เป็นที่น่าจับตาสำหรับท่าทีความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์
ที่จะมีการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี ในวันที่ 16-17 ธันวาคมนี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
เป็นการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังคุกรุ่น และแน่นอนว่าการเปลี่ยน
แปลงครั้งนี้จะชี้ชะตาอนาคตของ ปชป.ว่าจะเดินไปบนเส้นทางการเมืองนับจากนี้ได้อย่างไร
เพราะว่าวาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้จะมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดย
สำนักงานเลขาธิการพรรคจะประชุมร่วมกับสาขาพรรค
รวมทั้งจะมีการพิจารณาแก้ไขข้อบังคับพรรค ที่จะนำไปสู่กระบวนการบริหารจัดการ ในลักษณะที่
ปชป.มุ่งหวังจะเป็นพรรคการเมืองที่พึ่งของประชาชนในการเดินหน้าตามระบอบประชาธิปไตย
ทว่าการเดินหน้าปฏิรูปพรรคในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมี
ความขัดแย้งและไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะจบลงอย่างไร โดยเฉพาะการตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ยังไม่มีความชัดเจน
หากพรรคการเมืองใหญ่อย่าง ปชป.ตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แน่นอนว่าแนวคิดในการตัดสินใจ
เช่นนี้ย่อมไปขัดกับจุดยืนที่แน่วแน่ของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. มองว่าการเลือกตั้งจะต้อง
ไม่เกิดขึ้น หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศ โดยการจัดตั้งสภาประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหา
การทุจริตซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งให้ได้เสียก่อน ถึงจะมีการเลือกตั้งได้
แต่หาก ปชป.บอยคอตไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แน่นอนว่าจะต้องถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่ไม่
เอาหลักประชาธิปไตย ไม่เคารพในหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น จึงเป็นงานหินในการตัดสินใจ ในการกำหนดท่าทีและบทสรุปที่ชัดเจนได้ว่าคณะกรรมการ
บริหารพรรคชุดใหม่เป็นใคร จะเข้ามารับหน้าที่นำพาพรรคไปในทิศทางใด ในการประชุมใหญ่ครั้ง
สำคัญครั้งนี้
อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้า ปชป. ผู้ริเริ่มแนวคิดในการปฏิรูปพรรค เปิดเผยว่า การปฏิรูปพรรคเป็น
ความคาดหวังของคนในพรรค รวมถึงคนสังคม เนื่องจาก ปชป.เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ ดังนั้น
การปฏิรูปพรรคจึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้ ปชป.มีโอกาสกลับมาชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ดังนั้น จึงนำ
ไปสู่การประชุมใหญ่วิสามัญของ ปชป. ในวันที่ 16-17 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการตัดสิน
ใจครั้งนี้เป็นงานที่ยากที่สุดสำหรับ ปชป.
"ต้องยอมรับว่าการตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นงานที่ยากที่สุดของ ปชป.เท่าที่มีมา หาก
มีการบอยคอตการเลือกตั้งเกิดขึ้น แน่นอนว่าพรรคจะถูกตราหน้าว่าเป็นพรรคการเมืองที่ไม่ยอมรับ
กฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญไม่สู้ในระบบสภา แต่หากส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งก็ไปขัดกับเหตุการณ์
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลในขณะนี้ ที่บอกว่าตอนนี้การเลือกตั้ง
ยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ดังนั้น ความขัดแย้งในบ้านเมืองเราจะยุติได้หรือไม่ ปชป.เองก็ต้องเดิน
หน้าหาทางออก ในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งนี้ก็หวังว่าพรรคเองก็จะได้ข้อเสนอที่เป็นที่ถูกต้องและ
ยอมรับได้ในทุกๆ ฝ่าย" อลงกรณ์ระบุ
ส่วนความเห็นของนักวิชาการ นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย มองว่า การเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์จะมีการประชุมใหญ่ของพรรคในช่วง
สัปดาห์นี้นั้น คงต้องติดตามการเคลื่อนไหวว่ามติของพรรคจะมีท่าทีออกมาอย่างไร หากมองไป
ถึงการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น ถ้าทางพรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งสมาชิกลงเลือกตั้ง
จริง แน่นอนว่าจะมีผลต่อคะแนนเสียง "ไม่ประสงค์ออกเสียง" NO VOTE ในการเลือกตั้งครั้งนี้
แต่เชื่อว่าแม้ว่าจะมีจำนวนเสียง NO VOTE เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ก็อาจจะไม่กระทบต่อการเลือกตั้ง
ซ้ำรอยกับปี 2549 แน่นอน เพราะในครั้งนั้นมีการไม่ยอมรับการเลือกตั้งของทางพรรคร่วมเกิดขึ้นด้วย
ต่างกับการเลือกตั้งในครั้งนี้ มีพรรคการเมืองเกิดใหม่ หรือพรรคร่วมเดิมประสงค์ที่จะลงเลือกตั้ง แต่
อาจจะทำให้การหาเสียงของพรรคการเมืองในครั้งนี้ทำได้ยากขึ้น
"ส่วนจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนเวลาในการเลือกตั้งนั้น ขณะนี้คงเลื่อนไม่ได้ เพราะมีการกำหนดและประกาศ
ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หากจะทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ก็ต้องเกิดการละเมิด
รัฐธรรมนูญหรือไม่ได้ดำเนินตามกรอบรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น หากตัดสินเช่นนั้นก็อาจจะทำให้ไม่มีการเลือก
ตั้ง อาจจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของมวลชนอีกกลุ่มออกมาปะทะ ทำให้ไม่จบ" นางสิริพรรณกล่าว
และว่า แนวทางการปฏิรูปที่หลายฝ่ายกำลังพูดถึงนั้น การปฏิรูปสามารถทำได้ สิ่งที่ได้เสนอคือ ทาง
กปปส.จะต้องเสนอแนวทางในการปฏิรูปให้ชัดเจนเลยว่าจะต้องมีการปฏิรูปในเรื่องอะไรบ้าง
"หลังจากมีแนวทางปฏิรูปที่ชัดเจนแล้วนั้น ก็ควรจะใช้การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ สอบถามความ
คิดเห็นจากประชาชน เพราะไม่สามารถทำประชามติได้ เนื่องจากกฎหมายระบุการทำประชามติไว้ที่
90 วัน และเมื่อใช้โอกาสนี้สอบถามความเห็นของประชาชนแล้ว พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งขึ้น
มาก็ต้องลงสัตยาบันของพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการให้สัญญาต่อประชาชนว่าจะทำตามความ
เห็นของประชาชน" อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทิ้งท้าย
สำหรับความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรรมการบริหารชุดใหม่ใน ปชป.นั้น ก่อนการประชุมใหญ่วิสามัญของ
พรรค เกิดกระแสข่าวออกมาเป็นระลอก กรณีที่มีคนในพรรคเสนอแนะให้หัวหน้า ปชป.อย่าง อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ เว้นวรรคหน้าที่ทางการเมือง เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายลงเสียก่อน โดยสนับสนุนให้
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน เข้ามารับไม้ต่อโดยให้นั่งเก้าอี้ "หัวหน้าพรรค"
ขณะที่บางกระแสข่าวกลับระบุว่าตำแหน่งหัวหน้าพรรคยังคงเป็นนายอภิสิทธิ์คนเดิม แต่ที่จะเปลี่ยนก็
คือตำแหน่งเลขาธิการพรรคของ เฉลิมชัย ศรีอ่อน ถูกมองว่าการทำงานที่ผ่านมาไม่ถูกตาต้องใจคน
ในพรรคเท่าที่ควร
ในการประชุมใหญ่วิสามัญของ ปชป.ที่จะถึงนี้ น่าจะได้ข้อสรุปต่างๆ ในการปฏิรูปพรรค รวมถึงการตั้ง
คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ อาจจะได้คนหน้าเดิมบ้าง หน้าใหม่บ้าง
แต่คณะกรรมการบริหารพรรคชุดนี้จะเป็นผู้ตัดสินใจทิศทางการเดินหน้าให้กับ ปชป. รวมถึงการตัดสินใจ
ว่าคณะกรรมการบริหารชุดใหม่นี้จะตัดสินใจบอยคอตการเลือกตั้งหรือไม่
ที่สำคัญจะนำพาพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน จนถึงขั้นชนะเลือกตั้งครั้งต่อไป
หรือไม่ ล้วนเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่ง
............
(ที่มา:มติชนรายวัน 16 ธ.ค.2556)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1387190964&grpid=01&catid=&subcatid=
หากมองว่ามวลมหาประชาชน นับล้านคน ที่สนับสนุนนโยบาย ปฏิรูปการเมืองของกปปส.
ก็คือผู้สนับสนุนปประชาธิปัตย์ การเอาชนะการเลือกตั้ง และนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองตามแนวทาง
ของกปปส. ก็ไม่น่าจะยากเ ย็น แต่หากจะทำให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
การปฏิรูปการเมืองวันนี้ ต้องแก้รธน.ก่อน แล้วศาลรธน. จะยอมไหม ? การปฏิรูปการเมือง
ไม่ว่า จะเรื่องอะไร ก็ต้องแก้รธน. ทั้งนั้น
หรือเราจะปฏิรูป ศาลรัฐธรรมนูญ ซะเลย จะดัไหม ?????? : )
โจทย์ยากของ"ปชป." เบื้องหน้าศึก 2 ก.พ.57 มติชนออนไลน์
ที่จะมีการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี ในวันที่ 16-17 ธันวาคมนี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
เป็นการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังคุกรุ่น และแน่นอนว่าการเปลี่ยน
แปลงครั้งนี้จะชี้ชะตาอนาคตของ ปชป.ว่าจะเดินไปบนเส้นทางการเมืองนับจากนี้ได้อย่างไร
เพราะว่าวาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้จะมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดย
สำนักงานเลขาธิการพรรคจะประชุมร่วมกับสาขาพรรค
รวมทั้งจะมีการพิจารณาแก้ไขข้อบังคับพรรค ที่จะนำไปสู่กระบวนการบริหารจัดการ ในลักษณะที่
ปชป.มุ่งหวังจะเป็นพรรคการเมืองที่พึ่งของประชาชนในการเดินหน้าตามระบอบประชาธิปไตย
ทว่าการเดินหน้าปฏิรูปพรรคในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงมี
ความขัดแย้งและไม่มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะจบลงอย่างไร โดยเฉพาะการตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ยังไม่มีความชัดเจน
หากพรรคการเมืองใหญ่อย่าง ปชป.ตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แน่นอนว่าแนวคิดในการตัดสินใจ
เช่นนี้ย่อมไปขัดกับจุดยืนที่แน่วแน่ของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย
ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. มองว่าการเลือกตั้งจะต้อง
ไม่เกิดขึ้น หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศ โดยการจัดตั้งสภาประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหา
การทุจริตซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งให้ได้เสียก่อน ถึงจะมีการเลือกตั้งได้
แต่หาก ปชป.บอยคอตไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง แน่นอนว่าจะต้องถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่ไม่
เอาหลักประชาธิปไตย ไม่เคารพในหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น จึงเป็นงานหินในการตัดสินใจ ในการกำหนดท่าทีและบทสรุปที่ชัดเจนได้ว่าคณะกรรมการ
บริหารพรรคชุดใหม่เป็นใคร จะเข้ามารับหน้าที่นำพาพรรคไปในทิศทางใด ในการประชุมใหญ่ครั้ง
สำคัญครั้งนี้
อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้า ปชป. ผู้ริเริ่มแนวคิดในการปฏิรูปพรรค เปิดเผยว่า การปฏิรูปพรรคเป็น
ความคาดหวังของคนในพรรค รวมถึงคนสังคม เนื่องจาก ปชป.เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ ดังนั้น
การปฏิรูปพรรคจึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้ ปชป.มีโอกาสกลับมาชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ดังนั้น จึงนำ
ไปสู่การประชุมใหญ่วิสามัญของ ปชป. ในวันที่ 16-17 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการตัดสิน
ใจครั้งนี้เป็นงานที่ยากที่สุดสำหรับ ปชป.
"ต้องยอมรับว่าการตัดสินใจส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นงานที่ยากที่สุดของ ปชป.เท่าที่มีมา หาก
มีการบอยคอตการเลือกตั้งเกิดขึ้น แน่นอนว่าพรรคจะถูกตราหน้าว่าเป็นพรรคการเมืองที่ไม่ยอมรับ
กฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญไม่สู้ในระบบสภา แต่หากส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งก็ไปขัดกับเหตุการณ์
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนที่ออกมาต่อต้านรัฐบาลในขณะนี้ ที่บอกว่าตอนนี้การเลือกตั้ง
ยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ดังนั้น ความขัดแย้งในบ้านเมืองเราจะยุติได้หรือไม่ ปชป.เองก็ต้องเดิน
หน้าหาทางออก ในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งนี้ก็หวังว่าพรรคเองก็จะได้ข้อเสนอที่เป็นที่ถูกต้องและ
ยอมรับได้ในทุกๆ ฝ่าย" อลงกรณ์ระบุ
ส่วนความเห็นของนักวิชาการ นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย มองว่า การเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์จะมีการประชุมใหญ่ของพรรคในช่วง
สัปดาห์นี้นั้น คงต้องติดตามการเคลื่อนไหวว่ามติของพรรคจะมีท่าทีออกมาอย่างไร หากมองไป
ถึงการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั้น ถ้าทางพรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งสมาชิกลงเลือกตั้ง
จริง แน่นอนว่าจะมีผลต่อคะแนนเสียง "ไม่ประสงค์ออกเสียง" NO VOTE ในการเลือกตั้งครั้งนี้
แต่เชื่อว่าแม้ว่าจะมีจำนวนเสียง NO VOTE เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ก็อาจจะไม่กระทบต่อการเลือกตั้ง
ซ้ำรอยกับปี 2549 แน่นอน เพราะในครั้งนั้นมีการไม่ยอมรับการเลือกตั้งของทางพรรคร่วมเกิดขึ้นด้วย
ต่างกับการเลือกตั้งในครั้งนี้ มีพรรคการเมืองเกิดใหม่ หรือพรรคร่วมเดิมประสงค์ที่จะลงเลือกตั้ง แต่
อาจจะทำให้การหาเสียงของพรรคการเมืองในครั้งนี้ทำได้ยากขึ้น
"ส่วนจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนเวลาในการเลือกตั้งนั้น ขณะนี้คงเลื่อนไม่ได้ เพราะมีการกำหนดและประกาศ
ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หากจะทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ก็ต้องเกิดการละเมิด
รัฐธรรมนูญหรือไม่ได้ดำเนินตามกรอบรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น หากตัดสินเช่นนั้นก็อาจจะทำให้ไม่มีการเลือก
ตั้ง อาจจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของมวลชนอีกกลุ่มออกมาปะทะ ทำให้ไม่จบ" นางสิริพรรณกล่าว
และว่า แนวทางการปฏิรูปที่หลายฝ่ายกำลังพูดถึงนั้น การปฏิรูปสามารถทำได้ สิ่งที่ได้เสนอคือ ทาง
กปปส.จะต้องเสนอแนวทางในการปฏิรูปให้ชัดเจนเลยว่าจะต้องมีการปฏิรูปในเรื่องอะไรบ้าง
"หลังจากมีแนวทางปฏิรูปที่ชัดเจนแล้วนั้น ก็ควรจะใช้การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ สอบถามความ
คิดเห็นจากประชาชน เพราะไม่สามารถทำประชามติได้ เนื่องจากกฎหมายระบุการทำประชามติไว้ที่
90 วัน และเมื่อใช้โอกาสนี้สอบถามความเห็นของประชาชนแล้ว พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งขึ้น
มาก็ต้องลงสัตยาบันของพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการให้สัญญาต่อประชาชนว่าจะทำตามความ
เห็นของประชาชน" อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทิ้งท้าย
สำหรับความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรรมการบริหารชุดใหม่ใน ปชป.นั้น ก่อนการประชุมใหญ่วิสามัญของ
พรรค เกิดกระแสข่าวออกมาเป็นระลอก กรณีที่มีคนในพรรคเสนอแนะให้หัวหน้า ปชป.อย่าง อภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ เว้นวรรคหน้าที่ทางการเมือง เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายลงเสียก่อน โดยสนับสนุนให้
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน เข้ามารับไม้ต่อโดยให้นั่งเก้าอี้ "หัวหน้าพรรค"
ขณะที่บางกระแสข่าวกลับระบุว่าตำแหน่งหัวหน้าพรรคยังคงเป็นนายอภิสิทธิ์คนเดิม แต่ที่จะเปลี่ยนก็
คือตำแหน่งเลขาธิการพรรคของ เฉลิมชัย ศรีอ่อน ถูกมองว่าการทำงานที่ผ่านมาไม่ถูกตาต้องใจคน
ในพรรคเท่าที่ควร
ในการประชุมใหญ่วิสามัญของ ปชป.ที่จะถึงนี้ น่าจะได้ข้อสรุปต่างๆ ในการปฏิรูปพรรค รวมถึงการตั้ง
คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ อาจจะได้คนหน้าเดิมบ้าง หน้าใหม่บ้าง
แต่คณะกรรมการบริหารพรรคชุดนี้จะเป็นผู้ตัดสินใจทิศทางการเดินหน้าให้กับ ปชป. รวมถึงการตัดสินใจ
ว่าคณะกรรมการบริหารชุดใหม่นี้จะตัดสินใจบอยคอตการเลือกตั้งหรือไม่
ที่สำคัญจะนำพาพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้รับการยอมรับจากประชาชน จนถึงขั้นชนะเลือกตั้งครั้งต่อไป
หรือไม่ ล้วนเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่ง
............
(ที่มา:มติชนรายวัน 16 ธ.ค.2556)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1387190964&grpid=01&catid=&subcatid=
หากมองว่ามวลมหาประชาชน นับล้านคน ที่สนับสนุนนโยบาย ปฏิรูปการเมืองของกปปส.
ก็คือผู้สนับสนุนปประชาธิปัตย์ การเอาชนะการเลือกตั้ง และนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองตามแนวทาง
ของกปปส. ก็ไม่น่าจะยากเ ย็น แต่หากจะทำให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ
การปฏิรูปการเมืองวันนี้ ต้องแก้รธน.ก่อน แล้วศาลรธน. จะยอมไหม ? การปฏิรูปการเมือง
ไม่ว่า จะเรื่องอะไร ก็ต้องแก้รธน. ทั้งนั้น
หรือเราจะปฏิรูป ศาลรัฐธรรมนูญ ซะเลย จะดัไหม ?????? : )