โฆษก นร. แถลงชี้แจงกรณี 58 ส.ว. ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีกล่าวขอโทษประชาชนจากกรณีปาฐกถาพิเศษที่มองโกเลีย-กรณีพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าให้ร้ายประเทศไทย ยืนยันปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียหายเพราะนายกฯ พูดความจริง
วันนี้ (3 พ.ค.56) เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงชี้แจงกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 58 คน ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวขอโทษประชาชนจากกรณีปาฐกถาพิเศษที่ประเทศมองโกเลีย รวมทั้งการที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าให้ร้ายประเทศไทย โดยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงชี้แจงรวม 6 ข้อ ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีไม่ได้พูดในทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดคือความจริงที่ทั่วโลกทราบกันอยู่แล้ว และไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทย เพราะความแตกแยกที่เกิดขึ้นนั้นมาจากอำนาจนอกระบบ มาจากการปฏิวัติรัฐประหารตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งส่งผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้ 2. การที่กล่าวในทำนองว่าทำไมไม่พูดถึงสาเหตุของการปฏิวัติรัฐประหารในปี 2549 นั้น ขอเรียนว่าการกล่าวอ้างว่าการปฏิวัติปี 2549 ต้องมีเพราะมีเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ก็ตาม ไม่ใช่การกล่าวอ้างที่ถูกต้อง เพราะในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็แก้ไขด้วยวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ให้ทหารออกมาปฏิวัติ
“ยกตัวอย่าง เมื่อประมาณปี 2538 ที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น มีการมอบที่ดิน สปก. และรายหนึ่งที่ได้รับ สปก. คือนายทศพร เทพบุตร ซึ่งเป็นสามีของนางอัญชลี วานิช เทพบุตร ส.ส.ประชาธิปัตย์ เลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น ซึ่งคือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งถ้าเป็นสมัยนี้คงจะถูกข้อหาผลประโยชน์ทับซ้อน ถูกยื่นถอดถอนหรือยื่นฟ้องแล้ว แต่ในสมัยนั้นไม่มี สู้กันอย่างสง่างามด้วยวิถีทางประชาธิปไตย อภิปรายข้ามวันข้ามคืนกันในสภา จนนายชวนฯ นายสุเทพฯ น่วม พรรคร่วมรัฐบาลคือพรรคพลังธรรมมีท่าทีว่าจะไม่ยกมือไว้วางใจ นายชวนฯ ไม่มีทางเลือกก็ต้องยุบสภา แล้วในเรื่องนี้ประชาชนตัดสิน มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง พรรคชาติไทยได้เสียงข้างมากเป็นรัฐบาล และเรื่องนี้ก็ได้มีการพิสูจน์ในภายหลังแล้วว่าจริง เพราะมีการยึดที่ดินคืนจากนายทศพร เทพบุตร นี่คือวิถีทางของประชาธิปไตย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า 3. ประชาชนได้แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่าไม่เอาอำนาจนอกระบบ ไม่เอาการปฏิวัติรัฐประหาร ด้วยการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้านี้ คือเลือกพรรคพลังประชาชน แต่ซากเดนของอำนาจเก่าก็ยังหลงเหลืออยู่ ทำให้เกิดการที่นายสมัคร สุนทรเวช ถูกถอนจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคพลังประชาชนถูกยุบ แต่ประชาชนก็ยังแสดงให้เห็นอีกว่าไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติรัฐประหาร ไม่เห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ด้วยการเลือกให้พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี 4. การที่นายกรัฐมนตรีไปแสดงปาฐกถาที่มองโกเลียไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียหาย เพราะสิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดคือความเป็นจริง ทั่วโลกรู้กันมาตั้งแต่ปี 2549 แล้ว เวทีโลกถึงปฏิเสธไทยหลังการปฏิวัติช่วงนั้นเขาไม่เชิญไทย ไม่ให้ความร่วมมือ รวมทั้งต่างประเทศก็ตัดความช่วยเหลือประเทศไทย คนที่ทำให้ประเทศไทยเสียหายจริง ๆ แล้วคืออำนาจนอกระบบ คือทหารที่ทำการปฏิวัติ คือ คปค. หรือ คมช. คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาไม่เป็นประชาธิปไตย คือองค์กรต่าง ๆ ที่ คมช. แต่งตั้งขึ้นใหม่บ้าง ต่ออายุให้บ้าง สืบทอดอำนาจกันต่อมา คือรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเสียหาย คือการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกโดยคนเพียง 7 คน นี้คือความไม่เป็นประชาธิปไตย 5. ปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่รัฐธรรมนูญ อยู่ที่ความไม่เป็นประชาธิปไตย
“ ส.ว. 58 คนอย่าเสียเวลามาพูดเรื่องนี้เลย อยากให้ ส.ว.กลับไปดูไปทำรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะที่ใกล้ตัวที่สุดคือเรื่องที่มาของ ส.ว. การเลือกตั้งอาจจะไม่ใช่ส่วนทั้งหมดของประชาธิปไตย แต่ไม่มีประชาธิปไตยที่มาจากการไม่เลือกตั้ง เป็นไปไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นการที่ให้คน 7 คนมีอำนาจตั้ง ส.ว. เท่ากับประชาชน 60 ล้านคนเลือกตั้ง ไม่นับว่าเป็นประชาธิปไตย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
6. นายกรัฐมนตรีได้ทำให้นานาประเทศเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่รักประชาธิปไตย และรู้สาเหตุที่ทำลายประชาธิปไตยทำลายประเทศไทย รู้ว่าเรากำลังแก้ไขอยู่ นี่แหละที่ทำให้นานาชาติมั่นใจว่าเรามาถูกทางแล้ว จะเห็นได้จากการที่ผู้นำของนานาประเทศเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างไม่ขาดสาย รวมทั้งการที่นายกรัฐมนตรีไปเยือนนานาประเทศ ก็ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติในหลาย ๆ ประเทศ เช่น มองโกเลีย สวีเดน เป็นต้น
ปชป.โดนชำแหละแผลเก่า และผู้รับมรดกปฏิวัติโดนกันครบ ขยายแผลมากกว่าเก่า
กรณีปาฐกถายิ่งลักษณ์ ล่าสุดรัฐบาลแถลงแล้ว
โฆษก นร. แถลงชี้แจงกรณี 58 ส.ว. ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีกล่าวขอโทษประชาชนจากกรณีปาฐกถาพิเศษที่มองโกเลีย-กรณีพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าให้ร้ายประเทศไทย ยืนยันปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียหายเพราะนายกฯ พูดความจริง
วันนี้ (3 พ.ค.56) เวลา 13.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงชี้แจงกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 58 คน ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวขอโทษประชาชนจากกรณีปาฐกถาพิเศษที่ประเทศมองโกเลีย รวมทั้งการที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าให้ร้ายประเทศไทย โดยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงชี้แจงรวม 6 ข้อ ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรีไม่ได้พูดในทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดคือความจริงที่ทั่วโลกทราบกันอยู่แล้ว และไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทย เพราะความแตกแยกที่เกิดขึ้นนั้นมาจากอำนาจนอกระบบ มาจากการปฏิวัติรัฐประหารตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งส่งผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้ 2. การที่กล่าวในทำนองว่าทำไมไม่พูดถึงสาเหตุของการปฏิวัติรัฐประหารในปี 2549 นั้น ขอเรียนว่าการกล่าวอ้างว่าการปฏิวัติปี 2549 ต้องมีเพราะมีเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ก็ตาม ไม่ใช่การกล่าวอ้างที่ถูกต้อง เพราะในระบอบประชาธิปไตยเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็แก้ไขด้วยวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ให้ทหารออกมาปฏิวัติ
“ยกตัวอย่าง เมื่อประมาณปี 2538 ที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น มีการมอบที่ดิน สปก. และรายหนึ่งที่ได้รับ สปก. คือนายทศพร เทพบุตร ซึ่งเป็นสามีของนางอัญชลี วานิช เทพบุตร ส.ส.ประชาธิปัตย์ เลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น ซึ่งคือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งถ้าเป็นสมัยนี้คงจะถูกข้อหาผลประโยชน์ทับซ้อน ถูกยื่นถอดถอนหรือยื่นฟ้องแล้ว แต่ในสมัยนั้นไม่มี สู้กันอย่างสง่างามด้วยวิถีทางประชาธิปไตย อภิปรายข้ามวันข้ามคืนกันในสภา จนนายชวนฯ นายสุเทพฯ น่วม พรรคร่วมรัฐบาลคือพรรคพลังธรรมมีท่าทีว่าจะไม่ยกมือไว้วางใจ นายชวนฯ ไม่มีทางเลือกก็ต้องยุบสภา แล้วในเรื่องนี้ประชาชนตัดสิน มีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้น พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้ง พรรคชาติไทยได้เสียงข้างมากเป็นรัฐบาล และเรื่องนี้ก็ได้มีการพิสูจน์ในภายหลังแล้วว่าจริง เพราะมีการยึดที่ดินคืนจากนายทศพร เทพบุตร นี่คือวิถีทางของประชาธิปไตย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า 3. ประชาชนได้แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่าไม่เอาอำนาจนอกระบบ ไม่เอาการปฏิวัติรัฐประหาร ด้วยการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้านี้ คือเลือกพรรคพลังประชาชน แต่ซากเดนของอำนาจเก่าก็ยังหลงเหลืออยู่ ทำให้เกิดการที่นายสมัคร สุนทรเวช ถูกถอนจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคพลังประชาชนถูกยุบ แต่ประชาชนก็ยังแสดงให้เห็นอีกว่าไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติรัฐประหาร ไม่เห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ด้วยการเลือกให้พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี 4. การที่นายกรัฐมนตรีไปแสดงปาฐกถาที่มองโกเลียไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียหาย เพราะสิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดคือความเป็นจริง ทั่วโลกรู้กันมาตั้งแต่ปี 2549 แล้ว เวทีโลกถึงปฏิเสธไทยหลังการปฏิวัติช่วงนั้นเขาไม่เชิญไทย ไม่ให้ความร่วมมือ รวมทั้งต่างประเทศก็ตัดความช่วยเหลือประเทศไทย คนที่ทำให้ประเทศไทยเสียหายจริง ๆ แล้วคืออำนาจนอกระบบ คือทหารที่ทำการปฏิวัติ คือ คปค. หรือ คมช. คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาไม่เป็นประชาธิปไตย คือองค์กรต่าง ๆ ที่ คมช. แต่งตั้งขึ้นใหม่บ้าง ต่ออายุให้บ้าง สืบทอดอำนาจกันต่อมา คือรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเสียหาย คือการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกโดยคนเพียง 7 คน นี้คือความไม่เป็นประชาธิปไตย 5. ปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่รัฐธรรมนูญ อยู่ที่ความไม่เป็นประชาธิปไตย
“ ส.ว. 58 คนอย่าเสียเวลามาพูดเรื่องนี้เลย อยากให้ ส.ว.กลับไปดูไปทำรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะที่ใกล้ตัวที่สุดคือเรื่องที่มาของ ส.ว. การเลือกตั้งอาจจะไม่ใช่ส่วนทั้งหมดของประชาธิปไตย แต่ไม่มีประชาธิปไตยที่มาจากการไม่เลือกตั้ง เป็นไปไม่ได้ครับ เพราะฉะนั้นการที่ให้คน 7 คนมีอำนาจตั้ง ส.ว. เท่ากับประชาชน 60 ล้านคนเลือกตั้ง ไม่นับว่าเป็นประชาธิปไตย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
6. นายกรัฐมนตรีได้ทำให้นานาประเทศเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่รักประชาธิปไตย และรู้สาเหตุที่ทำลายประชาธิปไตยทำลายประเทศไทย รู้ว่าเรากำลังแก้ไขอยู่ นี่แหละที่ทำให้นานาชาติมั่นใจว่าเรามาถูกทางแล้ว จะเห็นได้จากการที่ผู้นำของนานาประเทศเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างไม่ขาดสาย รวมทั้งการที่นายกรัฐมนตรีไปเยือนนานาประเทศ ก็ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติในหลาย ๆ ประเทศ เช่น มองโกเลีย สวีเดน เป็นต้น
ปชป.โดนชำแหละแผลเก่า และผู้รับมรดกปฏิวัติโดนกันครบ ขยายแผลมากกว่าเก่า