รู้ทัน ปฏิวัติเงียบ ตอนที่ 1
อะไรก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ แล้วเราจะได้อะไร ?
นี่ก็ไม่เอา โน่นก็ไม่เอา แล้วจะเอาอะไร ?
ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน ก็บอกว่าไม่เอา ? อ้างว่า ต้องปฏิรูปก่อน
พอเสนอปฏิรูป (คล้ายสภาสนามม้า) ก็บอกว่าไม่เอา ? ตำหนิว่า ไม่จริงใจ
จะลงสมัครเลือกตั้งก็ไม่เอา ? ก็หาเรื่องขัดขวาง อ้างว่าไม่โปร่งใส ลักหลับ
พอเขาจับเบอร์เลือกตั้ง ก็บุกยิงตำรวจตาย อ้างเป็นการแสดงออกอย่าง สงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ?
กำหนดการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็บอกว่าไม่เหมาะสม อ้างว่าสถานการณ์อันตราย ?
ขอโทษเถิดครับ จะให้ตามใจอย่างไรพวกคุณถึงจะพอใจ ขอบอกว่าที่ยอมๆ มาจนวันนี้น่ะ ไม่ใช่เพราะกลัวหรอกนะครับ แต่เพราะเห็นแก่อนาคต และความเป็นปรกติสุขของพี่น้องคนไทย พวกผมอึดอัดและรู้สึกว่าถูกดูถูก จนเกือบจะอดทนไม่ได้อีกแล้ว ได้เคยสอบถามความเห็นความรู้สึกของประชาชนตามชนบทแล้ว เขาถ่ายทอดความรู้สึกว่า เขากำลังเบื่อหน่าย ชิงชัง กระแสของม็อบคนกรุงผู้มีอันจะกิน และคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษอย่างยิ่ง อันตรายมากนะครับ ผมเกรงว่ามันจะระเบิดขึ้นมาวันใดวันหนึ่ง
เหตุเกิดที่สนามกีฬาไทย – ญี่ปุ่น ขณะจับเบอร์เลือกตั้ง มีม็อบบุก ประสงค์ร้ายต่อการเลือกตั้ง ต่อผู้สมัคร และแม้แต่ กกต.เอง ตำรวจถูกยิงทำร้ายถึงตาย แต่ กกต. กลับขอโทษม็อบ ทั้งๆที่ตำรวจเขาพลีชีพ รักษาความปลอดภัยให้พวกท่าน นี่มันอะไรกันครับ ทำไมขาวจึงกลายเป็นดำ กาจึงกลายเป็นหงส์ไปได้ ไม่น่าเชื่อจริงๆเลยหากไม่เห็นกับตาประจักษ์กับตัว
จะปีใหม่แล้วครับ ตั้งสติกันสักนิด ทบทวนเรื่องต่างๆอีกสักที จะดีไหมครับ เราจะอยู่กันอย่างนี้ไม่ได้ โดยเด็ดขาด สังคมได้ถูกแปรปรวนไปหมดสิ้นเชิงแล้ว เราไม่ใช่ผู้คนที่เป็นเพื่อนร่วมชาติกันหรือนี่ ทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้ มันนรกชัดๆ ครับ นี่มันเป็นการปฏิวัติเงียบ
ผมเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ แต่เรื่องยังไม่จบ พรุ่งนี้ผมจะมาเขียนต่ออีกครับ
รู้ทัน ปฏิวัติเงียบ ตอนที่ 2
พี่น้องครับ มันเหมือนปี 2549 จังเลย มันเป็นความบังเอิญหรือจงใจกันนี่ เราจะหนีรัฐประหาร (ที่บัดซบ) ไหวไหมครับ ผมจะลองเทียบเคียงสิ่งที่เหมือนกันให้ดูนะ
สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กับปี 49
1. มีการชุมชนต่อต้านรัฐบาลโดยมวลชนขนาดใหญ่ จนสถานการณ์ตึงเครียด (มากๆ) เหมือนกัน
2. การชุมนุมถูกชี้นำโดยกลุ่มการเมืองเหมือนๆกัน คราวที่แล้วพันธมิตร แต่คราวนี้เป็นประชาธิปัตย์ (ที่จริงก็เกือบเหมือนกัน)
3. เสนอให้ใช้ ม.7 เพื่อให้ได้นายกคนกลางเหมือนกัน
4. นักวิชาการ (หน้าเดิมๆ) ออกมาผสมโรง อภิปรายถึงความชอบธรรมเหมือนกัน แต่คราวนี้ดูจะหนักกว่าเดิมเพราะมีแบบลักษณะรวมกันเป็น ชมรมอธิการบดี 12 มหาวิทยาลัย
5. เสนอให้ฉีก หรือแหวกรัฐธรรมนูญเหมือนกัน แต่คราวนี้ดูเหมือนจะพัฒนาไปอีกขั้น โดยเสนอสภาประชาชน (แบบ Communism)
6. ผู้นำเหล่าทัพยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยในปี 2549 นั่งแถลงให้ลาออก แต่คราวนี้คงนั่งเป็นแถวเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนเป็นนั่งฟังคุณสุเทพสาธยายนิทานให้ฟัง (จบแล้วเห็นบอกว่ายังไม่เข้าใจ)
7. มีการยุบสภา และมีความพยายามเลื่อนการเลือกตั้ง เหมือนกันทุกประการ
8. ประชาธิปัตย์ Boycott การเลือกตั้ง คราวนี้ก็เหมือนเดิมเป๊ะ (คุณอภิสิทธิ์คนเดิม)
#####################
ทีนี้ ท่านอาจจะสนใจว่า มันมีอะไรที่ไม่เหมือนกันบ้างไหม เอ้า ลองดู!!
1. ปี 2549 ประชาธิปัตย์ไม่ได้ร่วมในกระบวนการต่อต้าน แต่คราวนี้ร่วมจังเบ้อเร่อ (ทั้งพรรค) โดยกล้าลาออกมาร่วมเดินขบวนตั้งแต่ต้น
2. ปี 2549 พรรคร่วมเห็นตามประชาธิปัตย์ โดยไม่ลงเลือกตั้ง แต่คราวนี้พรรคการเมือง 34 พรรค เห็นต่าง เขาจึงลงเลือกตั้งหมด ทำให้ประชาธิปัตย์หัวเดียวกระเทียมลีบ งอแงอยู่คนเดียว
3. ปี 2549 ต่างประเทศไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเห็นว่าเป็นความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ แต่คราวนี้ มี 50 กว่าประเทศ ประกาศสนับสนุนการเลือกตั้ง เพื่อยืนหยัดในระบอบประชาธิปไตย และติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดเป็นระยะ
4. ปี 2549 มีแต่นักวิชาการฝ่ายเหลือง (Ultra-Conservative) แต่คราวนี้มีนักวิชาการสายประชาธิปไตยก้าวหน้า (Progressive) กลุ่มหลักๆ คือ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ขึ้นมาเทียบคาน ให้ข้อมูลเนื้อหาตามหลักการ
5. ปี 2549 เป็นเรื่องของหนังสือพิมพ์และทีวีเท่านั้น แต่มายุคสมัยนี้ มี Social Media เข้ามาแจม (โดยเฉพาะในเมืองและในกลุ่มผู้มีการศึกษา)
6. ปี 2549 เฉพาะประชาชนซีกอนุรักษ์ตื่นตัวแสดงตน แต่ในปัจจุบันประชาชนกลุ่มรากหญ้าตื่นขึ้นมาประกาศความเป็นเจ้าของประเทศบ้าง
7. ปี 2549 ทหารแสดงความพร้อมที่จะทำการยึดอำนาจ แต่ในกาลสมัยนี้ทหารประกาศชัดเจนว่า ไม่เอาแล้วรัฐประหาร (ไม่ใช่เบื่อ แต่เพราะรู้ผลลัพธ์ว่า ถ้าทำจะเป็นกรรมกับตัวเองเสียมากกว่า)
8. ปี 2549 นายกเป็นผู้ชาย แต่ปี 2556 นายกเป็นผู้หญิง (ข้อนี้อาจสำคัญที่สุดก็ได้นะครับ)
################
พี่น้องครับเห็นไหม เหมือนกัน 8 ข้อ และแตกต่างกันก็ 8 ข้อ ปัญหา (สำหรับผู้ฉลาด!) ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะเอา 8 ข้อ ที่แตกต่างกันนี้ไปใช้ประโยชน์ หากช่วยกันคิดตีโจทย์ให้แตก บางที 8 ข้อแตกต่างกันนี้แหละครับ ที่จะทำให้เรารอดจากการรัฐประหาร (เงียบ) ได้
ปีนี้ รัฐบาลใจดีประกาศหยุดยาว 5 วัน อย่าให้เป็น 5 วันอันตรายนะครับ เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไร ขอให้เป็น 5 วันเพื่อหาทางออก (Solutions) ให้ประเทศของเราจะประเสริฐที่สุด
ฝากคิดหาทางออกให้กับประเทศเป็นการบ้านร่วมกันด้วยครับ ! สำหรับผมก็จะไปคิดด้วยเหมือนกัน แต่ผมจะไปคิดบนยอด “ดอยฟ้าห่มปก” (สูงเป็นที่ 2 ของประเทศไทย 2,285 เมตรครับ) และกะว่าจะไปร้องเพลง “จากยอดดอย” ด้วย ลองหาฟังดูนะครับ
ที่มา :
https://www.facebook.com/dr.plodprasop
ปลอดประสพ สุรัสวดี - รู้ทัน ปฎิวัติเงียบ
รู้ทัน ปฏิวัติเงียบ ตอนที่ 1
อะไรก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ แล้วเราจะได้อะไร ?
นี่ก็ไม่เอา โน่นก็ไม่เอา แล้วจะเอาอะไร ?
ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน ก็บอกว่าไม่เอา ? อ้างว่า ต้องปฏิรูปก่อน
พอเสนอปฏิรูป (คล้ายสภาสนามม้า) ก็บอกว่าไม่เอา ? ตำหนิว่า ไม่จริงใจ
จะลงสมัครเลือกตั้งก็ไม่เอา ? ก็หาเรื่องขัดขวาง อ้างว่าไม่โปร่งใส ลักหลับ
พอเขาจับเบอร์เลือกตั้ง ก็บุกยิงตำรวจตาย อ้างเป็นการแสดงออกอย่าง สงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ?
กำหนดการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ก็บอกว่าไม่เหมาะสม อ้างว่าสถานการณ์อันตราย ?
ขอโทษเถิดครับ จะให้ตามใจอย่างไรพวกคุณถึงจะพอใจ ขอบอกว่าที่ยอมๆ มาจนวันนี้น่ะ ไม่ใช่เพราะกลัวหรอกนะครับ แต่เพราะเห็นแก่อนาคต และความเป็นปรกติสุขของพี่น้องคนไทย พวกผมอึดอัดและรู้สึกว่าถูกดูถูก จนเกือบจะอดทนไม่ได้อีกแล้ว ได้เคยสอบถามความเห็นความรู้สึกของประชาชนตามชนบทแล้ว เขาถ่ายทอดความรู้สึกว่า เขากำลังเบื่อหน่าย ชิงชัง กระแสของม็อบคนกรุงผู้มีอันจะกิน และคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษอย่างยิ่ง อันตรายมากนะครับ ผมเกรงว่ามันจะระเบิดขึ้นมาวันใดวันหนึ่ง
เหตุเกิดที่สนามกีฬาไทย – ญี่ปุ่น ขณะจับเบอร์เลือกตั้ง มีม็อบบุก ประสงค์ร้ายต่อการเลือกตั้ง ต่อผู้สมัคร และแม้แต่ กกต.เอง ตำรวจถูกยิงทำร้ายถึงตาย แต่ กกต. กลับขอโทษม็อบ ทั้งๆที่ตำรวจเขาพลีชีพ รักษาความปลอดภัยให้พวกท่าน นี่มันอะไรกันครับ ทำไมขาวจึงกลายเป็นดำ กาจึงกลายเป็นหงส์ไปได้ ไม่น่าเชื่อจริงๆเลยหากไม่เห็นกับตาประจักษ์กับตัว
จะปีใหม่แล้วครับ ตั้งสติกันสักนิด ทบทวนเรื่องต่างๆอีกสักที จะดีไหมครับ เราจะอยู่กันอย่างนี้ไม่ได้ โดยเด็ดขาด สังคมได้ถูกแปรปรวนไปหมดสิ้นเชิงแล้ว เราไม่ใช่ผู้คนที่เป็นเพื่อนร่วมชาติกันหรือนี่ ทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้ มันนรกชัดๆ ครับ นี่มันเป็นการปฏิวัติเงียบ
ผมเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ แต่เรื่องยังไม่จบ พรุ่งนี้ผมจะมาเขียนต่ออีกครับ
รู้ทัน ปฏิวัติเงียบ ตอนที่ 2
พี่น้องครับ มันเหมือนปี 2549 จังเลย มันเป็นความบังเอิญหรือจงใจกันนี่ เราจะหนีรัฐประหาร (ที่บัดซบ) ไหวไหมครับ ผมจะลองเทียบเคียงสิ่งที่เหมือนกันให้ดูนะ
สิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กับปี 49
1. มีการชุมชนต่อต้านรัฐบาลโดยมวลชนขนาดใหญ่ จนสถานการณ์ตึงเครียด (มากๆ) เหมือนกัน
2. การชุมนุมถูกชี้นำโดยกลุ่มการเมืองเหมือนๆกัน คราวที่แล้วพันธมิตร แต่คราวนี้เป็นประชาธิปัตย์ (ที่จริงก็เกือบเหมือนกัน)
3. เสนอให้ใช้ ม.7 เพื่อให้ได้นายกคนกลางเหมือนกัน
4. นักวิชาการ (หน้าเดิมๆ) ออกมาผสมโรง อภิปรายถึงความชอบธรรมเหมือนกัน แต่คราวนี้ดูจะหนักกว่าเดิมเพราะมีแบบลักษณะรวมกันเป็น ชมรมอธิการบดี 12 มหาวิทยาลัย
5. เสนอให้ฉีก หรือแหวกรัฐธรรมนูญเหมือนกัน แต่คราวนี้ดูเหมือนจะพัฒนาไปอีกขั้น โดยเสนอสภาประชาชน (แบบ Communism)
6. ผู้นำเหล่าทัพยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยในปี 2549 นั่งแถลงให้ลาออก แต่คราวนี้คงนั่งเป็นแถวเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนเป็นนั่งฟังคุณสุเทพสาธยายนิทานให้ฟัง (จบแล้วเห็นบอกว่ายังไม่เข้าใจ)
7. มีการยุบสภา และมีความพยายามเลื่อนการเลือกตั้ง เหมือนกันทุกประการ
8. ประชาธิปัตย์ Boycott การเลือกตั้ง คราวนี้ก็เหมือนเดิมเป๊ะ (คุณอภิสิทธิ์คนเดิม)
#####################
ทีนี้ ท่านอาจจะสนใจว่า มันมีอะไรที่ไม่เหมือนกันบ้างไหม เอ้า ลองดู!!
1. ปี 2549 ประชาธิปัตย์ไม่ได้ร่วมในกระบวนการต่อต้าน แต่คราวนี้ร่วมจังเบ้อเร่อ (ทั้งพรรค) โดยกล้าลาออกมาร่วมเดินขบวนตั้งแต่ต้น
2. ปี 2549 พรรคร่วมเห็นตามประชาธิปัตย์ โดยไม่ลงเลือกตั้ง แต่คราวนี้พรรคการเมือง 34 พรรค เห็นต่าง เขาจึงลงเลือกตั้งหมด ทำให้ประชาธิปัตย์หัวเดียวกระเทียมลีบ งอแงอยู่คนเดียว
3. ปี 2549 ต่างประเทศไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเห็นว่าเป็นความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ แต่คราวนี้ มี 50 กว่าประเทศ ประกาศสนับสนุนการเลือกตั้ง เพื่อยืนหยัดในระบอบประชาธิปไตย และติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดเป็นระยะ
4. ปี 2549 มีแต่นักวิชาการฝ่ายเหลือง (Ultra-Conservative) แต่คราวนี้มีนักวิชาการสายประชาธิปไตยก้าวหน้า (Progressive) กลุ่มหลักๆ คือ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ขึ้นมาเทียบคาน ให้ข้อมูลเนื้อหาตามหลักการ
5. ปี 2549 เป็นเรื่องของหนังสือพิมพ์และทีวีเท่านั้น แต่มายุคสมัยนี้ มี Social Media เข้ามาแจม (โดยเฉพาะในเมืองและในกลุ่มผู้มีการศึกษา)
6. ปี 2549 เฉพาะประชาชนซีกอนุรักษ์ตื่นตัวแสดงตน แต่ในปัจจุบันประชาชนกลุ่มรากหญ้าตื่นขึ้นมาประกาศความเป็นเจ้าของประเทศบ้าง
7. ปี 2549 ทหารแสดงความพร้อมที่จะทำการยึดอำนาจ แต่ในกาลสมัยนี้ทหารประกาศชัดเจนว่า ไม่เอาแล้วรัฐประหาร (ไม่ใช่เบื่อ แต่เพราะรู้ผลลัพธ์ว่า ถ้าทำจะเป็นกรรมกับตัวเองเสียมากกว่า)
8. ปี 2549 นายกเป็นผู้ชาย แต่ปี 2556 นายกเป็นผู้หญิง (ข้อนี้อาจสำคัญที่สุดก็ได้นะครับ)
################
พี่น้องครับเห็นไหม เหมือนกัน 8 ข้อ และแตกต่างกันก็ 8 ข้อ ปัญหา (สำหรับผู้ฉลาด!) ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะเอา 8 ข้อ ที่แตกต่างกันนี้ไปใช้ประโยชน์ หากช่วยกันคิดตีโจทย์ให้แตก บางที 8 ข้อแตกต่างกันนี้แหละครับ ที่จะทำให้เรารอดจากการรัฐประหาร (เงียบ) ได้
ปีนี้ รัฐบาลใจดีประกาศหยุดยาว 5 วัน อย่าให้เป็น 5 วันอันตรายนะครับ เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไร ขอให้เป็น 5 วันเพื่อหาทางออก (Solutions) ให้ประเทศของเราจะประเสริฐที่สุด
ฝากคิดหาทางออกให้กับประเทศเป็นการบ้านร่วมกันด้วยครับ ! สำหรับผมก็จะไปคิดด้วยเหมือนกัน แต่ผมจะไปคิดบนยอด “ดอยฟ้าห่มปก” (สูงเป็นที่ 2 ของประเทศไทย 2,285 เมตรครับ) และกะว่าจะไปร้องเพลง “จากยอดดอย” ด้วย ลองหาฟังดูนะครับ
ที่มา : https://www.facebook.com/dr.plodprasop