JJNY : กระแสปลุกม็อบลงถนน│‘ปภ.’ เผยท่วม 7 จว. เสียชีวิต 12 ราย│น้ำท่วมเทพา สุดอ่วม วัวจมน้ำ│จีนกร้าวตอบโต้ มะกันขายอาวุธ

กระแสปลุกม็อบลงถนน เช็กเรตติ้ง-ดิสเครดิตรบ.
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_4929197

กระแสปลุกม็อบลงถนน
เช็กเรตติ้ง-ดิสเครดิตรบ.

หมายเหตุ – ความเห็นนักวิชาการกรณีแกนนำจะระดมคนมาชุมนุมทางการเมือง หรือปลุกม็อบลงถนน เนื่องจากไม่พอใจกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ทั้งเรื่องเอ็มโอยู 44 การรักษาตัวชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ และเขากระโดง ฯลฯ นั้น
โอฬาร ถิ่นบางเตียว
าจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
 
หากให้มองในเรื่องกระแสม็อบลงถนน เห็นว่ายังไม่ถึงช่วงที่สุกงอม และแกนนำยังไม่สามารถขยายมวลชนได้อย่างรวดเร็ว แต่หากดูในเรื่องภาพรวมของความขัดแย้ง อันนี้น่ากลัว เพราะความขัดแย้งระหว่างเทวดากับบ้านจันทร์ส่องหล้าเห็นว่าจะมีการปะทะกันอย่างรุนแรง ฝั่งของเทวดายังเป็นรองอยู่เยอะ จึงทำให้ฝั่งเทวดาจะระดมทุกวิถีทางเพื่อล้มรัฐบาล และจัดการกับนายทักษิณ

ซึ่งกรณีของแกนนำปลุกม็อบก็จะอยู่ในกลุ่มล้มล้างรัฐบาลด้วยเช่นกัน ช่วงนี้ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ยังไม่สุกงอมพอที่จะดึงคนลงถนนได้
แต่ภาพรวมความขัดแย้งมันรุนแรงมากพอที่ส่งให้แกนนำมีโอกาสก่อรูปของการชักชวนให้ลงถนน พร้อมเร่งเร้ามวลชนให้ลงถนน และให้ข้อมูลไปเรื่อยๆ อาทิ ข้อมูลชั้น 14 กรณี MOU44 เกาะกูด ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในรูปแบบต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อบ่มให้สถานการณ์สุกงอมในการกำจัดรัฐบาลและนายทักษิณให้ได้ ถือว่าเป็นปมใหญ่หลักในเรื่องของความขัดแย้ง
 
ส่วนวิธีการเคลื่อนไหวของแกนนำเชื่อว่าจะเป็นรูปแบบเดิมๆ คือเริ่มต้นจากการให้ความรู้ เปิดประเด็นที่สังคมคลางแคลงใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นชั้น 14 ทำให้รู้สึกว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรม ทำให้มองว่ามีการทำลายกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเคยใช้ได้ผลแล้วกรณีปี 2557 ที่รัฐบาลในขณะนั้นออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย และจะกระแซะไปเรื่อยๆ
 
ถึงแม้ว่าแกนนำก็รู้อยู่ว่าสถานการณ์ยังไม่สุกงอม แต่จะมีคนสนับสนุนในเรื่องทรัพยากรให้ หรือท่อน้ำเลี้ยงจากเทวดา ซึ่งจะเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เสียผลประโยชน์จากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะมาเป็นแรงหนุนให้ และหากขยายแนวร่วมอาจจะขยายบานปลายไปได้
หากให้มองว่าม็อบจะลงถนนได้นั้นมีโอกาสทั้งประเด็น MOU44 เกาะกูด และประเด็นชั้น 14 ซึ่งจะกลับมาขุดคุ้ยอีกรอบหนึ่ง เพราะอาจเป็นการทำลายกระบวนการยุติธรรม ก็จะเป็นชนวนชักชวนให้คนลงถนนได้ ส่วนกรณีเขากระโดงที่มีข่าวออกมาจะเป็นตัวเสริม เพื่อทำลายความชอบธรรมของรัฐบาล ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน ทำให้มองได้ว่ารัฐบาลชุดนี้มีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างมากมาย
 
โดยมองว่าเป็นการหักหลังกันช่วงการจัดตั้งรัฐบาล หลังจากนั้นจะเห็นว่ามีการเอาคืนซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นคดีดิไอคอนกรุ๊ป โดยพยายามโยงมาที่พรรคพลังประชารัฐให้ได้ ทำให้มองได้ว่าพรรคพลังประชารัฐมีเป้าหมายที่จะจัดการพรรคเพื่อไทยและนายทักษิณให้ได้ จึงทำให้เกิดการประสานงานกันเพื่อล้มพรรคเพื่อไทยและนายทักษิณ
 
ส่วนจุดติดคนลงถนนได้นั้นจะต้องดูจากข้อมูลที่ออกมาที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าชั้น 14 มีปัญหาจริงๆ ทำลายกระบวนการยุติธรรม มี 2 มาตรฐาน
 MOU44 ไม่ผ่านกระบวนการรัฐสภา เป็นการเซ็นกันเองระหว่างนายทักษิณกับฮุน เซน และผลประโยชน์ได้เฉพาะคน 2 ตระกูลใหญ่ ส่วนการขยายข้อมูลจะต่างกับในอดีต เพราะอดีตนั้นจะใช้เวทีและการชุมนุม แต่ครั้งนี้จะใช้คู่ขนาน ทั้งการชุมนุมและใช้ออนไลน์ไปด้วยในการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้คนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความตรงไปตรงมาในการบริหารงาน
 
รวมทั้งเชื่อว่าการชุมนุมครั้งใหม่นี้จะมีคนส่งท่อน้ำเลี้ยง โดยเฉพาะคู่ขัดแย้งกับรัฐบาล ส่วนแรงสนับสนุนของคนกรุงเทพฯจะขึ้นอยู่กับการเปิดข้อมูลข้อเท็จจริงได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในอดีตที่ก่อม็อบจุดติดง่าย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับสถาบัน ส่วนที่มีการเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีส่วนร่วม ผมมองเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะสุดท้ายแล้วจะไปสู่รัฐประหารอีกหรือเปล่า
 
หากให้มองกำลังของทหาร เคยกล่าวไปแล้วว่าทหารไม่มีน้ำยาในการรัฐประหาร แต่หากมีเหตุและปัจจัยและฝ่ายชุมนุมมีข้อมูล มีมวลชน ทำให้ทหารจะเป็นตัวเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพราะหากไม่มีเหตุทหารก็ไม่สามารถทำรัฐประหารได้
 
หากให้มองในเรื่องของผลประโยชน์จะเห็นว่าเมื่อทหารเข้ามาก็จะมีผลประโยชน์เหมือนกัน เพราะสามารถไปควบคุมหน่วยงานสำคัญๆ ของประเทศ และจะเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยระยะยาว และจะวนอยู่ในวงจรอุบาทว์
 
ในส่วนของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย หากต้องการแก้ไขปัญหานี้จะต้องมีการขับเคลื่อนนโยบายให้เต็มที่ และจะต้องมีหลักธรรมาภิบาล ตรงไปตรงมา อย่าส่อไปในทางทุจริตคอร์รัปชั่น อย่าเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องของตนเอง อะไรที่สังคมคลางแคลงใจ หรือสงสัยก็ต้องดำเนินการแก้ไข อาทิ MOU44 ประเด็นชั้น 14 กาสิโน จะต้องเปิดประเด็นให้ประชาชนรับทราบทั้งหมด และจะต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ หากทำไม่ได้ก็จะเป็นเหตุให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาล
 
แต่ถ้าแกนนำปลุกม็อบสามารถเปิดประเด็นได้ก็จะทำให้น้ำหนักตกไปที่แกนนำเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้คนมาฟังเพิ่มมากขึ้น เมื่อหอประชุมล้นก็จะนำไปสู่การลงถนนได้เช่นกัน จุดจบที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือรัฐประหาร หรืออาจจะเกิดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่อการยุบสภาได้เช่นกัน
 
หลังจากการเลือกตั้งสถานการณ์ก็จะกลับมาเหมือนเดิม แต่อย่างน้อยอำนาจกลับไปสู่มือประชาชน อาจจะมีการเลือกพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาที่รู้สึกเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
 
ตรีเนตร สาระพงษ์
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
กระแสการลงถนนกลับมาอีกครั้งด้วยคำประกาศของแกนนำ และคำถามที่ตามมาคือ ม็อบจะจุดติดลากยาวเป็นกระแสต่อเนื่องได้หรือไม่ ย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน กระแสม็อบที่จุดติดด้วยปัจจัยข้อหาที่มีต่อรัฐบาลนายทักษิณ และรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในขณะนั้น ซึ่งถูกเรียกว่า “ระบอบทักษิณ” คือการอ้างเรื่องทุจริต เรื่องชาตินิยม การไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน และสารพันข้อหา
 
ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่มีกลุ่มการเมืองที่เป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน คือฝ่ายที่เชียร์พรรครัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยในขณะนั้น และฝ่ายที่เชียร์พรรคฝ่ายค้านซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งฝ่ายหลังถือว่ามีมวลชนมากพอทั้งในกรุงเทพมหานคร ภาคใต้ ภาคตะวันออก และเขตเมืองในจังหวัดต่างๆ อีกทั้งแกนนำก็มีหลากหลาย โดยเฉพาะนักการเมืองซึ่งมีมวลชนเป็นฐานต่างก็มาร่วมม็อบ
 
แต่เมื่อมองย้อนกลับมาในสถานการณ์ปัจจุบันมีปัจจัยต่างๆ ที่ต้องพิจารณาว่าม็อบจะจุดติดหรือไม่ ได้แก่
 
1. ข้อหาที่กล่าวหารุนแรงเพียงพอที่จะทำให้อารมณ์ของคนในสังคมตัดสินใจลงถนนหรือไม่ ซึ่งข้อหาที่ชัดในปัจจุบันมีเรื่อง MOU44 ที่มีความพยายามหยิบยกว่านี่เป็นหนึ่งในการกระทำของนายทักษิณที่จะทำให้เราเสียเกาะกูด ใน จ.ตราด หรือข้อหาเรื่องที่ดินการรถไฟเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ หรือข้อหาการพยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวแทรกแซงทางการเมืองของนายทักษิณ ที่ไม่ยอมอยู่บ้านเลี้ยงหลาน และข้อหาที่น่าจะมีน้ำหนักคือ ข้อหาชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ที่นายทักษิณไม่ต้องติดคุกเลยแม้แต่วันเดียว แน่นอนว่าข้อหาเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องรุนแรง
 
แต่จะรุนแรงมากพอที่จะพัดพาเอาผู้คนมาสู่ท้องถนนและให้ม็อบจุดติดหรือไม่นั้น คิดว่าน่าจะไม่ถึงขนาดนั้น ข้อหายังอ่อนเกินไปสำหรับอารมณ์ของคนในสังคม แน่นอนว่าหลังจากนี้ไปแกนนำม็อบจะต้องพยายามขุดคุ้ยประเด็นต่างๆ เพิ่มเติมในทำนองการสะสมเชื้อไฟไปเรื่อยๆ ให้สุกงอม
 
2. แกนนำที่เปลี่ยนไป หากมองหาแกนนำม็อบเสื้อเหลืองในปัจจุบันก็อ่อนกำลังด้านศรัทธาจากประชาชนไปมาก และต่างก็กระจัดกระจาย หลายคนที่ขึ้นเวทีขับไล่นายทักษิณปัจจุบันก็กลืนน้ำลายตัวเอง ทิ้งอุดมการณ์ไปเข้าร่วมกับพรรครัฐบาล พรรคเพื่อไทย โดยอ้างว่าเพื่อความสมานฉันท์
 
3. ประชาชนที่จะเข้าร่วมม็อบ ในแง่มุมของประชาชนที่เคยร่วมม็อบ ปัจจุบันหลายคนรู้สึกว่าการที่นักการเมืองหลายคนที่ขึ้นเวทีไล่นายทักษิณ ปัจจุบันไปเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทยดังกล่าวข้างต้น นี่คือการตระบัดสัตย์ เสียคำพูด โกหก ภาพที่เห็นชัดคือการเลือกนายก อบจ.นครศรีธรรมราช ที่ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ และเกิดกระแสการนำคลิปมาล้อเลียนในสื่อออนไลน์ บอกได้ว่าประชาชนที่เคยศรัทธาและเชื่อแกนนำจากพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยนำพาไปร่วมม็อบนั้น ปัจจุบันความศรัทธาเหล่านั้นได้จบสิ้นลงไปแล้ว อีกทั้งคนรุ่นใหม่ หรือผู้ซึ่งนิยมชมชอบในพรรคประชาชน ซึ่งน่าจะเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศ ก็ไม่น่าจะมาเข้าร่วมม็อบด้วยคำประกาศของคุณไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ว่าจะใช้แนวทางการตรวจสอบรัฐบาลผ่านกลไกสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งประชาชนกลุ่มนี้ก็มีรากฐานอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างจากแกนนำม็อบในอดีต
 
ดังนั้น ภาพของม็อบในแต่ละครั้งจึงน่าจะเป็นการเชิญชวนเอฟซี หรือแฟนคลับเก่าๆ ที่ศรัทธาต่อตัวแกนนำกลับมาทบทวนความหลังเท่านั้น

4. บทเรียนในอดีต เชื่อว่าประชาชนหลายคนได้รับบทเรียนจากอดีตว่าบั้นปลายของม็อบคือการปฏิวัติรัฐประหาร และการพาประเทศไปติดกับดักการพัฒนา สะสมความขัดแย้ง ขาดความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศ อีกทั้งปัจจุบันเกิดกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคมใหม่ผ่านสื่อออนไลน์ อีกทั้งในแง่มุมของทหารเองก็น่าจะได้รับบทเรียนที่สำคัญจากการปฏิวัติรัฐประหาร โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่มีต่อประชาชน หรือการไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ตลอดจากกระแสปฏิรูปกองทัพและการปรับลดงบประมาณลง
 
ดังนั้น ด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นเชื่อว่าม็อบน่าจะจุดไม่ติดคล้ายกับความพยายามของกลุ่ม คปท.ที่พยายามจุดกระแสต้านระบอบทักษิณ และการที่แกนนำนัดชุมนุมเดือนละครั้งก็น่าจะเป็นการเช็กเรตติ้ง พร้อมกับการพยายามหาข้อหาใหม่มาเติมเชื้อไฟ ซึ่งแน่นอนด้วยข้อหาในมือที่หงายไพ่มาแล้วยังอ่อนเกินไป
 
แม้ม็อบอาจจุดติดยาก แต่ก็ใช่ว่าข้อหาที่แกนนำหยิบยกขึ้นมานั้นในแง่การเมืองต้องถือว่านี่เป็นเวทีฝ่ายค้านภาคประชาชนที่กระทบต่อกระแสความนิยมของพรรคเพื่อไทยได้
 
การกระทำใดต่อจากนี้ไปของพรรคเพื่อไทยและนายทักษิณ จึงต้องเป็นก้าวย่างที่ต้องเดินอย่างระมัดระวังขึ้น เพราะแม้ม็อบไม่ลงถนน แต่จะสะสมลงในดิจิทัลฟุตพรินต์ และถูกลงดาบในวันเลือกตั้งแทน.



‘ปภ.’ เผยน้ำท่วม 7 จังหวัดภาคใต้ มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ปชช.ได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน เร่งช่วยเหลือ
https://www.dailynews.co.th/news/4138192/
 
'ปภ.' เผยน้ำท่วม 7 จังหวัดภาคใต้ มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ปชช.ได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน สั่งระดมทรัพยากรเข้าช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 1 ธ.ค. 67 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช
 พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยเร่งสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่ เร่งช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย.-1 ธ.ค. 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่  7 จังหวัด ได้แก่ 

1. นครศรีธรรมราช เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อ.ชะอวด อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.พระพรหม อ.เมืองฯ  อ.ร่อนพิบูลย์ อ.จุฬาภรณ์ อ.ปากพนัง อ.พรหมคีรี อ.นบพิตำ อ.หัวไทร อ.เชียรใหญ่ อ.พิปูน อ.สิชล อ.นาบอน และอ.บางขัน รวม 79 ตำบล 545 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 51,081 ครัวเรือน ปัจจุบันคลองท่าดีมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่