ลักขณูปนิชฌาน เเละ อารัมณูปนิชฌาน

อารัมณูปนิชฌาน : เจริญาอานาปานสติ -> ฝึกจิตจดจ่อกับลมหายใจ-> กลายเป็นนิมิตของลมหายใจ เป็นเเสง -> พอองค์ฌานครบ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ มีความสงบของจิต -> เมื่อถอนออกมา สามารถดูองค์ของฌาน เเล้วเจริญวิปัสสนาต่อได้ เช่น ถ้ามีสุขมากๆ ก็เจริญจิตตานุปัสสนาต่อ เห็นสุขเกิด-ดับ 

ลักขณูปนิชฌาน : เจริญอานปานสติเหมือนกัน -> เห็นการหายใจเข้า-ออก -> จิตถอนออกมาเป็นผู้รู้-> เห็นความคิดเกิด-ดับ-> เห็นอายตนะเกิดดับ-> เห็นอนัตตา ->  นิพพิทา->วิราคะ-> วิมุตติ 

อานาปานสติ : เจริญเเบบสมถกรรมฐาน เป็นอารัมณูปนิชฌาน  เจริญเเบบวิปัสสนา เป็นลักขณูปนิชฌานก็ได้ มีสมาธิทั้งคู่ เเต่ลักขณูปนิชฌาน เอาไตรลักษณ์มาเป็นฐาน เพื่อความสงบ กล่าวคือ ยิ่งเห็นไตรลักษณ์เท่าไหร่ ใจยิ่งสงบ เเบบรู้ตัวมากเท่านั้น 

ข้อดีของลักขณูปนิชฌาน คือ จะไม่มีตัวตนเข้าไป ทั้งตอนเข้า-ออกจากสมาธิ เพราะตัวตน หรือ สักกายทิฐิถูกละออกไปตอนเห็นอนิจจัง ทุกขัง หรืออนัตตา ถ้าฝึกไปเต็มที่ก็ละสักกายทิฐิได้ หมดความรู้สึกว่าตัวเราที่ได้สมาธิ มีสมาธิเป็นตัวเรา เรามีปัญญา ปัญญามีในเรา เรามีศีล ศีลมีเรา ละด้วยอาการเเบบนี้ เพราะเห็นอายตนะทำงานหรือขันธ์ทำงานอย่างชัดเจน เป็นการกำหนดรู้ทุกขสัจ 

ลักษณะของอารัมณูปนิชฌาน : กรรมฐาน 40 -> จิตสงบ 
ลักษณะของลักขณูปนิชฌาน : วิปัสสนา / สติปัฏฐาน 4 -> กิเลสสงบ 

อธิบายกว้างๆ ประมาณนี้ครับ ผิดถูกขออภัยล่วงหน้า
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  มหาสติปัฏฐาน 4 ศาสนาพุทธ ปฏิบัติธรรม ศาสนา
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่