วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญอีกแล้ว ...ทำไงดี เหล่าผอง...องครักษ์ พิทักษ์ศาล

กระทู้สนทนา
ที่มา สว. จบ - สงครามยังไม่จบ    ข่าวสด การเมือง


คําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีปมแก้ไขที่มาส.ว.

อันส่งผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวต้องเป็นโมฆะ แต่ไม่ถึงขั้นต้องยุบพรรค
และตัดสิทธิ์ส.ส.-ส.ว. อีก 300 กว่าคน     ข่าวสด  การเมือง

ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาหลายแง่มุม

แต่ที่ส่วนใหญ่เห็นตรงกันคือ คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่เพียงไม่สามารถยุติความขัดแย้งทาง
การเมืองลงได้ ในทางตรงข้ามกลับทำให้ความขัดแย้งขยาย วงกว้างออกไป

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคำวินิจฉัย ดังกล่าวได้สร้างเครื่องหมายคำถามขึ้นในใจ
ประชาชนจำนวนมาก

บรรดานักวิชาการด้านกฎหมาย นักนิติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ต้องเปิดเวทีถกเถียงกันยกใหญ่
ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกำลังจะนำพาบ้านเมืองไปสู่อะไร

และเห็นด้วยที่รัฐบาลเพื่อไทยออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยดังกล่าว

เพราะความจริงก่อนเรื่องทั้งหมดจะเดินมาถึงจุดนี้ ข้อท้วงติงคือศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่มีอำนาจรับคำร้อง มาตั้งแต่ต้น

การฝืนรับและมีคำวินิจฉัยออกมาจึงไม่ต่างจากการกลัดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก
ผลจึงทำให้เสื้อประชาธิปไตยต้องบิดเบี้ยวผิดรูปทรงตามไปด้วย


คำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 20 พ.ย. ไม่เพียงสร้างความเคลือบแคลง ให้สังคมไทย

สื่อต่างประเทศที่เกาะติดสถาน การณ์การเมืองไทยมาตลอดก็ได้รายงานข่าว
ด้วยน้ำเสียงเดียวกัน ก่อนสรุปฟันธงว่าการต่อสู้ทางการเมืองของคนไทยสองฝ่าย
ยังจะดำเนิน ต่อไป

บีบีซี สำนักข่าวอังกฤษที่ได้ชื่อเป็นประเทศต้นแบบประชาธิปไตย ระบุแถมท้ายว่า
ศาลรัฐธรรมนูญไทยมีอำนาจกำหนดความเป็นไปทางการเมือง

อย่างชนิดที่หาไม่ได้ง่ายนักในประเทศอื่น


ถึงแม้การไม่สั่งยุบพรรคจะสร้างความพึงพอใจระดับหนึ่งให้กองเชียร์รัฐบาล

เห็นได้จากการที่กลุ่ม นปช.คนเสื้อแดง กว่า 50,000 คน ซึ่งปักหลักอยู่เวทีสนาม
ราชมังคลากีฬาสถาน

ประกาศยุติการชุมนุมทันทีหลังรู้ผลคำวินิจฉัย เพราะถือว่าได้ปฏิบัติภารกิจปกป้อง
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว

แต่ก่อนแยกย้ายกันกลับไปตั้งหลักเพื่อรอรับศึก ทั้งยาวทั้งใหญ่

นปช.คนเสื้อแดงเรียกร้องให้ส.ว.เลือกตั้งและส.ส.รัฐบาลผนึกกำลังเดินหน้าโหวตวาระ 3
แก้ไขมาตรา 291 ให้มีส.ส.ร.ขึ้นมาแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้สิ้นเรื่องสิ้นราว

เพื่อยืนยันอย่างเข้มแข็งว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจรัฐสภาโดยสมบูรณ์ ศาลรัฐธรรมนูญ
ไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจเข้ามายุ่งเกี่ยวโดยสิ้นเชิง

ข้อเรียกร้องดังกล่าวสอดรับกับความเห็นของนักวิชาการและนักกฎหมายจำนวนไม่น้อย
ซึ่งอยู่ระหว่างการชั่งใจของรัฐบาลเพื่อไทยว่าพร้อมเสี่ยงหักดิบศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบหรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญนั้นเคยมีคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้กรณีแก้ไขมาตรา 291 ว่าการแก้รัฐธรรมนูญ
ทั้งฉบับกระทำได้ แต่ควรจัดทำประชามติเสียก่อน

แต่การยึดเอาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นแนวทางปฏิบัติรัฐบาลจำเป็นต้องศึกษาจาก
บทเรียนที่เพิ่งสดๆ ร้อนๆ เกี่ยวกับการแก้ไขที่มาส.ว. ซึ่งต้องมีอันเป็นไปในที่สุด

ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยชี้ช่องไว้เองว่า การแก้ไขรายมาตรานั้นสามารถกระทำได้
รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็เคยทำมาก่อนในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

สภาพการณ์นี้จึงเป็นไปตามที่นายสุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง
ระบุเป็นข้อเตือนใจว่า ในคดีที่เหมือนกัน ถ้าคนละเวลา ศาลรัฐธรรมนูญอาจตัดสิน
ไม่เหมือนกันได้


เป็นการสรุปถึง "มาตรฐาน" ของศาลรัฐธรรมนูญ

ในแบบที่โดนใจใครต่อใครหลายคน

ผลพวงจากคำวินิจฉัยดังกล่าว

ด้านหนึ่งทำให้ฝ่ายกองเชียร์รัฐบาลยอมถอยทัพชั่วคราวเพราะพอใจ
ที่พรรครัฐบาลไม่ ถูกยุบ

แต่อีกด้านหนึ่ง นอกจากที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีแต่ส.ว.เลือกตั้ง เป็นการขัดต่อ
มาตรา 68 เข้าข่าย ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ
โดยมิชอบแล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญยังชี้ด้วยว่า การกระทำของประธานและรองประธานรัฐสภา
ตลอดจน 312 ส.ส.และส.ว. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาร่างไปจากวาระ 1 ไม่มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกใช้สิทธิอภิปราย
อย่างครบถ้วน ทั้งยังมีการเสียบบัตรแทนกัน

ซึ่งประเด็นต่างๆ นี้ได้ถูกกลุ่มการเมือง เครือข่ายต้านรัฐบาล ฝ่ายค้านและกลุ่ม 40 ส.ว.
นำไปต่อยอดขยายผล ยื่นคำร้องต่อป.ป.ช.ให้ ถอดถอนส.ส.-ส.ว.ทั้ง 300 กว่าคน ไปจน
ถึงประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภา

พร้อมกดดันให้นายกฯ แสดงความรับผิดชอบในการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ด้วยการลาออกอีกด้วย

ด้านป.ป.ช.ถึงจะปฏิเสธว่าไม่ได้ เร่งรีบรับลูกจากศาลรัฐธรรมนูญ และกลุ่มต้านรัฐบาลมาดำเนินการ

แต่การที่ป.ป.ช.มีมติรับคำร้อง พร้อมตั้งกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงแบบเต็มองค์คณะ
ในทันที ก็เป็นอะไรที่ชัดเจนเหนือคำอธิบายใดๆ อยู่แล้ว

ขณะที่ "ม็อบนกหวีด" ซึ่งปักหลักยกระดับไล่รัฐบาลโครมๆ อยู่บนถนนราชดำเนิน
ถึงจะผิดหวังจากการที่พรรคเพื่อไทยไม่ถูกยุบ

แต่ก็พยายามรวบรวมประเด็นวินิจฉัยในส่วนอื่นๆ มาเป็นปัจจัยปลุกเร้าที่จะเผด็จศึกขั้นแตกหัก
กับรัฐบาลในวันที่ 24 พ.ย. ซึ่งต้องจับตาดูต่อไปว่าจะไปได้ไกลขนาดไหน

ฝ่ายตรงข้ามใช้ยุทธวิธี 3 ประสาน

พรรคฝ่ายค้านเดินเกมซักฟอกในสภามวลชนนอกสภาก็ลุยเป่านกหวีดเคลื่อนไหวใหญ่
ก่อนซ้ำด้วยดาบองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ

เปิดเกมรุกใส่รัฐบาลจนไม่ได้หยุดพักหายใจ พร้อมใจกันเปิดหน้าชน ออกอาวุธทุกชนิดโดย
ไม่กระมิดกระเมี้ยนปิดบังอำพรางอีกต่อไป

ประมาณว่าคือสงครามครั้งสุดท้ายที่ต้องชนะลูกเดียว

แต่อีกแง่มุมหนึ่ง จากคำวินิจฉัยปมที่มาส.ว. ซึ่งทิ้งความบิดเบี้ยวไว้มากมายทั้งในแง่
ข้อกฎหมายและหลักประชาธิปไตย

จุดนี้เองที่อาจทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือศรัทธาในอนาคต

ผลคือคะแนนสงสารดีดกลับไปตกอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ในฐานะผู้มาจากการเลือกตั้ง
ตามระบอบประชาธิปไตยโดยประชาชนเสียงส่วนใหญ่

แต่กลับต้องมาถูกอภิสิทธิ์ชนเสียงข้างน้อย อาศัยองค์กรอิสระเป็นเครื่องทุ่นแรง[url]

[url]หาจังหวะโค่นล้มทุกลมหายใจเข้าออก



http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5USXlOamswTWc9PQ==&sectionid=

เชิญองครักษ์  พิทักษ์ศาล  ทำหน้าที่กันหน่อย  "ข่าวสด" ยำอีกแล้ว  หัวเราะ

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่