อ้างความจาก กระทู้ พุทธทาส แปลว่า .................... ?
http://ppantip.com/topic/31224490
ความนำ
ทั้งๆ ที่ผมก็ได้อธิบายความ อย่างชัดเจนเป็นอย่างยิ่งแล้วว่า .............
หาก ท่านทั้งหลาย พิจารณา พระบัญญัติ อย่างรอบคอบ ก็จะทราบได้โดยทันทีว่า พระพุทธเจ้าทรงห้าม
มิให้ภิกษุทั้งหลายบวชให้แก่คนที่เป็น "ทาส" ซึ่งหมายถึง "ชนชั้น" ในสังคมโลกยุคทาส(รวมถึงสมัยศักดินา)
โดยมิได้ทรงหมายถึง การห้ามภิกษุทั้งหลาย บวชให้แก่ บุคคล ผู้มี "ชื่อ" ว่า "ทาส"
สมดัง "กรณีตัวอย่าง" ที่ อรรถกถาจารย์ ยกขึ้นประกอบ คำอธิบาย ดังนี้
เพราะถ้า พระพุทธเจ้าทรงหมายถึง การห้ามบวชแก่ ผู้ที่มี "ชื่อ" ว่า "ทาส" จริง
เช่นนั้นแล้ว ท่านผู้เป็นอุปัชฌาย์ให้แก่ ท่านพระอิสิทาส ก็คงต้องอาบัติไปแล้วเป็นแน่
หรือจนแม้แต่ ท่านชินภัตตาเถรี ซึ่งเป็นผู้บวชให้แก่นาง อิสิทาสี ก็ต้องอาบัติดังกล่าว ไปด้วยใช่หรือไม่ ?
ในกรณีของท่านพุทธทาสนั้น ถ้าจะปรับอาบัติกันจริงๆ ก็คงต้องสอบสวนกันดูก่อนว่า จะปรับอาบัติอะไร ? และปรับแก่ใคร ?
เพราะถ้าจะปรับอาบัติท่านพุทธทาส โดยอาศัยพระบัญญัตินี้ ก็ต้องหาหลักฐานมาแสดงให้ได้ว่า
ท่านพุทธทาส ได้เคยบวชให้แก่ผู้มีฐานะทางสังคมเป็น "ทาส" บ้างหรือไม่ ?
เพราะถ้าไม่ปรากฏหลักฐานดังกล่าว จะไปปรับอาบัติท่านได้อย่างไร ?
แต่ ข้อเท็จจริง ที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ เมืองไทย มีการเลิกทาสไปตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ ๕
แล้วยังจะเหลือ "ทาส" ที่ไหนให้ท่านพุทธทาสบวชให้ จนสามารถต้องอาบัติ ตามที่อ้างถึงได้อีกเล่า ?
และหากคิดจะปรับอาบัติ พระอุปัชฌาย์ ของท่านพุทธทาส ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า
ท่านพุทธทาส เคยมีสถานะทางสังคมเป็น "ทาส" ตรงตามความหมาย จากพระพุทธบัญญัติ หรือไม่ ?
เพราะหากปราศจาก เหตุผล และ หลักฐาน ดังกล่าว ก็ไม่สามารถปรับอาบัติ พระอุปัชฌาย์ ผู้บวชให้แก่ท่านพุทธทาส ได้เช่นกัน
ประเด็นเรื่องพระบัญญัติ "ห้ามบวชทาส" ถือว่า ชัดเจน แล้ว นะครับ
แต่ ล็อกอิน กรองคำ และสหายร่วมบาป ผู้มีอาการป่วยทางจิต
กลับมีความพยายามที่จะทำให้เรื่องที่ "ชัดเจน" ดีอยู่แล้ว กลายเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจนไปเสียได้
โดยการ "อ้างอิง" และ "ตีความ" ข้อความจากอรรถกถา ตามประสาโง่ ด้วยความเข้าใจผิด !
จึงเป็น "ภาระ" ที่ผมจำต้องอธิบายความเพิ่มเติม เพื่อถากถางความเขลาของใครบางคน
ด้วยความหวังว่า ........... สักวัน มันคงจะ "ฉลาด" และ มีจิตสำนึกที่ดี เหมือนกับคนอื่นเขาบ้าง นะครับ
จบความนำ
****************************************************************************
สำหรับคนที่ทราบรายละเอียด เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม ดีอยู่แล้ว ขอให้อดทนอ่านสักหน่อย นะครับ
เมื่อกล่าวถึงเรื่อง "ทาส" แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ก็คือ สังคม ศักดินากึ่งทาส ในสมัยอยุธยา
ซึ่งได้แจกแจงประเภทของทาสเอาไว้มากถึง ๗ ชนิด ดังนี้
(๑) ทาสสินไถ่
(๒) ทาสในเรือนเบี้ย
(๓) ทาสได้มาแต่บิดามารดา(มรดก)
(๔) ทาสที่มีผู้ยกให้
(๕) ทาสที่ได้มาเนื่องจากนายเงินช่วยให้พ้นจากโทษปรับ
(๖) ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง
(๗) ทาสเชลย
ทั้งนี้ ยังมี ทาส ปลีกย่อย อีก ๒ พวก คือ (๘) ทาสขัดดอก และ (๙) ข้าพระอาราม(อรรถกถา เรียก อารามิกทาส)
แต่เมื่อพิจารณาคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ท่านได้กล่าวเอาไว้ในเบื้องต้นว่า ทาส มีอยู่ ๔ ชนิดคือ
(๑) ทาสเกิดภายใน
(๒) ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์
(๓) ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย
(๔) บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง
ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ต่อไปดังนี้
ซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับข้อมูลในสมัยอยุธยา จะได้ความว่า ..................
(๑) ลูกนางทาสีในเรือน เป็นทาสโดยกำเนิด ชื่อว่าทาสเกิดภายใน
ความข้อนี้ หมายถึง ทาสในเรือนเบี้ย ในสมัยอยุธยา นั่นเอง
(๒) บุตรที่เขาช่วยมาจากสำนักมารดาก็ดี ทาสที่เขาช่วยมาจากสำนักนายเงินก็ดี
บุคคลที่เขาใช้ทรัพย์แทนแล้วยกขึ้นสู่จารีตแห่งทาสถ่ายเอาไปก็ดี ชื่อว่าทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์
กรณีนี้ หมายถึง ทาสสินไถ่ และ ทาสที่ได้มาเนื่องจากนายเงินช่วยให้พ้นจากโทษปรับ ในสมัยอยุธยา
ซึ่งทาสทั้ง ๒ พวกนี้ อรรถกถาจารย์ กล่าวว่า ..........
"ไม่ควรให้บวช เมื่อจะให้บวช ต้องทำให้เป็นผู้มิใช่ทาสด้วยอำนาจจารีตในที่ชนบทนั้น ๆ แล้ว จึงควรให้บวช"
ขอให้สังเกตด้วยว่า ทาส ที่กล่าวถึงนี้ คือ "ทาส" ในความหมายของ "ชนชั้น" อย่างหนึ่งของสังคมในสมัยนั้น
(๓) ทาสที่ชื่อว่าเขานำมาเป็นเชลย คือ พระราชาทั้งหลายทรงทำการรบนอกแว่นแคว้น หรือ รับสั่งให้เกลี้ยกล่อมกวาดต้อน
เอาทั้งหมู่มนุษย์ซึ่งเป็นไททั้งหลาย มาจากภายนอกแว่นแคว้นก็ดี พระราชารับสั่งให้ริบบ้านบางตำบล
ซึ่งกระทำผิดภายในแว่นแคว้นนั่นเอง ราชบุรุษทั้งหลายกวาดต้อนทั้งหมู่มนุษย์มาจากบ้านตำบลนั้นก็ดี
ในหมู่มนุษย์เหล่านั้น ผู้ชายทั้งหมดเป็นทาส ผู้หญิงทั้งหมดเป็นทาสี บุคคลเห็นปานนี้ จัดเป็นทาสซึ่งเขานำมาเป็นเชลย
ทั้งหมดที่อรรถกถาจารย์ กล่าวมานี้ ก็คือ ทาสเชลย ในสมัยอยุธยา ซึ่ง อรรถกถาจารย์ ระบุว่า ........
"ทาสนี้ เมื่ออยู่ในสำนักชนทั้งหลายผู้นำตนมา หรือถูกขังไว้ในเรือนจำ หรืออันบุรุษทั้งหลายควบคุมอยู่ ไม่ควรให้บวช.
แต่เขาหนีไปแล้ว พึงให้บวชในที่ซึ่งเขาไปได้. ครั้นเมื่อพระราชาทรงพอพระหฤทัย ทรงทำการปลดจากจำโดยตรัสว่า
จงปล่อยพวกทาสที่นำมาเป็นเชลย หรือโดยนัยเป็นสรรพสาธารณ์ พึงให้บวชเถิด"
(๔) บุคคลที่ยอมตัวเป็นทาสเองทีเดียวว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของท่าน ดังนี้ เพราะเหตุแห่งชีวิตก็ตาม
เพราะเหตุแห่งความคุ้มครองก็ตาม ชื่อว่าผู้ยอมเป็นทาสเองเหมือนคนเลี้ยงช้าง ม้า โค และกระบือเป็นต้น ของพระราชาทั้งหลาย
ทาส ในข้อนี้นี่เอง ที่ ล็อกอิน กรองคำ พยายาม "ตีความ" ว่ามีความหมายอย่างเดียวกับ คำว่า "พุทธทาส"
แต่เมื่อท่านทั้งหลาย พิจารณาความ อย่างคนที่มีความรู้ความเข้าใจ ในสภาพสังคมประวัติศาสตร์ อยู่พอสมควร
ย่อมทราบได้ไม่ยากเลยว่า นั่นเป็นเพียงการ "ตีความ" แบบโง่ๆ ของพวก "คนถ่อย" ด้วย "อคติ" เท่านั้นเอง
กรณี บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง นี้ ในสมัยอยุธยา ก็มีอยู่เช่นกัน ได้แก่ "ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง"
เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ในบางคราว เกิดข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคนอดอยาก จึงต้องมาอาศัยใบบุญ พักพิง กินอยู่ กับมูลนายเป็นเวลานานๆ
จนไม่มีทางจะทดแทนค่าข้าวปลาอาหารนั้นได้ ก็เลยต้องยอมตัวลงเป็นทาส หรือในบางกรณี ไพร่เหล่านั้น ทนต่อการขูดรีดภาษีไม่ไหว
จึงยอมเป็นทาสของมูลนาย เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษี อย่างนี้ เป็นต้น !
กล่าวโดยสรุปแล้ว ที่อรรถกถาจารย์กล่าวถึง "บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง" นั้น ก็หมายถึงการเป็นทาสจริงๆ
ในความหมายว่า เป็น "ชนชั้น" ชนิดหนึ่ง ในสังคมสมัยโบราณ ที่ชีวิตมีค่าเทียบเท่ากับ ทรัพย์ ของนายทาสเท่านั้น
หาใช่การกล่าวถึง "ทาส" ที่เป็นเพียง "ชื่อ" โดยมีความหมายว่า "ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา" ดังกรณีของท่านพุทธทาส แต่อย่างใดไม่
****************************************************************************
ขออนุญาต กล่าวสรุป อีกครั้ง ดังนี้ว่า ..............
๑) ทาส ในคำว่า พุทธทาส มีความหมายว่า "ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา" มิได้หมายถึง ชนชั้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ในสังคมยุคทาส
ซึ่งพระพุทธเจ้า บัญญัติเอาไว้ว่า ห้ามบวช ดังปรากฏชัดว่า บุคคลผู้มีชื่อว่า "ทาส" แต่มิได้เป็นชนชั้นทาส ย่อมสามารถบวชได้ตามปกติ
เช่น ท่านพระอิสิทาส หรือ ท่านพระภิกษุณี อิสิทาสี เป็นต้น
ดังนั้น บุคคล ที่มีชื่อว่า พุทธทาส ซึ่งมิได้เป็นบุคคลในชนชั้นทาส จึงย่อมสามารถบวชได้ โดยไม่ผิดพระบัญญัติ แต่อย่างใด !
๒) บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง นั้น อรรถกถาจารย์ ท่านหมายถึง บุคคล ผู้มีสถานะเป็น "ทาส" ที่หมายถึง "ชนชั้น" ทางสังคม ในสมัยทาส จริงๆ
ดังปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยา ได้จำแนกเอาไว้ว่าเป็น ๑ ในทาส ๗ ชนิด ของสังคมสมัยนั้น ซึ่งมันเป็นคนละเรื่อง คนละความหมายกับคำว่า พุทธทาส
การที่พวกคนถ่อย พยายาม จับแพะชนแกะ จะให้เป็นเรื่องเดียวกันให้ได้ เพียงเพราะมุ่งหวังจะกล่าวร้ายท่านพุทธทาส โดยไม่ "อิงอรรถอิงธรรม"
จึงย่อมมีค่าเท่ากับ กล่าวตู่พระพุทธเจ้าด้วย กล่าวตู่อรรถกถาจารย์ด้วย และที่สำคัญ ก็คือ เป็นการ "บิดเบือน" พระธรรมวินัย อย่างชั่วร้ายที่สุด
ถ้า ล็อกอิน กรองคำ ผู้สิ้นไร้ทั้ง "ราคา" และ "ยางอาย" ยังต้องการจะ "แถกแถ" ต่อไปอีก
ก็เรียนเชิญ ตามแต่จะสะดวก นะครับ
สวัสดี
อรรถกถาจารย์ กล่าวว่า ทาสมี ๔ จำพวก !
ความนำ
ทั้งๆ ที่ผมก็ได้อธิบายความ อย่างชัดเจนเป็นอย่างยิ่งแล้วว่า .............
หาก ท่านทั้งหลาย พิจารณา พระบัญญัติ อย่างรอบคอบ ก็จะทราบได้โดยทันทีว่า พระพุทธเจ้าทรงห้าม
มิให้ภิกษุทั้งหลายบวชให้แก่คนที่เป็น "ทาส" ซึ่งหมายถึง "ชนชั้น" ในสังคมโลกยุคทาส(รวมถึงสมัยศักดินา)
โดยมิได้ทรงหมายถึง การห้ามภิกษุทั้งหลาย บวชให้แก่ บุคคล ผู้มี "ชื่อ" ว่า "ทาส"
สมดัง "กรณีตัวอย่าง" ที่ อรรถกถาจารย์ ยกขึ้นประกอบ คำอธิบาย ดังนี้
เพราะถ้า พระพุทธเจ้าทรงหมายถึง การห้ามบวชแก่ ผู้ที่มี "ชื่อ" ว่า "ทาส" จริง
เช่นนั้นแล้ว ท่านผู้เป็นอุปัชฌาย์ให้แก่ ท่านพระอิสิทาส ก็คงต้องอาบัติไปแล้วเป็นแน่
หรือจนแม้แต่ ท่านชินภัตตาเถรี ซึ่งเป็นผู้บวชให้แก่นาง อิสิทาสี ก็ต้องอาบัติดังกล่าว ไปด้วยใช่หรือไม่ ?
ในกรณีของท่านพุทธทาสนั้น ถ้าจะปรับอาบัติกันจริงๆ ก็คงต้องสอบสวนกันดูก่อนว่า จะปรับอาบัติอะไร ? และปรับแก่ใคร ?
เพราะถ้าจะปรับอาบัติท่านพุทธทาส โดยอาศัยพระบัญญัตินี้ ก็ต้องหาหลักฐานมาแสดงให้ได้ว่า
ท่านพุทธทาส ได้เคยบวชให้แก่ผู้มีฐานะทางสังคมเป็น "ทาส" บ้างหรือไม่ ?
เพราะถ้าไม่ปรากฏหลักฐานดังกล่าว จะไปปรับอาบัติท่านได้อย่างไร ?
แต่ ข้อเท็จจริง ที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ เมืองไทย มีการเลิกทาสไปตั้งแต่ครั้ง รัชกาลที่ ๕
แล้วยังจะเหลือ "ทาส" ที่ไหนให้ท่านพุทธทาสบวชให้ จนสามารถต้องอาบัติ ตามที่อ้างถึงได้อีกเล่า ?
และหากคิดจะปรับอาบัติ พระอุปัชฌาย์ ของท่านพุทธทาส ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า
ท่านพุทธทาส เคยมีสถานะทางสังคมเป็น "ทาส" ตรงตามความหมาย จากพระพุทธบัญญัติ หรือไม่ ?
เพราะหากปราศจาก เหตุผล และ หลักฐาน ดังกล่าว ก็ไม่สามารถปรับอาบัติ พระอุปัชฌาย์ ผู้บวชให้แก่ท่านพุทธทาส ได้เช่นกัน
ประเด็นเรื่องพระบัญญัติ "ห้ามบวชทาส" ถือว่า ชัดเจน แล้ว นะครับ
แต่ ล็อกอิน กรองคำ และสหายร่วมบาป ผู้มีอาการป่วยทางจิต
กลับมีความพยายามที่จะทำให้เรื่องที่ "ชัดเจน" ดีอยู่แล้ว กลายเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจนไปเสียได้
โดยการ "อ้างอิง" และ "ตีความ" ข้อความจากอรรถกถา ตามประสาโง่ ด้วยความเข้าใจผิด !
จึงเป็น "ภาระ" ที่ผมจำต้องอธิบายความเพิ่มเติม เพื่อถากถางความเขลาของใครบางคน
ด้วยความหวังว่า ........... สักวัน มันคงจะ "ฉลาด" และ มีจิตสำนึกที่ดี เหมือนกับคนอื่นเขาบ้าง นะครับ
จบความนำ
****************************************************************************
สำหรับคนที่ทราบรายละเอียด เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม ดีอยู่แล้ว ขอให้อดทนอ่านสักหน่อย นะครับ
เมื่อกล่าวถึงเรื่อง "ทาส" แหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ก็คือ สังคม ศักดินากึ่งทาส ในสมัยอยุธยา
ซึ่งได้แจกแจงประเภทของทาสเอาไว้มากถึง ๗ ชนิด ดังนี้
(๑) ทาสสินไถ่
(๒) ทาสในเรือนเบี้ย
(๓) ทาสได้มาแต่บิดามารดา(มรดก)
(๔) ทาสที่มีผู้ยกให้
(๕) ทาสที่ได้มาเนื่องจากนายเงินช่วยให้พ้นจากโทษปรับ
(๖) ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง
(๗) ทาสเชลย
ทั้งนี้ ยังมี ทาส ปลีกย่อย อีก ๒ พวก คือ (๘) ทาสขัดดอก และ (๙) ข้าพระอาราม(อรรถกถา เรียก อารามิกทาส)
แต่เมื่อพิจารณาคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ท่านได้กล่าวเอาไว้ในเบื้องต้นว่า ทาส มีอยู่ ๔ ชนิดคือ
(๑) ทาสเกิดภายใน
(๒) ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์
(๓) ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย
(๔) บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง
ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ ต่อไปดังนี้
ซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับข้อมูลในสมัยอยุธยา จะได้ความว่า ..................
(๑) ลูกนางทาสีในเรือน เป็นทาสโดยกำเนิด ชื่อว่าทาสเกิดภายใน
ความข้อนี้ หมายถึง ทาสในเรือนเบี้ย ในสมัยอยุธยา นั่นเอง
(๒) บุตรที่เขาช่วยมาจากสำนักมารดาก็ดี ทาสที่เขาช่วยมาจากสำนักนายเงินก็ดี
บุคคลที่เขาใช้ทรัพย์แทนแล้วยกขึ้นสู่จารีตแห่งทาสถ่ายเอาไปก็ดี ชื่อว่าทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์
กรณีนี้ หมายถึง ทาสสินไถ่ และ ทาสที่ได้มาเนื่องจากนายเงินช่วยให้พ้นจากโทษปรับ ในสมัยอยุธยา
ซึ่งทาสทั้ง ๒ พวกนี้ อรรถกถาจารย์ กล่าวว่า ..........
"ไม่ควรให้บวช เมื่อจะให้บวช ต้องทำให้เป็นผู้มิใช่ทาสด้วยอำนาจจารีตในที่ชนบทนั้น ๆ แล้ว จึงควรให้บวช"
ขอให้สังเกตด้วยว่า ทาส ที่กล่าวถึงนี้ คือ "ทาส" ในความหมายของ "ชนชั้น" อย่างหนึ่งของสังคมในสมัยนั้น
(๓) ทาสที่ชื่อว่าเขานำมาเป็นเชลย คือ พระราชาทั้งหลายทรงทำการรบนอกแว่นแคว้น หรือ รับสั่งให้เกลี้ยกล่อมกวาดต้อน
เอาทั้งหมู่มนุษย์ซึ่งเป็นไททั้งหลาย มาจากภายนอกแว่นแคว้นก็ดี พระราชารับสั่งให้ริบบ้านบางตำบล
ซึ่งกระทำผิดภายในแว่นแคว้นนั่นเอง ราชบุรุษทั้งหลายกวาดต้อนทั้งหมู่มนุษย์มาจากบ้านตำบลนั้นก็ดี
ในหมู่มนุษย์เหล่านั้น ผู้ชายทั้งหมดเป็นทาส ผู้หญิงทั้งหมดเป็นทาสี บุคคลเห็นปานนี้ จัดเป็นทาสซึ่งเขานำมาเป็นเชลย
ทั้งหมดที่อรรถกถาจารย์ กล่าวมานี้ ก็คือ ทาสเชลย ในสมัยอยุธยา ซึ่ง อรรถกถาจารย์ ระบุว่า ........
"ทาสนี้ เมื่ออยู่ในสำนักชนทั้งหลายผู้นำตนมา หรือถูกขังไว้ในเรือนจำ หรืออันบุรุษทั้งหลายควบคุมอยู่ ไม่ควรให้บวช.
แต่เขาหนีไปแล้ว พึงให้บวชในที่ซึ่งเขาไปได้. ครั้นเมื่อพระราชาทรงพอพระหฤทัย ทรงทำการปลดจากจำโดยตรัสว่า
จงปล่อยพวกทาสที่นำมาเป็นเชลย หรือโดยนัยเป็นสรรพสาธารณ์ พึงให้บวชเถิด"
(๔) บุคคลที่ยอมตัวเป็นทาสเองทีเดียวว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของท่าน ดังนี้ เพราะเหตุแห่งชีวิตก็ตาม
เพราะเหตุแห่งความคุ้มครองก็ตาม ชื่อว่าผู้ยอมเป็นทาสเองเหมือนคนเลี้ยงช้าง ม้า โค และกระบือเป็นต้น ของพระราชาทั้งหลาย
ทาส ในข้อนี้นี่เอง ที่ ล็อกอิน กรองคำ พยายาม "ตีความ" ว่ามีความหมายอย่างเดียวกับ คำว่า "พุทธทาส"
แต่เมื่อท่านทั้งหลาย พิจารณาความ อย่างคนที่มีความรู้ความเข้าใจ ในสภาพสังคมประวัติศาสตร์ อยู่พอสมควร
ย่อมทราบได้ไม่ยากเลยว่า นั่นเป็นเพียงการ "ตีความ" แบบโง่ๆ ของพวก "คนถ่อย" ด้วย "อคติ" เท่านั้นเอง
กรณี บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง นี้ ในสมัยอยุธยา ก็มีอยู่เช่นกัน ได้แก่ "ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง"
เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ในบางคราว เกิดข้าวยากหมากแพง ไพร่บางคนอดอยาก จึงต้องมาอาศัยใบบุญ พักพิง กินอยู่ กับมูลนายเป็นเวลานานๆ
จนไม่มีทางจะทดแทนค่าข้าวปลาอาหารนั้นได้ ก็เลยต้องยอมตัวลงเป็นทาส หรือในบางกรณี ไพร่เหล่านั้น ทนต่อการขูดรีดภาษีไม่ไหว
จึงยอมเป็นทาสของมูลนาย เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษี อย่างนี้ เป็นต้น !
กล่าวโดยสรุปแล้ว ที่อรรถกถาจารย์กล่าวถึง "บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง" นั้น ก็หมายถึงการเป็นทาสจริงๆ
ในความหมายว่า เป็น "ชนชั้น" ชนิดหนึ่ง ในสังคมสมัยโบราณ ที่ชีวิตมีค่าเทียบเท่ากับ ทรัพย์ ของนายทาสเท่านั้น
หาใช่การกล่าวถึง "ทาส" ที่เป็นเพียง "ชื่อ" โดยมีความหมายว่า "ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา" ดังกรณีของท่านพุทธทาส แต่อย่างใดไม่
****************************************************************************
ขออนุญาต กล่าวสรุป อีกครั้ง ดังนี้ว่า ..............
๑) ทาส ในคำว่า พุทธทาส มีความหมายว่า "ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา" มิได้หมายถึง ชนชั้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ในสังคมยุคทาส
ซึ่งพระพุทธเจ้า บัญญัติเอาไว้ว่า ห้ามบวช ดังปรากฏชัดว่า บุคคลผู้มีชื่อว่า "ทาส" แต่มิได้เป็นชนชั้นทาส ย่อมสามารถบวชได้ตามปกติ
เช่น ท่านพระอิสิทาส หรือ ท่านพระภิกษุณี อิสิทาสี เป็นต้น
ดังนั้น บุคคล ที่มีชื่อว่า พุทธทาส ซึ่งมิได้เป็นบุคคลในชนชั้นทาส จึงย่อมสามารถบวชได้ โดยไม่ผิดพระบัญญัติ แต่อย่างใด !
๒) บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง นั้น อรรถกถาจารย์ ท่านหมายถึง บุคคล ผู้มีสถานะเป็น "ทาส" ที่หมายถึง "ชนชั้น" ทางสังคม ในสมัยทาส จริงๆ
ดังปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยา ได้จำแนกเอาไว้ว่าเป็น ๑ ในทาส ๗ ชนิด ของสังคมสมัยนั้น ซึ่งมันเป็นคนละเรื่อง คนละความหมายกับคำว่า พุทธทาส
การที่พวกคนถ่อย พยายาม จับแพะชนแกะ จะให้เป็นเรื่องเดียวกันให้ได้ เพียงเพราะมุ่งหวังจะกล่าวร้ายท่านพุทธทาส โดยไม่ "อิงอรรถอิงธรรม"
จึงย่อมมีค่าเท่ากับ กล่าวตู่พระพุทธเจ้าด้วย กล่าวตู่อรรถกถาจารย์ด้วย และที่สำคัญ ก็คือ เป็นการ "บิดเบือน" พระธรรมวินัย อย่างชั่วร้ายที่สุด
ถ้า ล็อกอิน กรองคำ ผู้สิ้นไร้ทั้ง "ราคา" และ "ยางอาย" ยังต้องการจะ "แถกแถ" ต่อไปอีก
ก็เรียนเชิญ ตามแต่จะสะดวก นะครับ
สวัสดี