.....ฟังคำตัดสินวินิจฉัย องศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณียื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของ สว. ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แทนที่การสรรหามาซึ่ง สว.บางส่วนที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วผลออกมาปรากฏว่า เข้าข่ายผิดมาตรา 68 ซึ่งเป็นการล้มล้างระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฟังแล้วก็มึนๆเบลอๆ ด้วยเหตุผลบางตอนที่ท่านผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญยกมากล่าวอ้าง ว่า
ไอ้กระผมชาวบ้านธรรมดา ที่ความรู้ด้านกฎหมายมีแค่หางอึ่ง ก็มิอาจไปแย้งคำวินิจฉัยตัดสินท่านหรอก เพราะรู้ว่าไม่มีความสามารถ และอาศัยฟังจากผู้รู้ต่างๆที่ออกมาให้ความเห็นผ่านสื่อมวลชน ก็ยิ่งรู้ ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำมิได้ เพราะ มาตรา 68 ของท่าน เขียนล็อคไว้แน่นหนา ว่าห้ามแก้ แก้คือผิดมาตรา 68 เข้าข่ายล้มล้างทันที
แก้ไม่ได้ ก็ช่างหัวเผือกหัวมันไป
แต่คนธรรมดาที่รู้จักค้นหาความจริงและติดตามการเมืองมาพอสมควร งงกับคำว่า “ถอยหลังเข้าคลองของท่าน” เพราะที่มาของสมาชิกวุฒิสภา มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่เป็นการเลือกตั้งทั้งหมด ในปี 2543 และปี 2549(แต่ไม่ได้ทำหน้าที่) ซึ่งมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่คณะ คมช.ได้ฉีกมันลงไป และผู้พิพากษาแห่งศาลรัฐธรรมนูญ 3 ท่าน ก็เป็นผู้ร่วมเขียนร่างขึ้นใหม่ จนมาเป็น รัฐธรรมนูญ 2550 ที่พวกท่านหวงแหนนักหนา
และรัฐธรรมนูญ 2550 นี้แหละที่ผมเห็นว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างแท้จริง
ยืนยันด้วยต้นกำเนิดที่มาของ สมาชิกวุฒิสภาไทยในอดีต
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ ก็ได้กำหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสองประเภท (แต่ละประเภทมีจำนวนเท่ากัน) สมาชิก ประเภทที่ ๑ มาจากการเลือกตั้งและสมาชิกประเภทที่ ๒ มาจากการแต่งตั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง(สมาชิกประเภทที่ ๒)คอยช่วยเหลือกลั่นกรองงานของสมาชิก ผู้แทนราษฎร สมาชิก ประเภทที่ ๑) เพื่อให้การทำงานเกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด ดังเหตุผลที่นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในคณะราษฎร ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร ความตอนหนึ่ง ว่า
“…ที่เราจำต้องมีสมาชิกประเภทที่ ๒ ไว้กึ่งหนึ่งก็เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้แทนราษฎร ในฐานะที่เพิ่งเริ่มมีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ เราย่อมทราบอยู่แล้วว่า ยังมีราษฎรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ที่จะจัดการปกครองป้องกันผลประโยชน์ ของตนเองได้บริบูรณ์ ถ้าขืนปล่อยมือให้ราษฎรเลือกผู้แทนโดยลำพังเอง ในเวลานี้แล้ว ผลร้ายก็จะตกอยู่แก่ราษฎร เพราะผู้ที่จะสมัครไปเป็นผู้แทนราษฎร อาจเป็นผู้ที่มีกำลัง ในทางทรัพย์ คณะราษฎร ปฏิญาณไว้ว่าถ้าราษฎรได้มีการศึกษาเพียงพอแล้ว ก็ยินดีที่จะปล่อยให้ราษฎรได้ปกครองตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกประเภทที่ ๒ ฉะนั้น จึงวางเงื่อนไขไว้ ขอให้เข้าใจว่าสมาชิกประเภทที่ ๒ เป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่จะช่วยประคองการงานให้ดำเนินไปสมตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ป้องกันผลประโยชน์อันแท้จริง...”
จากวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ดังกล่าวนี้เอง จึงถือกำเนิด และถือได้ว่า “วุฒิสภา” หรือสภาที่ทำหน้าที่กลั่นกรองงานของสภาผู้แทนราษฎรได้ถือกำเนิดขึ้นมาในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ ๒ ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ นั่นเอง
โดยสรุปแล้ว คือ คณะราษฎรเห็นว่า ประชาชนนั้นยังโง่อยู่ ไม่สมควรมิสิทธิเลือกตัวแทนของตนเอง มาทำหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีมาทั้งสิ้น 18 ฉบับ แต่มีเพียงฉบับ 2540 ฉบับเดียว ที่มาจากการยกร่างของประชาชน ส่วนที่เหลือมาจากการปฏิวัติรัฐประหารทั้งสิ้น ฉบับ 2475(ฉบับชั่วคราว) 2475 2489 2490(ฉบับชั่วคราว) 2492 2495 2502 2511 2515 2517 2519 2520 2521 2534(ฉบับชั่วคราว) 2534 2549(ฉบับชั่วคราว) 2550(ฉบับปัจจุบัน)
และทุกรัฐธรรมนูญที่ใช้กันต่อมา ทุกฉบับ ที่ไม่ได้มาจากการยกร่างของประชาชน ล้วนเห็นว่าประชาชนนั้นโง่เกินกว่าจะเลือกผู้แทนของตัวเองไปทำหน้าที่วุฒิสภาได้ จึงต้องมีการแต่งตั้งกลุ่มบุคคลที่ฝ่ายอำนาจในขณะนั้นเห็นว่าฉลาด เข้าไปทำหน้าที่
แต่ก็มี 2 ฉบับที่ให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้บางส่วน และมีเพียง 1 ฉบับเท่านั้นที่ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด คือ
ฉบับแรก รัฐธรรมนูญ 2489 ที่กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาแต่ยังไม่ได้เลือกก็ถูกทิ้งโดยคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญ 2540 ที่กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด
และฉบับปี 2550 ที่กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน
แต่มีเพียงฉบับเดียวเท่านั้น ที่ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด คือรัฐธรรมนูญปี 2540 (ที่จัดทำโดยตัวแทนประชาชน ที่เรียกว่า สสร.เข้าไปทำการยกร่างขึ้น)
ส่วนอีก 14 ฉบับที่กล่าวมาตอนต้น ล้วนแต่อ้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่ที่จริงเป็นการเสนอขึ้นทูนเกล้าจากผู้มีอำนาจในขณะนั้น แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด (จำนวนแต่ละครั้งไม่เท่ากัน)
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามีเพียง 3 ครั้ง คือปี 2543 2549 และปี 2551 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 2 ครั้ง คือ 2543 2549 ส่วน 2551 เป็นการเลือกตั้งบางส่วน เข้าไปรวมกับสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากกระบวนการสรรหา(แต่งตั้ง) แต่การเลือก ตั้งในปี 2549 สมาชิกวุฒิสภาชุดนั้น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เพราะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเสียก่อน เท่ากับว่า มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ที่ประชาชนในประเทศนี้ฉลาดพอที่จะเลือกผู้แทนของตัวเองได้ และได้เป็นผู้แทนจริงๆ คือปี 2543
ที่มาของรัฐธรรมนูญของไทย รัฐธรรมนูญของไทยมีที่มาจาก 3 แหล่งด้วยกัน คือ
1) การปฏิวัติรัฐประหาร โดยคณะปฏิวัติรัฐประหารร่างมา เพื่อประโยชน์แก่คณะของตน ได้แก่ ฉบับ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ให้ประโยชน์แก่คณะราษฎร์ ฉบับพ.ศ.2502 และ พ.ศ.2521 และ2549(ฉบับชั่วคราว) ให้ประโยชน์แก่คณะปฏิวัติรัฐประหารทั้งนั้น เรียกรัฐธรรมนูญชนิดนี้ว่า “รัฐธรรมนูญคณาธิปไตย”
2) การเรียกร้องของพลังประชาธิปไตย เช่น รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2489 ฉบับพ.ศ.2492 ฉบับ พ.ศ.2517 และฉบับ พ.ศ.2540 ซึ่งบรรจุหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประโยชน์ แก่ประชาชนมาก เรียกรัฐธรรมนูญแบบนี้ว่า “รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” แต่มีเพียงฉบับเดียวที่ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่าง คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540
3) การประสานระหว่างผลประโยชน์ของพลังคณาธิปไตยกับพลังประชาธิปไตยมักเป็นผลจากการที่ คณะปฏิวัติรัฐประหารต้องการที่จะแสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มการเมืองอื่น ๆจึงจำเป็นต้องยอมให้กลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ เข้ามามีส่วนในการปกครองแต่คณะรัฐประหารยังคงรักษาอำนาจของตนไว้ระยะหนึ่งก่อนที่จะถ่ายทอดให้กับตัวแทนของประชาชนต่อไป อาทิเช่น รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495 หรือฉบับ พ.ศ.2521 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เราอาจเรียกรัฐธรรมนูญชนิดนี้ว่า “รัฐธรรมนูญกึ่งคณาธิปไตยกึ่งประชาธิปไตย” หรือ “รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ” และ
ฉบับล่าสุด 2550 ก็จัดว่าเป็น“รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ”ตามความเห็นส่วนตัวของผม
ยิ่งดูอดีตก็ยิ่งรู้ว่า ทุกครั้งที่มีรัฐประหาร ประเทศชาติและระบอบประชาธิปไตยของเราล้วน แต่ “ถอยหลังเข้าคลอง”ทุกครั้งแต่มาปัจจุบัน เห็นคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ย้อนการเลือกตั้ง สว.ให้เป็นแบบอดีต คือมีการแต่งตั้งด้วย ผมก็รู้แล้วว่า รัฐประหารไม่ใช่อย่างเดียวที่ทำให้เรา “ถอยหลังเข้าคลอง” แต่วันนี้ก็ยังมีศาลรัฐธรรมนูญด้วย ที่ทำให้บ้านเมืองเราเป็นอย่างนั้น
ใจจริงอยากจะว่าต่อด้วยเรื่องอื่นที่เกี่ยวเนื่อง แค่นี้ก็ยาวมากแล้ว เลยพอแค่นี้ก่อน
วันหลังจะมาว่าต่อด้วยเรื่อง “รัฐธรรมนูญ 2550 รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ” จะวิเคราะห์ให้เห็นเลยว่า จุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญนี้ คืออะไร มีอะไรเป็นต้นแบบ และจะได้รู้จัก ชายที่ชื่อ เปรม ติณสูลานนท์ “นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ผู้ครองอำนาจภายใต้ร่มเงา รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ มาเกือบทศวรรษ
วาทะกรรม “ถอยหลังเข้าคลอง” ใครกันแน่ เป็นคนทำ
ไอ้กระผมชาวบ้านธรรมดา ที่ความรู้ด้านกฎหมายมีแค่หางอึ่ง ก็มิอาจไปแย้งคำวินิจฉัยตัดสินท่านหรอก เพราะรู้ว่าไม่มีความสามารถ และอาศัยฟังจากผู้รู้ต่างๆที่ออกมาให้ความเห็นผ่านสื่อมวลชน ก็ยิ่งรู้ ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำมิได้ เพราะ มาตรา 68 ของท่าน เขียนล็อคไว้แน่นหนา ว่าห้ามแก้ แก้คือผิดมาตรา 68 เข้าข่ายล้มล้างทันที
แก้ไม่ได้ ก็ช่างหัวเผือกหัวมันไป
แต่คนธรรมดาที่รู้จักค้นหาความจริงและติดตามการเมืองมาพอสมควร งงกับคำว่า “ถอยหลังเข้าคลองของท่าน” เพราะที่มาของสมาชิกวุฒิสภา มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่เป็นการเลือกตั้งทั้งหมด ในปี 2543 และปี 2549(แต่ไม่ได้ทำหน้าที่) ซึ่งมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่คณะ คมช.ได้ฉีกมันลงไป และผู้พิพากษาแห่งศาลรัฐธรรมนูญ 3 ท่าน ก็เป็นผู้ร่วมเขียนร่างขึ้นใหม่ จนมาเป็น รัฐธรรมนูญ 2550 ที่พวกท่านหวงแหนนักหนา
และรัฐธรรมนูญ 2550 นี้แหละที่ผมเห็นว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างแท้จริง
ยืนยันด้วยต้นกำเนิดที่มาของ สมาชิกวุฒิสภาไทยในอดีต
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ ก็ได้กำหนดให้รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสองประเภท (แต่ละประเภทมีจำนวนเท่ากัน) สมาชิก ประเภทที่ ๑ มาจากการเลือกตั้งและสมาชิกประเภทที่ ๒ มาจากการแต่งตั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง(สมาชิกประเภทที่ ๒)คอยช่วยเหลือกลั่นกรองงานของสมาชิก ผู้แทนราษฎร สมาชิก ประเภทที่ ๑) เพื่อให้การทำงานเกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด ดังเหตุผลที่นายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในคณะราษฎร ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร ความตอนหนึ่ง ว่า
“…ที่เราจำต้องมีสมาชิกประเภทที่ ๒ ไว้กึ่งหนึ่งก็เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้แทนราษฎร ในฐานะที่เพิ่งเริ่มมีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ เราย่อมทราบอยู่แล้วว่า ยังมีราษฎรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ที่จะจัดการปกครองป้องกันผลประโยชน์ ของตนเองได้บริบูรณ์ ถ้าขืนปล่อยมือให้ราษฎรเลือกผู้แทนโดยลำพังเอง ในเวลานี้แล้ว ผลร้ายก็จะตกอยู่แก่ราษฎร เพราะผู้ที่จะสมัครไปเป็นผู้แทนราษฎร อาจเป็นผู้ที่มีกำลัง ในทางทรัพย์ คณะราษฎร ปฏิญาณไว้ว่าถ้าราษฎรได้มีการศึกษาเพียงพอแล้ว ก็ยินดีที่จะปล่อยให้ราษฎรได้ปกครองตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องมีสมาชิกประเภทที่ ๒ ฉะนั้น จึงวางเงื่อนไขไว้ ขอให้เข้าใจว่าสมาชิกประเภทที่ ๒ เป็นเสมือนพี่เลี้ยงที่จะช่วยประคองการงานให้ดำเนินไปสมตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ป้องกันผลประโยชน์อันแท้จริง...”
จากวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ดังกล่าวนี้เอง จึงถือกำเนิด และถือได้ว่า “วุฒิสภา” หรือสภาที่ทำหน้าที่กลั่นกรองงานของสภาผู้แทนราษฎรได้ถือกำเนิดขึ้นมาในนามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ ๒ ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ นั่นเอง
โดยสรุปแล้ว คือ คณะราษฎรเห็นว่า ประชาชนนั้นยังโง่อยู่ ไม่สมควรมิสิทธิเลือกตัวแทนของตนเอง มาทำหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีมาทั้งสิ้น 18 ฉบับ แต่มีเพียงฉบับ 2540 ฉบับเดียว ที่มาจากการยกร่างของประชาชน ส่วนที่เหลือมาจากการปฏิวัติรัฐประหารทั้งสิ้น ฉบับ 2475(ฉบับชั่วคราว) 2475 2489 2490(ฉบับชั่วคราว) 2492 2495 2502 2511 2515 2517 2519 2520 2521 2534(ฉบับชั่วคราว) 2534 2549(ฉบับชั่วคราว) 2550(ฉบับปัจจุบัน)
และทุกรัฐธรรมนูญที่ใช้กันต่อมา ทุกฉบับ ที่ไม่ได้มาจากการยกร่างของประชาชน ล้วนเห็นว่าประชาชนนั้นโง่เกินกว่าจะเลือกผู้แทนของตัวเองไปทำหน้าที่วุฒิสภาได้ จึงต้องมีการแต่งตั้งกลุ่มบุคคลที่ฝ่ายอำนาจในขณะนั้นเห็นว่าฉลาด เข้าไปทำหน้าที่
แต่ก็มี 2 ฉบับที่ให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้บางส่วน และมีเพียง 1 ฉบับเท่านั้นที่ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด คือ
ฉบับแรก รัฐธรรมนูญ 2489 ที่กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาแต่ยังไม่ได้เลือกก็ถูกทิ้งโดยคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญ 2540 ที่กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด
และฉบับปี 2550 ที่กำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน
แต่มีเพียงฉบับเดียวเท่านั้น ที่ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด คือรัฐธรรมนูญปี 2540 (ที่จัดทำโดยตัวแทนประชาชน ที่เรียกว่า สสร.เข้าไปทำการยกร่างขึ้น)
ส่วนอีก 14 ฉบับที่กล่าวมาตอนต้น ล้วนแต่อ้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่ที่จริงเป็นการเสนอขึ้นทูนเกล้าจากผู้มีอำนาจในขณะนั้น แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด (จำนวนแต่ละครั้งไม่เท่ากัน)
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภามีเพียง 3 ครั้ง คือปี 2543 2549 และปี 2551 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 2 ครั้ง คือ 2543 2549 ส่วน 2551 เป็นการเลือกตั้งบางส่วน เข้าไปรวมกับสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากกระบวนการสรรหา(แต่งตั้ง) แต่การเลือก ตั้งในปี 2549 สมาชิกวุฒิสภาชุดนั้น ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เพราะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเสียก่อน เท่ากับว่า มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ที่ประชาชนในประเทศนี้ฉลาดพอที่จะเลือกผู้แทนของตัวเองได้ และได้เป็นผู้แทนจริงๆ คือปี 2543
ที่มาของรัฐธรรมนูญของไทย รัฐธรรมนูญของไทยมีที่มาจาก 3 แหล่งด้วยกัน คือ
1) การปฏิวัติรัฐประหาร โดยคณะปฏิวัติรัฐประหารร่างมา เพื่อประโยชน์แก่คณะของตน ได้แก่ ฉบับ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ให้ประโยชน์แก่คณะราษฎร์ ฉบับพ.ศ.2502 และ พ.ศ.2521 และ2549(ฉบับชั่วคราว) ให้ประโยชน์แก่คณะปฏิวัติรัฐประหารทั้งนั้น เรียกรัฐธรรมนูญชนิดนี้ว่า “รัฐธรรมนูญคณาธิปไตย”
2) การเรียกร้องของพลังประชาธิปไตย เช่น รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2489 ฉบับพ.ศ.2492 ฉบับ พ.ศ.2517 และฉบับ พ.ศ.2540 ซึ่งบรรจุหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประโยชน์ แก่ประชาชนมาก เรียกรัฐธรรมนูญแบบนี้ว่า “รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย” แต่มีเพียงฉบับเดียวที่ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่าง คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540
3) การประสานระหว่างผลประโยชน์ของพลังคณาธิปไตยกับพลังประชาธิปไตยมักเป็นผลจากการที่ คณะปฏิวัติรัฐประหารต้องการที่จะแสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มการเมืองอื่น ๆจึงจำเป็นต้องยอมให้กลุ่มผลประโยชน์อื่น ๆ เข้ามามีส่วนในการปกครองแต่คณะรัฐประหารยังคงรักษาอำนาจของตนไว้ระยะหนึ่งก่อนที่จะถ่ายทอดให้กับตัวแทนของประชาชนต่อไป อาทิเช่น รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2475 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495 หรือฉบับ พ.ศ.2521 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เราอาจเรียกรัฐธรรมนูญชนิดนี้ว่า “รัฐธรรมนูญกึ่งคณาธิปไตยกึ่งประชาธิปไตย” หรือ “รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ” และฉบับล่าสุด 2550 ก็จัดว่าเป็น“รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ”ตามความเห็นส่วนตัวของผม
ยิ่งดูอดีตก็ยิ่งรู้ว่า ทุกครั้งที่มีรัฐประหาร ประเทศชาติและระบอบประชาธิปไตยของเราล้วน แต่ “ถอยหลังเข้าคลอง”ทุกครั้งแต่มาปัจจุบัน เห็นคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ย้อนการเลือกตั้ง สว.ให้เป็นแบบอดีต คือมีการแต่งตั้งด้วย ผมก็รู้แล้วว่า รัฐประหารไม่ใช่อย่างเดียวที่ทำให้เรา “ถอยหลังเข้าคลอง” แต่วันนี้ก็ยังมีศาลรัฐธรรมนูญด้วย ที่ทำให้บ้านเมืองเราเป็นอย่างนั้น
ใจจริงอยากจะว่าต่อด้วยเรื่องอื่นที่เกี่ยวเนื่อง แค่นี้ก็ยาวมากแล้ว เลยพอแค่นี้ก่อน
วันหลังจะมาว่าต่อด้วยเรื่อง “รัฐธรรมนูญ 2550 รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ” จะวิเคราะห์ให้เห็นเลยว่า จุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญนี้ คืออะไร มีอะไรเป็นต้นแบบ และจะได้รู้จัก ชายที่ชื่อ เปรม ติณสูลานนท์ “นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ผู้ครองอำนาจภายใต้ร่มเงา รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครึ่งใบ มาเกือบทศวรรษ