วิธีเข้าสมาธิ และใช้สมาธิเป็นบาทของวิปัสสนา หรือที่เรียกว่า ใช้ฌานเป็นบาท

เนื่องจากที่ผ่านมา เห็นเพื่อนสมาชิกและชาวพุทธหลายท่าน พูดถึงการทำกรรมฐาน และยังไม่แน่ใจว่า ถ้าต้องการปฏิบัติจริง ๆ ต้องทำอย่างไรแน่ เพื่อการบรรลุมรรคผลที่แท้จริง

ก่อนอื่น ควรทราบเบื้องต้นว่า กรรมฐานนั้น มีสองอย่าง คือ สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

สมถกรรมฐาน ใช้ในกรณีเพื่อให้จิตสงบ โดยใช้กรรมฐานลักษณะต่าง ๆ เพื่อใ้ห้จิตแน่นิ่งเป็นสมาธิมั่นคง เช่น กสิณ , อัปปมัญญา , อานาปานสติ เป็นต้น  กรรมฐานเหล่านี้ มีคุณสมบัติคือ ข่มกิเลสตัวหนัก ๆ ได้  แต่ตัดไม่ได้  แต่ควรใช้เพราะในบางครั้ง สำหรับผู้ที่ฟุ้งซ่าน และจิตตกอยู่ในกิเลสได้ง่าย การเรียกกรรมฐานเหล่านี้มาจะช่วยให้จิตสงบลง  แต่เื่มื่อจิตสงบลงแล้ว  จะยังไม่ใช่การตัดกิเลส  ต้องนำมาสู่ขั้นตอนต่อไป คือ วิปัสสนา  ไม่อย่างนั้นแล้ว ก็จะเข้าข่ายในลักษณะของการ "ติดสงบ"  ซึ่งผู้ที่ติดสงบนี้  จะใช้เวลานานหลายปี กว่าจะบรรลุมรรคผล ต่อไป เพราะกิเลสนั้นถูกข่มด้วยกำลังของสมาธิ  แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่ถูกกระตุ้น กำลังของสมาธิเสื่อมลง ก็จะกลับมามีกิเลส เหมือนเดิม เท่าเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง  ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปคือขั้นตอนสำคัญที่สุด "วิปัสสนากรรมฐาน"


วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการใช้สมาธิที่ไม่ต้องแนบแน่น แต่เพียงใช้"สมาธิ" เรียก"สติ" มามองสิ่งที่อยู่ตรงหน้า อย่างมี"ปัญญา" ตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดผลสองประการ คือ หนึ่ง เพื่อให้เกิดความคลายการติด หรือที่เรียกว่า ราคะ หรือโลภะ และสอง เืพื่อให้เกิดการคลายโทสะ คือ ความไม่พอใจ ในเมื่อสิ่งนั้นไม่เป็นไปดังต้องการ

หากจะสรุปในอริยสัจ  การวิปัสสนา ถือเป็นองค์มรรค  การติดในสิ่งต่างๆ  ถือเป็นสมุทัย  การทุกข์เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่ติดนั้นมีความเปลี่ยนแปรไปนั้นเป็นทุกข์ และโทสะก็เป็นหนึ่งในทุกข์ เพราะเกิดจากสภาพที่ตนไม่ชอบใจ  และการหลุดออกจากสมุทัย อันเป็นผลให้ทุกข์นั้นหายไป นั้น คือ นิโรธ  ณ  จุดนี้เอง เป็นจุดที่เรียกว่า การบรรลุมรรคผล   วินาทีที่บรรลุนั้น จะไม่ใช่การคิด  แต่จะเป็นการเข้าสู่สภาพที่ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่สติ ไม่ใช่สิ่งใด ๆ ที่เคยสัมผัสมา  แต่วิเศษมา และเราจะรู้ได้ว่า สภาพวิเศษนั้น  เราสามารถเข้าถึงได้เรื่อย ๆ  เป็นสภาพที่ไม่ประกอบกับสมาธิ แต่สงบจากสังขาร  สภาพนั้นคือ พระนิพพาน  ซึ่งการเข้าถึงนั้น ทำได้ยากแม้ด้วยการอุปมา   แต่ทั้งนี้ การวิปัสสนานั้น มีหลายรูปแบบ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้น ก็เพื่อความสิ้นไปของการปรุงแต่ง ซึ่งมาจากอวิชชา คือ การไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ  อย่างไรก็ตาม การบรรลุมรรคผล ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้สมาธิ เช่น การกำหนดรูปนามปัจจุบัน อย่างที่สำนักหลายสำันักสอน เช่น กำหนดนามรูป หรือสายหนอ  แต่การกำหนดเหล่านั้น เป็นทางปรกติ แต่หากเป็นทางลัด เราสามารถใช้ํฌาน หรือ สมถกรรมฐาน แล้ววิปัสสนาต่อจากสมถกรรมฐานนั้นได้เลย และจะทำให้บรรลุเป็นพระอนาคามีได้โดยง่าย เพราะสมาธิได้ข่มกามราคะแล้ว  โดยจับสมถกรรมฐานเป็นอารมรณ์ โดยมีรายละเอียดในพระสูตรดังต่อไปนี้



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ฌานสูตรที่ ๒


             [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

รูป

เวทนา

สัญญา

สังขาร

และวิญญาณอันใด

มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ


             อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตนบุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

จบสูตรที่ ๔


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๓๕๐๕ - ๓๕๒๕.  หน้าที่  ๑๕๐ - ๑๕๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3505&Z=3525&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=124
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่