บทนำ
หลังจากที่เกิดกระแสสังคมมากมาย ซึ่งมีการโต้เถียงกันเนื่องด้วยการตีความหลักธรรม หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ผมเชื่อว่านท่านทั้งหลายที่อยู่ในแวดวงศาสนา คงจะทราบดีอยู่แล้วว่ามีสำนักไหนบ้าง แต่สำหรับผมที่เพิ่งเข้ามาติดตามข่าวสารในวงการนี้ จึงอย่างสรุปแนวคิดของแต่ละสำนักไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของอนุชนรุ่นหลัง ด้วยว่าสำนักทั้งหลายนั้น บ้างก็มีแนวคิดที่คล้ายกัน บ้างก็มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ประการหนึ่ง บารมีและปัญญาของคนก็ไม่เท่ากัน ความทุกข์ของคนก็ต่างกัน บางคนพอใจกับสำนักนี้ เป็นต้นว่าบางคนมุ่งสู่นิพพาน บางคนอยากไปสวรรค์ บางคนอยากรวยในชาตินี้เลย ในวาระนี้ จึงมิใช่ว่าระเพื่อทุ่มเถียงหาความเป็นพุทธแท้ หาแนวทางที่ถูกต้องที่สุด แต่เป็นการพยายามเข้าใจแนวคิดของแต่ละสาย และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละสำนัก ประการหนึ่ง แม้จะยึดถือคำสอนต่างสำนักกัน แต่เรายังคงเป็นชาวพุทธ เมื่อวาระเปลี่ยน เราก็อาจจะเปลี่ยนมานับถือสำนักอื่นได้เช่นกัน สุดท้ายผู้ที่ตัดสินว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดเหมาะสม ก็คือตัวท่านเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการศาสนา จึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดอภิปรายปราศัยกันฉันกัลยาณมิตร ด้วยวาจาที่เป็นสุภาษิตและบัณฑิตพาที ด้วยประการฉะนี้
1. วัดบ้าน - พุทธศาสนาแบบท้องถื่น
วัดบ้านเป็นสำนักที่ผสมผสานความเชื่อเกี่ยวกับพุทธ พราหมณ์ ผี ประเพณีต่างๆ รวมถึง ความเชื่อเรื่องโชคลาง การบนบานสานกล่าว และ พิธีกรรมต่างๆ กล่าวคือเป็นความเชื่อพื้นฐานของชาวพุทธในไทย เชื่อเรื่องกฏแห่งกรรมในมุมมองของความยุติธรรม เชื่อเรื่องกรรมเก่า เจ้ากรรมนายเวร วัตถุมงคล คาถา พลังจิต ผี วิญญาณ เจ้าที่ เทพเจ้า รวมถึงเชื่อในความขลังของพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ
เป็นแนวคิดที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ได้รับความนิยมสูงสุด มีการสวดมนต์ กรวดน้ำ ประพรมน้ำมนต์ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง มีการให้ทาน รักษาศีลตามวาระ
2. สายปริยัติ - พุทธศาสนาเถรวาทดั้งเดิม
ความเป็นเถรวาท คือการศึกษา อรรถกถา ฎีกา ไปจนถึงพระสูตรต่างๆ และยึดถือเอาตามนั้น ไม่เพิ่ม ไม่ลด พุทธศาสนาเถรวาท นับถือพระอภิธรรมปิฎกว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นหนังสือ พุทธธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตโต และ พระอาจารย์มหาสมบูรณ์ ฉนฺทโก (เจ้าอาวาสวัดเขาสนามชัย)
3. สายปฏิบัติ - สายกรรมฐาน
เน้น การเจริญสติ สมาธิ และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ เห็นการเกิดดับของจิต ไม่เน้นศึกษาอภิธรรมเชิงลึก แต่ไม่ได้ปฏิเสธ หากแต่มองว่าไม่ได้จำเป็นต่อการบรรลุธรรม
ตัวอย่าง
สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต → เน้นปฏิบัติในป่า - ปลีกวิเวก
สายหลวงพ่อเทียน จรณโย → ใช้สติแบบเคลื่อนไหว
สายหลวงปู่ดูลย์ อตุโล → เน้น "จิตว่าง"
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช → เน้น "รู้ทันจิต"
4. สายอภิธรรมศึกษา
สายอภิธรรมศึกษามีความคล้ายกับสายปริยัติ แต่ให้ความสำคัญในการศึกษาพระอภิธรรมให้เข้าใจอย่างลึกซึ่ง ให้เกิดปัญญาเพื่อหลุดพ้น ที่เด่นชัดที่สุดคือสำนักของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ไม่เน้นสมาธิ แต่เน้นการศึกษาทฤษฏีให้เข้าใจอย่างถูกต้องก่อน
5.สายพุทธวจน พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพงษ์
สายของพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ปฏิเสธคำสอนยุคหลังที่ไม่ใช่คำสอนโดนตรงของพระพุทธเจ้า โดยมองว่าไม่จำเป็นต้องเงี่ยหูฟัง หรือน้อมนำมาใส่ใจ เพราะไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา และเน้นการปฏิบัติให้ใกล้เคียงกับครั้งพุทธกาล ด้วยแนวคิดนี้ เป็นผลให้ท่านปฏิเสธคัมภีร์ชั้นหลัง ทั้งอรรถกถา ฏีกา และอภิธรรมทั้งหมด รวมถึงปฏิเสธความเชื่อท้องถิ่น พิธีกรรมต่างๆ รวมถึงการกรวดน้ำ และประพรมน้ำมนต์ เป็นต้น
6. สายท่านพุทธทาส
ท่านพุทธทาสอยู่ในเถรวาทที่ไม่เน้นอภิธรรมและพิธีกรรม แต่เน้นการตีความพุทธศาสนาให้เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้จริง
ปฏิเสธพระอภิธรรมว่าไม่ใช่พุทธวจนะ
ท่านพุทธทาสเห็นว่า พระอภิธรรมเกิดขึ้นภายหลังพระพุทธเจ้า และเป็นการขยายความทางอภิปรัชญามากเกินไป
มองว่า คำสอนเดิมในพระสูตรเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้พระอภิธรรม
เปรียบเทียบว่า พระอภิธรรมทำให้พุทธศาสนาเป็นเรื่องเชิงปรัชญามากเกินไป จนห่างจากการปฏิบัติที่แท้จริง
อธิบายพุทธศาสนาให้เข้าใจง่ายขึ้น
ท่านมองว่าพุทธศาสนาที่ถูกตีความซับซ้อนในอรรถกถาและพระอภิธรรมทำให้คนเข้าใจยาก
พยายามนำ คำสอนเรื่อง อริยสัจ 4, มรรค 8 และปฏิจจสมุปบาท มาอธิบายในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
ตีความพุทธศาสนาแบบสากล (Buddhism for Modern World)
ท่านเสนอแนวคิด "พุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนา" แต่เป็น เครื่องมือเพื่อความพ้นทุกข์
มองว่าพุทธศาสนา เป็นวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ไม่ใช่แค่ความเชื่อทางศาสนา
ท่านพุทธทาสเสนอว่า "นิพพานไม่ได้อยู่ไกล แต่สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้"
ไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์ถึงจะเข้าถึงนิพพาน
นิพพานหมายถึง "การดับกิเลสชั่วขณะ" ในทุกขณะจิตที่มีสติและว่างจากอัตตา
ไม่เน้นพิธีกรรมและบุญแบบพุทธพื้นบ้าน
ท่านพุทธทาสต่อต้าน "พุทธศาสนาแบบพุทธพาณิชย์" ที่เน้นทำบุญเพื่อหวังผล
มองว่า "พุทธศาสนาไม่ควรเกี่ยวกับโชคลาภ ไสยศาสตร์ หรือพิธีกรรมทางไสยศาสตร์"
เน้นให้ พุทธศาสนาเป็นเรื่องของ "ปฏิบัติ" มากกว่าพิธีกรรม
7. สายธรรมกาย
คำสอนของสำนักธรรมกายโดยส่วนใหญ่ไม่ได้สอนตามหลักของเถรวาทหรือพระสูตร แต่สอนผ่านสิ่งที่รับรู้ได้ทางจิต โดยเฉพาะเรื่องภพนี้ ภพหน้า อานิสงฆ์ของการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาที่แน่นอน และเป็นระบบ มีการยกตัวอย่าง case study ต่างๆ ว่าแต่ละคนทำกรรมอะไรมา จะได้รับผลอย่างไร สำนักพระธรรมกายมีแนวคิดว่าพระพุทธเจ้ายังคงอยู่ในพุทธภูมิ และสามารถเข้าถึงได้ผ่านวิชาธรรมกาย คล้ายกับคำสอนในนิกายมหายาน
แม้ว่าจะแตกต่างจากคำสอนโดยทั่วไป แต่วัดพระธรรมกายก็ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะความสะอาดเรียบร้อย และการจัดการระบบระเบียบภายในวัด การจัดอีเว้นต์ต่างๆที่ทำได้เป็นอย่างดี ให้ความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ มีบารมีมาก และมีสัมพันธ์ที่ดีกับวัดบ้าน หรือพุทธศาสนาท้องถิ่น
หมายเหตุ: บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์ อาจมีการลดทอน-แก้ไข-เพิ่มเติมในภายหลัง สามารถเสนอให้แก้ไข ปรับปรุงได้ และสามารถพูดคุยแสดงความคิดเห็นได้ครับ แต่อยากให้รักษาบรรยากาศความเป็นกลางทางวิชาการไว้นะครับ
ประมวลแนวคิดและคำสอนทางพุทธศาสนาจากสำนักต่างๆในไทย
หลังจากที่เกิดกระแสสังคมมากมาย ซึ่งมีการโต้เถียงกันเนื่องด้วยการตีความหลักธรรม หลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ผมเชื่อว่านท่านทั้งหลายที่อยู่ในแวดวงศาสนา คงจะทราบดีอยู่แล้วว่ามีสำนักไหนบ้าง แต่สำหรับผมที่เพิ่งเข้ามาติดตามข่าวสารในวงการนี้ จึงอย่างสรุปแนวคิดของแต่ละสำนักไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของอนุชนรุ่นหลัง ด้วยว่าสำนักทั้งหลายนั้น บ้างก็มีแนวคิดที่คล้ายกัน บ้างก็มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ประการหนึ่ง บารมีและปัญญาของคนก็ไม่เท่ากัน ความทุกข์ของคนก็ต่างกัน บางคนพอใจกับสำนักนี้ เป็นต้นว่าบางคนมุ่งสู่นิพพาน บางคนอยากไปสวรรค์ บางคนอยากรวยในชาตินี้เลย ในวาระนี้ จึงมิใช่ว่าระเพื่อทุ่มเถียงหาความเป็นพุทธแท้ หาแนวทางที่ถูกต้องที่สุด แต่เป็นการพยายามเข้าใจแนวคิดของแต่ละสาย และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละสำนัก ประการหนึ่ง แม้จะยึดถือคำสอนต่างสำนักกัน แต่เรายังคงเป็นชาวพุทธ เมื่อวาระเปลี่ยน เราก็อาจจะเปลี่ยนมานับถือสำนักอื่นได้เช่นกัน สุดท้ายผู้ที่ตัดสินว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดเหมาะสม ก็คือตัวท่านเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการศาสนา จึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดอภิปรายปราศัยกันฉันกัลยาณมิตร ด้วยวาจาที่เป็นสุภาษิตและบัณฑิตพาที ด้วยประการฉะนี้
1. วัดบ้าน - พุทธศาสนาแบบท้องถื่น
วัดบ้านเป็นสำนักที่ผสมผสานความเชื่อเกี่ยวกับพุทธ พราหมณ์ ผี ประเพณีต่างๆ รวมถึง ความเชื่อเรื่องโชคลาง การบนบานสานกล่าว และ พิธีกรรมต่างๆ กล่าวคือเป็นความเชื่อพื้นฐานของชาวพุทธในไทย เชื่อเรื่องกฏแห่งกรรมในมุมมองของความยุติธรรม เชื่อเรื่องกรรมเก่า เจ้ากรรมนายเวร วัตถุมงคล คาถา พลังจิต ผี วิญญาณ เจ้าที่ เทพเจ้า รวมถึงเชื่อในความขลังของพระพุทธรูป พระเครื่องต่างๆ
เป็นแนวคิดที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ได้รับความนิยมสูงสุด มีการสวดมนต์ กรวดน้ำ ประพรมน้ำมนต์ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง มีการให้ทาน รักษาศีลตามวาระ
2. สายปริยัติ - พุทธศาสนาเถรวาทดั้งเดิม
ความเป็นเถรวาท คือการศึกษา อรรถกถา ฎีกา ไปจนถึงพระสูตรต่างๆ และยึดถือเอาตามนั้น ไม่เพิ่ม ไม่ลด พุทธศาสนาเถรวาท นับถือพระอภิธรรมปิฎกว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นหนังสือ พุทธธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตโต และ พระอาจารย์มหาสมบูรณ์ ฉนฺทโก (เจ้าอาวาสวัดเขาสนามชัย)
3. สายปฏิบัติ - สายกรรมฐาน
เน้น การเจริญสติ สมาธิ และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ เห็นการเกิดดับของจิต ไม่เน้นศึกษาอภิธรรมเชิงลึก แต่ไม่ได้ปฏิเสธ หากแต่มองว่าไม่ได้จำเป็นต่อการบรรลุธรรม
ตัวอย่าง
สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต → เน้นปฏิบัติในป่า - ปลีกวิเวก
สายหลวงพ่อเทียน จรณโย → ใช้สติแบบเคลื่อนไหว
สายหลวงปู่ดูลย์ อตุโล → เน้น "จิตว่าง"
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช → เน้น "รู้ทันจิต"
4. สายอภิธรรมศึกษา
สายอภิธรรมศึกษามีความคล้ายกับสายปริยัติ แต่ให้ความสำคัญในการศึกษาพระอภิธรรมให้เข้าใจอย่างลึกซึ่ง ให้เกิดปัญญาเพื่อหลุดพ้น ที่เด่นชัดที่สุดคือสำนักของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ไม่เน้นสมาธิ แต่เน้นการศึกษาทฤษฏีให้เข้าใจอย่างถูกต้องก่อน
5.สายพุทธวจน พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพงษ์
สายของพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ปฏิเสธคำสอนยุคหลังที่ไม่ใช่คำสอนโดนตรงของพระพุทธเจ้า โดยมองว่าไม่จำเป็นต้องเงี่ยหูฟัง หรือน้อมนำมาใส่ใจ เพราะไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา และเน้นการปฏิบัติให้ใกล้เคียงกับครั้งพุทธกาล ด้วยแนวคิดนี้ เป็นผลให้ท่านปฏิเสธคัมภีร์ชั้นหลัง ทั้งอรรถกถา ฏีกา และอภิธรรมทั้งหมด รวมถึงปฏิเสธความเชื่อท้องถิ่น พิธีกรรมต่างๆ รวมถึงการกรวดน้ำ และประพรมน้ำมนต์ เป็นต้น
6. สายท่านพุทธทาส
ท่านพุทธทาสอยู่ในเถรวาทที่ไม่เน้นอภิธรรมและพิธีกรรม แต่เน้นการตีความพุทธศาสนาให้เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้จริง
ปฏิเสธพระอภิธรรมว่าไม่ใช่พุทธวจนะ
ท่านพุทธทาสเห็นว่า พระอภิธรรมเกิดขึ้นภายหลังพระพุทธเจ้า และเป็นการขยายความทางอภิปรัชญามากเกินไป
มองว่า คำสอนเดิมในพระสูตรเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้พระอภิธรรม
เปรียบเทียบว่า พระอภิธรรมทำให้พุทธศาสนาเป็นเรื่องเชิงปรัชญามากเกินไป จนห่างจากการปฏิบัติที่แท้จริง
อธิบายพุทธศาสนาให้เข้าใจง่ายขึ้น
ท่านมองว่าพุทธศาสนาที่ถูกตีความซับซ้อนในอรรถกถาและพระอภิธรรมทำให้คนเข้าใจยาก
พยายามนำ คำสอนเรื่อง อริยสัจ 4, มรรค 8 และปฏิจจสมุปบาท มาอธิบายในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
ตีความพุทธศาสนาแบบสากล (Buddhism for Modern World)
ท่านเสนอแนวคิด "พุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนา" แต่เป็น เครื่องมือเพื่อความพ้นทุกข์
มองว่าพุทธศาสนา เป็นวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ไม่ใช่แค่ความเชื่อทางศาสนา
ท่านพุทธทาสเสนอว่า "นิพพานไม่ได้อยู่ไกล แต่สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้"
ไม่จำเป็นต้องเป็นพระอรหันต์ถึงจะเข้าถึงนิพพาน
นิพพานหมายถึง "การดับกิเลสชั่วขณะ" ในทุกขณะจิตที่มีสติและว่างจากอัตตา
ไม่เน้นพิธีกรรมและบุญแบบพุทธพื้นบ้าน
ท่านพุทธทาสต่อต้าน "พุทธศาสนาแบบพุทธพาณิชย์" ที่เน้นทำบุญเพื่อหวังผล
มองว่า "พุทธศาสนาไม่ควรเกี่ยวกับโชคลาภ ไสยศาสตร์ หรือพิธีกรรมทางไสยศาสตร์"
เน้นให้ พุทธศาสนาเป็นเรื่องของ "ปฏิบัติ" มากกว่าพิธีกรรม
7. สายธรรมกาย
คำสอนของสำนักธรรมกายโดยส่วนใหญ่ไม่ได้สอนตามหลักของเถรวาทหรือพระสูตร แต่สอนผ่านสิ่งที่รับรู้ได้ทางจิต โดยเฉพาะเรื่องภพนี้ ภพหน้า อานิสงฆ์ของการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนาที่แน่นอน และเป็นระบบ มีการยกตัวอย่าง case study ต่างๆ ว่าแต่ละคนทำกรรมอะไรมา จะได้รับผลอย่างไร สำนักพระธรรมกายมีแนวคิดว่าพระพุทธเจ้ายังคงอยู่ในพุทธภูมิ และสามารถเข้าถึงได้ผ่านวิชาธรรมกาย คล้ายกับคำสอนในนิกายมหายาน
แม้ว่าจะแตกต่างจากคำสอนโดยทั่วไป แต่วัดพระธรรมกายก็ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะความสะอาดเรียบร้อย และการจัดการระบบระเบียบภายในวัด การจัดอีเว้นต์ต่างๆที่ทำได้เป็นอย่างดี ให้ความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ มีบารมีมาก และมีสัมพันธ์ที่ดีกับวัดบ้าน หรือพุทธศาสนาท้องถิ่น
หมายเหตุ: บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์ อาจมีการลดทอน-แก้ไข-เพิ่มเติมในภายหลัง สามารถเสนอให้แก้ไข ปรับปรุงได้ และสามารถพูดคุยแสดงความคิดเห็นได้ครับ แต่อยากให้รักษาบรรยากาศความเป็นกลางทางวิชาการไว้นะครับ