อาจจะมีกระทู้ทำนองนี้มาแล้ว ขออภัยด้วยนะครับ
วันก่อนมีโอกาสได้ฟัง อาจารย์ไตรรงค์ สุวรรณคีรี พูดที่ราชดำเนินเกี่ยวกับสภาประชาชนของประเทศไอซ์แลนด์ ผมว่าน่าสนใจ ถึงแม้ผมจะชื่นชอบพรรคเพื่อไทย แต่ในส่วนลึกๆ ก็อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศในหลายๆ อย่าง ซึ่งแน่นอนต้องมีการปฎิรูป จะก่อน หรือ หลังเลือกตั้งก็แล้วแต่ ผมจะขอเล่าของประเทศไอซ์แลนด์แบบย่อ ๆ เท่าที่จำได้นะครับ
ซึ่งประเทศไอซ์แลนด์ได้มีการทำสภาประชาชนเมื่อ 4-5 ปีมานี้
เนื่องจากรัฐบาลไอซ์แลนด์ได้มีการทำให้ประเทศชาติเสียหาย เกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน คือ ยกเลิกการควบคุมการกู้เงินจากต่างประเทศ ทำให้ทุกธนาคารกู้เงินจากต่างประเทศมามากมายเพราะดอกเบี้ยถูก มาปล่อยในประเทศ
พวกนักการเมืองก็รีบเปิดบริษัทพัฒนาอสังหา สร้างบ้านมาขายให้ประชาชนมากมาย เพราะประชาชนกู้ง่าย ขายคล่อง จนประชาชนไม่สามารถผ่อนชำระคืนธนาคารได้ ลามไปถึงธนาคารไม่สามารถคืนเงินกู้ต่างประเทศได้ จนเกิดเป็นวิกฤตประเทศ
รัฐบาลต้องไปขอกู้ IMF เพื่อมาซื้อธนาคารมาเป็นของรัฐและชำระหนี้ให้ธนาคาร และมาขูดรีดภาษีประชาชน
ประชาชนทนไม่ไหวจึงออกมาประท้วงด้วย หม้อและกะทะ ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Pots and Pans revolution
หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีก็ออกมาขอโทษประชาชน และ ยุบสภา และให้ฝ่ายค้านจัดตั้งรัฐบาลผสมและจัดการเลือกตั้ง โดยนายกคนนี้ก็เลิกเล่นการเมืองไปเลย
หลังจากนั้นก็จัดตั้งสภาประชาชน โดยประชาชน รัฐบาลไม่เกี่ยวข้อง
สภาประชาชนทำโดยวิธีการสุ่ม เลือกประชาชนทั้งประเทศด้วยโปรแกรมสุ่ม สุ่มจากทุกจังหวัด เท่าๆ กัน แต่ละจังหวัด แบ่งชายหญิงเท่าๆ กัน ช่วงแต่ละอายุเท่าๆ กัน และ อื่นๆ
จนได้มาจากทั่วประเทศ 1200 คน (ประเทศไทยใหญ่กว่า น่าจะต้องมากกว่านี้)
จากนั้นก็เลือกตัวแทนจากทุกกลุ่มอาชีพ อีก 300 คน รวมเป็น 1500 คน มาจัดตั้งสภาประชาชน ครั้งที่ 1
มาประชุมกันโดย ตั้งโต๊ะ 100 กว่าโต๊ะ แล้วให้ทั้ง 1500 คนมานั่งให้ครบทุกโต๊ะประมาณโต๊ะละ 8-9 คน แล้วมีแกนนำเอาปัญหาของชาติมาโยนให้ทุกโต๊ะรวมหัวกันคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
จนได้ข้อมูลทั้งหมดมา ใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นก็เลิกสภาประชาชนครั้งที่ 1
รัฐบาลเข้ามาดูแลต่อ โดยทำวิธีเดิมอีกครั้ง สุ่มเลือกคนจากทั้งประเทศมาประชุมสภาประชาชนครั้งที่ 2
โดยนำข้อมูลจากครั้งที่ 1 มากลั่นกลองอีกรอบ เพราะข้อมูลจากรอบแรกเยอะมาก ย่อจนเหลือแค่ 700 หน้า และมีนักวิชาการคอยช่วยเหลือ
สภาประชาชนครั้งที่ 2 เสร็จสิ้น
ต่อมาก็เลือกกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนำข้อมูล 700 หน้านี้ ไปทำรัฐธรรมนูญ
และนี่คือรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง
โดยส่วนตัว ผมอยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดในประเทศไทยของเรา เพราะมันคือความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่สำคัญว่าจะปฏิรูปก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง แต่ผมอยากให้ประเทศไทยทำรัฐธรรมนูญที่มากจากประชาชนไม่ใช่จากนักการเมือง
สภาประชาชน ตามไอซ์แลนด์โมเดล
วันก่อนมีโอกาสได้ฟัง อาจารย์ไตรรงค์ สุวรรณคีรี พูดที่ราชดำเนินเกี่ยวกับสภาประชาชนของประเทศไอซ์แลนด์ ผมว่าน่าสนใจ ถึงแม้ผมจะชื่นชอบพรรคเพื่อไทย แต่ในส่วนลึกๆ ก็อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศในหลายๆ อย่าง ซึ่งแน่นอนต้องมีการปฎิรูป จะก่อน หรือ หลังเลือกตั้งก็แล้วแต่ ผมจะขอเล่าของประเทศไอซ์แลนด์แบบย่อ ๆ เท่าที่จำได้นะครับ
ซึ่งประเทศไอซ์แลนด์ได้มีการทำสภาประชาชนเมื่อ 4-5 ปีมานี้
เนื่องจากรัฐบาลไอซ์แลนด์ได้มีการทำให้ประเทศชาติเสียหาย เกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน คือ ยกเลิกการควบคุมการกู้เงินจากต่างประเทศ ทำให้ทุกธนาคารกู้เงินจากต่างประเทศมามากมายเพราะดอกเบี้ยถูก มาปล่อยในประเทศ
พวกนักการเมืองก็รีบเปิดบริษัทพัฒนาอสังหา สร้างบ้านมาขายให้ประชาชนมากมาย เพราะประชาชนกู้ง่าย ขายคล่อง จนประชาชนไม่สามารถผ่อนชำระคืนธนาคารได้ ลามไปถึงธนาคารไม่สามารถคืนเงินกู้ต่างประเทศได้ จนเกิดเป็นวิกฤตประเทศ
รัฐบาลต้องไปขอกู้ IMF เพื่อมาซื้อธนาคารมาเป็นของรัฐและชำระหนี้ให้ธนาคาร และมาขูดรีดภาษีประชาชน
ประชาชนทนไม่ไหวจึงออกมาประท้วงด้วย หม้อและกะทะ ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Pots and Pans revolution
หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีก็ออกมาขอโทษประชาชน และ ยุบสภา และให้ฝ่ายค้านจัดตั้งรัฐบาลผสมและจัดการเลือกตั้ง โดยนายกคนนี้ก็เลิกเล่นการเมืองไปเลย
หลังจากนั้นก็จัดตั้งสภาประชาชน โดยประชาชน รัฐบาลไม่เกี่ยวข้อง
สภาประชาชนทำโดยวิธีการสุ่ม เลือกประชาชนทั้งประเทศด้วยโปรแกรมสุ่ม สุ่มจากทุกจังหวัด เท่าๆ กัน แต่ละจังหวัด แบ่งชายหญิงเท่าๆ กัน ช่วงแต่ละอายุเท่าๆ กัน และ อื่นๆ
จนได้มาจากทั่วประเทศ 1200 คน (ประเทศไทยใหญ่กว่า น่าจะต้องมากกว่านี้)
จากนั้นก็เลือกตัวแทนจากทุกกลุ่มอาชีพ อีก 300 คน รวมเป็น 1500 คน มาจัดตั้งสภาประชาชน ครั้งที่ 1
มาประชุมกันโดย ตั้งโต๊ะ 100 กว่าโต๊ะ แล้วให้ทั้ง 1500 คนมานั่งให้ครบทุกโต๊ะประมาณโต๊ะละ 8-9 คน แล้วมีแกนนำเอาปัญหาของชาติมาโยนให้ทุกโต๊ะรวมหัวกันคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
จนได้ข้อมูลทั้งหมดมา ใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นก็เลิกสภาประชาชนครั้งที่ 1
รัฐบาลเข้ามาดูแลต่อ โดยทำวิธีเดิมอีกครั้ง สุ่มเลือกคนจากทั้งประเทศมาประชุมสภาประชาชนครั้งที่ 2
โดยนำข้อมูลจากครั้งที่ 1 มากลั่นกลองอีกรอบ เพราะข้อมูลจากรอบแรกเยอะมาก ย่อจนเหลือแค่ 700 หน้า และมีนักวิชาการคอยช่วยเหลือ
สภาประชาชนครั้งที่ 2 เสร็จสิ้น
ต่อมาก็เลือกกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนำข้อมูล 700 หน้านี้ ไปทำรัฐธรรมนูญ
และนี่คือรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง
โดยส่วนตัว ผมอยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดในประเทศไทยของเรา เพราะมันคือความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่สำคัญว่าจะปฏิรูปก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง แต่ผมอยากให้ประเทศไทยทำรัฐธรรมนูญที่มากจากประชาชนไม่ใช่จากนักการเมือง