เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชรัตนมงคล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เปิดเผยว่า วันที่ 12 ธันวาคมนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์ครบ 50 วัน (ปัญญาสมวาร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร ถวายสมเด็จพระสังฆราช วันที่ 11-12 ธันวาคม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังคงมีประชาชน ศิษยานุศิษย์ หลั่งไหลมาถวายสักการะพระศพอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีคณะศิษยานุศิษย์เล่าว่าพระเกศา และพระโลหิต ที่ได้รับประทานจากสมเด็จพระสังฆราช ในโอกาสเจริญพระชนมายุ 100 พรรษา บางส่วนกลายเป็นพระธาตุ ซึ่งสร้างความปิติแก่คณะศิษยานุศิษย์เป็นอย่างมาก
พระราชรัตนมงคล กล่าวอีกว่า จากการพูดคุยกันเบื้องต้น สาเหตุที่ทำให้พระเกศา และพระโลหิตกลายเป็นพระธาตุ น่าจะมาจากพระปฏิปทาด้านสมาธิกรรมฐาน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงสนพระทัยฝึกปฏิบัติกรรมมาฐานตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเปรียญ การปฏิบัติกรรมฐานเป็นคตินิยมในพระสงฆ์คณะธรรมยุต ที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเน้นให้พระสงฆ์สามเณรพึงปฏิบัติ 2 อย่างให้เคร่งครัด คือคันถธุระ การศึกษาพระคัมภีร์ เพื่อให้มีความรู้ด้านพระธรรมวินัย และวิปัสสนาธุระ การอบรมจิตใจตามหลักสมถะ และวิปัสสนาเพื่อให้รู้แจ้งในธรรม และกำจัดกิเลสออกจากจิตใจจนสามารถบรรลุธรรม
"สมเด็จพระสังฆราช ทรงปฏิบัติพระองค์แบบพระกรรมฐานในเมือง เมื่อทรงมีโอกาส จะเสด็จจาริกไปประทับตามสำนักวัดป่าในภาคอีสานเสมอ ครั้งหนึ่งหลวงตามหาบัวได้กล่าวถึงพระองค์ว่า ท่านเคยมาภาวนาที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี สมัยที่ท่านยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ท่านมาแต่ละครั้งจะอยู่เป็นอาทิตย์ เอาจริงเอาจังเวลาภาวนา เมื่อมีโอกาสอันดีท่านก็สนทนาธรรมกัน ท่านตั้งใจศึกษา และมีความรู้ด้านจิตตภาวนาอย่างมาก สงสัยเรื่องไหนท่านจะซักจนถึงเหตุและผล" พระราชรัตนมงคล กล่าว
พระราชรัตนมงคลกล่าวต่อว่า สมเด็จพระสังฆราช ได้ไปฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับพระอาจารย์สำคัญหลายรูป อย่างเช่น หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราชทรงรับภาระสอนกรรมฐานที่วัดบวรฯ ตั้งแต่ปี 2504 ซึ่งพระองค์เป็นที่ยอมรับของหมู่พระนักปฏิบัติ หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่าพระกรรมฐาน และยังมีพระนิพนธ์เกี่ยวกับกรรมฐาน และเรื่องของจิตจำนวนมาก อาทิ จิตตนคร นครหลวงของโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพระเกศา และพระโลหิตบางส่วนของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์เชื่อว่าแปรสภาพเป็นพระธาตุนั้น พบว่าเส้นพระเกศา และพระโลหิตมีลักษณะเป็นผลึกแก้วใสปะปนอยู่
ที่มา :
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1386668754&grpid=00&catid=&subcatid=
"พระเกศา-พระโลหิต" พระสังฆราชกลายเป็นพระธาตุ
พระราชรัตนมงคล กล่าวอีกว่า จากการพูดคุยกันเบื้องต้น สาเหตุที่ทำให้พระเกศา และพระโลหิตกลายเป็นพระธาตุ น่าจะมาจากพระปฏิปทาด้านสมาธิกรรมฐาน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงสนพระทัยฝึกปฏิบัติกรรมมาฐานตั้งแต่ยังทรงเป็นพระเปรียญ การปฏิบัติกรรมฐานเป็นคตินิยมในพระสงฆ์คณะธรรมยุต ที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเน้นให้พระสงฆ์สามเณรพึงปฏิบัติ 2 อย่างให้เคร่งครัด คือคันถธุระ การศึกษาพระคัมภีร์ เพื่อให้มีความรู้ด้านพระธรรมวินัย และวิปัสสนาธุระ การอบรมจิตใจตามหลักสมถะ และวิปัสสนาเพื่อให้รู้แจ้งในธรรม และกำจัดกิเลสออกจากจิตใจจนสามารถบรรลุธรรม
"สมเด็จพระสังฆราช ทรงปฏิบัติพระองค์แบบพระกรรมฐานในเมือง เมื่อทรงมีโอกาส จะเสด็จจาริกไปประทับตามสำนักวัดป่าในภาคอีสานเสมอ ครั้งหนึ่งหลวงตามหาบัวได้กล่าวถึงพระองค์ว่า ท่านเคยมาภาวนาที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี สมัยที่ท่านยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ท่านมาแต่ละครั้งจะอยู่เป็นอาทิตย์ เอาจริงเอาจังเวลาภาวนา เมื่อมีโอกาสอันดีท่านก็สนทนาธรรมกัน ท่านตั้งใจศึกษา และมีความรู้ด้านจิตตภาวนาอย่างมาก สงสัยเรื่องไหนท่านจะซักจนถึงเหตุและผล" พระราชรัตนมงคล กล่าว
พระราชรัตนมงคลกล่าวต่อว่า สมเด็จพระสังฆราช ได้ไปฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับพระอาจารย์สำคัญหลายรูป อย่างเช่น หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราชทรงรับภาระสอนกรรมฐานที่วัดบวรฯ ตั้งแต่ปี 2504 ซึ่งพระองค์เป็นที่ยอมรับของหมู่พระนักปฏิบัติ หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่าพระกรรมฐาน และยังมีพระนิพนธ์เกี่ยวกับกรรมฐาน และเรื่องของจิตจำนวนมาก อาทิ จิตตนคร นครหลวงของโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพระเกศา และพระโลหิตบางส่วนของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์เชื่อว่าแปรสภาพเป็นพระธาตุนั้น พบว่าเส้นพระเกศา และพระโลหิตมีลักษณะเป็นผลึกแก้วใสปะปนอยู่
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1386668754&grpid=00&catid=&subcatid=