ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ทันได้กำหนดวันตัดสินกรณีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีถูกฟ้องว่า
เห็นชอบและลงมติให้ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นการ
ใช้อำนาจก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำ เข้าข่ายผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุน ต่างก็พากันคาดหวังว่าศาลจะตัดสินออกมาตามความคิดของตน ซึ่งล้วนเป็น
การคาดเดาเอาเองล่วงหน้าทั้งสิ้น
มีทั้งที่เดาว่าศาลจะตัดสินว่าคุณยิ่งลักษณ์ทำผิด ต้องออกจากการรักษาการ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันรัฐบาลก็พ้นจาก
ตำแหน่งและทำหน้าที่รักษาการอยู่แล้วจากผลของการยุบสภาวันที่ 9 ธันวาคม 2556
กับเดาว่าศาลจะตัดสินว่าไม่ผิด ให้ทำหน้าที่รักษาการต่อไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ที่เขียนไว้
ชัดเจนว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้ง
ขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
ฉะนั้นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการคาดเดาคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะออกมาว่าคุณยิ่งลักษณ์ผิด
หรือไม่ผิด จึงอยู่ที่ประการหลังมากกว่าคือ ถ้าตัดสินว่าผิด ศาลจะชี้ด้วยหรือไม่ว่ารัฐบาลต้องออกจากการรักษาการ
ตัดสินตามข้อความในมาตรา 181 นั่นเอง ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องอยู่รักษาการต่อไป หรือต้องพ้นไปโดยไม่
สามารถนำความในมาตรานี้มาอ้างได้
ศาลจะยกเหตุผลประกอบการตัดสินว่าอย่างไร
และจะเลยไปถึงประเด็น กระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะมาอย่างไร ศาลจะชี้ออกมาในคำตัดสิน
ด้วยหรือไม่
สองประเด็นนี่แหละครับ เป็นข้อถกเถียง ชวนทะเลาะกันไปทั่ว ว่า ถ้าศาลชี้ในประเด็นนี้คือรัฐบาลอ้างมาตรา
181 เพื่ออยู่ต่อไปอีกไม่ได้ เป็นการตัดสินนอกหรือเหนือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า
ต้องอยู่ทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่หรือไม่
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีแนวคิดจะขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย จึงเปิดช่องให้ฝ่ายต่อต้านโจมตีว่า
เป็นการรบกวนเบื้องพระยุคลบาท ทั้งๆ ที่ควรจะแก้ไขปัญหากันเองมากกว่า
โดยที่ฝ่ายต่อต้านเองก็มิได้ฉุกคิด ใคร่ครวญเหมือนกันว่า ความพยายามตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา
เดียวกันเพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เพื่อที่จะขอพระราชทานนายกฯตามมาตรา 7 ก็เป็นการรบกวน
เบื้องพระยุคลบาทเช่นกัน
การใช้พลังมวลชนและวุฒิสภาเป็นเครื่องมือหาตัวนายกรัฐมนตรีใหม่ จึงถูกฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโจมตีกลับว่า
เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน
ประเด็นก็ย้อนกลับมาที่เดิม ควรจะแก้ไขปัญหากันเองมากกว่า แต่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแก้ไข
ปัญหากันเองได้ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ไม่ยอมถอย ไม่ยอมพูดคุยเจรจา หรือตั้งเงื่อนไขการเจรจาจน
อีกฝ่ายหนึ่งรับไม่ได้
ความขัดแย้งจึงดำรงอยู่และรุนแรงมากขึ้น เพราะความต้องการโค่นล้ม เอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเรื่องหลัก
ขณะที่สาระสำคัญของแนวทางพาประเด็นเดินไปข้างหน้าหยุดชะงัก กลายเป็นประเด็นรอง
เหตุนี้เองประเด็นปฏิรูปประเทศไทย ที่หลายกลุ่มองค์กรเสนอโมเดลต่างๆ นานา จึงไม่ได้รับความสนใจนำ
ขึ้นมาผลักดันจากคู่ขัดแย้งเท่าที่ควร
ตัวอย่างแค่ประเด็นเดียว การปฏิรูปการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม มีวิธีการอย่างไร โดยไม่ต้องแก้ไข
กฎหมายหลัก กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง แต่สามารถออกเป็นประกาศ
ของคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิบัติได้เลย เช่น จำกัดพื้นที่การหาเสียง จำกัดขนาดป้ายโปสเตอร์ ฯลฯ
ถ้าตกลงเฉพาะประเด็นทำนองนี้กันก่อนแล้วให้สัตยาบันร่วมกัน จากนั้นจัดการเลือกตั้งให้ประชาชนทุก
กลุ่มเป็นผู้ตัดสิน และดำเนินกระบวนการปฏิรูปประเทศต่อไป
แต่แนวทางนี้ไม่สามารถทำได้เพราะฝ่ายต่อต้านไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะปฏิรูปประเทศจริง ต้องการผ่าตัดใหญ่ยก
เครื่องใหม่ทั้งระบบ
ไม่ให้อีกฝ่ายที่เห็นตรงกันข้ามและถูกสวมหมวกว่าเป็นขี้ข้าระบอบทักษิณเข้าร่วมคิดโมเดลการปฏิรูป ยก
เว้นกลุ่มของตนและกลุ่มคนที่เห็นว่าเหมาะสมเท่านั้น ไม่ว่าจะมาในนามสภาประชาชน กรรมการปฏิรูป และ
สภาปฏิรูปก็ตาม
หัวใจของปัญหาทำให้ความแตกแยกยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะความคิดสุดขั้ว สุดโต่ง คิดว่าความคิด ความ
เชื่อวิธีการของตัวเท่านั้นคือความถูกต้อง เพราะตัวเป็นคนดี คนอื่น คนที่เห็นตรงกันข้ามเป็นคนเลว คนชั่วหมดนั่นเอง
.................
(ที่มา:มติชนรายวัน 24 เมษายน 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1398352839&grpid=&catid=02&subcatid=0207
อ่านแล้ว ก็ไม่ต้อง comment ต่อ
ดู Wake up Thailand ช่วง สนทนาแขกรับเชิญวันนี้
เจอ เพื่อนเก่า login "ขุนอิน" มาในนามแพทย์
นักประชาธิปไตย
สมหมาย ปาริจฉัตต์ : คนดีนอกรัฐธรรมนูญ ....... มติชนออนไลน์
เห็นชอบและลงมติให้ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นการ
ใช้อำนาจก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการประจำ เข้าข่ายผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ทั้งฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุน ต่างก็พากันคาดหวังว่าศาลจะตัดสินออกมาตามความคิดของตน ซึ่งล้วนเป็น
การคาดเดาเอาเองล่วงหน้าทั้งสิ้น
มีทั้งที่เดาว่าศาลจะตัดสินว่าคุณยิ่งลักษณ์ทำผิด ต้องออกจากการรักษาการ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันรัฐบาลก็พ้นจาก
ตำแหน่งและทำหน้าที่รักษาการอยู่แล้วจากผลของการยุบสภาวันที่ 9 ธันวาคม 2556
กับเดาว่าศาลจะตัดสินว่าไม่ผิด ให้ทำหน้าที่รักษาการต่อไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ที่เขียนไว้
ชัดเจนว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้ง
ขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
ฉะนั้นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการคาดเดาคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะออกมาว่าคุณยิ่งลักษณ์ผิด
หรือไม่ผิด จึงอยู่ที่ประการหลังมากกว่าคือ ถ้าตัดสินว่าผิด ศาลจะชี้ด้วยหรือไม่ว่ารัฐบาลต้องออกจากการรักษาการ
ตัดสินตามข้อความในมาตรา 181 นั่นเอง ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องอยู่รักษาการต่อไป หรือต้องพ้นไปโดยไม่
สามารถนำความในมาตรานี้มาอ้างได้
ศาลจะยกเหตุผลประกอบการตัดสินว่าอย่างไร
และจะเลยไปถึงประเด็น กระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะมาอย่างไร ศาลจะชี้ออกมาในคำตัดสิน
ด้วยหรือไม่
สองประเด็นนี่แหละครับ เป็นข้อถกเถียง ชวนทะเลาะกันไปทั่ว ว่า ถ้าศาลชี้ในประเด็นนี้คือรัฐบาลอ้างมาตรา
181 เพื่ออยู่ต่อไปอีกไม่ได้ เป็นการตัดสินนอกหรือเหนือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า
ต้องอยู่ทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่หรือไม่
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีแนวคิดจะขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย จึงเปิดช่องให้ฝ่ายต่อต้านโจมตีว่า
เป็นการรบกวนเบื้องพระยุคลบาท ทั้งๆ ที่ควรจะแก้ไขปัญหากันเองมากกว่า
โดยที่ฝ่ายต่อต้านเองก็มิได้ฉุกคิด ใคร่ครวญเหมือนกันว่า ความพยายามตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา
เดียวกันเพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เพื่อที่จะขอพระราชทานนายกฯตามมาตรา 7 ก็เป็นการรบกวน
เบื้องพระยุคลบาทเช่นกัน
การใช้พลังมวลชนและวุฒิสภาเป็นเครื่องมือหาตัวนายกรัฐมนตรีใหม่ จึงถูกฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลโจมตีกลับว่า
เป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน
ประเด็นก็ย้อนกลับมาที่เดิม ควรจะแก้ไขปัญหากันเองมากกว่า แต่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแก้ไข
ปัญหากันเองได้ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน ไม่ยอมถอย ไม่ยอมพูดคุยเจรจา หรือตั้งเงื่อนไขการเจรจาจน
อีกฝ่ายหนึ่งรับไม่ได้
ความขัดแย้งจึงดำรงอยู่และรุนแรงมากขึ้น เพราะความต้องการโค่นล้ม เอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเรื่องหลัก
ขณะที่สาระสำคัญของแนวทางพาประเด็นเดินไปข้างหน้าหยุดชะงัก กลายเป็นประเด็นรอง
เหตุนี้เองประเด็นปฏิรูปประเทศไทย ที่หลายกลุ่มองค์กรเสนอโมเดลต่างๆ นานา จึงไม่ได้รับความสนใจนำ
ขึ้นมาผลักดันจากคู่ขัดแย้งเท่าที่ควร
ตัวอย่างแค่ประเด็นเดียว การปฏิรูปการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม มีวิธีการอย่างไร โดยไม่ต้องแก้ไข
กฎหมายหลัก กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง แต่สามารถออกเป็นประกาศ
ของคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิบัติได้เลย เช่น จำกัดพื้นที่การหาเสียง จำกัดขนาดป้ายโปสเตอร์ ฯลฯ
ถ้าตกลงเฉพาะประเด็นทำนองนี้กันก่อนแล้วให้สัตยาบันร่วมกัน จากนั้นจัดการเลือกตั้งให้ประชาชนทุก
กลุ่มเป็นผู้ตัดสิน และดำเนินกระบวนการปฏิรูปประเทศต่อไป
แต่แนวทางนี้ไม่สามารถทำได้เพราะฝ่ายต่อต้านไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะปฏิรูปประเทศจริง ต้องการผ่าตัดใหญ่ยก
เครื่องใหม่ทั้งระบบ
ไม่ให้อีกฝ่ายที่เห็นตรงกันข้ามและถูกสวมหมวกว่าเป็นขี้ข้าระบอบทักษิณเข้าร่วมคิดโมเดลการปฏิรูป ยก
เว้นกลุ่มของตนและกลุ่มคนที่เห็นว่าเหมาะสมเท่านั้น ไม่ว่าจะมาในนามสภาประชาชน กรรมการปฏิรูป และ
สภาปฏิรูปก็ตาม
หัวใจของปัญหาทำให้ความแตกแยกยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะความคิดสุดขั้ว สุดโต่ง คิดว่าความคิด ความ
เชื่อวิธีการของตัวเท่านั้นคือความถูกต้อง เพราะตัวเป็นคนดี คนอื่น คนที่เห็นตรงกันข้ามเป็นคนเลว คนชั่วหมดนั่นเอง
.................
(ที่มา:มติชนรายวัน 24 เมษายน 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1398352839&grpid=&catid=02&subcatid=0207
อ่านแล้ว ก็ไม่ต้อง comment ต่อ
ดู Wake up Thailand ช่วง สนทนาแขกรับเชิญวันนี้
เจอ เพื่อนเก่า login "ขุนอิน" มาในนามแพทย์
นักประชาธิปไตย