นักวิเคราะห์สถาบันการเงินต่างชาติคาด ผู้ประท้วงบรรลุเป้าเรียกร้องสภาแต่งตั้ง เล็งศาลรัฐธรรมนูญถวายความเห็น ขอพระราชทานรัฐบาลรักษาการ
สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานเมื่อวันศุกร์ ว่า ธนาคารเครดิตสวิส ออกโน้ตถึงนักลงทุน ระบุว่า การเลือกตั้งคงไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในประเทศไทยได้ ฉากสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด มีประการเดียว คือ ตุลาการจะเข้าแทรกแซง เพื่อให้มีการแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการ
เครดิตสวิส กล่าวว่า รัฐบาลปัจจุบันของไทยมีสถานะเพียงรักษาการ หากสถานการณ์ทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษรได้ ก็ไม่สามารถลงมติให้มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ ทำให้คณะรัฐมนตรีที่รักษาการในเวลานี้ถูกแช่แข็งในทางนิตินัย
ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ปะทะกับตำรวจ ขณะพยายามขัดขวางการรับสมัครส.ส. ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น
ดินแดง เมื่อ 26 ธันวาคม 2556
รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้ารัฐบาลรักษาการสูญเสียสถานะทางนิตินัย อะไรจะเกิดขึ้น แต่เราสงสัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะขอพระราชทานรัฐบาลรักษาการ" โน้ตฉบับนี้ระบุ
เครดิตสวิสบอกว่า มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้การเลือกตั้งไม่นำไปสู่การมีสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ปัจจัยหนึ่ง คือ กรณีผู้ประท้วงได้ขัดขวางการรับสมัครส.ส.ใน 28 เขตเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญนั้น สภาจะเปิดประชุมได้ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 475 คนในจำนวนทั้งหมด 500 คน นอกจากนี้ ในวันเลือกตั้งซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ผู้ประท้วงอาจปิดล้อมคูหาเลือกตั้ง
นักวิเคราะห์ของเครดิตสวิส คาดว่า การแทรกแซงของตุลาการอาจเกิดขึ้นได้นับแต่เดือนนี้เป็นต้นไปจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดของการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
"มีความเสี่ยงสูงอย่างยิ่ง วงจรรอบใหม่ของความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งกินเวลาหลายปี ได้เริ่มขึ้นแล้ว" โน้ตระบุ "การแทรกแซงของตุลาการได้โค่นรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ ชินวัตรเมื่อปี 2551 ด้วยสถานการณ์ที่คล้ายกันนี้มาแล้ว ถ้าศาลล้มรัฐบาลชุดนี้ มีความเสี่ยงสูงที่คนเสื้อแดง ผู้สนับสนุนทักษิณ จะออกสู่ท้องถนน"
สนับสนุนพรรคเพื่อไทย รับฟังการปราศรัยหาเสียง ในกรุงเทพ เมื่อ 4 มกราคม 2557
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า เครดิตสวิสไม่ใช่สถาบันการเงินแห่งเดียว ที่ประเมินว่า วันเวลาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย ใกล้หมดลง
นายอรรถพร อารยะสันติภาพ นักวิเคราะห์ของยูเอบี เคย์เฮียน กล่าวในโน้ตว่า "ผลสำรวจความคิดเห็นพบว่า บรรดากองทุนราว 1 ใน 3 เชื่อว่า ในท้ายที่สุด จะมีรัฐบาลพระราชทาน เราเห็นด้วยกับการประเมินนี้"
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายยังเชื่อมั่นว่า กระบวนการเลือกตั้งจะเดินหน้าต่อไปได้
นายนิธิ วณิคพันธ์ นักวิเคราะห์ของโนมูระ บอกกับซีเอ็นบีซี ว่า กระบวนการเลือกตั้งอาจลากยาวต่อไปอีก เพราะมีเวลา 6 เดือนนับจากวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่จะเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนครบ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งซ่อม หรือจัดการเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขตที่ขาดผู้สมัคร จนกระทั่งมีสมาชิกสภาครบร้อยละ 95 ตามที่กฎหมายกำหนด
"นั่นจะเป็นกระบวนการที่กินเวลา กฎหมายเปิดทางให้ใช้เวลาเกินกว่า 6 เดือนได้" เขากล่าว "แต่ถ้าหกเดือนผ่านไป ยังมีส.ส.ไม่ครบ ผมไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น".
ที่มา : CNBC และ
http://news.voicetv.co.th/thailand/93705.html
ต่างชาติ คาดม็อบปิดกรุง 'ชนะ' ศาลรธน.ดันตั้งรัฐบาลรักษาการ
นักวิเคราะห์สถาบันการเงินต่างชาติคาด ผู้ประท้วงบรรลุเป้าเรียกร้องสภาแต่งตั้ง เล็งศาลรัฐธรรมนูญถวายความเห็น ขอพระราชทานรัฐบาลรักษาการ
สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานเมื่อวันศุกร์ ว่า ธนาคารเครดิตสวิส ออกโน้ตถึงนักลงทุน ระบุว่า การเลือกตั้งคงไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในประเทศไทยได้ ฉากสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด มีประการเดียว คือ ตุลาการจะเข้าแทรกแซง เพื่อให้มีการแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการ
เครดิตสวิส กล่าวว่า รัฐบาลปัจจุบันของไทยมีสถานะเพียงรักษาการ หากสถานการณ์ทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษรได้ ก็ไม่สามารถลงมติให้มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ ทำให้คณะรัฐมนตรีที่รักษาการในเวลานี้ถูกแช่แข็งในทางนิตินัย
ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ปะทะกับตำรวจ ขณะพยายามขัดขวางการรับสมัครส.ส. ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น
ดินแดง เมื่อ 26 ธันวาคม 2556
รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้ารัฐบาลรักษาการสูญเสียสถานะทางนิตินัย อะไรจะเกิดขึ้น แต่เราสงสัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะขอพระราชทานรัฐบาลรักษาการ" โน้ตฉบับนี้ระบุ
เครดิตสวิสบอกว่า มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้การเลือกตั้งไม่นำไปสู่การมีสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ปัจจัยหนึ่ง คือ กรณีผู้ประท้วงได้ขัดขวางการรับสมัครส.ส.ใน 28 เขตเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญนั้น สภาจะเปิดประชุมได้ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 475 คนในจำนวนทั้งหมด 500 คน นอกจากนี้ ในวันเลือกตั้งซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ผู้ประท้วงอาจปิดล้อมคูหาเลือกตั้ง
นักวิเคราะห์ของเครดิตสวิส คาดว่า การแทรกแซงของตุลาการอาจเกิดขึ้นได้นับแต่เดือนนี้เป็นต้นไปจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดของการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
"มีความเสี่ยงสูงอย่างยิ่ง วงจรรอบใหม่ของความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งกินเวลาหลายปี ได้เริ่มขึ้นแล้ว" โน้ตระบุ "การแทรกแซงของตุลาการได้โค่นรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ ชินวัตรเมื่อปี 2551 ด้วยสถานการณ์ที่คล้ายกันนี้มาแล้ว ถ้าศาลล้มรัฐบาลชุดนี้ มีความเสี่ยงสูงที่คนเสื้อแดง ผู้สนับสนุนทักษิณ จะออกสู่ท้องถนน"
สนับสนุนพรรคเพื่อไทย รับฟังการปราศรัยหาเสียง ในกรุงเทพ เมื่อ 4 มกราคม 2557
ซีเอ็นบีซี รายงานว่า เครดิตสวิสไม่ใช่สถาบันการเงินแห่งเดียว ที่ประเมินว่า วันเวลาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย ใกล้หมดลง
นายอรรถพร อารยะสันติภาพ นักวิเคราะห์ของยูเอบี เคย์เฮียน กล่าวในโน้ตว่า "ผลสำรวจความคิดเห็นพบว่า บรรดากองทุนราว 1 ใน 3 เชื่อว่า ในท้ายที่สุด จะมีรัฐบาลพระราชทาน เราเห็นด้วยกับการประเมินนี้"
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายยังเชื่อมั่นว่า กระบวนการเลือกตั้งจะเดินหน้าต่อไปได้
นายนิธิ วณิคพันธ์ นักวิเคราะห์ของโนมูระ บอกกับซีเอ็นบีซี ว่า กระบวนการเลือกตั้งอาจลากยาวต่อไปอีก เพราะมีเวลา 6 เดือนนับจากวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่จะเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนครบ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งซ่อม หรือจัดการเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขตที่ขาดผู้สมัคร จนกระทั่งมีสมาชิกสภาครบร้อยละ 95 ตามที่กฎหมายกำหนด
"นั่นจะเป็นกระบวนการที่กินเวลา กฎหมายเปิดทางให้ใช้เวลาเกินกว่า 6 เดือนได้" เขากล่าว "แต่ถ้าหกเดือนผ่านไป ยังมีส.ส.ไม่ครบ ผมไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น".
ที่มา : CNBC และ http://news.voicetv.co.th/thailand/93705.html