หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเพี้ยนๆออกมา แม้จะไม่มีบทลงโทษโดยตรง แต่ก็เป็นการโยนลูกต่อให้ ปปช.อีกที โดยอ้างข้อหาเท่าที่รู้ๆกันอยู่และมีคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญมารองรับอีกชั้นหนึ่ง สส.ประชาธิปัตย์และ ส.ว.สรรหาทั้งหลายจึงกระดี๊กระด๊ากันพอยกใหญ่
ในขณะที่ฝ่ายเพื่อไทย พรรครว่ม และ ส.ว.บางส่วน กำลังหาทางออกโดยการแจ้งข้อหาอาญา 157 บ้าง หรือจะไปยื่นร้องถอดถอนศาลรัฐธรรมนูญต่อ ปป. บ้าง ซึ่งอาจไม่ทันการฝ่ายตรงข้าม อาจตายยกเข่งก่อน แม้จะยุบสภา ข้อกล่าวหาก็ยังตามต่อกันได้
การที่จะดาหน้าออกมาโต้แย้งว่าศาลไม่มีอำนาจบ้าง ตีความผิดๆบ้าง ฯลฯ หากศาลรัฐธรรมนูญทำมึนซะอย่าง ใครจะไปทำอะไร
ผมจึงขอเสนอทางออกง่ายๆให้กับผู้รักความเป็นธรรมทั้งหลาย ให้ลองเอาไปบอกทีมกฎหมายเพื่อไทยหน่อย ให้ถึงหูอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ที่เป็นอาจารย์ผมสักหน่อย... ตามกระทู้เก่าๆของผมนั่นเอง นั่นคือ
-มาตรา 216 วรรค 6 บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูฐให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"
-มาตรา 300 วรรค 5 บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
คำถามคือ
1. ปัจจุบันยังไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
2. แม้จะให้ศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนดฯ แต่ก็มีระยะเวลาบังคับไว้ ประเด็นส่วนนี้คือ หากไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ข้อกำหนดฯที่ออกมาจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่ออีกหรือไม่ ถ้ายังใช้ได้ จะอ้างมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้ข้อกำหนดยังคงบังคับใช้ได้เรื่อยไป ไม่มีบทอนุโลมใดๆทั้งสิ้น และถ้าข้อกำหนดฯหมดสภาพการบังคับใช้โดยผลของรัฐธรรมนูญที่กำหนดระยะเวลาให้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจพิจารณาคดีหรือพิจารณาคำร้องตามกฎหมายใด
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่มีวิธีพิจารณาคดีมาเป็นหลักปฏิบัติแล้ว การมีคำสั่งในคดีที่ผ่านมา นับแต่สิงหาคม 2551 (ระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ) จึงไม่มีผลสภาพบังคับใดๆได้เลย และนั่นรวมหมายถึงคำสั่งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ด้วย
วิธีการง่ายๆ คือ ส.ส.ไปยื่นเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 157 ที่ ป.ป.ช. ทันที หรือจะทำวิธีอื่นๆอีกก็ได้ เยอะแยะ
ปล. ผลที่ได้คือ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขที่มาของ ส.ว. ไม่ติดขัดอะไร ส่วนเรื่องร่างวาระ1ที่ไม่ตรงกันหรือเรื่องเสียบบัตรแทน ก็แก้ไขไปตามข้อเท็จจริง ผิดถูกก็ว่ากัน แต่อย่างน้อย ส.ว.สรรหา จบเห่ไปก่อนแล้วครับ
มีเพียงช่องเดียวที่จะหักล้างคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญได้ เชิญอ่านดู
ในขณะที่ฝ่ายเพื่อไทย พรรครว่ม และ ส.ว.บางส่วน กำลังหาทางออกโดยการแจ้งข้อหาอาญา 157 บ้าง หรือจะไปยื่นร้องถอดถอนศาลรัฐธรรมนูญต่อ ปป. บ้าง ซึ่งอาจไม่ทันการฝ่ายตรงข้าม อาจตายยกเข่งก่อน แม้จะยุบสภา ข้อกล่าวหาก็ยังตามต่อกันได้
การที่จะดาหน้าออกมาโต้แย้งว่าศาลไม่มีอำนาจบ้าง ตีความผิดๆบ้าง ฯลฯ หากศาลรัฐธรรมนูญทำมึนซะอย่าง ใครจะไปทำอะไร
ผมจึงขอเสนอทางออกง่ายๆให้กับผู้รักความเป็นธรรมทั้งหลาย ให้ลองเอาไปบอกทีมกฎหมายเพื่อไทยหน่อย ให้ถึงหูอาจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล ที่เป็นอาจารย์ผมสักหน่อย... ตามกระทู้เก่าๆของผมนั่นเอง นั่นคือ
-มาตรา 216 วรรค 6 บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูฐให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"
-มาตรา 300 วรรค 5 บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญยัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
คำถามคือ
1. ปัจจุบันยังไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
2. แม้จะให้ศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนดฯ แต่ก็มีระยะเวลาบังคับไว้ ประเด็นส่วนนี้คือ หากไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ข้อกำหนดฯที่ออกมาจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่ออีกหรือไม่ ถ้ายังใช้ได้ จะอ้างมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้ข้อกำหนดยังคงบังคับใช้ได้เรื่อยไป ไม่มีบทอนุโลมใดๆทั้งสิ้น และถ้าข้อกำหนดฯหมดสภาพการบังคับใช้โดยผลของรัฐธรรมนูญที่กำหนดระยะเวลาให้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจพิจารณาคดีหรือพิจารณาคำร้องตามกฎหมายใด
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่มีวิธีพิจารณาคดีมาเป็นหลักปฏิบัติแล้ว การมีคำสั่งในคดีที่ผ่านมา นับแต่สิงหาคม 2551 (ระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ) จึงไม่มีผลสภาพบังคับใดๆได้เลย และนั่นรวมหมายถึงคำสั่งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ด้วย
วิธีการง่ายๆ คือ ส.ส.ไปยื่นเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 157 ที่ ป.ป.ช. ทันที หรือจะทำวิธีอื่นๆอีกก็ได้ เยอะแยะ
ปล. ผลที่ได้คือ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขที่มาของ ส.ว. ไม่ติดขัดอะไร ส่วนเรื่องร่างวาระ1ที่ไม่ตรงกันหรือเรื่องเสียบบัตรแทน ก็แก้ไขไปตามข้อเท็จจริง ผิดถูกก็ว่ากัน แต่อย่างน้อย ส.ว.สรรหา จบเห่ไปก่อนแล้วครับ