บทก่อนหน้า
บทที่ บทนำ
http://ppantip.com/topic/31223069
สุดปลายฝัน บทที่ ๑
ณัฐญาณ์วางกระเป๋าเสื้อผ้าลงบนเตียง ในห้องของโรงแรมที่พัก หลังจากเช็คอินเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่เช็คอินหลังเคาน์เตอร์หยิบกุญแจยื่นให้ และพาเธอเดินมาส่งจนถึงหน้าห้อง อวยพรให้หญิงสาวสนุกกับการเข้าพักที่โรงแรมแห่งนี้ ก่อนจะกล่าวลา ปล่อยหญิงสาวผู้เป็นแขกไว้เพียงลำพัง
โรงแรม
‘แคมพ์เบลล์ มิวเซียม โฮเทล’ แห่งนี้ เป็นอาคารไม้สองชั้นหน้าจั่วสูงหลังใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นในราวทศวรรษที่ ๑๘๕๐ ตามสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรีย ในอดีตเคยเป็นสถานีแปรรูปวาฬก่อนที่จะถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์ บอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในสถานีล่าวาฬในช่วงที่ธุรกิจล่าวาฬในออสเตรเลียยังเฟื่องฟู
ธุรกิจล่าวาฬเป็นธุรกิจหลักของออสเตรเลียในยุคแรก ๆ ที่คนขาวเข้ามาลงหลักปักฐานในประเทศที่เป็นเกาะขนาดใหญ่แห่งนี้ ก่อนที่จะถูกทำให้เป็นธุรกิจผิดกฎหมายในตอนต้นศตวรรษที่ ๒๐ หลังจากที่ธุรกิจนี้ทำให้วาฬที่มีอยู่มากมายในน่านน้ำออสเตรเลียเกือบสูญพันธุ์ไป
โรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ชายฝั่งเมือง
‘พอร์ทแคมพ์เบลล’ บนถนน
‘เดอะ เกรท โอเชียน โรด’ จุดหมายนักเดินทางที่มีชื่อเสียงของออสเตรเลีย พอร์ทแคมพ์เบลล์เป็นเมืองชายฝั่งที่ถูกตั้งชื่อตาม ‘วิลเลียม แคมพ์เบลล์’ เจ้าของสถานีล่าวาฬแห่งนี้ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกที่อยู่ที่เมืองนี้ก็คือ ‘เดอะ ทเวลฟ์ อพอสเซิลส’ เสาหินในทะเลที่เกิดจากคลื่นซัดและกัดก่อนหน้าผาหินจนกลายเป็นเสาหินตั้งอยู่ในทะเล เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกมาเยี่ยมชม โดยมีบริการเฮลิคอปเตอร์นำชมเพื่อให้ได้เห็นภาพมุมมองทางอากาศที่สวยงาม ซึ่งณัฐญาณ์ก็เป็นหนึ่งในนักท่องเที่ยวเหล่านั้น
หลังจบการศึกษาปริญญาตรีจากประเทศอังกฤษ ณัฐญาณ์กลับบ้านที่กรุงเทพฯและทำงานเป็นนักแปลอิสระ แปลทั้งเอกสารและหนังสือ หญิงสาวมีผลงานหนังสือแปลกับสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง และรับแปลเอกสารให้กับบริษัทใหญ่ ๆ อีกหลายแห่งด้วยเช่นกัน หลังจากเสร็จงานโปคเจ็คท์ยักษ์กับบริษัทไอทีที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกพร้อมผลตอบแทนที่เป็นเงินก้อนไม่เล็กนัก หญิงสาวให้รางวัลตนเองด้วยการเดินทางมาเที่ยวออสเตรเลียตามลำพัง และเข้าพักที่โรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพราะสนใจในเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่คนในปัจจุบันไม่อยากจะพูดถึงนัก หากแต่ทายาทของตระกูลแคมพ์เบลล์กลับมองเห็นความสำคัญที่จะนำเสนอธุรกิจการล่าวาฬซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้นตระกูลกระทำกันมาให้คนภายนอกได้รับรู้ โดยดัดแปลงอาคารสถานีแปรรูปวาฬเก่าให้เป็นโรงแรม และสร้างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวในสมัยที่สถานีล่าวาฬแห่งนี้ยังเปิดทำการอยู่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม รวมทั้งจัดนิทรรศการกลางแจ้ง บนเรือที่เจ้าของสถานีนำออกล่าวาฬในสมัยนั้น
การจัดตกแต่งห้องพักของโรงแรมแห่งนี้ใช้เครื่องเรือนในสมัยวิคตอเรีย เตียงนอนขนาดควีนส์ไซส์มีหัวเตียงไม้แกะสลักอ่อนช้อย ขาเตียงเป็นรูปเทพบุตรทำท่าราวกับกำลังยกมือรองรับเตียงอยู่ในแต่ละมุม ด้านข้างมีโต๊ะเครื่องแป้งที่กรอบกระจกเป็นภาพนูนสูงรูปดอกไม้เลื้อยมองดูอ่อนช้อยงดงาม บนโต๊ะหัวเตียงทั้งสองด้านมีโคมไฟวางอยู่ ตัวโคมไฟเป็นรูปเทพธิดารูปร่างอ้อนแอ้น ใส่กระโปรงบานออกเป็นฐานของโคมไฟ มือสองข้างยกสิ่งที่คล้ายกับคนโทเทินหัว ซึ่งภายในบรรจุหลอดไฟแรงเทียนต่ำ ส่องให้ห้องมีแสงสว่างเรื่อเรือง
หญิงสาวยิ้มเล็กน้อยเมื่อนึกไปว่า หากเปลี่ยนโคมไฟให้เป็นตะเกียงน้ำมัน และมีสาวใช้ในชุดกระโปรงทรงสุ่มยาวกรอมเท้า เอวคอดจนแทบจะกำรอบด้วยสองมือ และแขนเสื้อพอง ๆ ก็พอจะจินตนาการตนเองเป็นคุณหนูลูกสาวคหบดีผู้มั่งคั่ง กำลังนั่งอยู่ในห้องนอนในคฤหาสน์ชานเมืองลอนดอนได้อยู่
“ห้องพักของเราจะตกแต่งแบบสมัยวิคตอเรีย โดยใช้เครื่องเรือนทำเลียนแบบ แต่
‘ บ้านนาทาย่าห์’ ซึ่งเป็นบ้านที่คุณเชียดกับคุณเทียดเคยอาศัยอยู่ จะใช้เครื่องเรือนที่เป็นสมัยวิคตอเรียอย่างแท้จริง เครื่องเรือนทุกชิ้นคุณเชียดวิลเลียมสั่งลงเรือมาจากอังกฤษ และถูกจัดไว้อย่างที่เคยเป็นในอดีต” จำได้ว่าพนักงานที่เคาน์เตอร์เช็คอินบอกไว้ว่าอย่างนั้น นอกจากนั้นยังโฆษณาสถานที่แห่งนี้ต่อไปอีกว่า
“นอกจากพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งบน ‘เรือนาทาย่าห์’ ที่จัดแสดงวิถีการล่าวาฬในอดีตและ
‘บ้านนาทาย่าห์’ แล้ว เรายังมี
‘บ้านมาลีล่า’ ซึ่งเคยเป็นเวิร์คช็อปผลิตน้ำหอมของคุณเทียดนาทาย่าห์ ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หากคุณสนใจ น้ำหอมแบรนด์ ‘มาลีล่า’ ของเรา ซึ่งเป็นสูตรของคุณเทียดมีขายที่ร้านขายของที่ระลึกนะคะ” พนักงานของโรงแรมยังคงบอกหญิงสาวต่อไป ณัฐญาณ์กล่าวขอบคุณและสัญญาว่าจะต้องเข้าเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ อย่างแน่นอน
ณัฐญาณ์เปิดกระเป๋าเดินทางเพื่อค้นหาแปรงและยาสีฟันกับอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ รวมทั้งเสื้อผ้าสำหรับใส่นอน ก่อนจะเดินตรงเข้าไปในห้องน้ำเพื่ออาบน้ำชำระร่างกาย วันนี้เธอเดินทางเหนื่อยมาทั้งวัน และพรุ่งนี้ยังต้องตื่นแต่เช้าเพื่อไปชม ‘เดอะ ทเวลฟ์ อพอสเซิลส’ ตามที่จองตั๋วไว้อีก จึงตั้งใจว่าจะเข้านอนแต่หัววันเพื่อพักผ่อนเอาแรงเสียหน่อย
แม้ตั้งใจว่าจะเข้านอนแต่หัวค่ำ แต่เมื่ออาบน้ำเสร็จหญิงสาวก็รู้สึกสดชื่นและไม่ง่วงงุนเอาเสียเลย เมื่อดูนาฬิกาแบบโบราณที่แขวนอยู่บนผนังก็พบว่าเป็นเวลาสี่ทุ่ม หญิงสาวจึงเข้าใจว่าเหตุใดตนจึงไม่รู้สึกง่วง เพราะเวลาที่นี่เร็วกว่าที่ประเทศไทยสามชั่วโมง แสดงว่าที่บ้านตอนนี้เป็นเวลาเพียงหนึ่งทุ่มเท่านั้น หญิงสาวจึงหยิบเอาหนังสือแนะนำและประวัติของสถานที่แห่งนี้ขึ้นมาอ่าน ซึ่งเป็นหนังสือที่พนักงานของโรงแรมยื่นให้พร้อมกับกุญแจห้อง ในตอนที่เธอเช็คอินเสร็จเรียบร้อย
รายละเอียดในหนังสือเป็นประวัติความเป็นมาของโรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ กล่าวถึงกัปตัน วิลเลียม แคมพ์เบลล์ ชายหนุ่มลูกชายนักธุรกิจล่าวาฬจากซิดนีย์ที่ที่รอดตายจากเหตุการณ์เรือล่ม ไม่หากจากชายฝั่งที่ตั้งสถานีแปรรูปวาฬแห่งนี้มากนัก ก่อนจะมาบุกเบิกพื้นที่รกชัฏบริเวณนี้เพื่อสร้างสถานีแปรรูปวาฬของตน โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากชนพื้นเมือง ซึ่งเป็นแรงงานสำคัญสำหรับสถานีแปรรูปแห่งนี้
หลังเหตุการณ์เรือล่มครั้งนั้น ในทะเลบริเวณที่เรือล่าวาฬของกัปตันหนุ่มล่มนั้นจะเกิดพายุงวงช้างขึ้นในทุก ๆ สิบปี ย้อนไปเมื่อสมัยร้อยกว่าปีที่แล้ว เหตุการณ์นี้เป็นเพียงตำนานเล่าขานจากชนพื้นเมืองที่บอกกันต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่หลังจากที่ลูกหลานตระกูลแคมพ์เบลล์ได้จดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็พบว่าตำนานของชนพื้นเมืองเป็นเรื่องจริง จะมีพายุงวงช้างเกิดขึ้นในทุก ๆ สิบปีของเช้าวันที่ 25 สิงหาคม ซึ่งปี 2013 นี้เป็นปีครบรอบที่จะเกิดพายุที่ว่านี่อีกครั้ง
หญิงสาวผู้มาจากแดนไกล หัวข้อหนึ่งของหนังสือเขียนไว้ว่าอย่างนั้น
นาทาย่าห์ หญิงสาวผิวเหลือง พูดสำเนียงประหลาด ปรากฏตัวขึ้นที่
‘แคมพ์เบลล์ เวลลิง สเตชั่น’ พร้อมกับคว้าหัวใจเจ้าของสถานีไว้ได้ทั้งดวง นาทาย่าห์เข้ามาสู่ชีวิตอันเงียบเหงาห่างไกลของกัปตันหนุ่มจากดินแดนอันไกลโพ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคของหัวใจรักสองดวง หญิงสาวตกลงเป็นเจ้าสาวของ วิลเลียม แคมพ์เบลล์ หลังจากที่อาศัยอยู่ที่สถานีแปรรูปวาฬในฐานะแขกไม่นาน
นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ หัวใจทั้งดวงของกัปตันหนุ่ม
เมื่ออ่านมาถึงหัวข้อนี้ ณัฐญาณ์ต้องอมยิ้ม ดูเหมือนโรงแรมแห่งนี้จะใช้ชีวิตรักที่ท่าทางจะโรแมนติกอยู่ไม่น้อยของเจ้าของสถานที่และภรรยา ต้นตระกูล
‘แคมพ์เบลล์’ เป็นจุดขาย
วิลเลียม แคมพ์เบลล์ ไม่เคยอายที่จะประกาศให้ใคร ๆ รู้ว่าเขารักภรรยาของเขาแค่ไหน เห็นได้จากการที่เขาใช้ชื่อของเธอเป็นชื่อของสิ่งของและสถานที่ที่มีความสำคัญต่อสถานีแปรรูปวาฬของเขา ไม่ว่าจะเป็น
‘เรือนาทาย่าห์’ เรือล่าวาฬลำใหม่ที่เขาทำหน้าที่กำกับการเดินเรือเพื่อออกไปล่าวาฬในทุก ๆ ฤดูกาล
‘บ้านนาทาย่าห์’ บ้านไม้แบบคอทเทจทาสีขาว ที่เขาสร้างขึ้นเพื่อรับขวัญภรรยาสุดที่รักและใช้เป็นเรือนหอหลังจากทั้งสองเข้าพิธีแต่งงาน คอทเทจหลังน่ารักถูกล้อมรอบด้วยรั้วต้นการ์ดีเนีย [1] ดอกไม้กลิ่นหอมที่ภรรยาโปรดปราน
นอกจากนี้แล้ว กัปตันหนุ่มใจดีกับภรรยาของเขาเสมอ นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ มีงานอดิเรกในการผลิตน้ำหอมจากดอกไม้ที่เธอรัก ซึ่งเขาให้คนงานปลูกให้เธอหลายเอเคอร์ และจัดการสร้างเวิร์คชอปให้กับเธอ จนก่อเกิด
‘บ้านมาลีล่า’ เวิร์คช็อปผลิตน้ำหอมอันเป็นที่มาของแบรนด์ ‘มาลีล่า’ น้ำหอมสูตรของ นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ ที่จะอวลกลิ่นอยู่ในหัวใจของผู้ที่ได้สัมผัส แม้เวลาจะผ่านไปนานแสนนาน
ณัฐญาณ์นึกภาพภรรยาของกัปตันเรือหนุ่มใส่ชุดกระโปรงทรงสุ่มกรุยกราย นั่งสกัดและผสมน้ำหอมจากดอกไม้ในไร่ที่สามีของเธอเป็นผู้ปลูกให้ใน
‘บ้านมาลีล่า’ เวิร์คช็อปที่สามีผู้ทำทุกอย่างเพื่อภรรยาอันเป็นที่รักสร้างให้ เพียงเพราะเป็นงานอดิเรกที่เธอชอบเท่านั้น แล้วก็อดไม่ได้ที่จะซาบซึ้งกับความรักของสองสามีภรรยา ที่ยังคงมีอนุสรณ์แห่งความรักตกทอดมาให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม
หญิงสาวถอนหายใจอย่างเพ้อ ๆ พลางพึมพำเบา ๆ กับใบหน้าหล่อเหลาของกัปตันหนุ่มในรูป
“จะมีผู้ชายแบบคุณหลงเหลืออยู่ในโลกนี้บ้างไหมคะ กัปตัน” ว่าแล้วก็เพ่งมองรูปภาพของหญิงสาวผู้โชคดีผู้เป็นเจ้าของหัวใจรักของชายหนุ่มที่ยืนเคียงในรูป แม้จะเป็นภาพขาวดำและไม่ค่อยชัดนักแต่ณัฐญาณ์ก็สามารถบอกได้ว่า หญิงสาวในภาพมีใบหน้าออกไปทางเอเชียมากกว่าฝรั่งผิวขาว หรือว่าประเทศหนึ่งในเอเชียคือ
‘ดินแดนอันไกลโพ้น’ ที่หนังสือกล่าวถึง และเมื่อเพ่งดูรูปดี ๆ หญิงสาวก็ต้องขมวดคิ้วด้วยความประหลาดใจ
นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ มีใบหน้าคล้ายกับเธอ เพียงแต่ดูเป็นผู้ใหญ่กว่าในชุดเสื้อผ้าแบบสมัยวิคตอเรียเท่านั้น
ณัฐญาณ์อ่านข้อความในหนังสือต่อ ซึ่งยังคงพูดถึงภรรยาอันเป็นที่รักของกัปตัน วิลเลียม แคมพ์เบลล์ อยู่เช่นเดิม
นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ ไม่ใช่เป็นเพียงดวงใจของกัปตันหนุ่มผู้เป็นสามีเท่านั้น แต่เธอคือผู้มีคุณูปการต่อ ‘แคมพ์เบลล์ เวลลิง สเตชั่น’ ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของเธอ ที่มองเห็นว่าธุรกิจล่าวาฬไม่ใช่ธุรกิจที่ยั่งยืน ด้วยจำนวนของวาฬในทะเลที่ลดลงไปเรื่อย ๆ สถานีแปรรูปวาฬแห่งนี้จึงถูกเตรียมพร้อมสำหรับธุรกิจอื่น ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมที่พักและท่าเรือแลกเปลี่ยนสินค้าสำหรับเรือเดินทะเล รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงวิถีชีวิตในสมัยที่การล่าวาฬยังเฟื่องฟู ก็เป็นสิ่งที่วิลเลียมต้องการให้ทุกอย่างคงอยู่เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่เขามีต่อภรรยาผู้ล่วงลับไปก่อน
โศกนาฏ...
“แนท แนทของผม” หญิงสาวได้ยินเสียงนุ่มส่งมาจากด้านหลัง จึงหันกลับไปยังต้นเสียง คิ้วขมวดเป็นปมเมื่อเห็นชายหนุ่มในชุดสูทสากลแบบโบราณที่เคยเห็นในภาพเก่า ๆ ยืนอยู่ไม่ห่างมากนัก
“คุณเรียกฉันว่าอะไรนะคะ”
“แนท นาทาย่าห์” ชายหนุ่มตอบ ใบหน้ายิ้มละไม
“ไม่ใช่ค่ะ ฉันชื่อ ณัฐ ณัฐญาณ์” อธิบายกับคนที่ดูเหมือนจะทักคนผิด หากชายหนุ่มกลับยิ้มราวเอ็นดู
“คุณคือแนท นาทาย่าห์ของผม” ชายหนุ่มยืนยันพลางเดินเข้ามาจับมือบางไปกุมไว้ทั้งสองมือ ก่อนที่จะเอื้อมแขนมาโอบเอวหญิงและรั้งเข้าไปแนบชิด
น่าแปลกที่แม้จะเป็นครั้งแรกที่พบกับชายหนุ่มผู้นี้ แต่หญิงสาวกลับคุ้นเคยกับสัมผัสของเขาเหลือเกิน คุ้นเคย... ราวกับรู้จักกันมานานแสนนาน...
สุดปลายฝัน บทที่ ๑
บทที่ บทนำ http://ppantip.com/topic/31223069
ณัฐญาณ์วางกระเป๋าเสื้อผ้าลงบนเตียง ในห้องของโรงแรมที่พัก หลังจากเช็คอินเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่เช็คอินหลังเคาน์เตอร์หยิบกุญแจยื่นให้ และพาเธอเดินมาส่งจนถึงหน้าห้อง อวยพรให้หญิงสาวสนุกกับการเข้าพักที่โรงแรมแห่งนี้ ก่อนจะกล่าวลา ปล่อยหญิงสาวผู้เป็นแขกไว้เพียงลำพัง
โรงแรม ‘แคมพ์เบลล์ มิวเซียม โฮเทล’ แห่งนี้ เป็นอาคารไม้สองชั้นหน้าจั่วสูงหลังใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นในราวทศวรรษที่ ๑๘๕๐ ตามสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรีย ในอดีตเคยเป็นสถานีแปรรูปวาฬก่อนที่จะถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์ บอกเล่าเรื่องราวของผู้คนในสถานีล่าวาฬในช่วงที่ธุรกิจล่าวาฬในออสเตรเลียยังเฟื่องฟู
ธุรกิจล่าวาฬเป็นธุรกิจหลักของออสเตรเลียในยุคแรก ๆ ที่คนขาวเข้ามาลงหลักปักฐานในประเทศที่เป็นเกาะขนาดใหญ่แห่งนี้ ก่อนที่จะถูกทำให้เป็นธุรกิจผิดกฎหมายในตอนต้นศตวรรษที่ ๒๐ หลังจากที่ธุรกิจนี้ทำให้วาฬที่มีอยู่มากมายในน่านน้ำออสเตรเลียเกือบสูญพันธุ์ไป
โรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ชายฝั่งเมือง ‘พอร์ทแคมพ์เบลล’ บนถนน ‘เดอะ เกรท โอเชียน โรด’ จุดหมายนักเดินทางที่มีชื่อเสียงของออสเตรเลีย พอร์ทแคมพ์เบลล์เป็นเมืองชายฝั่งที่ถูกตั้งชื่อตาม ‘วิลเลียม แคมพ์เบลล์’ เจ้าของสถานีล่าวาฬแห่งนี้ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกที่อยู่ที่เมืองนี้ก็คือ ‘เดอะ ทเวลฟ์ อพอสเซิลส’ เสาหินในทะเลที่เกิดจากคลื่นซัดและกัดก่อนหน้าผาหินจนกลายเป็นเสาหินตั้งอยู่ในทะเล เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกมาเยี่ยมชม โดยมีบริการเฮลิคอปเตอร์นำชมเพื่อให้ได้เห็นภาพมุมมองทางอากาศที่สวยงาม ซึ่งณัฐญาณ์ก็เป็นหนึ่งในนักท่องเที่ยวเหล่านั้น
หลังจบการศึกษาปริญญาตรีจากประเทศอังกฤษ ณัฐญาณ์กลับบ้านที่กรุงเทพฯและทำงานเป็นนักแปลอิสระ แปลทั้งเอกสารและหนังสือ หญิงสาวมีผลงานหนังสือแปลกับสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง และรับแปลเอกสารให้กับบริษัทใหญ่ ๆ อีกหลายแห่งด้วยเช่นกัน หลังจากเสร็จงานโปคเจ็คท์ยักษ์กับบริษัทไอทีที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกพร้อมผลตอบแทนที่เป็นเงินก้อนไม่เล็กนัก หญิงสาวให้รางวัลตนเองด้วยการเดินทางมาเที่ยวออสเตรเลียตามลำพัง และเข้าพักที่โรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพราะสนใจในเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่คนในปัจจุบันไม่อยากจะพูดถึงนัก หากแต่ทายาทของตระกูลแคมพ์เบลล์กลับมองเห็นความสำคัญที่จะนำเสนอธุรกิจการล่าวาฬซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้นตระกูลกระทำกันมาให้คนภายนอกได้รับรู้ โดยดัดแปลงอาคารสถานีแปรรูปวาฬเก่าให้เป็นโรงแรม และสร้างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวในสมัยที่สถานีล่าวาฬแห่งนี้ยังเปิดทำการอยู่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม รวมทั้งจัดนิทรรศการกลางแจ้ง บนเรือที่เจ้าของสถานีนำออกล่าวาฬในสมัยนั้น
การจัดตกแต่งห้องพักของโรงแรมแห่งนี้ใช้เครื่องเรือนในสมัยวิคตอเรีย เตียงนอนขนาดควีนส์ไซส์มีหัวเตียงไม้แกะสลักอ่อนช้อย ขาเตียงเป็นรูปเทพบุตรทำท่าราวกับกำลังยกมือรองรับเตียงอยู่ในแต่ละมุม ด้านข้างมีโต๊ะเครื่องแป้งที่กรอบกระจกเป็นภาพนูนสูงรูปดอกไม้เลื้อยมองดูอ่อนช้อยงดงาม บนโต๊ะหัวเตียงทั้งสองด้านมีโคมไฟวางอยู่ ตัวโคมไฟเป็นรูปเทพธิดารูปร่างอ้อนแอ้น ใส่กระโปรงบานออกเป็นฐานของโคมไฟ มือสองข้างยกสิ่งที่คล้ายกับคนโทเทินหัว ซึ่งภายในบรรจุหลอดไฟแรงเทียนต่ำ ส่องให้ห้องมีแสงสว่างเรื่อเรือง
หญิงสาวยิ้มเล็กน้อยเมื่อนึกไปว่า หากเปลี่ยนโคมไฟให้เป็นตะเกียงน้ำมัน และมีสาวใช้ในชุดกระโปรงทรงสุ่มยาวกรอมเท้า เอวคอดจนแทบจะกำรอบด้วยสองมือ และแขนเสื้อพอง ๆ ก็พอจะจินตนาการตนเองเป็นคุณหนูลูกสาวคหบดีผู้มั่งคั่ง กำลังนั่งอยู่ในห้องนอนในคฤหาสน์ชานเมืองลอนดอนได้อยู่
“ห้องพักของเราจะตกแต่งแบบสมัยวิคตอเรีย โดยใช้เครื่องเรือนทำเลียนแบบ แต่ ‘ บ้านนาทาย่าห์’ ซึ่งเป็นบ้านที่คุณเชียดกับคุณเทียดเคยอาศัยอยู่ จะใช้เครื่องเรือนที่เป็นสมัยวิคตอเรียอย่างแท้จริง เครื่องเรือนทุกชิ้นคุณเชียดวิลเลียมสั่งลงเรือมาจากอังกฤษ และถูกจัดไว้อย่างที่เคยเป็นในอดีต” จำได้ว่าพนักงานที่เคาน์เตอร์เช็คอินบอกไว้ว่าอย่างนั้น นอกจากนั้นยังโฆษณาสถานที่แห่งนี้ต่อไปอีกว่า
“นอกจากพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งบน ‘เรือนาทาย่าห์’ ที่จัดแสดงวิถีการล่าวาฬในอดีตและ ‘บ้านนาทาย่าห์’ แล้ว เรายังมี ‘บ้านมาลีล่า’ ซึ่งเคยเป็นเวิร์คช็อปผลิตน้ำหอมของคุณเทียดนาทาย่าห์ ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หากคุณสนใจ น้ำหอมแบรนด์ ‘มาลีล่า’ ของเรา ซึ่งเป็นสูตรของคุณเทียดมีขายที่ร้านขายของที่ระลึกนะคะ” พนักงานของโรงแรมยังคงบอกหญิงสาวต่อไป ณัฐญาณ์กล่าวขอบคุณและสัญญาว่าจะต้องเข้าเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ อย่างแน่นอน
ณัฐญาณ์เปิดกระเป๋าเดินทางเพื่อค้นหาแปรงและยาสีฟันกับอุปกรณ์สำหรับอาบน้ำ รวมทั้งเสื้อผ้าสำหรับใส่นอน ก่อนจะเดินตรงเข้าไปในห้องน้ำเพื่ออาบน้ำชำระร่างกาย วันนี้เธอเดินทางเหนื่อยมาทั้งวัน และพรุ่งนี้ยังต้องตื่นแต่เช้าเพื่อไปชม ‘เดอะ ทเวลฟ์ อพอสเซิลส’ ตามที่จองตั๋วไว้อีก จึงตั้งใจว่าจะเข้านอนแต่หัววันเพื่อพักผ่อนเอาแรงเสียหน่อย
แม้ตั้งใจว่าจะเข้านอนแต่หัวค่ำ แต่เมื่ออาบน้ำเสร็จหญิงสาวก็รู้สึกสดชื่นและไม่ง่วงงุนเอาเสียเลย เมื่อดูนาฬิกาแบบโบราณที่แขวนอยู่บนผนังก็พบว่าเป็นเวลาสี่ทุ่ม หญิงสาวจึงเข้าใจว่าเหตุใดตนจึงไม่รู้สึกง่วง เพราะเวลาที่นี่เร็วกว่าที่ประเทศไทยสามชั่วโมง แสดงว่าที่บ้านตอนนี้เป็นเวลาเพียงหนึ่งทุ่มเท่านั้น หญิงสาวจึงหยิบเอาหนังสือแนะนำและประวัติของสถานที่แห่งนี้ขึ้นมาอ่าน ซึ่งเป็นหนังสือที่พนักงานของโรงแรมยื่นให้พร้อมกับกุญแจห้อง ในตอนที่เธอเช็คอินเสร็จเรียบร้อย
รายละเอียดในหนังสือเป็นประวัติความเป็นมาของโรงแรมกึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ กล่าวถึงกัปตัน วิลเลียม แคมพ์เบลล์ ชายหนุ่มลูกชายนักธุรกิจล่าวาฬจากซิดนีย์ที่ที่รอดตายจากเหตุการณ์เรือล่ม ไม่หากจากชายฝั่งที่ตั้งสถานีแปรรูปวาฬแห่งนี้มากนัก ก่อนจะมาบุกเบิกพื้นที่รกชัฏบริเวณนี้เพื่อสร้างสถานีแปรรูปวาฬของตน โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากชนพื้นเมือง ซึ่งเป็นแรงงานสำคัญสำหรับสถานีแปรรูปแห่งนี้
หลังเหตุการณ์เรือล่มครั้งนั้น ในทะเลบริเวณที่เรือล่าวาฬของกัปตันหนุ่มล่มนั้นจะเกิดพายุงวงช้างขึ้นในทุก ๆ สิบปี ย้อนไปเมื่อสมัยร้อยกว่าปีที่แล้ว เหตุการณ์นี้เป็นเพียงตำนานเล่าขานจากชนพื้นเมืองที่บอกกันต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่หลังจากที่ลูกหลานตระกูลแคมพ์เบลล์ได้จดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็พบว่าตำนานของชนพื้นเมืองเป็นเรื่องจริง จะมีพายุงวงช้างเกิดขึ้นในทุก ๆ สิบปีของเช้าวันที่ 25 สิงหาคม ซึ่งปี 2013 นี้เป็นปีครบรอบที่จะเกิดพายุที่ว่านี่อีกครั้ง
หญิงสาวผู้มาจากแดนไกล หัวข้อหนึ่งของหนังสือเขียนไว้ว่าอย่างนั้น
นาทาย่าห์ หญิงสาวผิวเหลือง พูดสำเนียงประหลาด ปรากฏตัวขึ้นที่ ‘แคมพ์เบลล์ เวลลิง สเตชั่น’ พร้อมกับคว้าหัวใจเจ้าของสถานีไว้ได้ทั้งดวง นาทาย่าห์เข้ามาสู่ชีวิตอันเงียบเหงาห่างไกลของกัปตันหนุ่มจากดินแดนอันไกลโพ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคของหัวใจรักสองดวง หญิงสาวตกลงเป็นเจ้าสาวของ วิลเลียม แคมพ์เบลล์ หลังจากที่อาศัยอยู่ที่สถานีแปรรูปวาฬในฐานะแขกไม่นาน
นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ หัวใจทั้งดวงของกัปตันหนุ่ม
เมื่ออ่านมาถึงหัวข้อนี้ ณัฐญาณ์ต้องอมยิ้ม ดูเหมือนโรงแรมแห่งนี้จะใช้ชีวิตรักที่ท่าทางจะโรแมนติกอยู่ไม่น้อยของเจ้าของสถานที่และภรรยา ต้นตระกูล ‘แคมพ์เบลล์’ เป็นจุดขาย
วิลเลียม แคมพ์เบลล์ ไม่เคยอายที่จะประกาศให้ใคร ๆ รู้ว่าเขารักภรรยาของเขาแค่ไหน เห็นได้จากการที่เขาใช้ชื่อของเธอเป็นชื่อของสิ่งของและสถานที่ที่มีความสำคัญต่อสถานีแปรรูปวาฬของเขา ไม่ว่าจะเป็น ‘เรือนาทาย่าห์’ เรือล่าวาฬลำใหม่ที่เขาทำหน้าที่กำกับการเดินเรือเพื่อออกไปล่าวาฬในทุก ๆ ฤดูกาล ‘บ้านนาทาย่าห์’ บ้านไม้แบบคอทเทจทาสีขาว ที่เขาสร้างขึ้นเพื่อรับขวัญภรรยาสุดที่รักและใช้เป็นเรือนหอหลังจากทั้งสองเข้าพิธีแต่งงาน คอทเทจหลังน่ารักถูกล้อมรอบด้วยรั้วต้นการ์ดีเนีย [1] ดอกไม้กลิ่นหอมที่ภรรยาโปรดปราน
นอกจากนี้แล้ว กัปตันหนุ่มใจดีกับภรรยาของเขาเสมอ นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ มีงานอดิเรกในการผลิตน้ำหอมจากดอกไม้ที่เธอรัก ซึ่งเขาให้คนงานปลูกให้เธอหลายเอเคอร์ และจัดการสร้างเวิร์คชอปให้กับเธอ จนก่อเกิด ‘บ้านมาลีล่า’ เวิร์คช็อปผลิตน้ำหอมอันเป็นที่มาของแบรนด์ ‘มาลีล่า’ น้ำหอมสูตรของ นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ ที่จะอวลกลิ่นอยู่ในหัวใจของผู้ที่ได้สัมผัส แม้เวลาจะผ่านไปนานแสนนาน
ณัฐญาณ์นึกภาพภรรยาของกัปตันเรือหนุ่มใส่ชุดกระโปรงทรงสุ่มกรุยกราย นั่งสกัดและผสมน้ำหอมจากดอกไม้ในไร่ที่สามีของเธอเป็นผู้ปลูกให้ใน ‘บ้านมาลีล่า’ เวิร์คช็อปที่สามีผู้ทำทุกอย่างเพื่อภรรยาอันเป็นที่รักสร้างให้ เพียงเพราะเป็นงานอดิเรกที่เธอชอบเท่านั้น แล้วก็อดไม่ได้ที่จะซาบซึ้งกับความรักของสองสามีภรรยา ที่ยังคงมีอนุสรณ์แห่งความรักตกทอดมาให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม
หญิงสาวถอนหายใจอย่างเพ้อ ๆ พลางพึมพำเบา ๆ กับใบหน้าหล่อเหลาของกัปตันหนุ่มในรูป
“จะมีผู้ชายแบบคุณหลงเหลืออยู่ในโลกนี้บ้างไหมคะ กัปตัน” ว่าแล้วก็เพ่งมองรูปภาพของหญิงสาวผู้โชคดีผู้เป็นเจ้าของหัวใจรักของชายหนุ่มที่ยืนเคียงในรูป แม้จะเป็นภาพขาวดำและไม่ค่อยชัดนักแต่ณัฐญาณ์ก็สามารถบอกได้ว่า หญิงสาวในภาพมีใบหน้าออกไปทางเอเชียมากกว่าฝรั่งผิวขาว หรือว่าประเทศหนึ่งในเอเชียคือ ‘ดินแดนอันไกลโพ้น’ ที่หนังสือกล่าวถึง และเมื่อเพ่งดูรูปดี ๆ หญิงสาวก็ต้องขมวดคิ้วด้วยความประหลาดใจ
นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ มีใบหน้าคล้ายกับเธอ เพียงแต่ดูเป็นผู้ใหญ่กว่าในชุดเสื้อผ้าแบบสมัยวิคตอเรียเท่านั้น
ณัฐญาณ์อ่านข้อความในหนังสือต่อ ซึ่งยังคงพูดถึงภรรยาอันเป็นที่รักของกัปตัน วิลเลียม แคมพ์เบลล์ อยู่เช่นเดิม
นาทาย่าห์ แคมพ์เบลล์ ไม่ใช่เป็นเพียงดวงใจของกัปตันหนุ่มผู้เป็นสามีเท่านั้น แต่เธอคือผู้มีคุณูปการต่อ ‘แคมพ์เบลล์ เวลลิง สเตชั่น’ ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของเธอ ที่มองเห็นว่าธุรกิจล่าวาฬไม่ใช่ธุรกิจที่ยั่งยืน ด้วยจำนวนของวาฬในทะเลที่ลดลงไปเรื่อย ๆ สถานีแปรรูปวาฬแห่งนี้จึงถูกเตรียมพร้อมสำหรับธุรกิจอื่น ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมที่พักและท่าเรือแลกเปลี่ยนสินค้าสำหรับเรือเดินทะเล รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงวิถีชีวิตในสมัยที่การล่าวาฬยังเฟื่องฟู ก็เป็นสิ่งที่วิลเลียมต้องการให้ทุกอย่างคงอยู่เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่เขามีต่อภรรยาผู้ล่วงลับไปก่อน
โศกนาฏ...
“แนท แนทของผม” หญิงสาวได้ยินเสียงนุ่มส่งมาจากด้านหลัง จึงหันกลับไปยังต้นเสียง คิ้วขมวดเป็นปมเมื่อเห็นชายหนุ่มในชุดสูทสากลแบบโบราณที่เคยเห็นในภาพเก่า ๆ ยืนอยู่ไม่ห่างมากนัก
“คุณเรียกฉันว่าอะไรนะคะ”
“แนท นาทาย่าห์” ชายหนุ่มตอบ ใบหน้ายิ้มละไม
“ไม่ใช่ค่ะ ฉันชื่อ ณัฐ ณัฐญาณ์” อธิบายกับคนที่ดูเหมือนจะทักคนผิด หากชายหนุ่มกลับยิ้มราวเอ็นดู
“คุณคือแนท นาทาย่าห์ของผม” ชายหนุ่มยืนยันพลางเดินเข้ามาจับมือบางไปกุมไว้ทั้งสองมือ ก่อนที่จะเอื้อมแขนมาโอบเอวหญิงและรั้งเข้าไปแนบชิด
น่าแปลกที่แม้จะเป็นครั้งแรกที่พบกับชายหนุ่มผู้นี้ แต่หญิงสาวกลับคุ้นเคยกับสัมผัสของเขาเหลือเกิน คุ้นเคย... ราวกับรู้จักกันมานานแสนนาน...