ข้อเสนอของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อ้างในนามอธิการบดี 24 สถาบัน มีอยู่ข้อหนึ่งที่ระบุว่า ให้ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยล้วนยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น เช่น กรณีนายจตุพร พรหมพันธ์ต้องถูกออกจากสถานะภาพ ส.ส. หรือกรณีการมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทย รวมทั้งกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งตามคำร้องต่างๆที่ผ่านมา แต่สิ่งที่พวกเขารับไม่ได้ในขณะนี้ก็คือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา เพราะเป็นการทำคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น อธิการบดีจึงต้องหันมาทบทวนดูก่อนว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะกรณีนี้ กล่าวคือ
-มาตรา 216 วรรค 6 บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"
-มาตรา 300 วรรค 5 บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
คำถามคือ
1. ปัจจุบันยังไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
2. แม้จะให้ศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนดฯ แต่ก็มีระยะเวลาบังคับไว้ ประเด็นส่วนนี้คือ หากไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ข้อกำหนดฯที่ออกมาจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่ออีกหรือไม่ ถ้ายังใช้ได้ จะอ้างมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้ข้อกำหนดยังคงบังคับใช้ได้เรื่อยไป เพราะไม่มีบทอนุโลมใดๆทั้งสิ้น และถ้าข้อกำหนดฯหมดสภาพการบังคับใช้โดยผลของรัฐธรรมนูญที่กำหนดระยะเวลาให้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจพิจารณาคดีหรือพิจารณาคำร้องตามกฎหมายใด
ในการพิจารณาตัดสินพิพากษาคดี ศาลแพ่งศาลอาญา จะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ความอาญา ศาลคดีผู้บริโภคฯจะมีข้อกำหนดวิธีพิจารณา ฯ ศาลปกครองจะมีข้อกำหนดศาลปกครอง มาเป็นหลักในการปฏิบัติ คำถามคือ ศาลรัฐธรรมนูญใช้อะไรมาเป็นวิธีปฏิบัติ แม้จะมีบทบัญญัติให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญออกระเบียบชั่วคราวมาใช้ได้จนกว่าจะมีข้อกำหนดของประธานศาลรัฐธรรมนูญออกมาใช้ แต่ข้อกำหนดนี้ต้องให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี คำถามคือ ตอนนี้ระยะเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้ว ท่านยังจะใช้ระเบียบเดิมๆมาปฏิบัติ จึงมีปัญหาตามมาแน่นอนว่า คำสั่งต่างๆของศาลรัฐธรรมนูญมีผลตามกฎหมายหรือไม่
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่มีวิธีพิจารณาคดีมาเป็นหลักปฏิบัติแล้ว การมีคำวินิจฉัยในคดีที่ผ่านมา นับแต่สิงหาคม 2551 (ระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ) จึงต้องถือเป็นโมฆะ ไม่มีผลสภาพบังคับใดๆได้เลย อันเสมือนไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อนเลย และนั่นรวมหมายถึงคำสั่งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ด้วย
ผมขอคำชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นนี้จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยครับ
ทำไมผมจึงฟันธงว่าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะมาตั้งแต่สิงหาคม 255
-มาตรา 216 วรรค 6 บัญญัติว่า "วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ"
-มาตรา 300 วรรค 5 บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้
คำถามคือ
1. ปัจจุบันยังไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
2. แม้จะให้ศาลมีอำนาจในการออกข้อกำหนดฯ แต่ก็มีระยะเวลาบังคับไว้ ประเด็นส่วนนี้คือ หากไม่มีการตรา พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ข้อกำหนดฯที่ออกมาจะยังคงมีผลบังคับใช้ต่ออีกหรือไม่ ถ้ายังใช้ได้ จะอ้างมาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้ข้อกำหนดยังคงบังคับใช้ได้เรื่อยไป เพราะไม่มีบทอนุโลมใดๆทั้งสิ้น และถ้าข้อกำหนดฯหมดสภาพการบังคับใช้โดยผลของรัฐธรรมนูญที่กำหนดระยะเวลาให้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจพิจารณาคดีหรือพิจารณาคำร้องตามกฎหมายใด
ในการพิจารณาตัดสินพิพากษาคดี ศาลแพ่งศาลอาญา จะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ความอาญา ศาลคดีผู้บริโภคฯจะมีข้อกำหนดวิธีพิจารณา ฯ ศาลปกครองจะมีข้อกำหนดศาลปกครอง มาเป็นหลักในการปฏิบัติ คำถามคือ ศาลรัฐธรรมนูญใช้อะไรมาเป็นวิธีปฏิบัติ แม้จะมีบทบัญญัติให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญออกระเบียบชั่วคราวมาใช้ได้จนกว่าจะมีข้อกำหนดของประธานศาลรัฐธรรมนูญออกมาใช้ แต่ข้อกำหนดนี้ต้องให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี คำถามคือ ตอนนี้ระยะเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้ว ท่านยังจะใช้ระเบียบเดิมๆมาปฏิบัติ จึงมีปัญหาตามมาแน่นอนว่า คำสั่งต่างๆของศาลรัฐธรรมนูญมีผลตามกฎหมายหรือไม่
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่มีวิธีพิจารณาคดีมาเป็นหลักปฏิบัติแล้ว การมีคำวินิจฉัยในคดีที่ผ่านมา นับแต่สิงหาคม 2551 (ระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ) จึงต้องถือเป็นโมฆะ ไม่มีผลสภาพบังคับใดๆได้เลย อันเสมือนไม่เคยมีคำวินิจฉัยมาก่อนเลย และนั่นรวมหมายถึงคำสั่งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ด้วย
ผมขอคำชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นนี้จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยครับ