั้งเจ้าหนี้-ลูกหนี้ต่างเข้ามาเช็กเครดิตมากขึ้นใช่ไหม
ใช่ ตั้งแต่ปีที่แล้วถึงตอนนี้ สถาบันการเงินเข้ามาขอดูข้อมูลเพื่อนำไปอนุมัติสินเชื่อใหม่จำนวนมาก อย่าง 2 เดือนที่ผ่านมา มีกว่า 2.03 ล้านรายการ หรือเฉลี่ย 1 ล้านรายการต่อเดือน เทียบกับทั้งปี 2556 ที่มีเฉลี่ยเดือนละ 1.2 ล้านรายการ แสดงว่าสถาบันการเงินคัดกรองลูกค้ามากขึ้น และยังเข้ามาตรวจเช็กลูกค้าเก่าสูงขึ้นต่อเนื่อง โดย 2 เดือนแรกเพิ่มขึ้นถึง 7.11 ล้านรายการ หรือเฉลี่ย 3.56 ล้านรายการต่อเดือน จากปีก่อนเฉลี่ย 1.33 ล้านรายการต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นกว่า 167.67%
"สถาบัน การเงินต่างประเทศบางแห่งขอดูข้อมูลทุกเดือน สถาบันการเงินไทยส่วนใหญ่ดู 3 เดือนต่อครั้ง สถาบันการเงินของรัฐดู 6-12 เดือนต่อครั้ง เพราะห่วงการเร่งตัวขึ้นของหนี้ จึงเฝ้าแล้วเฝ้าอีก"
- เศรษฐกิจฝืด จะแก้ปัญหาหนี้สินทั้งบุคคล ธุรกิจขนาดเล็กที่พันตัวอย่างไร
ปัญหา ไม่ได้เกิดจากกู้ไม่ได้ แต่เกิดจากเราไม่ออม และยังฝืนใช้จ่ายในระดับที่อยากจะใช้ สุดท้ายจึงต้องพึ่งพาเงินล่วงหน้า และทุกสิ้นเดือนก็ไปทำบุญ 9 แบงก์ คือไปจ่ายหนี้บัตรเครดิต 9 แห่ง เหลือเงินออมแค่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่หักจากบัญชีเงินเดือน ดังนั้น ถ้าอยากแก้ปัญหา ต้องเริ่มออม ถ้าออมในรูปเงินสดไม่ได้ ก็ควรซื้อกองทุน อย่างน้อยเดือนละ 10-20% ของรายได้ เหลือเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น รวยเท่าที่เรามี ไม่ใช่รวยอย่างที่เราอยากจะมี
"ตอนนี้ ระยะห่างของสึนามิยังอีกไกล แต่เราควรรีบตั้งหลักวิ่งขึ้นที่สูงให้ทัน สำรวจตัวเองว่ามีเงินออม มีสภาพคล่องพอไหม เพราะในโลกนี้ไม่มีอัศวินม้าขาว ตนจึงต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน"
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 11 เม.ย. 57
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand